0 ทัศนะต่างๆ 0.0 / 5
บทความต่างๆ ›
จริยธรรมและดุอา ›
บทความจริยธรรม
จัดพิมพ์ใน
2016-02-07 03:15:32
ผู้เขียน:
เชค ดร.มุฮัมมัดชารีฟ เกตุสมบูรณ์
แหล่งที่มา:
เว็บไซต์ Islamicstudiesth
สิทธิของพี่น้องร่วมศรัทธา
ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “มุสลิมเป็นพี่น้องกัน ซึ่งเขามีสิทธิต่อกันและกัน 30 ประการ และต้องเคร่งครัดปฏิบัติสิทธิเหล่านั้น เช่น …
1.อภัยโทษและเมตตาสงสาร
2. ปกปิดความลับ
3.ตอบแทนในความผิดพลาด
4. ยอมรับข้อแก้ตัว
5. ปกป้องเขาจากศัตรูและผู้หวังร้าย
6.หวังดีกับเขา
7. กระทำตามสัญญา
8.ไปเยี่ยมเยือนเมื่อเวลาเจ็บป่วย
9.ไปร่วมงานศพเขา
10. ตอบรับคำเชิญ และรับของที่ระลึกจากเขา
11.ตอบแทนเมื่อเขาให้ของขวัญแก่ท่าน
12. ขอบคุณเมื่อได้รับปัจจัยและริสกีจากพี่น้องร่วมศาสนาของพวกท่าน
13. พยายามในการให้ความช่วยเหลือเขา
14. ให้เกียรติเขา
15.ตอบสนองความต้องการของเขา
16. เป็นสื่อในการไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ไขปัญหาของเขา
17. ให้คำแนะนำตักเตือนเมื่อเขาหลงผิด
18.กล่าวเสริมความดีเมื่อเขาจาม (ขออัลลอฮ์ทรงอภัยแก่ท่าน)
19. จงตอบรับสลามเมื่อเขาให้สลาม
20. จงให้เกียรติคำพูดของเขา
21. เตรียมของขวัญที่ดีไว้สำหรับเขา
22.ยอมรับคำสาบานของเขา
23. จงยอมรับมิตรภาพของเขา และจงอย่าเป็นศัตรูกับเขา
24. จงอย่าปล่อยให้เขาโดดเดี่ยวตามลำพังเมื่อยามประสบปัญหา
25. สิ่งใดที่ตนปรารถนา ก็จงสรรหาเพื่อเขาด้วย
26. หากเขาเป็นคนแปลกหน้า จงเห็นใจและเมตตาสงสารเขา
27. รักษาสิทธิของเขา
28.หากเขามีข้อบกพร่องหรือข้อตำหนิอันใด จงปกปิดข้อบกพร่องนั้น
29. หากเขากระทำผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ จงปกปิดสายตาจากสิ่งนั้น
30. หากมีใครเปิดเผยข้อบกพร่องของเขา ท่านจงห้ามปราม
อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลังจากอ่านโองการนี้แล้ว «انّما المؤمنون اِخوَة» ท่านกล่าวว่า “เนื่องจากมุสลิมเป็นพี่น้องกัน หากมีใครสักคนในหมู่พวกเขาให้สัญญาหรือขอสัญญาจากเขา เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องรักษาคำมั่นสัญญานั้น” เช่น หากมุสลิมคนหนึ่งได้ให้สถานที่พักพิงหรือให้การรักษาความปลอดภัยแก่คนๆ หนึ่ง มุสลิมคนอื่นก็ต้องยึดมั่นในข้อตกลงนั้น มุสลิมทุกคนต่างมีมิตรและศัตรูร่วมกัน เขาจะต้องแสดงพลังเป็นหนึ่งเดียวกัน
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวกับโกเมลว่า “หากเจ้าไม่รักพี่น้องของเจ้า แล้วเจ้าจะเป็นพี่น้องกันได้อย่างไร”
แหล่งอ้างอิง :
- มิอ์รอจญ์ อัซซะอาดะฮ์, มุลลา อะฮ์มัด นะรอกีย์ หน้า 61, 62,
- ตัฟซีรกุมมี เล่ม 1, หน้า 73
บทความโดย : เชค ดร.มุฮัมมัดชารีฟ เกตุสมบูรณ์
source : alhassanain