ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

มารยาทภายนอกในการอ่านอัล-กุรอาน

เป็นธรรมดาเมื่อคนเราอยู่ต่อหน้าบุคคลสำคัญจำเป็นรต้องแสดงมารยาทที่ดีงามเพื่อเป็นการให้เกียรติและให้ความเคารพต่อบุคคลนั้น การอ่านอัล-กุรอานถือเป็นหนึ่งในการให้เกียรติต่ออัล-กุรอาน และพระผู้เป็นเจ้าของดำรัส หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากการอ่านอัล-กุรอานเท่ากับเป็นการสนทนากับพระองค์ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดปรารถนาจะพูดคุยกับอัลลอฮฺจงอ่านอัล-กุรอาน อีกนัยหนึ่งผู้อ่านอัล-กุรอานนั้น ถื
มารยาทภายนอกในการอ่านอัล-กุรอาน

เป็นธรรมดาเมื่อคนเราอยู่ต่อหน้าบุคคลสำคัญจำเป็นรต้องแสดงมารยาทที่ดีงามเพื่อเป็นการให้เกียรติและให้ความเคารพต่อบุคคลนั้น

การอ่านอัล-กุรอานถือเป็นหนึ่งในการให้เกียรติต่ออัล-กุรอาน และพระผู้เป็นเจ้าของดำรัส หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากการอ่านอัล-กุรอานเท่ากับเป็นการสนทนากับพระองค์

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดปรารถนาจะพูดคุยกับอัลลอฮฺจงอ่านอัล-กุรอาน

อีกนัยหนึ่งผู้อ่านอัล-กุรอานนั้น  ถือว่าเป็นผู้สนทนาร่วมระหว่างตนกับ อัลลอฮฺ (ซบ.) ดังนั้น เมื่ออัลลอฮฺ (ซบ.) สนทนาด้วยจำเป็นต้องใส่ใจต่อบทนำ มารยาทและเงื่อนไขต่าง ๆ ในการอ่านอัล-กุรอาน เพื่อว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์มากที่สุด และที่สำคัญไปกว่านั้นเพื่อว่าจะได้อยู่ในความเมตตาและความรักของพระองค์ มารยาทภายนอกทั่วไปในการอ่านอัล-กุรอาน เช่น

1. ความสะอาด (วุฎูอฺหรือฆุซลฺ)

อัล-กุรอานกล่าวว่า ไม่มีผู้ใดสัมผัสอัล-กุรอานได้ นอกจากบรรดาผู้บริสุทธิ์เท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ บางริวายะฮฺ และฟิกฮฺบางเล่มได้ถือโองการข้างต้นเป็นพื้นฐานพิสูจน์ว่า การสัมผัสอัล-กุรอานขณะที่ร่างกายปราศจากวุฎูอฺเป็นฮะรอม

ความสะอาดของผู้อ่านเป็นมารยาทสำคัญเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน เพราะเป็นพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า การให้เกียรติและแสดงความนอบน้อมถือเป็นความจำเป็นสำหรับผู้อ่านทุกคน และสำหรับความสะอาดนั้นสามารถจำแนกออกเป็น

วุฎูและฆุซลฺวาญิบ ทุกครั้งที่ต้องการสัมผัสอัล-กุรอานเป็นวาญิบต้องทำวุฎ แต่ถ้ามีญูนุบหรือสตรีที่หมดรอบเดือนเป็นวาญิบต้องฆุซลฺก่อน

วุฎูอฺและฆุซลฺมุซตะฮับ วุฎูอฺถือเป็นเงื่อนไขที่สมบูรณ์สำหรับการอ่านอัล-กุรอาน ดัวยเหตุนี้เมื่อต้องการควรมีวุฎุอฺ

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ถ้าบุคคลใดอ่านอัล-กุรอานนอกเวลานะมาซ โดยมีวุฎูอฺจะได้รับผลบุญ 25 ความดี ส่วนผู้ที่อ่านโดยไม่มีวุฎูอฺจะได้รับ 10 ความดี

2. การให้ความสำคัญต่อสุขภาพ (ความสะอาด)

ประเด็นดังกล่าวสามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้

ความสะอาดของปาก ริวายะฮฺกล่าวว่าคุณสมบัติพิเศษประการหนึ่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือท่านจะแปรงฟันก่อนทุกครั้ง ก่อนอิบาดะฮฺโดยเฉพาะอย่างยิ่งอ่านอัล-กุรอาน และนะมาซเซาะลาตุลลัยลฺ ท่านได้กล่าวกับบรรดาสาวกของท่านว่า

พวกท่านทั้งหลายจงทำความสะอาดทางเดินของอัล-กุรอาน

มีผู้ถามว่า โอ้ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านหมายถึงสิ่งใดหรือ

ท่านตอบว่า มันคือปากาของพวกท่าน

มีผู้ถามว่า เราจะทำความสะอาดด้วยวิธีใด

ท่านตอบว่า ด้วยการแปรงฟัน

ความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า เป็นการดีขณะอ่านอัล-กุรอาน ร่างกายและเสื้อผ้าต้องสะอาดปราศจากนะยิซ เช่น เลือด ปัสสาวะ และอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อัล-กุรอานเปื้อนนะยิซและถูกดูถูก และเป็นการดีสำหรับผู้อ่านอัล-กุรอานควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด สุภาพ และใส่น้ำหอมเพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนอื่นทั่วไป

3. ดุอาอฺก่อนอ่านอัล-กุรอาน

สำหรับการปฏิบัติภารกิจทั้งหลาย การเตรียมพร้อมถือเป็นความจำเป็น ดังนั้นการที่มนุษย์จะเข้าสู่อัล-กุรอานเป็นการดีควรมีการเตรียมพร้อมตนเองเสียก่อน ซึ่งการเตรียมพร้อมสามารถสัมฤทธิ์ผลได้โดยผ่านสื่อของดุอาอฺ

บรรดาอิมาม (อ.) ได้แนะนำดุอาอฺไว้มากมายสำหรับเริ่มต้นอ่านอัล-กุรอาน เช่น ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า

اّللَّهُمَّ اِنِّى اَشْهَدُ اَنَّ هَذَا كِتَا بُكَ الْمُنْزَلُ مِنْ عِنْدِ كَ علَى رَسُوْلِكَ مُحَمَّدِ بْنِ عَبْدِ اللّهِ صَلَّ اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَ كَلَامُكَ النَّاطِقُ عَلَى لِسَانِ نَبِيِّكَ جَعَلْتَهُ هَادِيًا مِنْكَ اِلَى خَلْقِكَ وَ حَبْلاً مُتِّصِلاً فِيْمَا بَيْنَكَ وَ بَيْنِ عِبَادِكَ اَللَّهُمَّ اِنَّى نَشَرْتُ عَهْدَكَ وَ كِتَابَكَ اَللَّهُمَّ فَاجْعَلْ نَظَرِىْ فِيْهِ عِبَادَةً وَ قِرَائَتِى فِيْهِ فِكْرًا وَ فِكْرِىْ فِيْهِ اِعْتِبَارًا

โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ขอเป็นสักขีพยานว่า แท้จริงนี่คือคัมภีร์ของพระองค์ที่ถูกประทานจากพระองค์ ยังศาสนทูตของพระองค์ มุฮัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ ขออัลลอฮฺทรงประสาทพรแด่ท่านและลูกหลานของท่าน ถ้อยคำของพระองค์ที่เอื้อนเอ่ยโดยคำพูดของศาสนดาแห่งพระองค์ ขอทรงโปรดบันดาลให้ถ้อยคำเป็นเครื่องชี้นำจากพระองค์ แก่บรรดาสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และเป็นสายเชือกที่ผูกสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับปวงบ่าวของพระองค์ โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ได้แผ่ขยายสัญญาของพระองค์ และคัมภีร์ของพระองค์ โอ้อัลลอฮฺ ดังนั้น โปรดทรงบันดาลให้การมองคัมภีร์ของข้าฯ เป็นอิบาดะฮฺ และการอ่านคัมภีร์ของข้าฯ เป็นการคิดใคร่ครวญ และโปรดทำให้การคิดของข้าฯ เป็นอุทาหรณ์เตือนสติ..

4. การขอความคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้า (อิซติอาซะฮฺ)

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า ดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัล-กรุอาน จงขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง

อิซติอาซะฮฺ เป็นพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าแก่บรรดานักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลาย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก่อนที่จะอ่านอัล-กุรอาน ท่านจะกล่าวว่า อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม

  ( اَعُوذُ بِاللَّهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ)

ข้าฯขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง

อิซติอาอะฮฺ ในพจนานุกรมหมายถึงการขอความคุ้มครอง

ส่วนในความหมายของนักปราชญ์ หมายถึงผู้อ่านอัล-กุรอานก่อนที่จะเริ่มอ่านอัล-กุรอานไม่ว่าตรงส่วนไหนของอัล-กุรอานก็ตาม (เริ่มต้น ตรงกลาง หรือตอนท้ายของซูเราะฮฺ) ก่อนบิซมิลลาฮฺ จะกล่าวว่า อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม  หมายถึง ข้าฯขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง

ด้วยเหตุนี้ก่อนอ่านอัล-กุรอานจึงทูลขอกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า โปรดคุ้มครองตนให้พ้นจากความชั่วของชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง เพื่อมิให้การอ่านของตนเป็นการโอ้อวด หรือเป็นการแสดงเอาหน้าเอาตา ขณะที่อ่านต้องการให้จิตใจมีความนอบน้อมมุ่งมั่นแต่อัลลอฮฺ (ซบ.) เพื่อให้อัล-กุรอานมีผลต่อจิตวิญญาณของตน

คำเตือน อิซติอาซะฮฺมี 2 ส่วนคือ ความหมายตามคำ กับความหมายที่แท้จริง

หมายถึง บางครั้งมนุษย์ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ด้วยความสมบูรณ์ แต่จิตใจมิได้เป็นเช่นนั้น และในบางครั้งแค่กล่าวคำเท่านั้น แต่การมีอยู่ทั้งหมดได้นอบน้อม ยอมจำนน และขอความคุ้มครองเฉพาะพระองค์เท่านั้น

อิสติอาซะฮฺ ต้องแสดงออกอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดผล อัลลอฮฺ (ซบ.) จะได้ให้ความคุ้มครองและปรับปรุงแก้ไขเรา

การขอความคุ้มครองที่แท้จริง ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงปิดประตูการละเมิดฝ่าฝืนด้วยการขอความคุ้มครอง (อิซติอาซะฮฺ) และจงเปิดประตูแห่งการเชื่อฟังปฏิบัติตาม (ฏออะฮฺ) ด้วยการกล่าวบิซมิลลาฮฺ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ลองพิจารณาคำพูดของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า ส่วนหนึ่งจากมารยาทที่สำคัญของการอ่านอัล-กุรอานคือ การขอความคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้าให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายผู้ถูกสาปแช่ง ซึ่งเป็นขวากหนามในหนทางแห่งมะอฺริฟะฮฺ (การรู้จัก) และการเดินทางไปสู่พระผู้เป็นเจ้า การขอความคุ้มครองจะไม่สัมฤทธิ์ผลเพียงแค่การกระดิกลิ้น รูปคำที่ไร้จิญญาณ และดุนยาที่ปราศจากอาคิเราะฮฺ ดังเช่นที่มีบุคคลจำนวนมากที่กล่าวคำ ๆ นี้ตลอดระยะเวลา 40-50 ปี แต่พวกกเขากลับไม่รอดพ้นจากความชั่วร้ายของชัยฏอนมารร้าย ในทางกลับกันมารยาทต่าง ๆ และการกระของพวกเขายิ่งไปกว่านั้น ตวามเชื่อถือต่าง ๆ ของเขากลับดำเนินและปฏิบัติตามชัยฏอนมารร้าย

5. การกล่าวบิซมิลลาฮิรเราะมานิรเราะฮีม

อัล-กุรอานได้มีบัญชาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้า

บิซมิลลาฮฺ คือคำขวัญที่บริสุทธิ์เฉพาะมวลมุสลิมทีจะเริ่มต้นคำพูดและการงานต่าง ๆ ของตน เพื่อให้การงานเหล่านั้นมีสัญลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้า

เกี่ยวกับอัล-กุรอานมี 2 ประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

1. บิซมิลลาฮฺ ในส่วนเริ่มต้นของทุกซูเราะฮฺ เป็นส่วนหนึ่งของโองการอัล-กุรอาน เฉพาะซูเราะฮฺบะรออะฮฺเท่านั้นที่ไม่มี บิซมิลลาฮฺ จากจุดนี้เมื่อขึ้นซูเราะฮฺใหม่ทุกครั้งจำเป็นต้องอ่านบิซมิลลาฮฺทุกครั้ง เนื่องถือเป็นโองการแรกของซูเราะฮฺ ยกเว้นซูเราะฮฺบะรออะฮฺ

2. กรณีที่เริ่มต้นอ่านจากตรงกลางซูเราะฮฺ (ระหว่างโองการต่าง ๆ) ไม่ว่าซูเราะฮฺใดก็ตามสามารถกล่าวหรือไม่กล่าวบิซมิลลาฮฺก็ได้

ข้อควรพิจารณา ไม่ว่าจะเริ่มต้นอ่านตรงส่วนใดของอัล-กุรอานก็ตามจำเป็นต้องเริ่มต้นด้วย  อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม

หมายถึงถ้าผู้อ่านต้องการกล่าวบิซมิลลาฮฺ เป็นการดีให้กล่าว อิซติอาซะฮฺก่อน

 6. การอ่านจากอัล-กุรอาน

ริวายะฮฺจำนวนได้แจ้งว่าควรอ่านอัล-กุรอานจากที่เขียนไว้ เซาะฮาบะฮฺท่านหนึ่งของท่านอิมามซอดิก (อ.) นามว่าอิกฮาก บิน อัมมารได้ถามท่านว่า โอ้บุตรของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ฉันควรจะอ่านอัล-กุรอานจากความจำหรือจากที่บันทึกไว้ดี

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า มองและอ่านจากที่เขียนไว้ดีกว่า ท่านไม่รู้ดอกหรือว่าการมองอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ

เกียวกับเรื่องการเน้นให้อ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้มีรายงานมากมายและแตกต่างกัน

1. การมองอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ : และสายตาที่จ้องมองอัล-กุรอานจะได้รับประโยชน์มากมาย ดังเช่นริวายะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

النظر فى المصحف يعنى صحيفة القرآن عبادة

การมองในมุซฮับ หมายถึงการมองที่หน้ากระดาษของอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ

จากริวายะฮฺดังกล่าวจะเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคนที่อ่านไม่เป็นเขียนไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถอ่านอัล-กุรอานแต่ได้รับประโยชน์จากการมอง

2. การให้ความสำคัญต่อสิทธิของอัล-กุรอาน:  อ่านและย้อนกลับไปหาอัล-กุรอานบ่อย ๆ เป็นการทำให้อัล-กุรอานที่อยู่ในบ้านและมัสญิดลดความแปลกหน้าลงไป

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่จะทำการร้องเรียนต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) คืออัล-กุรอานถึงการถูกทอดทิ้งที่ไม่ได้ถูกอ่านและถูกฝุ่นละอองเกาะจับ

3. การอ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้เป็นสาเหตุทำให้บาปของบิดามารดาของคนอ่านถูกลบล้าง ริวายะฮฺกล่าวว่า

عن ابي عبد الله : قرائة القرآن فى المصحف تخفف العذاب عن الوالدين ولو كانا كافرين

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้เป็นเหตุทำให้บาปของบิดามารดาถูกลบล้าง แม้ว่าทั้งสองจะเป็นกาฟิรก็ตาม

4. ทำให้มีการพิมพ์อัล-กุรอานซ้ำหลายครั้ง ซึ่งสิ่งนี้เท่ากับเป็นการเผยแผ่วัฒนธรรมของอัล-กุรอาน

คำเตือน สำหรับผู้ที่ท่องจำอัล-กุรอานเป็นการดีให้ท่องจำจากที่บันทึกเอาไว้ ดังที่ท่านอิมามได้กล่าวกับอิซฮาก บิน อัมมาร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการท่องจำ

7. การอ่านอัล-กุรอาน ด้วยเสียงค่อยดังและสูงต่ำ

ก. อ่านด้วยเสียงดังและสูง

ริวายะฮฺกล่าวว่า ท่านอิมามซัจญาด (อ.) อ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงดังเสมอเพื่อให้คนในบ้านได้ยิน ท่านซักกอยาน ขณะที่เดินผ่านบ้านท่านอิมามบากิร (อ.) ท่านได้หยุดเพื่อฟังการอ่านอัล-กุรอาน สำหรับการอ่านอัล-กุรอานเสียงดังมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

1. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดังของบิดามารดา มีผลต่อการอบรมสั่งสอนบุตร

2. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุทำให้มีความสำรวม และจิตใจสงบมั่น

3. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นการรักษาความบกพร่อง และอาการป่วยไข้ของผู้อ่าน

4. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นการเรียกร้องบุคคลอื่นให้สนใจอัล-กุรอาน และทำให้มีผลสะท้อนทางจิตวิญญาณ

5. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เท่ากับเป็นการทำให้วัฒนธรรมของอัล-กุรอานแพร่หลายในสังคม

6. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง ซูเราะฮฺฮัม และซูเราะฮฺในนะมาซซุบฮฺ มัฆริบ และอิชาอฺเป็นวาญิบสำหรับผู้ชาย

ข. การอ่านอัล-กุรอานเสียงค่อย จำเป็นสำหรับกรณีต่อไปนี้

1. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุทำให้เกิดการโอ้อวด ซึ่งสิ่งนี้เป็นการกระทำที่ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด

2. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น อ่านขณะที่บุคคลอื่นกำลังพักผ่อน หรือเพื่อนบ้านกำลังนอนหลับ อ่านในมัสญิด หรืออ่านขณะที่บุคคลอื่นกำลังอิบาดะฮฺ

3. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย เนื่องจากการทำให้ร่างกายเป็นอันตรายไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตามเป็นฮะรอม ส่วนการอ่านอัล-กุรอานเป็นมุซตะฮับ

4. การอ่านอัล-กุรอานเสียงค่อยในนะมาซ ซุฮรฺ และอัซรฺสำหรับบุรุษและสตรีเป็นวาญิบ ส่วนสตรีนั้นไม่ว่าเวลานะมาซใดก็ตามถ้ามีชายอื่นอยู่

5. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เท่ากับเป็นการทำให้วัฒนธรรมของอัล-กุรอานแพร่หลายในสังคม

6. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง ซูเราะฮฺฮัม และซูเราะฮฺในนะมาซซุบฮฺ มัฆริบ และอิชาอฺเป็นวาญิบสำหรับผู้ชาย

ข. การอ่านอัล-กุรอานเสียงค่อย จำเป็นสำหรับกรณีต่อไปนี้

1. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุทำให้เกิดการโอ้อวด ซึ่งสิ่งนี้เป็นการกระทำที่ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด

2. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น อ่านขณะที่บุคคลอื่นกำลังพักผ่อน หรือเพื่อนบ้านกำลังนอนหลับ อ่านในมัสญิด หรืออ่านขณะที่บุคคลอื่นกำลังอิบาดะฮฺ

3. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย เนื่องจากการทำให้ร่างกายเป็นอันตรายไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตามเป็นฮะรอม ส่วนการอ่านอัล-กุรอานเป็นมุซตะฮับ

4. การอ่านอัล-กุรอานเสียงค่อยในนะมาซซุฮรฺ และอัซรฺสำหรับบุรุษและสตรีเป็นวาญิบ ส่วนสตรีนั้นไม่ว่าเวลานะมาซใดก็ตามถ้ามีชายอื่นอยู่ด้วยไม่อนุญาตให้อ่านเสียงดัง

8. การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะ

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า แน่นอนการอ่าน อัล-กุรอาน ด้วยเสียงไพเราะถือว่าเป็นเครื่องประดับของอัล-กุรอาน   انّ حسن الصوت زينة القرآن

การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะเป็นสาเหตุให้บุคคลอื่นสนใจอัล-กุรอาน ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มักอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะเสมอจนกระทั่งกล่าวกันว่าเสียงอ่านอัล-กุรอานที่ไพเราะที่สุดคือเสียงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

ข้อควรพิจารณา มีผู้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าบุคคลใดอ่านอัล-กุรอานเสียงเพราะที่สุด ท่านกล่าวว่า บุคคลที่ได้ยินเสียงอ่านของตนเองแล้วคิดว่าตนอยู่ ณ พระพักตร์ของพระองค์

จากริวายะฮฺดังกล่าวทำให้รู้ว่าการอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนั้นมี 2 ลักษณะ

1.    เสียงไพเราะทั้งภายนอกและคำ

2.    เสียงไพเราะทั้งคำและความหมาย ซึ่งเป็นผลแก่จิตใจของผู้อ่านและทำให้มีความนอบน้อมเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน

การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนอกเหนือไปจากการอ่านควบคู่ด้วยเสียงดนตรี ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานสนุกสนานร่าเริง ถือว่าฮะรอม

ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ฮิญาบในอิสลาม
เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 1
...
...
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
...
เดือนรอมฎอน เดือนแห่งอัลอิสลาม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ ตอนที่ ...
อาลัมบัรซัค ...
ความสำคัญของพ่อแม่ในอิสลาม

 
user comment