ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

ประวัติศาสตร์การรวบรวมอัลกุรอาน

ประวัติศาสตร์การรวบรวมอัลกุรอาน

ประวัติศาสตร์การรวบรวมอัลกุรอาน


เมื่อพูดถึง "ประวัติศาสตร์อัลกุรอาน" สิ่งแรกที่ผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะได้ประโยชน์ก็คือ “การทำความเข้าใจอัลกุรอานอย่างถูกต้อง”ที่ประวัติศาสตร์อัลกุรอาน ทำให้เข้าใจอัลกุรอานอย่างถูกต้องก็เพราะเงื่อนไขในการเข้าใจให้ถูก อิงกับอรัมภบทต่างๆของอัลกุรอาน เช่น การรู้ว่าโองการไหนคือมักกียะฮ์ โองการไหนคือมะดะนียะฮ์ ก็จะช่วยทำให้เราสามารถไล่เลียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ถ้าเรารู้ว่า มักกียะฮ์ คือ โองการที่ลงมาในช่วงที่ศาสดายังคงประจำอยู่เมืองมักกะฮ์

เราจะเห็นเนื้อหาของแต่ละโองการและสามารถพิจารณาจากสถานการณ์ในยุคนั้นได้ใกล้เคียงมากขึ้นลึกมากขึ้น รู้จักห้วงเวลาของแต่ละโองการ เช่นเดียวกันถ้าเรารู้ว่า มะดะนียะฮ์ คือ โองการที่ลงมาหลังจากที่ศาสดาได้อพยพไปเมืองมะดีนะฮ์ ก็จะเห็นมุมมองหนึ่ง เราจะเห็นโองการก่อนจัดตั้งรัฐบาลและหลังจัดตั้งรัฐบาลอิสลามในสมัยของศาสดามูฮัมมัด(ศ็อลฯ) นี่ก็เป็นมุมหนึ่งที่สะท้อนให้ผู้ที่มีความรู้เรื่องอรัมภบทเหล่านี้ของอัลกุรอานได้สังเกตเห็น ในทำนองเดียวกัน ประวัติศาสตร์อัลกุรอานก็สร้างความเข้าใจพื้นฐานอย่างที่ควรจะเป็นให้แก่ผู้คิดศึกษาอัลกุรอาน

ถ้าถามว่ารู้ได้อย่างไรว่า อัลกุรอานที่มุสลิมเขาอ่านกันอยู่ทุกวันนี้ คือ ประโยคและถ้อยคำที่มาจากศาสดามูฮัมมัด(ศ) แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ส่วนหนึ่งของคำตอบอยู่ใน”ประวัติศาสตร์อัลกุรอาน” หรือจะถ้าถามว่าสมัยนั้นอาหรับยังไม่ใช้กระดาษเขาจดบันทึกรักษากันอย่างไร ?  คำตอบก็อยู่ในอัลกุรอานอีกเช่นกัน ฉะนั้นสำหรับทุกคนแล้ว “การศึกษาประวัติ และที่มาก่อนจะมาเป็นคัมภีร์เล่มที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจและเห็นว่าในเวอร์ชั่นภาษาไทย ยังไม่ค่อยจะมีหนังสือหรือบทความที่เขียนถึงแนวนี้ให้เห็นมากนัก จึงขอเขียนขึ้นมา สักสามฉบับมอบประโยชน์และความรู้สำหรับผู้อ่านทุกท่าน

 

จุดเริ่มต้นของการรวบรวมอัลกุรอาน นั้นมีคำอธิบายอยู่สองทัศนะด้วยกัน

 

1.อัลกุรอานถูกรวบรวมหลังการจากไปของศาสดา(ศ)โดยในทัศนะนี้แตกออกเป็นอีกสามทัศนะคือ อัลกุรอานถูกรวบรวมในสมัยคอลีฟะฮ์ที่หนึ่ง และทัศนะที่สองคือ สมัยคอลีฟะฮ์ที่สอง และทัศนะที่สามคือ สมัยคอลีฟะฮ์ที่สาม

 

2.อัลกุรอานถูกรวบรวมหลังจากในยุคของศาสดา(ศ)


แต่ละทัศนะก็มีเหตุผลสนับสนุนแตกต่างกันไป  โดยเหตุผลสนับสนุนทัศนะแรก มีรายงานจาก เซด บิน ซาบิต ได้รายงานว่า ศาสดาจากโลกนี้ไป ขณะที่ยังไม่มีการรวมอัลกุรอานเป็นรูปเล่ม มีเพียงการบันทึกไว้บนก้านอินทผลัม และบนแผ่นไม้เท่านั้น[1]นอกเหนือจากรายงานดังกล่าวยังมีข้อโต้แย้งสนับสนุนว่า ศาสนารอคอย วิวรณ์ จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต จึงไม่มีเหตุที่ อาลักษณ์จะต้องรวบรวมเป็นรูปเล่ม เพราะทุกคนต่างก็คิดกันว่า จะมีโองการต่อไปมาอีก จึงยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องรวบรวม (แน่นอนข้อโต้แย้งนี้วางอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่าวะฮีย์อาจจจะมีมาต่อ ซึ่งขัดกับหลักฐานทั่วไป) ทำนองเดียวกันฝ่ายที่สนับสนุนแนวคิดนี้ได้ยกรายงานอีกบทหนึ่ง สนับสนุนทัศนะที่ระบุว่าการรวบรวมอัลกุรอาน ด้วยมือของอาลี บิน อะบีฏอลิบ คือหลักฐานที่ยืนยันว่า ไม่เคยมีใครรวบรวมอัลกุรอานเมื่อครั้งศาสดายังมีชีวิต เพราะอาลี บิน อบีฏอลิบ ได้นำเสนอคัมภีร์อัลกุรอาน หลังจากที่ศาสดาเสียชีวิตไปแล้ว[2]และเมื่อพิจารณาในสมัยของคอลีฟะฮ์อบูบักรก็จะพบว่ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในสมัยนี้คือ คอลีฟะฮ์สั่งให้เซดรวบรวมอัลกุรอาน โดยหลังจากที่คอลีฟะฮ์ อบูบักร ได้เสนอให้รวบรวมอัลกุรอาน เซด บิน ซาบิต ก็ได้พูดขึ้นว่า ฉันจะทำสิ่งที่ยังไม่มีใครในหมู่ศอฮาบะฮ์ทำก่อนหน้านี้ได้อย่างไร[3]รายงานนี้จึงอาจเป็นหลักฐานที่ใช้ยืนยันว่า ยังไม่เคยมีการรวมอัลกุรอานเป็นรูปเล่มมาก่อน และเมื่อพิจารณาในสมัยคอลีฟะฮ์ท่านที่สาม คือ คอลีฟะฮ์อุษมาน ก็มีรายงานที่สนับสนุนทัศนะเช่นกัน ซึ่งเป็นรายงานจากอาลี บิน อบีฏอลิบ ที่อธิบายว่า สมัยคอลีฟะฮ์อุษมาน ประชาชนได้อ่านกิรออัตอัลกุรอาน ด้วยคัมภีร์เพียงเล่มเดียวและฮาริษ มุฮาซีบีย์ได้ให้เหตุผลสนับสนุนรายงานนี้โดยยืนยันว่า อุษมาน คือ ผู้รวบรวมคัมภีร์อัลกุรอานเป็นรูปเล่ม [4] และส่งท้ายยังมีรายงานของศอฮาบะฮ์ท่านอื่นๆที่ชี้ไปในลักษณะนี้ เช่นรายงานของอานัส บิน มาลิก ที่พูดถึงคำสั่งของอุษมานให้รวบรวมอัลกุรอานเป็นรูปเล่ม[5]

 

เหตุผลที่สนับสนุนทัศนะที่สอง หรือ อัลกุรอาน ถูกรวบรวมตั้งแต่สมัยศาสดา(ศ)

 

ฝ่ายที่สนับสนุนทัศนะนี้ ให้เหตุผลว่าเมื่อคิดกันแบบใช้เหตุใช้ผลจะพบว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่อัลกุรอานจะไม่ถูกสั่งให้รวบรวมไว้ตั้งแต่สมัยที่ศาสดายังคงมีชีวิต เพราะ การที่ท่านสั่งให้อาลักษณ์จดบันทึกไว้ ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของการจดบันทึกอยู่แล้ว และท่านศาสดา(ศ)เองก็รู้ดีกว่าผู้ใดว่า อัลกุรอาน จะกลายเป็นแหล่งแห่งวิชาการของอิสลามจนถึงวันกิยามัต จะเป็นไปได้อย่างไรที่ท่านจะจากโลกนี้ไป โดยปล่อยให้อัลกุรอ่านกระจัดกระจาย ไม่เป็นรูปแบบไว้เลย และนอกจากเหตุผลทางปัญญา หลักฐานจำนวนมากยังยืนยันว่า อัลกุรอาน ถูกรวบรวมตั้งแต่สมัยศาสดายังมีชีวิตไว้อยู่ก่อนแล้ว เช่น

 

-ในศอฮิฮฺบุคอรีย์ มีรายงานจาก อานัส บิน มาลิก ระบุว่า”มีการรวบรวมอัลกุรอานตั้งแต่สมัยของท่านนบี(ศ) ซึ่งผู้รวบรวมทั้งหมดเป็นชาวอันศอร ได้แก่ อุบัย ,มะอาซ บิน ฮะบัล,อบูเซดและ เซด บิน ซาบิตผู้รายงานจึงถาม อานัส ว่า ใครคือ อบูเซด อานัส ตอบว่า คือ หนึ่งในอาของข้าพเจ้า”[6]

 

-ฮากีมนัยซาบูรีย์ รายงานจาก เซดว่า”เราเคยอยู่กับศาสนทูต ขณะที่เรากำลังคัดลอกอัลกุรอาน บนนาๆพื้นผ้า” หลังจากที่ฮากีมนัยซาบูรีย์ได้รายงานตัวบทดังกล่าว เขากล่าวว่า “ฮาดิษนี้ศอฮิฮ ตามมาตรฐานของเชคทั้งสอง แต่เชคทั้งสอง(บุคอรี และมุสลิม) มิได้นำมารายงานไว้”[7]

 

ปัญหาเรื่องคำรายงานที่ต่างกันมาถึงจุดนี้จะเห็นว่า เรื่องประวัติศาสตร์การรวบรวมอัลกุรอาน เริ่มจะมีรายงานที่ต่างกัน รายงานชุดหนึ่ง+เหตุผลระบุว่า อัลกุรอาน รวมเป็นเล่มตั้งแต่สมัยศาสดา แต่รายงานอีกชุดหนึ่งบอกอีกแบบหนึ่ง แล้วจะไขปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างไร ?

 

ดูผิวเผินจะเห็นว่า มีรายงาน ที่ระบุเวลาการรวบรวมอัลกรุอานแตกต่างกัน เช่นรายงานจากเซด บิน ซาบิต รายงานหนึ่งชี้ว่า อัลกุรอานถูกรวบรวมสมัยศาสดา และอีกรายงานระบุจากเซด บิน ซาบิต คนเดียวกันระบุว่า อัลกุรอาน ถูกรวบรวมหลังจากศาสดาเสียชีวิต ซึ่งในหลักวิชาฮะดิษหากเจอกรณีลักษณะนี้ จะเรียกว่า”ตะอารุฎ” หมายถึง เรื่องหรือประเด็นที่มีคนรายงานตรงข้าม หรือ ต่างกัน แต่หากสืบค้นอย่างละเอียด จะพบว่า อัลกุรอ่านถูกรวบรวมตั้งแต่สมัยศาสดา(ศ)ไว้แล้ว เพราะประการแรกรายงานที่บันทึกว่า อัลกุรอานถูกรวบรวมตั้งสมัยศาสดายังคงมีชีวิต มีความแข็งแรงกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่า หากอัลกุรอานถูกรวมในภายหลังจะต้องไม่มีรายงานใดเลยที่ระบุว่า สาวกคนนู้น สาวกคนนี้มี อัลกุรอานที่เป็นรูปเล่มอยู่ก่อนการสั่งให้มีการรวมเล่มในสมัยคอลีฟะฮ์ท่านที่สาม แต่เรากลับพบว่า มีสาวกกลุ่มหนึ่งที่มีอัลกุรอานเป็นรูปเล่มอยู่ก่อนแล้วก่อนหน้านั้น

 

และประการที่สองผู้รู้สายอูลูมกุรอานเอง เช่น ซูยูฏีย์ ,กอฏีย์อะบูบักร,บะฆอวีย์[8] และทางฝั่งชีอะฮ์เองต่างก็ยืนยันเช่นกัน (เช่น ซัยยิดมุรตะฎอ อัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอีย์) การที่เรานำชื่อของพวกเขามาอ้างยืนยันนี้ไม่ได้หมายความว่า เรายึดเอาทัศนะของเขาแบบหลับหูหลับตา ที่เรานำการยืนยันของบุคคลเหล่านี้ มาเป็นสิ่งที่ใช้สนับสนุน เพราะ บุคคลที่อ้างชื่อมา คือ ผู้ที่ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับศาสตร์แห่งอัลกุรอานมาอย่างชำนาญและช่ำชอง การออกความเห็นหรือทัศนะใดๆของพวกเขา จึงไม่ใช่การเดาสุ่ม ดังนั้น การยืนยันของพยานเหล่านี้ จึงให้น้ำหนักที่ดีในทัศนะได้อีกจุดหนึ่ง

 

ประการที่สาม หากวิเคราะห์โดยใช้กฎเกณฑ์ของวิชาฮะดิษ จะช่วยไขปัญหานี้อย่างสมบูรณ์เพราะ เมื่อพิจารณารายงานที่ระบุว่า เซด เพิ่งรวบรวมอัลกุรอานหลังจากการเสียชีวิตของศาสดา โดยหลังจากนั้นตัวของเขาได้ไปรวบรวมอัลกุรอานจากนานาผู้คนที่จดบันทึกไว้ ก็เท่ากับเป็นการยืนยันไปในตัวว่า อัลกุรอานที่ออกรวบรวมอยู่ในสถานะ”คอบัรวาฮิด” ซึ่ง หมายถึง รายงานที่มาจากคนจำนวนหนึ่งที่จำนวนของผู้รายงานไม่ได้อยู่ในระดับ”มุตะวาติร” ทั้งๆที่ผู้รู้และนักค้นคว้าชาวมุสลิมทั้งหมด ตั้งแต่ยุคต้นแห่งวิชาการ จนถึงยุคปัจจุบัน ต่างก็ยืนยันว่า ทุกอักษร ทุกโองการของอัลกุรอาน เป็น”คอบัรมุตะวาตีร” หรืออยู่ในสถานะที่แต่ละโองการมีผู้รายงานจำนวนมาก ที่สามารถยืนยันได้ว่า จำนวนของบุคคลดังกล่าว เป็นไปในลักษณะที่ไม่สามารถโกหกกันเป็นหมู่ได้ ดังนั้นจากสามประการนี้จึงเป็นสิ่งสำทับยืนยันว่า อัลกุรอานถูกรวบรวมไว้ตั้งแต่สมัยที่ศาสดา(ศ)ยังคงมีชีวิต

 

ดังนั้น จากการวิพากษ์หลักฐานเบื้องต้น จึงทำให้เราสามารถได้ข้อสรุปว่า การรวบรวมอัลกุรอาน เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่ศาสดามูฮัมมัด (ศ) ยังคงมีชีวิตอยู่นั่นเอง หากนำข้อเท็จจริงนี้มาพิจารณาในแง่ของความถูกต้อง และสมบูรณ์ ก็จะทำให้เห็นถึงการไร้ช่องว่างของเวลา ระหว่าง ผู้กล่าววิวรณ์ กับ ตัวบทวิวรณ์ ซึ่งนั่นคือ อีกจุดหนึ่ง ที่ทำให้เราสามารถยืนยันถึงความถูกต้องแบบคำต่อคำที่ถูกบันทึกด้วยคำสั่งของศาสดา(ศ) แตกต่างจากคัมภีร์เล่มอื่นๆ ที่มีช่องว่างเวลา ระหว่าง ศาสดากับคัมภีร์ของตน บางศาสนานั้น ศาสดาได้จากไปเป็นเวลาเกือบร้อยปี ทว่าในเรื่องของอัลกุรอาน ไม่ว่าจะเป็นทัศนะใดก็มีระยะเวลาและช่องว่างไม่เกิน15 ปี ระหว่างการรวบรวมอัลกุรอาน และ การมีชีวิตของศาสดา ซึ่งทัศนะที่แข็งแรงที่สุดสำหรับผู้เขียนก็คือ อัลกุรอานถูกรวบรวมตั้งแต่สมัยศาสดายังคงมีชีวิต และนี่คือจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์การรวบรวมอัลกุรอาน

 

แหล่งอ้างอิง
[1]ตัฟซีร ฏอบารีย์ เล่ม 1 หน้า 63


[2]อัซซันญานีย์,ฏอรีคุลกุรอาน หน้า 44


[3]ซอฮิฮุลบุคอรี เล่ม 6 หน้า 98 และ 102 หมวด ความประเสริฐของอัลกุรอาน


[4]อิตกอน เล่ม 1 หน้า 61


[5]ซอฮิฮุลบุคอรีย์ เล่ม 6 เลขที่ 5038 , 3546หมวด ความประเสริฐของอัลกุรอาน


[6]ตัวบทและอ้างอิง

 حَدَّثَنِي مُحَمَّدُ بْنُ بَشَّارٍ، حَدَّثَنَا يَحْيَي، حَدَّثَنَا شُعْبَةُ، عَنْ قَتَادَةَ، عَنْ أَنَسٍ رضي الله عنه قَالَ جَمَعَ الْقُرْآنَ عَلَي عَهْدِ النَّبِيِّ صلي الله عليه وسلم أَرْبَعَةٌ، كُلُّهُمْ مِنَ الأَنْصَارِ أُبَيٌّ، وَمُعَاذُ بْنُ جَبَلٍ، وَأَبُو زَيْدٍ، وَزَيْدُ بْنُ ثَابِتٍ. قُلْتُ لأَنَسِ مَنْ أَبُو زَيْدٍ قَالَ أَحَدُ عُمُومَتِي
كتاب الفضائل باب فضائل الأنصار ح 3857 باب جمع القرآن ح 5054 صحيح البخاري : ج 6 ص 103، كتاب التفسير، باب القراء من أصحاب النبي (ص) . وذكره أيضا في باب مناقب زيد بن ثابت في كتاب المناقب

[7]ตัวบทและอ้างอิง

  كنا عند رسول الله (ص) نؤلف القرآن من الرقاع المستدرك علي الصحيحين : ج 2 ص 611. مسند أحمد، ج 5، ص 185، صحيح الترمذي، ج 5، ص 390.
 

[8]อ้างอิงจากหนังสือ อัลอิตกอน ของซูยูฏีย์ เล่ม 1 หน้า 63

 

บทความโดย Muhammad Behesti


ที่มา เอบีนิวส์ทูเดย์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
เตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า)
ชีอะฮ์และซุนนีปากีฯ ...
...
...
...
...
...
แบบอย่างแห่งการเสียสละ(อีษาร)
ความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลาม

 
user comment