ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 3

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 3



บทเรียนอูศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา)

 

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 3

 

นิยามของอัดลฺ(ความยุติธรรม)

 

ความหมาย "อัดลฺ"ทางด้านภาษา มีคำนิยาม ดังนี้

 

1- ความเสมอภาค ความเท่าเทียม ความยุติธรรม ซึ่งทัศนะนี้บางประเทศยึดหลักความยุติธรรมตามนิยามนี้ คือ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่บางประเทศคนผิวดำกลับไม่มีสิทธิเลือกตั้งเหมือนกับคนผิวขาว

นิยามนี้ บางครั้ง การปฏิบัติถูกต้องคือ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่บางประเทศ ผิดพลาดตรงที่กำหนดสิทธิ โดยให้ความเท่าเทียมเฉพาะผิวสี

 

2- การไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

 

3- การให้สิทธิตามที่ควรได้รับ “อะฮ์ฏอกุลละซีฮักกินฮักกอฮุ”

اعطاءكل ذي حق حقه

เป็นนิยามที่ให้ความหมาย ลงลึกในรายละเอียดกว่านิยามทั้งสองข้างต้น เช่น บุตรคนโตกับบุตรคนเล็ก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน พ่อแม่จึงให้สิทธิตามความจำเป็นและความเหมาะสม เมื่อบุตรคนโตมีความจำเป็นต้องใช้มากกว่า จึงสมควรจะได้รับค่าใช้จ่ายมากกว่า ส่วนคนเล็กมีความจำเป็นน้อยกว่า เป็นที่เหมาะสมที่จะได้รับน้อยกว่า

 

จะเห็นได้ว่า นิยามนี้ให้สิทธิต่อบุคคลตามความจำเป็นและความเหมาะสม ดังนั้น บุคคลที่มีความรู้ความสามารถมากกว่า ย่อมที่จะได้รับค่าตอบแทนมากกว่าบุคคลที่มีความรู้และความสามารถน้อยกว่า ซึ่งทุกคนยอมรับในความยุติธรรมตามนิยามนี้

 

4- การกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดถูกต้องตามกาลเทศะ หรือ การวางของถูกที่ถูกต้องเหมาะสมตามที่ที่มันควรอยู่ ซึ่งนิยามนี้ ตรงกับคำว่า (ฮิกมะฮ์=วิทยปัญญา)

ฮิกมะฮ์ คือ ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความมีเหตุมีผล ความถูกต้องที่สุดที่ควรจะเป็นไปตามนั้น

 

ความแตกต่างระหว่างนิยามที่สามกับนิยามที่สี่

 

-นิยามที่สาม ไม่มีเรื่องของฮิกมะฮ์(วิทยะปัญญา)

-นิยามที่สี่ {มีเรื่องของฮิกมะฮ์(วิทยะปัญญา)

 

สมมุติ : มีคนสองคนกระทำผิดเหมือนกัน หากพิจารณาจากตรรกะทั่วไป ตามสิทธิที่เขาทั้งสองควรจะได้รับ คือ การถูกลงโทษ ซึ่งการถูกลงโทษลักษณะนี้คือ นิยามที่สาม แต่ถ้าหากไม่มีการลงโทษ ด้วยเหตุผลที่สำคัญกว่าและเหมาะสมกว่าการลงโทษ เพราะบางกรณีการลงโทษอาจจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกอย่างมากมาย

 

ฉะนั้น เมื่อเกรงว่าจะส่งผลให้มีปัญหาตามมามากกว่า จึงเข้าประเด็น ต้องวางปัญหาของเขาให้ถูกต้องเหมาะสมด้วยการไม่ลงโทษ ซึ่งการถูกลงโทษลักษณะนี้ คือ นิยามที่สี่ ซึ่งมีความหมายครอบคลุมที่ลึกซึ้งกว่านิยามที่สาม

 

จะเห็นได้ว่า ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้านั้นส่วนมากอยู่ในนิยามที่สี่ เพราะมีเรื่องฮิกมะฮ์ ที่มีเหตุ มีผล และมีความเหมาะสมเกี่ยวข้องอยู่ด้วย

 

ขอขอบคุณสถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ประวัติย่อของอิมามมุฮัมมัด ...
คุณสมบัติของอัล-กุรอาน
สานสัมพันธ์กับอิมามซะมาน
...
...
...
...
อิมามญะอฺฟัรกับวิทยาศาสตร์
ผู้ป่วยแห่งกัรบาลาอฺ (ตอนที่2)
อิมามริฎอ คือ ผู้ค้ำประกันกวาง

 
user comment