ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

ข้อเท็จจริง (ฮะกีกัต) ในการซุญูดของมะลาอิกะฮ์ต่ออาดัม(อ.) คืออะไร?

ข้อเท็จจริง (ฮะกีกัต) ในการซุญูดของมะลาอิกะฮ์ต่ออาดัม(อ.) คืออะไร? การซุญูด (ของมะลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ต่ออาดัม) ไม่ใช่เป็นการอิบาดะฮ์ (เคารพภักดี) ต่ออาดัม เนื่องจากการอิบาดะฮ์ (เคารพภักดี) สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระเจ้านั้นไม่เป็นที่อนุญาต แต่ทว่ามะลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ได้ทำการซุญูดต่ออาดัมโดยคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและให้เกียรติ และในความเป็นจริงแล้วเป็นการซุญูด (ก้มกราบ) เพื่อพระผู้เป็นเจ้า
ข้อเท็จจริง (ฮะกีกัต) ในการซุญูดของมะลาอิกะฮ์ต่ออาดัม(อ.) คืออะไร?

ข้อเท็จจริง (ฮะกีกัต) ในการซุญูดของมะลาอิกะฮ์ต่ออาดัม(อ.) คืออะไร?

 

การซุญูด (ของมะลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ต่ออาดัม) ไม่ใช่เป็นการอิบาดะฮ์ (เคารพภักดี) ต่ออาดัม เนื่องจากการอิบาดะฮ์ (เคารพภักดี) สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระเจ้านั้นไม่เป็นที่อนุญาต แต่ทว่ามะลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ได้ทำการซุญูดต่ออาดัมโดยคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและให้เกียรติ และในความเป็นจริงแล้วเป็นการซุญูด (ก้มกราบ) เพื่อพระผู้เป็นเจ้า

 

وَ إِذْ قُلْنا لِلْمَلائِكَةِ اسْجُدُوا لِآدَمَ فَسَجَدُوا إِلاَّ إِبْليسَ أَبى‌ وَ اسْتَكْبَرَ وَ كانَ مِنَ الْكافِرينَ

 

“และจงรำลึกเมื่อครั้งที่เราได้กล่าวแก่มลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ว่า พวกเจ้าจงซุญูดต่ออาดัมเถิด แล้วพวกเขาก็ซุญูด นอกจากอิบลีสที่ไม่ยอมซุญูดและแสดงความโอหัง และมันได้เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา”

 

(อัลกุรอาน บทอัลบากอเราะฮ์ โองการที่ 34)

 

       

 

สืบเนื่องจากบรรดาโองการก่อนหน้านี้ที่กล่าวถึงเนี๊ยะอ์มัต (ความโปรดปราน) ทั้งทางด้านวัตถุและจิตวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทานให้แก่มนุษย์ และได้อธิบายถึงอำนาจการปกครอง (คิลาฟะฮ์) แห่งพระผู้เป็นเจ้าที่เป็นเครื่องแสดงถึงเกียรติของเขา ในโองการนี้ได้กล่าวถึงเกียรติอีกประการหนึ่ง นั่นคือการที่มลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ได้ทำการซุญูดต่ออาดัมเนื่องจากการสร้างเขา

 

        ดังที่รับรู้ได้จากซูเราะฮ์อัลฮิจร์และซ๊อด ขณะที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ พระองค์ทรงตรัสต่อมลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ว่า :

 

فَاِذا سَوَّیْتُهُ وَ نَفَخْتُ فیهِ مِنْ روحى فَقَعوا لَهُ ساجِدین

 

“ดังนั้น เมื่อข้าได้ทำให้เขามีรูปร่างสมส่วน และได้เป่าจากวิญญาณของข้าเข้าไปในตัวเขา ดังนั้นพวกเจ้าจงก้มลงซุญูดต่อเขาเถิด”

 

(อัลกุรอาน บทซ๊อด โองการที 72)

 

       

แน่นอนการซุญูด (ของมะลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ต่ออาดัม) ไม่ใช่เป็นการอิบาดะฮ์ (เคารพภักดี) ต่ออาดัม เนื่องจากการอิบาดะฮ์ (เคารพภักดี) สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระผู้เป็นเจ้านั้นไม่เป็นที่อนุญาต ทว่ามะลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ได้ทำการซุญูดอาดัมโดยคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและให้เกียรติ และในความเป็นจริงแล้วเป็นการซุญูด (ก้มกราบ) เพื่อพระผู้เป็นเจ้า เนื่องจากการสร้างสิ่งดำรงอยู่ที่มีเกียรตินี้ ซึ่งมีนามว่า “มนุษย์”

 

     

 แต่อิบลีสซึ่งตามโองการที่ 50 ของบทอัลกะฮ์ฟิ เป็นหนึ่งจากเผ่าพันธุ์ญิน (และเนื่องจากการอิบาดะฮ์อย่างมากมาย ได้ถูกยกฐานะเข้าอยู่ในหมู่มลาอิกะฮ์ ) มันได้ปฏิเสธคำบัญชานี้ของพระผู้เป็นเจ้า และได้แสดงความโอหังและอวดดี และมันหลงคิดว่าในการสร้างนั้นมันประเสริฐกว่าอาดัม และอาดัมจำเป็นต้องซุญูดต่อมัน ไม่ใช่ว่ามันต้องซุญูดต่ออาดัม

 

     

 อิบลีสไม่เพียงแต่ฝ่าฝืนและกระทำบาปในทางปฏิบัติอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทว่าในทางความเชื่อมันยังได้ถือว่าคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้านั้นไม่เป็นธรรมและไร้ซึ่งวิทยปัญญา และมันได้กลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาและไร้ศาสนา

 

บทเรียนที่ได้รับจากโองการนี้

 

 อิบาดะฮ์ที่แท้จริงนั้นคือการที่มนุษย์จะยอมสิโรราบต่อทุกคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ว่าคำสั่งใดที่ตรงกับใจตัวเองจึงจะปฏิบัติตาม

อิบลีซยอมที่จะซุญูดต่อพระผู้เป็นเจ้าเป็นระยะเวลายาวนานหลายศตวรรษ แต่ไม่ยอมที่จะซุญูดต่ออาดัมเพียงชั่วขณะเดียว

 

 ห่างไกลจากความเป็นธรรม การที่มลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ยอมทำการซุญูดต่อมนุษย์ แต่มนุษย์กลับไม่ยอมที่จะทำการซุญูดต่อพระผู้เป็นเจ้า

 

 ความโอหังและอวดดีต่อสัจธรรม จะนำพามนุษย์ไปสู่การปฏิเสธศรัทธา (กุฟร์) และการไม่มีศาสนา

 

 การซุญูดและและความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อสิ่งอื่นจากพระผู้เป็นเจ้า หากกระทำไปโดยพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าแล้วนั้น ไม่เพียงแต่ไม่ใช่เป็นการตั้งภาคี (ชิกร์) ต่อพระเจ้าแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นมันคือ “เตาฮีด” (การยอมรับในเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า)

 

 ความคู่ควรและความเหมาะสมนั้น สำคัญกว่าความมีอายุมากและการมาก่อน มลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) (แม้จะมาก่อนอาดัม) ก็จำเป็นต้องซุญูดต่ออาดัม

 

 

ที่มา : สรุปเนื้อหาจากบทเรียน “ตัฟซีร” ของเชคมุห์ซิน กิรออะตี


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ประวัติย่อของอิมามมุฮัมมัด ...
คุณสมบัติของอัล-กุรอาน
สานสัมพันธ์กับอิมามซะมาน
...
...
...
...
อิมามญะอฺฟัรกับวิทยาศาสตร์
ผู้ป่วยแห่งกัรบาลาอฺ (ตอนที่2)
อิมามริฎอ คือ ผู้ค้ำประกันกวาง

 
user comment