ศีรษะของท่านอิมามฮุเซน(อ)อ่านโองการจากอัลกุรอานในรายงานของซุนนีและชีอะฮ์
การอ่านโองการอัลกุรอานโดยศีรษะของท่านอิมามฮุเซน(อ)นั้นไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด
เนื่องจากอิมามเป็นบ่าวผู้บริสุทธิ์และมีความอิคลาศใจอย่างแท้จริงต่อพระองค์ ที่ถูกทำชะฮีดอย่างอธรรมและมัศลูมที่สุด และพระองค์ได้มอบกะรอมัตอันนี้ให้กับท่านอิมามเพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ในการเป็นสัญลักษณ์แห่งการถูกศอเล็มโดยศัตรูของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต(อ)
รายงานจากสายของชีอะฮ์
เซด บิน อัรกัม รายงานว่า มีอยู่วันหนึ่งฉันอยู่ห้องหนึ่งภายในบ้านหลังหนึ่งในเมืองกูฟะห์ ซึ่งมีการแห่ประจานเหล่าศีรษะของชุฮาดาอ์ในกัรบาลาอ์ ที่ถูกเสียบบนปลายหอก รอบๆเมืองกูฟะห์ จากนั้นฉันได้ยินศีรษะของท่านอิมามฮุเซน(อ)อ่านโองการนี้ว่า
أم حسبت أن أصحاب الکهف والرقیم کانوا من آیاتنا عجبا
ความว่า “เจ้าคิดหรือว่า ชาวถ้ำ และแผ่นจารึก เป็นส่วนหนึ่งจากสัญลักษณ์ของเรา อันน่าฉงน” (ซูเราะฮ์ อัลกะห์ฟ์ โองการที่ ๙)
เมื่อฉันได้ยินโองการดังกล่าวจากศีรษะของท่านอิมามฮุเซน(อ) จึงกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ว่า ศีรษะของท่านอิมามฮุเซน(อ)ผู้เป็นหลานของท่านศาสดา(ศ)มีความฉงนใจยิ่งกว่าชาวถ้ำเสียอีก
แหล่งอ้างอิง
หนังสือ อิรชาด เชค มุฟิด เล่ม ๒ หน้า ๑๑๗
خصائص الحسین، ص 1500
مناقب امیرالمومنین، ج 2، ص 267
الارشاد، ج 2، ص 117
مجلسی، بحار الانوار، ج 45، ص 121
รายงานจากสายของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์
อิบนุอะซากิร อุละมาทางด้านประวัติศาสตร์ ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์
อิบนุอะซากิร รายงานจาก มินฮาล บิน อัมร์ โดยเขากล่าวว่า
أنا والله رأيت رأس الحسين بن علي حين حمل وأنا بدمشق وبين يدي الرأس رجل يقرأ سورة الكهف حتى بلغ قوله تعالى
“ขอสาบานต่ออัลลอฮ ฉันเห็นศีรษะของ ฮูเซน บิน อะลี ในช่วงที่พวกเขาแห่พาไป โดยขณะนั้น ฉันอยู่ในดามัสกัส โดยข้างหน้าศรีษะ มีบุคคลผู้หนึ่ง กำลังอ่านโองการซูเราะฮ์อัลกะฮ์ฟ์ จนถึงพระดำรัสนี้ของพระองค์อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง
أم حسبت أن أصحاب الکهف والرقیم کانوا من آیاتنا عجبا
“เจ้าคิดหรือว่า ชาวถ้ำ และแผ่นจารึก เป็นส่วนหนึ่งจากสัญลักษณ์ของเรา อันน่าฉงน”
เขากล่าวต่อว่า
قال فأنطق الله الرأس بلسان ذرب فقال
เมื่อนั้น พระองค์อัลลอฮ ได้ทำให้ศรีษะนั้นพูดด้วยสำเนียงที่เชือดเฉือนว่า
أعجب من أصحاب الكهف قتلي وحملي
“ทีน่าฉงนยิ่งกว่าชาวถ้ำ คือ การสังหารฉัน และการนำพาฉันมา”
แหล่งอ้างอิง
ตารีคมะดีนะฮ์ เดมิชก์ อิบนุอะซากิร เล่ม 60 หน้า 369-370
تاريخ مدينة دمشق – ابن عساكر – ج 60 – ص 369 – 370
ขอขอบคุณเว็บไซต์ เลิฟฮุเซน
source : alhassanain