ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

หน้าที่ของอิมาม

อิมาม ไม่เหมือนกับผู้นำธรรมดาทั่วไปที่มีหน้าที่ปกป้องพรมแดน และรักษาผลประโยชน์ของอิสลาม ทว่าอิมามมีหน้าที่นอกเหนือไปจากนี้ เช่น การอธิบายอัล-กุรอาน อะฮฺกามอิสลาม ตอบคำถามประชาชนทั้งที่เป็นความเชื่อและการปฏิบัติ ป้องกันความคิดที่หลงผิดทางความเชื่อทุกประเภท และการเปลี่ยนแปลงที่อาจขึ้นกับอัล-กุรอานและหลักการอิสลาม ที่สำคัญไปกว่านั้น การนำเสนอความรู้ต้องครอบคลุมและไม่ผิดพลาด แน่นอนบุคคลทั่วไปที่แอบอ้าง การเป็นผู้นำเช่นนี้ เขาไม่บริสุทธิ์จากความผิดพลาดแน่นอน
หน้าที่ของอิมาม

อิมาม ไม่เหมือนกับผู้นำธรรมดาทั่วไปที่มีหน้าที่ปกป้องพรมแดน และรักษาผลประโยชน์ของอิสลาม ทว่าอิมามมีหน้าที่นอกเหนือไปจากนี้ เช่น การอธิบายอัล-กุรอาน อะฮฺกามอิสลาม ตอบคำถามประชาชนทั้งที่เป็นความเชื่อและการปฏิบัติ ป้องกันความคิดที่หลงผิดทางความเชื่อทุกประเภท และการเปลี่ยนแปลงที่อาจขึ้นกับอัล-กุรอานและหลักการอิสลาม ที่สำคัญไปกว่านั้น การนำเสนอความรู้ต้องครอบคลุมและไม่ผิดพลาด แน่นอนบุคคลทั่วไปที่แอบอ้าง การเป็นผู้นำเช่นนี้ เขาไม่บริสุทธิ์จากความผิดพลาดแน่นอน

จริงอยู่ว่า อิศมัตไม่เท่าเทียมกับตำแหน่งนะบูวัต เพราะเป็นไปได้ที่บางคนอาจบริสุทธิ์จาก บาปทั้งหมดแต่ไม่ได้รับตำแหน่งนะบูวัต เช่น ท่านหญิงมัรยัม (อ.) ซึ่งได้กล่าว ไปในข้อที่อธิบายถึงความบริสุทธิ์ของศาสดา ดังนั้น ตำแหน่งนบีกับความบริสุทธิ์ (อิศมัต) เป็นคนละประเด็นกันแต่สามารถกล่าวได้ว่า คนที่มีความบริสุทธิ์ไม่ได้เป็นศาสดาทุกคน แต่ทุกคนที่เป็นศาสดาต้องบริสุทธิ์

นอกจากการวิเคราะห์ดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายสิ่งที่บ่งบอกว่าอิมาม จำเป็นต้อง มีความบริสุทธิ์ เช่น

1. พระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ที่ปรารถนาให้อิมามเป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากความผิดบาปและความโสโครกทั้งหลาย อัลกุรอานกล่าวว่า

إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا

“อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺ และทรงประสงค์ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างแท้จริง”

โองการได้บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ไว้ดังนี้ กล่าวคือ อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงมีความประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ที่จะให้บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์มี ความสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน ซึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับความบริสุทธิ์ของพวกเขาคือ สะอาดปราศจากความผิด เนื่องจากจุดประสงค์ของคำว่า ริญซุน ในโองการนั้นหมายถึง ความสกปรกโสโครกทุกชนิดที่เกิดในความคิด จิตใจ และการกระทำ และบาปนั้นเป็นผลพวง ที่มาจากมัน ขณะที่อีกด้านหนึ่งโองการกล่าวว่า ความประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) มีให้กับบุคคลที่มีความพิเศษเฉพาะเท่านั้นมิใช่ทุกคน  แน่นอน ความประสงค์ที่จะขัดเกลา ให้สะอาดบริสุทธิ์ตรงนี้ มีความแตกต่างกับความประสงค์ทั่ว ๆ ไป เนื่องความประสงค์ที่ ต้องการให้มุสลิมทั้งหลายมีความบริสุทธ์เป็นความประสงค์ด้าน การกำหนดเงื่อนไขเท่านั้น อัล-กุรอานกล่าวว่า

“แต่ทว่าทรงประสงค์ที่จะให้พวกเจ้าสะอาด”

แน่นอนสิ่งนี้จะไม่เกิดกับบุคคลที่ฝ่าฝืน ขณะที่ความประสงค์นี้เป็นตักวีนียฺ (การกำหนดกฎสภาวะ) ซึ่งเป้าหมายและสิ่งที่ย้อนกลับไปสู่ความประสงค์อันได้แก่ ความบริสุทธิ์จากบาป ซึ่งจะไม่แยกออกจากความประสงค์

ดังนั้นความประสงค์ตักวีนียฺที่มีต่อความบริสุทธิ์ (อิศมัต) ของอะฮ์ลุลบัยต์ ไม่เป็นการปฏิเสธการเลือกสรรแต่อย่างใด ทำนองเดียวกันอิศมัตที่มีในบรรดาศาสดาก็ ไม่ได้เป็นการปฏิเสธการเลือกสรร เพราะความประสงค์ของอัลลอฮ์ (ซบ.) เพียงอย่างเดียว ไม่อาจทำให้ความบริสุทธิ์เกิดขึ้นได้ถ้าหากไม่มีการเลือกสรร

2. เงื่อนไขที่กล่าวไว้ในฮะดีษษะเกาะลัยนฺ ที่ว่า

 “ฉันขอฝากสิ่งหนักสองสิ่ง ไว้ในหมู่พวกท่านได้แก่ อัล-กุรอานและลูกหลานของฉัน”

จะสังเกตเห็นว่าอะฮฺลุลบัยต์ได้ ถูกกล่าวไว้เคียงข้างกับอัล-กุรอาน ในความหมายก็คือ เมื่ออัล-กุรอานบริสุทธิ์จากความ ผิดพลาดทั้งหลาย อะฮฺลุลบัยต์ (อ.) ก็บริสุทธิ์จากความผิดทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นความผิด ด้านจิตใจหรือการกระทำ ด้วยเหตุผลของฮะดีษที่กล่าวว่า

2.1 ตราบที่เจ้าได้ยึดมั่นอยู่กับทั้งสอง เจ้าจะไม่หลงทางตลอดไป

2.2 ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาดจนกว่าทั้งสอง จะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ

เป็นที่ชัดเจน เพราะสิ่งที่ยึดมั่นนั้นเป็นมูลเหตุนำไปสู่การชี้นำ และทำให้รอดพ้น จากการหลงทางและการหลงผิด นอกจากนี้อะฮฺลุลบัยต์ (อ.) จะไม่แยกออกจากอัล-กุรอาน แสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ (มะอฺศูม) ที่ปราศจากบาป

2.3 ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เปรียบเทียบอะฮฺลุลบัยต์ของท่านเหมือนกับเรือ ของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ใครก็ตามได้ขึ้นเรือจะได้รับความปลอดภัย ส่วนผู้ที่ไม่ได้ขึ้นจะพบ กับความหายนะจมน้ำตาย

จากสิ่งที่กล่าวมาเป็นเหตุผลที่ชัดเจนส่วนหนึ่งที่ยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของอะฮฺลุลบัยต์ (อ.) แน่นอนข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ได้เฉพาะเจาะจงอยู่เพียงเท่านี้ ยังมีอัล-กุรอาน และฮะดีษอีกที่บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของอะฮฺลุลบัยต์ (อ.)

สามารถรู้จักอิมามได้ 2 ทางกล่าวคือ

1. ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้แต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นอิมามตามพระบัญชา ของอัลลอฮฺ (ซบ.)

2. อิมามท่านก่อนได้แนะนำอิมามท่านถัดมาหลังจากท่าน

อิมามผู้นำ 12 ท่านของชีอะฮ์ได้ถูกแนะนำไว้ทั้ง 2 วิธีกล่าวคือ ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ได้แต่งตั้งอิมามและแนะนำให้ประชาชาติรู้จักด้วยตัวท่านเองตามริวายะฮฺที่กล่าวมา ประกอบกับอิมามทุกท่านก่อนที่จะจากไป ท่านจะแนะนำอิมามท่านต่อมาหลังจากท่าน เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนเกิดความสับสน

ขอนำเสนอฮะดีษที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวถึงสถานภาพของอิมามภายหลัง จากท่าน 1 ฮะดีษเพื่อเป็นตัวอย่าง ซึ่งจะเห็นว่าท่านศาสดาไม่ได้สิ้นสุดอยู่แค่ประกาศ แต่งตั้งท่านอะลี ให้เป็นอิมามเท่านั้น ทว่าท่านได้แนะนำอยู่เสมอว่าภายหลังจากท่านจะมีอิมาม หรือเคาะลิฟะฮฺอีก 12 ท่านเพื่อปกป้องศาสนา และเชิดชูเกียรติยศของอิสลามให้สูงส่ง ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) กล่าวว่า

“ศาสนาอิสลามที่มั่นคงจะไม่มีวันสิ้นสุด จนกว่าจะมีเคาะลีฟะฮฺ 12 ท่าน”

กล่าวว่าริวายะฮฺที่บ่งบอกถึงเคาะลิฟะฮฺ 12 ท่าน เป็นริวายะฮฺที่เชื่อได้ทั้งชีอะฮ์และซุนนะฮ์ และมีบันทึกอยู่ในตำราที่เชื่อได้ของอะฮฺลิซซุนนะฮ์

จากฮะดีษที่กล่าวมาจะพบว่าความยิ่งใหญ่ ความอยู่รอด และศักดิ์ศรีของอิสลาม จะดำรงสืบต่อไปขึ้นอยู่กับเคาะลีฟะฮฺทั้ง 12 ท่าน และไม่อาจจะเป็นผู้อื่นไปได้ นอกจากอิมามทั้ง 12 ท่านที่ชีอะฮฺได้ยึดถือ ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวกุเรช และเป็นลูกหลาน ของท่านศาสดา

(ศ็อล ฯ) ทั้งสิ้น เนื่องจากเคาะลีฟะฮฺที่มาจากเชื้อสายของอะมะวียฺ และอับบาซียฺไม่ได้ทำให้อิสลามยิ่งใหญ่ และมีเกียรติแต่อย่างใด อีกทั้งยังได้ทำให้อิสลาม เสื่อมเสียชื่อเสียงอีกต่างหาก ประกอบกับจำนวน 12 ไม่ตรงกับจำนวนเคาะลีฟะฮฺ ทั้งสองเชื้อสาย ด้วยเหตุนี้คำว่า เคาะลีฟะฮฺ 12 ท่าน จึงหมายถึงอิมาม 12 ท่าน ตามที่ชีอะฮฺมีความเชื่อ

   

อิมาม 12 ท่านที่ชีอะฮฺมีความเชื่อตามหลักการได้แก่

1. ท่านอิมามอะมีรุลมุอฺมินีน อะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.) ประสูติ 10 ปีก่อนการบิอ์ษัต (แต่งตั้งท่านมุฮัมมัดให้เป็นศาสดา) ชะฮีด ปี ฮ.ศ.ที่ 40 ฝังอยู่ ณ สุสานที่เมือง นะญัฟอัชรอฟ ประเทศอิรัก

2. ท่านอิมามฮะซัน บิน อะลี (อ.) มีฉายานามว่า มุจตะบา ประสูติ ปี ฮ.ศ. ที่ 3 ชะฮีด ปี ฮ.ศ. ที่ 50 ฝังอยู่ ณ สุสานญันนะตุลบะกีอฺ เมืองมะดีนะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

3. ท่านอิมามฮุซัยนฺ บิน อะลี (อ.) มีฉายานามว่า ซัยยิดุชชุฮะดา ประสูติ ปี ฮ.ศ. ที่ 4 ชะฮีด ปี ฮ.ศ. ที่ 61 ฝังอยู่ ณ สุสานเมือง กัรบะลา ประเทศอิรัก

4. ท่านอิมามอะลี บิน ฮุซัยนฺ (อ.) มีฉายานามว่า ซัยนุลอาบิดีน ประสูติ ปี ฮ.ศ. ที่ 38 ชะฮีด ปี ฮ.ศ. ที่ 94 ฝังอยู่ ณ สุสานญันนะตุลบะกีอฺ เมืองมะดีนะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

5. ท่านอิมามมุฮัมมัด บิน อะลี (อ.) มีฉายานามว่า บากิรุลอุลูม ประสูติ ปี ฮ.ศ. ที่ 57 ชะฮีด ปี ฮ.ศ. ที่ 114 ฝังอยู่ ณ สุสานญันนะตุลบะกีอฺ เมืองมะดีนะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

6. ท่านอิมามญะอฺฟัร บิน มุฮัมมัด (อ.) มีฉายานามว่า ซอดิก ประสูติ ปี ฮ.ศ. ที่ 83 ชะฮีด ปี ฮ.ศ. ที่ 148 ฝังอยู่ ณ สุสานญันนะตุลบะกีอฺ เมืองมะดีนะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

7. ท่านอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร (อ.) มีฉายานามว่า อัลกาซิม ประสูติ ปี ฮ.ศ. ที่ 128 ชะฮีด ปี ฮ.ศ. ที่ 183 ฝังอยู่ ณ สุสานเมืองกาซิเมน ประเทศอิรัก

8. ท่านอิมามอะลี บิน มูซา (อ.) มีฉายานามว่า อัรริฏอ ประสูติ ปี ฮ.ศ. ที่ 148 ชะฮีด ปี ฮ.ศ. ที่ 203 ฝังอยู่ ณ สุสานเมืองโคราซาน (มะชัด) ประเทศอิหร่าน

9. ท่านอิมามมุฮัมมัด บิน อะลี (อ.) มีฉายานามว่า ญะวาด ประสูติ ปี ฮ.ศ. ที่ 195 ชะฮีด ปี ฮ.ศ. ที่ 220 ฝังอยู่ ณ สุสานเมืองกาซิเมน ประเทศอิรัก

10. ท่านอิมามอะลี บิน มุฮัมมัด (อ.) มีฉายานามว่า ฮาดี ประสูติ ปี ฮ.ศ. ที่ 212 ชะฮีด ปี ฮ.ศ. ที่ 254 ฝังอยู่ ณ สุสานเมืองซามัรรอ ประเทศอิรัก

11. ท่านอิมามฮะซัน บิน อะลี (อ.) มีฉายานามว่า อัซการียฺ ประสูติ ปี ฮ.ศ. ที่ 232 ชะฮีด ปี ฮ.ศ. ที่ 260 ฝังอยู่ ณ สุสานเมืองซามัรรอ ประเทศอิรัก

12. ท่านอิมามมุฮัมมัด บิน ฮะซัน (อ.) ถูกรู้จักในนามของ อิมามฮุจญัต หรืออิมามมะฮฺดียฺ (ขอให้อัลลอฮฺ (ซบ.) โปรดให้ท่านปรากฏกายโดยเร็วด้วยเถิด) ท่านเป็นอิมามที่ 12 มีชีวิตอยู่ตราบจนถึงปัจจุบันในสภาพที่เร้นกายตามพระบัญชา ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และจะปรากฏกายอีกครั้งตามพระประสงค์ของพระองค์ ซึ่งเป็นไป ตามสัญญาที่อัล-กุรอานได้กล่าวไว้ในซูเราะฮฺ นูร/54, เตาบะฮฺ/33, ฟัตฮฺ/28, ซอฟ/9, และฮะดีซมุตะวาติร ที่กล่าวว่าอิสลามจะปกครองทั่วแผ่นดิน


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

การรอคอยอิมามแห่งการปฏิวัติโลก
อิมามฮุเซนฺ (อ.) คือ ใคร
...
ฟาฎิมะฮ์มิไช่หรือ?
สาเหตุการกล่าวคำปฏิญาณในอิสลาม
อะฮ์ลุลบัยต์ของท่านศาสดา (ศ็อล ...
ซิกรุลลอฮ์ด้วยจิต
การตั้งชื่อว่าอัล-กุรอาน
...
...

 
user comment