ไทยแลนด์
Tuesday 16th of April 2024
0
نفر 0

ประเภทของเตาฮีด

1. เตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระเจ้า) ซาตียฺ หมายถึงสำหรับพระเจ้าแล้วไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนหรือเป็นหุ้นส่วนของพระองค์ 2. เตาฮีดซิฟาตียฺ หมายถึงคุณลักษณะของพระเจ้า เช่น ความรู้ อำนาจ ชีวิต และอื่น ๆ คือสิ่งเดียวกันกับซาต (อาตมันของพระองค์) อัล-กุรอาน กล่าวว่า จงกล่าวเถิด พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ อัลลอฮฺ ทรงเป็นที่พึ่ง พระองค์ไม่ทรงอุบัติและไม่ทรงถูกอุบัติ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ (อัล-กุรอานบทอัลอิคลาซ)
ประเภทของเตาฮีด

1. เตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระเจ้า) ซาตียฺ หมายถึงสำหรับพระเจ้าแล้วไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนหรือเป็นหุ้นส่วนของพระองค์

 

2. เตาฮีดซิฟาตียฺ หมายถึงคุณลักษณะของพระเจ้า เช่น ความรู้ อำนาจ ชีวิต และอื่น ๆ คือสิ่งเดียวกันกับซาต (อาตมันของพระองค์) อัล-กุรอาน กล่าวว่า จงกล่าวเถิด พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ อัลลอฮฺ ทรงเป็นที่พึ่ง พระองค์ไม่ทรงอุบัติและไม่ทรงถูกอุบัติ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ (อัล-กุรอานบทอัลอิคลาซ)

 

3. เตาฮีดอิบาดียฺ หมายถึง ไม่มีบุคคลคู่ควรต่อการเคารพภักดีนอกจากพระเจ้าองค์เดียว อัล-กุรอานกล่าวว่า และเรามิได้ส่งเราะซูลคนใดก่อนหน้าเจ้าลงมา นอกจากเราได้วะฮฺยูแก่เขาว่า “แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า ดังนั้นพวกเจ้าจงเคารพภักดีข้า (อัล-กุรอาน บทอัลบิยาอฺ โองการที่ 25)

 

4. เตาฮีดอัฟอาล หมายถึงภารกิจทั้งหมดบนโลกนี้ดำเนินไปตามการอนุญาตของพระเจ้าทั้งสิ้น นั่นหมายถึงว่าไม่มีสิ่งใดกระทำการโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือกระทำโดยพละการแต่อย่างใด ประเด็นนี้แบ่งออกเป็นสองลักษณะกล่าวคือ

 

ก. เตาฮีดคัลลากียะฮฺ หมายถึงภารกิจการสร้างสรรค์ทั้งหมดเป็นหน้าที่ของพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว อัล-กุรอาน กล่าวว่า

 

โอ้ มนุษย์เอ๋ย พวกเจ้าจงรำลึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ที่มีต่อพวกเจ้ายังมีพระผู้สร้างอื่นใดที่จะประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าจากฟากฟ้าและแผ่นดินนอกเหนือจากอัลลอฮฺอีกหรือ แน่นอนไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ (อัล-กุรอาน บทฟาฏิร โองการที่ 3)

 

นั่นคืออัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลของพวกเจ้าไม่มีผู้ควรได้รับการเคารพภักดีอื่นใดนอกจากพระองค์ ผู้ทรงบังเกิดทุกสิ่งทุกอย่างพวกเจ้าจงเคารพภักดีพระองค์เถิด และพระองค์ทรงเป็นผู้รับมอบหมายให้คุ้มครองรักษาในทุกสิ่งทุกอย่าง (อัล-กุรอาน บทอัล-อันอาม โองการที่ 102)

 

ข. เตาฮีดเราะบูบียะฮฺ หมายถึง การบริหารและการบริบาลโลกเป็นหน้าที่ของอัลลอฮฺ (ซบ.) แต่เพียงผู้เดียว ดังอัล-กุรอาน กล่าวว่า

 

จงกล่าวเถิด ฉันจะแสวงหาพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺกระนั้นหรือ ทั้ง ๆ ที่พระองค์เป็นพระผู้อภิบาลของทุกสรรพสิ่ง (อัล-กุรอาน บทอัล-อันอาม โองการที่ 164)

 

จงกล่าวเถิด ใครเป็นผู้ประทานปัจจัยยังชีพจากฟากฟ้าและแผ่นดินแก่พวกเจ้า และใครเป็นเจ้าของ (สร้าง) หูและดวงตาทั้งหลายและใครเป็นผู้ให้มีชีวิตหลังจากความตายและเป็นผู้ให้ตายหลังจากมีชีวิต และใครเป็นผู้บริหารกิจการ พวกเขาจะกล่าวเหมือนกันว่า อัลลอฮฺ ดังนั้น จงกล่าวเถิดพวกท่านยังจะไม่ยำเกรงหรือ (อัล-กุรอาน บทยุนุส โองการที่ 31)

คำอธิบายเกี่ยวคุณลักษณะของพระเจ้า

 

1. พระเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียวไม่มีหุ้นส่วน หรือร่วมปนกับสิ่งอื่นและไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ อัล-กุรอาน กล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ พระองค์ทรงได้ยินทรงมองเห็น (อัล-กุรอาน บทอัชชูรอ โองการที่ 11)

 

2. พระเจ้าไม่มีความต้องการแต่สิ่งอื่นมีความต้องการไปยังพระองค์ อัล-กุรอาน กล่าวว่า โอ้ มนุษย์เอ๋ย พวกเจ้าเป็นผู้ขัดสนต้องพึ่งอัลลอฮฺ แต่อัลลอฮฺทรงมั่งมีอย่างล้นเหลือ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ (อัล-กุรอาน บทอัลฟาฏิร โองการที่ 15)

 

3. ไม่สามารถมองเห็นพระเจ้าด้วยตาเนื้อธรรมดาได้ อัล-กุรอาน กล่าวว่า สายตาทั้งหลายมองไม่เห็นพระองค์ แต่พระองค์ทรงมองเห็นสายตาเหล่านั้น และพระองค์ก็คือผู้ทีรงปรานีผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วน (อัล-กุรอาน บทอันอาม โองการที่ 103)

 

4. พระเจ้าทรงล่วงรู้ถึงทุกสรรพสิ่ง อัล-กุรอาน กล่าวว่า อัลลอฮฺ ทรงให้เครื่องยังชีพอันกว้างขวางแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง (อัล-กุรอาน บทอังกะบูต โองการที่ 62)

 

5. พระเจ้าทรงอานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่ง อัล-กุรอาน กล่าวว่า พระองค์ คือ ผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่ง (อัล-กุรอาน บทอัลมุลก์ โองการที่ 1)

 

6. พระเจ้าทรงอยู่ทุกที่ อัล-กุรอาน กล่าวว่า ทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ เพราะไม่ว่าสูเจ้าจะหันหน้าไปทางใด อัลลอฮฺทรงอยู่ที่นั่น แท้จริงอัลลอฮฺ คือผู้ทรงไพบูลย์ ผู้ทรงรอบรู้ (อัล-กุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 115)

 

7. พระเจ้าทรงรอบรู้สิ่ที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจของมนุษย์ อัล-กุรอาน กล่าวว่า แน่นอน เราได้บังเกิดมนุษย์มาและเรารู้ดียิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบ (อัล-กุรอาน บทอัลกอฟ โองการที่ 16)

 

8. พระเจ้าทรงใกล้ชิดกับพวกเขายิ่งกว่าเส้นเลือดที่ลำคอ อัล-กุรอานกล่าวว่า และเราใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก (อัล-กุรอาน บทอัลกอฟ โองการที่ 16)

 

9. พระเจ้าทรงยืนหยัดด้วยอาตมันของพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า อัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ผู้ทรงมีชีวิต ทรงดำรง (ด้วยอาตมันของพระองค์ ส่วนสรรพสิ่งอื่นดำรงอยู่ด้วยพระองค์) อยู่นิจกาล (อัล-กุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 255)

 

10. พระเจ้ามิทรงง่วงเหงาหาวนอน อัล-กุรอาน กล่าวว่า ความง่วง และการนอนหลับไม่ครอบงำพระองค์ (พระองค์มิทรงเผอเรอการบริบาลจักรวาลแม้เพียงเล็กน้อย) (อัล-กุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 255)

 

11. พระเจ้าคือผู้สร้างทุกสรรพสิ่งในโลกและจักรวาล อัล-กุรอาน กล่าวว่า อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลของเจ้า ไม่มีผู้ใดคู่ควรแก่การเคารพภักดี นอกจากพระองค์ ผู้ทรงบังเกิดทุกสิ่งทุกอย่าง พวกเจ้าจงเคารพภักดีพระองค์ (อัล-กุรอาน บทอัลอันอาม โองการที่ 102)

 

12. พระเจ้าคือผู้ทรงกรรมสิทธิ์ทุกสิ่งทุกอย่าง อัล-กุรอาน กล่าวว่า ทุกสรรพสิ่งในฟากฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินเป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า (อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 120)

 

13. การให้กการเลี้ยงดูสรรพสิ่งทั้งหลายอยู่ในอำนาจของพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า ความยิ่งใหญ่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และในแผ่นดินเป็นกรรมสิทธ์ของอัลลอฮฺเท่านั้น และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ (อัล-กุรอาน บทอัลญาซียะฮฺ โองการที่ 36)

 

14. ชีวิตและความตายอยู่ในพระหัตถ์ของพระเจ้า อัล-กุรอานกล่าวว่า อัลลอฮฺ ทรงให้ชีวิตและความตาย และอัลลอฮฺ ทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน (อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 156)

 

15. โลกและจักรวาลต่างยอมจำนนต่อพระเจ้า อัล-กุรอานกล่าวว่า ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินต่างนอบน้อมต่อพระองค์ทั้งด้วยความสมัครใจและฝืนใจ และพวกเขาจะถูกนำกลับไปยังพระองค์ (อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 83)

 

16. พระเจ้าไม่มีหุ้นส่วนและไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน อัล-กุรอาน กล่าวว่า จงกล่าวเถิด การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮ ไม่ทรงมีบุตรและไม่มีภาคีใด ๆ ร่วมกับพระองค์ในอำนาจ และไม่มีผู้ช่วยเหลือใด ๆ สำหรับพระองค์ให้พ้นจากความต่ำต้อย (อัล-กุรอาน บทอัลอิสรออฺ โองการที่ 111)

 

17. สรรพสิ่งทั้งหลายต้องการพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า สรรพสิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินต่างขอพระองค์ทุก ๆ ขณะ (อัล-กุรอาน บทอัรเราะฮฺมาน โองการที่ 29)

 

18. เกียรติยศและความตกต่ำอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ อัล-กุรอาน กล่าว่า จงกล่าวเถิด โอ้ อัลลอฮฺ ผู้ทรงอภิสิทธิ์แห่งอำนาจทั้งปวง พระองค์ทรงประทานอำนาจแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงถอดถอนอำนาจจากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงให้เกียรติแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงยังความต่ำต้อยแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ ความดีทั้งหลายนั้นอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง

 

19. ปัจจัยยังชีพของทุกสรรพสิ่งมาจากพระองค์ทั้งสิ้น อัล-กุรอาน กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺ คือ ผู้ทรงประทานปัจจัยยังชีพอันมากมากแก่ผู้ทรงพลัง ผู้ทรงมั่นคง (อัล-กุรอาน บทอัซซาริยาต โองการที่ 58)

 

และไม่มีสัตว์ตัวใดบนแผ่นดินเว้นเสียแต่ว่าเครื่องยังชีพของมันเป็นภาระของอัลลอฮ (อัล-กุรอาน บทฮูด โองการที่ 6)

 

แบบอย่างเตาฮีด

 

แบบอย่างของอัล-กุรอานนอกจากจะกำชับในความดีและห้ามปรามความชั่วแล้ว ยังแนะนำโครงการและแบบอย่างใหม่ ๆ อีกต่างหาก ภายใต้หัวข้อที่ว่า แบบอย่างในอัล-กุรอาน เช่น กล่าวว่า ภรรยาของฟาโรห์คือ แบบอย่างของผู้ศรัทธา เนื่องจากแม้ว่านางจะอยู่ท่ามกลางตัวการที่ทำให้หลงทาง แต่นางไม่เคยออกนอกแนวทางของนางเลย ตำแหน่งลาภยศและทรัพย์สินสฤงคารของฟาโรห์ ก้ไม่อาจหลอกลวงนางได้ ในทางกลับกันความศรัทธาของนางได้ทวีคูณเพิ่มขึ้น อัล-กุรอานกล่าวว่า

 

อัลลอฮฺ ทรงยกอุทาหรณ์แก่บรรดาผู้ศรัทธา ได้แก่ภริยาของฟิรเอานฺเมื่อนางได้กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดสร้างบ้านหลังหนึ่งให้แก่ข้าพระองค์ ณ ที่พระองค์ในสรวงสวรรค์ และทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้พ้นจากฟิรเอานฺ และการกระทำของเขา และทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้พ้นจากหมู่ชนผู้อธรรม (อัล-กุรอาน บทอัตตะฮฺรีม โองการที่ 11)

 

ครั้นเมื่ออัล-กุรอาน ยกตัวอย่างของผู้ปฏิเสธผู้ดื้อรั้น ทรงยกตัวอย่างของภรรยานูฮฺ อัล-กุรอาน กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงยกอุทาหรณ์แก่บรรดาผู้ปฏิเสธได้แก่ภริยาของนูฮฺ และภริยาของลูฏ นางทั้งสองอยู่ภายใต้การปกครองของบ่าวที่ดีในหมู่ปวงบ่าวของเรา แต่นางทั้งสองได้ทรยศต่อเขาทั้งสอง แน่นอน นางทั้งสองจะไม่รอดพ้นการลงโทษาของอัลลอฮฺแต่ประการใด (อัล-กุรอาน บทอัตตะฮฺรีม โองการที่ 10)

 

แม้ว่านางจะอยู่ร่วมชายคากับท่านศาสดานูฮฺ (อ.) บ้านแห่งวะฮฺยูแต่นางก็ยังคงสภาพการปฏิเสธไว้เช่นเดิม

 

อัล-กุรอาน กล่าวถึงเรื่องราวของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) (อับราฮัม) ไว้ว่า ข้าจะแต่งตั้งเจ้าให้เป็นผู้นำ (2/124) ตรงประเด็นนี้อัล-กุรอาน จะนำพาไปสู่ประวัติศาสตร์ และจำแนกรายละเอียดการงานของอิบรอฮีมให้ดูจนกระทั่งเห็นความเด่นชัดของท่านในด้านการยืนหยัดกับความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า

 

ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ยอมจำนนต่อพระเจ้าในทุกกรณีและทุกสถานการณ์ อัล-กุรอานกล่าวว่า

 

และจงรำลึกถึงขณะที่พระเจ้าของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยพระบัญชาบางประการแล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน (อัล-กุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 124)

 

1. หลังจากอิบรอฮีมได้รอคอยมานามประมาณ 100 ปี พระเจ้าทรงประทนบุตรชายแก่ท่านหลังจากนั้นทรงกำชับว่าจงนำบุตรชาย (อิสมาอีลไปเชือดพลี) ท่านได้นำอิสมาอีลบุตรไปเชือดตามบัญชาของพระเจ้าโดยไม่มีคำถามว่าทำไมหรือเพื่ออะไร ท่านยึดถือพระบัญชาพระเจ้าเป็นสิ่งสำคัญเหนือภาวะจิตใจและความรักที่มีต่อบุตรชาย ท่านได้นำบุตรนอนคว่าหน้าลงและเอามือจ่อไว้ที่ลำคอพร้อมที่จะเชือด ทันใดนั้นได้มีวะฮฺยูจากพระเจ้าลงมาพร้อมกำชับว่ายั้งมือไว้ก่อน คำสั่งของเราเพียงแค่ต้องการทดสอบเจ้าเท่านั้นเอง อัล-กุรอาน กล่าวว่า แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามฝันแล้ว แท้จริงเราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย (อัล-กุรอาน บทอัซซอฟาต โองการที่ 105) แน่นอน อิบรอฮีมประสบความสำเร็จต่อภาวะจิตที่ลุ่มหลงและผูกพันอยู่กับสิ่งที่ตนรัก

 

2. อิบรอฮีม (อ.) ได้ต่อสู้ด้วยสติปัญญาและเหตุผลจนกระทั่งสามารถเอาชนะศัตรูผู้ปฏิเสธในสมัยของตนได้อย่างราบคาบ อัล-กุรอาน กล่าวว่า เจ้าไม่เห็น (ไม่รู้) ผู้ (นัมรูด) ที่โต้แย้งอบรมฮีมในเรื่องพระผู้อภิบาลของเขาดอกหรือ เนื่องจากอัลลอฮฺได้ทรงประทานอำนาจแก่เขา เมื่ออิบรอฮีมกล่าวว่า พระผู้อภิบาลของฉันคือ ผู้ทรงให้เป็น และทรงให้ตาย เขากล่าวว่า ข้าก็ให้เป็นและให้ตายได้ อิบรอฮีมกล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงนำตะวันมาจากทิศตะวันออก (ถ้าเจ้าพูดจริงว่าเป็นผู้อภิบาลโลกนี้) ฉะนั้น จงนำมันมาจากทิศตะวันตก และผู้ปฏิเสธถูกทำงงงวย อัลลอฮฺมิทรงชี้นำผู้อธรรมทั้งหลาย (อัล-กุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 258)

 

3. อิบรอฮีม เผชิญหน้ากับบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียง และท่านได้ทำลายรูปปั้นบูชาเหล่านั้นจนกระทั่งพบธาตุแท้ของพวกเขา

 

4. อิบรอฮีม ตัดความสัมพันธ์กับเครือญาติเนื่องจากความเคารพภักดีที่มีต่อพระเจ้าองค์เดียว อัล-กุรอาน กล่าวว่า พวกเขาไม่รู้ดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงรับการลุแก่โทษจากปวงบ่าวของพระองค์ และทรงรับบรรดาสิ่งที่เป็นทาน (เซาะดะเกาะฮฺ) แท้จริงอัลลอฮฺ คือ ผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ (อัล-กุรอาน บทอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 104)

 

5. อิบรอฮีม ได้พาครอบครัวและทารกน้อยของตนเผชิญกับความยากลำบาก เพื่อเป็นบทเรียนแก่ศาสนาและประชาชาติในต่อมา อัล-กุรอาน กล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของเรา แท้จริง ข้าพระองค์ได้ให้ลูกหลานของข้าฯพำนักอยู่ ณ ที่ราบลุ่มนี้โดยไม่มีพืชผลใด ๆ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านอันเป็นเขตหวงห้ามของพระองค์ โอ้ พระผู้อภิบาลของเรา เพื่อให้พวกเขาดำรงนมาซ ขอพระองค์ทรงให้จิตใจจากปวงมนุษย์มุ่งไปยังพวกเขา และทรงประทานปัจจัยยังชีพที่เป็นพืชผลแก่พวกเขา เพื่อให้พวกเขาจะขอบคุณ (อัล-กุรอาน บทอิบรอฮีม โองการที่ 37)

 

6. อิบรอฮีมถวายชีวิตของท่านเพื่อพระเจ้าครั้นเมื่อท่านถูกโยนเข้ากองไฟ อัล-กุรอาน กล่าวว่า เรา (อัลลอฮ์) กล่าวว่า โอ้ ไฟเอ๋ย จงเย็นลง และให้ความปลอดภัยแก่อิบรอฮีมเถิด (อัล-กุรอาน บทอัมบิยาอฺ โองการที่ 69)

ขอขอบคุณเว็บไซต์อัลชีอะฮ์

 


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ปีศาจ (ซาตาน) ...
เตาฮีด เอกภาพแห่งอัลลอฮฺ ...
จอมราชันย์แห่งโคราซาน ...
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 11 ...
วิทยปัญญา 10 ประการ ...
อัลกุรอาน ...
...
ยุทธวิธี การขับเคลื่อน ...

 
user comment