ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)คือแบบอย่างที่ดีงามสำหรับมนุษยชาติ ตอนที่หนึ่ง

ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)คือแบบอย่างที่ดีงามสำหรับมนุษยชาติ ตอนที่หนึ่ง ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)ในฐานะที่เป็นเนื้อก้อนหนึ่งจากท่านศาสดา(ซ็อลฯ) และเป็นหัวหน้าของบรรดาสตรีแห่งสากลโลก กระทั่งว่าในด้านความประเสริฐนั้นท่
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)คือแบบอย่างที่ดีงามสำหรับมนุษยชาติ ตอนที่หนึ่ง

ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)คือแบบอย่างที่ดีงามสำหรับมนุษยชาติ ตอนที่หนึ่ง

ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)ในฐานะที่เป็นเนื้อก้อนหนึ่งจากท่านศาสดา(ซ็อลฯ) และเป็นหัวหน้าของบรรดาสตรีแห่งสากลโลก  กระทั่งว่าในด้านความประเสริฐนั้นท่านมีความสูงส่งยิ่งกว่าท่านหญิงมัรยัม(อ.)เสียอีก ท่านไม่เพียงแต่จะเป็นแบบอย่างสำหรับมวลสตรีมุสลิมเท่านั้น ทว่าเป็นแบบอย่างสำหรับบรรดาสตรีทั้งมวลและยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังเป็นแบบอย่างสำหรับมนุษยชาติทั้งมวลในทุก ๆ ด้านของการดำเนินชีวิตอีกด้วย
แม้แต่บรรดาท่านอิมาม(อ.)เองทั้ง ๆที่ท่านเหล่านั้นก็เป็นแบบอย่างและเป็นข้อพิสูจน์(ฮุจญะฮ์)สำหรับมนุษยชาติ แต่พวกท่านก็ยังเรียนรู้และหล่อหลอมตนเองมาจากแบบอย่างของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)และกล่าวถึงท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ(อ.)ในฐานะผู้เป็นแบบอย่างที่ดีงาม(อุซวะตุลฮะซะนะฮ์)ของพวกท่าน
ท่านอิมามฮะซัน อัซการี(อ.)ได้กล่าวว่า :

نَحْنُ حُجَجُ اللَّهِ عَلى خَلْقِهِ وَ جَدَّتُنا فاطِمَةُ حُجَّةُ اللَّهِ عَلَيْنا
 
“พวกเรา คือ ข้อพิสูจน์ (ฮุจญัต) ของอัลลอฮ์เหนือปวงสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.)ย่าทวดของเรา ก็เป็นข้อพิสูจน์ของอัลลอฮ์เหนือพวกเรา”
(อัฏยะบุลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน , เล่มที่ 13, หน้าที่ 225.)
 
และท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.ญ.)ได้เขียนในจดหมาย(เตาเกี๊ยะอ์)ของท่าน โดยได้เอ่ยถึงท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)ในฐานะแบบอย่างที่งดงามของตนเช่นเดียวกัน โดยกล่าวว่า :
 
فِي ابْنَةِ رَسُولِ اللَّهِ ص لِي أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ
 
 “ในบุตรีของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) นั้นมีแบบอย่างที่งดงามยิ่งสำหรับฉัน”
(บิฮารุลอันวาร , เล่มที่ 53, หน้าที่ 180)

แบบอย่างบางประการจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ(อ.)


 เราจะกล่าวถึงแบบอย่างอันยิ่งใหญ่ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บางประการ ดังนี้


1.ความสมถะและการเสียสละของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะรอ(อ.)
จากประเด็นที่ว่าความลุ่มหลงในวัตถุ(ฮุบบุดดุนยา)คือบ่อเกิดของความผิดพลาดและความผิดบาปทั้งมวลโดยที่ในหะดีษของท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ์(ซ็อลฯ)ที่ได้ยินกันบ่อยครั้งที่ท่านกล่าวว่า :

«حب الدنيا رأس كل خطيئة»

"ความลุ่มหลงวัตถุคือที่มาของความผิดบาปทั้งมวล”
(ซะคออิรุลอุกบา , หน้าที่ 54)
และประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งมวลและการประจักษ์ด้วยสายตาของเราเองในการดำเนินชีวิตนี้ก็ได้เป็นเครื่องแสดงให้เราได้เห็นว่าการละเมิดสิทธิต่าง ๆ อาชญากรรมต่าง ๆ การกดขี่ข่มเหง การอธรรม การโกหกหลอกลวง การคดโกง การแก่งแย่งชิงดีกัน ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเกิดจากความลุ่มหลงและการยึดติดอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง ลาบยศ  ตำแหน่ง และชื่อเสียงทั้งสิ้น เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่าความสมถะ(ซุฮ์ด)และการระงับตนจากการยืดติดนี่เองที่เป็นรากฐานที่มาสำคัญของตักวา(ความยำเกรง) ความสะอาดบริสุทธิ์และความดีงาม
 
ทว่า"ความสมถะ"นั้น ไม่ได้หมายถึงการละทิ้งเรื่องทางโลก(ดุนยา)และการใช้ชีวิตอยู่อย่างสันโดษและแยกตัวออกจากสังคม หากแต่ว่าข้อเท็จจริงของคำว่าสมถะนั้นก็คือความมีอิสระและการไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ(ดุนยา)นั่นเอง
       
"ผู้สมถะ"(ซาฮิด) ก็คือผู้ซึ่งถ้าหากโลกทั้งมวลถูกมอบให้อยู่ในอำนาจของเขา เขาก็จะไม่ยึดติดหรือจะไม่มีจิตใจที่ผูกพันต่อมัน ถ้าหากวันหนึ่งเขาพบว่าพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าอยู่ที่ว่าเขาจะต้องสละทั้งหมดของมัน เขาก็พร้อมโดยดุษฎีที่จะยอมเสียสละทั้งหมดเหล่านั้น
และถ้าวันหนึ่งการรักษาเสรีภาพ เกียรติยศศักดิ์ศรีและความศรัทธาอยู่ในการที่เขาจะต้องยอมเสียสละทรัพย์สินและชีวิตของตนเองแล้ว  เขาก็พร้อมที่จะกู่ตระโกนร้องคำขวัญที่ว่า :
«هيهات منا الذلة»


“ความต่ำต้อยช่างห่างไกลจากเราเสียนี่กระไร”(คำพูดของท่านอิมามฮูเซน)   
และเป็นไปตามโองการคัมภีร์อัลกุรอาน ผู้ที่สมถะนั้นคือผู้ที่จะไม่รู้สึกเสียใจต่ออดีตและสิ่งที่สูญเสียไปจากเขา และจะไม่รู้สึกดีใจจนเกินเหตุต่อสิ่งที่เขาได้รับในปัจจุบัน :


ليكلا تأسوا على ما فاتكم و لا تفرحوا بما آتيك


 
“เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ไม่เศร้าเสียใจต่อสิ่งที่ได้สูญเสียไปจากพวกเจ้า และจะไม่รู้สึกปลื้มปริติยินดีต่อสิ่งที่มาสัมผัสกับพวกท่าน”
(ซูเราะฮ์อัลฮะดีด , อายะฮ์ที่ 23)
 
จากเนื้อหาโดยสังเขปนี้เราจะไปพิจารณาดูบุคลิกภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)ในขอบข่ายของเนื้อหาข้างต้นนี้จากมุมมองของฮะดีษต่าง ๆ ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ซ็อลฯ)ที่มีปรากฏอยู่ในหนังสือต่าง ๆ ของพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮ์
 
ในริวายะฮ์(คำรายงาน)บทหนึ่ง อิบนุฮะญัรและบุคคลอื่น ๆ ได้อ้างรายงานมาจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อลฯ) ว่า  : ทุกครั้งเมื่อท่านศาสดา(ซ็อลฯ)กลับมาจากการเดิน อันดับแรกท่านจะไปพบท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)บุตรีของท่าน และจะใช้เวลาอยู่กับท่านหญิงในระยะเวลาหนึ่ง แต่ในครั้งหนึ่ง ประชาชนได้ทำกำไลข้อมือที่ทำจากเงินสองอัน  สร้อยคอและต่างหูสองอันให้แก่ท่านหญิง พร้อมกับติดผ้าม่านให้ในห้องของท่านหญิง
           
เมื่อศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)และเห็นภาพดังกล่าวนี้ ท่านก็ได้ออกมาจากห้อง ไปยังมัสยิดในสภาพที่ร่องรอยของความไม่พอใจปรากฏให้เห็นบนใบหน้าของท่านและไปนั่งอยู่บนมิมบัร(ธรรมาสน์)
 
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)รู้ถึงความไม่พอใจของท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อลฯ)เนื่องจากเครื่องประดับอันเล็กน้อยเหล่านั้น ท่านหญิงจึงได้ส่งเครื่องประดับเหล่านั้นทั้งหมดไปให้บิดาของตน เพื่อใช้ไปในหนทางของอัลลอฮ์
เมื่อท่านศาสดา(ซ็อลฯ)ได้แลเห็นสิ่งนั้นท่านได้กล่าวขึ้นถึงสามครั้งว่า :
 
فعلت فداها ابوها


“ฟาฏิมะฮ์ได้พลีสิ่งเหล่านี้แด่บิดาของนาง”
         
เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่ากำไลเงินคู่หนึ่ง สร้อยคอและต่างหูเงินไม่ได้มีราคาค่างวดอะไรมากนัก และที่ไร้ราคายิ่งไปกว่านั้นก็คือผ้าม่านที่เรียบง่ายที่คนเราใช้ติดปากประตูห้อง  แต่ทว่าท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็ฮลฯ)เห็นว่าสิ่งนี้ไม่เหมาะกับสถานะของท่านหญิงฟาฎิมะฮ์(ซ็อลฯ) และท่านถือว่าเกียรติศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจของนางนั้นอยู่ที่การมีบุคลิกภาพและคุณลักษณะอันสูงส่งแห่งความเป็นมนุษย์ของเธอต่างหาก
           
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)ได้เรียนรู้บทเรียนนี้เป็นอย่างดีจากบิดาของตน และท่านได้ละทิ้งจากสีสรรและสิ่งเย้ายวนแห่งวัตถุ(ดุนยา)และได้ปลดเปลื้องตนออกจากการตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น และสิ่งใดที่ทานมีอยู่นั้น ท่านจะใช้จ่ายออกไปในหนทางของพระผู้เป็นเจ้าและปวงบ่าวผู้ยากจนขัดสนของพระองค์
 ในฮะดีษบทหนึ่งซึ่งมีบันทึกอยู่ในหนังสือ “ฮิลยะตุลเอาลิยาอ์”ซึ่งมีเนื้อความว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.)นั้นแม้แต่เสื้อผ้าอาภรณ์ที่จะสวมใส่ปกปิดร่างกายให้มิดชิดอย่างเพียงพอเพื่อที่จะต้อนรับแขกที่จะเข้า     มาภายในบ้านของตนก็ยังไม่มี จนกระทั่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ซ็อลฯ)ต้องเอาผ้าคลุมกาย(อะบาอ์)ของท่านให้ท่านหญิงเพื่อที่จะสวมใส่ปกปิดร่างกายของตน และเตรียมพร้อมตนสำหรับการที่แขกกำลังจะมาเยี่ยมป่วยท่าน
 
เรื่องราวเกี่ยวกับของใช้ในวันแต่งงานของท่านหญิงและพิธีการในค่ำคืนของการส่งตัวเจ้าสาวที่ได้ถูกจัดขึ้นอย่างเรียบง่ายนั้น ก็เป็นหลักฐานที่ชัดเจนอีกประการหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสมถะและการใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายของท่านหญิง
การรับใช้บริการและการปรนนิบัติของท่านหญิงภายในบ้านของท่านอิมามอะลี(อ.)ผู้เป็นสามีนั้นก็เป็นที่เด่นชัดเช่นเดียวกัน   ถึงขั้นที่ว่าในการจัดเตรียมอาหารนั้น ตามคำรายงาน(ริวายะฮ์)ได้กล่าวว่า มือข้างหนึ่งของท่านได้โม่แป้งข้าวสาลีเพื่อทำขนมปัง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งนั้นอุ้มลูกน้อยของท่านไว้ในเอว     
ทั้งหมดเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสมถะของท่านท่าน ท่านหญิง คือประจักษ์พยานในความหมายของฮะดีษต่อไปนี้ คือ :
          
ท่านอบูนะอีม อิสฟาฮานีได้เล่ารายงานไว้เช่นนี้ว่า :
 
لقد طحنت فاطمة بنت رسول‌اللَّه صلى اللَّه عليه و آله و سلم حتى مجلت يدها، وربا، و اثر قطب الرحى فى يدها
 
“ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บุตรีของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้โม่แป้งจนกระทั่งว่ามือของท่านนั้นเป็นตุ่มบวมและรอยด้านของมือจับโม่หินนั้นปรากฏร่องรอยอยู่บนฝ่ามือของท่าน”
(ฮิลยะตุลเอาลิยาอ์ , เล่มที่ 2, หน้าที่ 41  )         
ในหนังสือ “มุสนัด”ของท่านอะห์มัด อิบนุฮัมบัลซึ่งเป็นแหล่งอ้างอิงที่มีชื่อเสียงที่สุดเล่มหนึ่งของพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ได้อ้างคำรายงานจากท่านอะนัส บินมาลิก ว่า:       
วันหนึ่งท่านบิลาล อิบนิรอบะฮ์ได้มาอะซานนมาซซุบฮิ์ล่าช้ากว่าปกติ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)ได้ถามว่า : ทำไมเจ้าจึงมาช้า?
บิลาลกล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้เดินผ่านบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.) ในสภาพที่ท่านกำลังโม่แป้งด้วยมือข้างหนึ่งและลูกของท่านก็กำลังร้องไห้อยู่ ข้าพเจ้าจึงกล่าวขึ้นว่า : ถ้าท่านอนุญาตก็ให้ข้าพเจ้าโม่แป้งแทน แล้วท่านก็กล่อมให้ลูกเงียบเถิด หรือจะให้ข้าพเจ้ากล่อมเด็กแล้วท่านจะโม่แป้งก็ได้
ท่านหญิงกล่าวว่า : ฉันมีความเมตตา(และอ่อนโยน)ต่อลูกของฉันมากกว่าท่าน (ด้งนั้นข้าพเจ้าจึงได้โม่แป้งให้ท่านหญิง และท่านหญิงก็ได้กล่อมให้ลูกของท่านเงียบ) และนี่แหละคือสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้ามาช้า
ท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อลฯ)จึงกล่าวว่า :


فرحمتها رحمك اللَّه
“เจ้าได้เมตตาต่อนาง ดังนั้นขออัลลอฮ์ทรงเมตตาเจ้า”
(มุสนัด อะห์มัด อิบนิฮัมบัล , เล่มที่ 3 , หน้าที่ 150)


ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
...
...
ดุอาประจำวันที่ 19 ...
แบบอย่างแห่งการเสียสละ(อีษาร)
...
...
เตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า)
...
ใครเสียใจที่สุดในวันกิยามะฮ์!

 
user comment