ไทยแลนด์
Wednesday 13th of November 2024
0
نفر 0

การพิสูจน์ความเป็นเราะซูลของท่านศาสดามุฮัมมัด

การพิสูจน์ความเป็นเราะซูลของท่านศาสดามุฮัมมัด ศาสดาจำนวนแสนกว่าองค์ได้ถูกแต่งตั้งลงมาให้ทำหน้าที่สั่งสอนมนุษย์ตามจุดต่าง ๆ ทั่วโลก บรรดาศาสดาเหล่านั้นได้ทำการชี้นำและอบรมสั่งสอนมนุษย์ไปตามแผนการของท่าน อันก่อให้เกิดมรรคผลต่าง ๆ มากมายในสังคมมนุษย์ บรรดาแต่ละท่านทำหน้าที่สั่งสอนประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ไ
การพิสูจน์ความเป็นเราะซูลของท่านศาสดามุฮัมมัด

   การพิสูจน์ความเป็นเราะซูลของท่านศาสดามุฮัมมัด


ศาสดาจำนวนแสนกว่าองค์ได้ถูกแต่งตั้งลงมาให้ทำหน้าที่สั่งสอนมนุษย์ตามจุดต่าง ๆ ทั่วโลก บรรดาศาสดาเหล่านั้นได้ทำการชี้นำและอบรมสั่งสอนมนุษย์ไปตามแผนการของท่าน อันก่อให้เกิดมรรคผลต่าง ๆ มากมายในสังคมมนุษย์ บรรดาแต่ละท่านทำหน้าที่สั่งสอนประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ไปบนพื้นฐานความเชื่อที่เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลามถูกต้องและสูงส่งอันเป็นผลทางอ้อมแก่ประชาชนคนอื่นด้วย และศาสดาบางท่านยังประสบความสำเร็จในการสร้างสังคมบนพื้นฐานของเตาฮีด (ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว) และรับหน้าที่เป็นผู้ชี้นำสังคมนั้น

ในหมู่บรรดาศาสดาเหล่านั้นท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ศาสดามูซา (อ.) และศาสดาอีซา (อ.) ได้รับคัมภีร์จากพระเจ้าว่าด้วยเรื่องหลักการปฏิบัติทั้งที่เป็นกฎเกณฑ์ในแง่ส่วนตัวและสังคม หน้าที่ทางศีลธรรมและจริยธรรม กฎเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมกับกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม ให้นำมาสอนสั่งแก่ประชาชน แต่คัมภีร์ต่าง ๆ เหล่านี้ได้เสื่อมสลายและอันตรธานหายไปตามเวลา หรือไม่ก็ถูกเปลี่ยนแปลงถ้อยคำและความหมายใหม่ สรุปก็คือแนวทางของศาสนาและบทบัญญัติแห่งฟากฟ้าได้รับการเปลี่ยนแปลงแล้ว ดังเช่น คัมภีร์เตารอตของท่านศาสดามูซา (อ.) ได้รับการเปลี่ยนแปลงหลายต่อหลายครั้ง คัมภีร์อินญีลของศาสดาอีซา (อ.) ฉบับจริงได้อันตรธานหายไปคงเหลือแต่ฉบับที่เป็นลายมือของอัครสาวกศาสดาเท่านั้น ซึ่งได้เขียนขึ้นหลายฉบับด้วยกัน ภายใต้ชื่อใหม่ว่า คัมภีร์ไบเบิล

ไม่ว่าใครก็ตามถ้าหากพิจารณาคัมภีร์ที่เป็นพันธสัญญาทั้ง 2 ฉบับคือทั้งฉบับเก่าและฉบับใหม่ (ฉบับเก่าหมายถึงคัมภีร์เตารอต ส่วนฉบับใหม่หมายถึงอินญีล) ก็จะพบว่าทั้งสองไม่ใช่คัมภีร์ที่ถูกประทานให้แก่ศาสดามูซา (อ.) และศาสดาอีซา (อ.) ส่วนคัมภีร์เตารอตนอกจากจะสาธยายว่าพระเจ้านั้นมีส่วนคล้ายกับมนุษย์แล้ว (ขอพระเจ้าทรงคุ้มครองให้เราพ้นจากความคิดเช่นนี้ด้วย) พระองค์ยังมิทรงปรีชาญาณเนื่องจากมีภารกิจตั้งมากมายที่พระเจ้าไม่ทรงรู้ (1) หลายต่อหลายครั้งที่พระเจ้าทรงสำนึกผิดในการกระทำของพระองค์ (2) พระเจ้าทรงเล่นมวยปล้ำกับศาสดาองค์หนึ่งนามว่ายะอฺกูบ (อ.) (ยาโคป) ซึ่งพระองค์ไม่สามารถเอาชนะศาสดาได้ ในที่สุดพระองค์ได้ร้องขอให้ศาสดาปล่อยพระองค์เพื่อประชาชนจะได้ไม่เห็นพระเจ้าของตนอยู่ในสภาพนั้น (3)

นอกจากนั้นคัมภีร์ฉบับดังกล่าวยังได้กล่าวพาดพิงศาสดาไปในทางเสื่อมเสียอีกต่างหาก เช่น (ขอพระเจ้าทรงคุ้มครองให้เราพ้นจากความคิดเช่นนี้ด้วย) กล่าวร้ายว่าศาสดาดาวูด (อ.) (เดวิด) กระทำผิดประเวณีโดยเป็นชู้กับหญิงคนหนึ่ง (4)

กล่าวร้ายว่าท่านศาสดาลูฏ (อ.) (โลต) ดื่มสุราและผิดประเวณีกับหญิงที่ไม่สามารถแต่งงานกันได้ (5)

นอกจากสิ่งที่กล่าวมาแล้วยังมีเรื่องราวการสิ้นชีพของศาสดามูซา (อ.) ซึ่งอธิบายถึงสาเหตุของการสิ้นชีพ ความเป็นไปต่าง ๆ ตลอดจนระบุถึงสถานที่ ๆ ท่านศาสดาสิ้นชีพจากไป

แล้วสิ่งที่กล่าวมายังไม่เพียงพอต่อการสร้างความเข้าใจว่าอีกหรือว่า คัมภีร์เตารอตฉบับปัจจุบันมิได้มาจากศาสดามูซา (อ.)

ส่วนสถานภาพของคัมภีร์อินญิลนั้นพิจารณาโดยทั่วไปเลวร้ายกว่าคัมภีร์เตารอตเสียด้วยซ้ำ เนื่องสิ่งที่มีนามว่า คัมภีร์ ซึ่งได้ประทานแก่ศาสดาอีซา (อ.) ไม่ได้มีอยู่ในมือขณะนี้ ขณะที่ชาวคริสต์เองก็มิได้กล่าวอ้างว่ามีคัมภีร์ของศาสดาอีซาอยู่ในมือ หรือกล่าวอ้างว่าคัมภีร์ฉบับปัจจุบันเป็นคัมภีร์ที่พระเจ้าทรงประทานแก่ศาสดาอีซาในครั้งนั้น ทว่าเนื้อหาสาระของคัมภีร์เป็นการรายงานภารกิจและพฤติกรรมของสาวกบางท่านของศาสดาอีซา (อ.)  นอกจากนั้นคัมภีร์ยังได้อนุญาตให้ดื่มสุราได้โดยกล่าวว่าสิ่งนั้นเป็นปาฏิหาริย์ของศาสดาอีซา (อ.) (6) (เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าครั้งหนึ่งศาสดาอีซาเคยจะดื่มน้ำแต่หยิบแก้วผิด หยิบเอาแก้วสุราขึ้นมาดื่มทันใดนั้นสุราได้กลายเป็นน้ำทันที)

ประโยคหนึ่ง วะฮฺยูได้ถูกประทานลงมาแก่ศาสดาทั้งสององค์ แต่ได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้ว ดังนั้น จึงไม่สามารถมีบทบาทต่อการชี้นำสังคมได้อีกต่อไป

แต่ส่วนการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างไรนั้น มีเรื่องราวและรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่ต้องกล่าวซึ่งไม่เหมาะสมที่จะกล่าวในที่นี้ (7)

ย่างเข้าต้นศตวรรษที่หกหลังจากการกำเนิดของศาสดาอีซามะซีฮฺ (อ.) ขณะนั้นผู้คนส่วนใหญ่ถูกครอบงำด้วยความโง่เขลา ประทีปแห่งทางนำของพระเจ้าดับมืดมิดทั่วทั้งโลก พระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกรทรงแต่งตั้งศาสดาองค์สุดท้ายผู้ซึ่งเป็นบรมศาสดาที่ดีและประเสริฐที่สุด ท่ามกลางความมืดมิดแห่งความโง่เขลาเบาปัญญาและความป่าเถื่อนที่สุดของสังคมในยุคนั้น เพื่อให้เป็นผู้ประกาศสั่งสอนคัมภีร์อันเป็นประทีปที่โชติช่วงด้วยวะฮฺยูของพระเจ้า ให้เป็นทางนำสำหรับมนุษย์ชาติตลอดไป คัมภีร์ของพระองค์เป็นรัศมีนิรันดรบริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลงแก้ไข การยกเลิก และการตัดต่อเพิ่มเติมทั้งหลาย อัล-กุรอานเป็นแก่นแห่งวิชาการทั้งหลาย เป็นวิทยปัญญาแห่งฟากฟ้า เป็นบทบัญญัติและเป็นธรรมนูญจากพระเจ้าที่ทรงประทานลงมาเพื่อสั่งสอน และเป็นครรลองสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อัล-กุรอาน ได้เชิญชวนและชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญผาสุกทั้งโลกนี้และโลกหน้า ดังที่อัล-กุรอานยืนยันคำพูดของตนเองว่า

พระองค์ (อัลลอฮฺ) ทรงแต่งตั้งเราะซูลคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้หนังสือจากพวกเขา เพื่อสาธยายโองการต่าง ๆ ของพระองค์แก่พวกเขา ทรงขัดเกลาพวก และทรงสอนคัมภีร์ (กรุอาน) และวิทยปัญญาแก่พวกเขา แม้ว่าก่อนหน้านี้พวกเขาเคยเป็นผู้หลงผิดอย่างชัดแจ้งก็ตาม และ (เป็นเราะซูลสำหรับ) กลุ่มชนอื่นที่จะติดตามมาภายหลังจากพวกเขา พระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณยิ่ง (อัล-กุรอาน บทอัล-ญุมุอะฮฺ โองการที่ 2-3)

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงสถานภาพของโลกไว้ตอนหนึ่ง ขณะที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งศาสดาอิสลาม (ซ็อล ฯ) ลงมาเพื่อประกาศสั่งสอนมวลมนุษย์ว่า

อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงแต่งตั้งศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ลงมาสั่งสอนในช่วงที่ห่างจากศาสดาองค์ก่อนอย่างมาก ประชาชาติได้หลงไปในความหลับใหลลืมเลือนอย่างยาวนาน แสงแห่งความเลวร้ายต่าง ๆ ได้ฉายสาดส่องไปทั่วโลก รากเหง้าแห่งการงานต่าง ๆ ได้แตกแยกออกจากกัน ไฟสงครามได้ลุกโชติช่วงขึ้น ความโง่เขลาเบาปัญญาและบาปกรรมได้ครอบงำทั่วทุกสารทิศ เล่ห์เหลี่ยมเพทุบายถูกนำมาใช้อย่างชัดแจ้ง ใบไม้แห่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์กลายเป็นสีเหลือง ความหวังและความเชื่อของมนุษย์เลือนราง น้ำเหือดแห้งซึมหายไปหมด  ประทีปแห่งทางนำเย็นและดับลงอย่างมืดมิด สัญลักษณ์แห่งการหลงทางและความหลงผิดได้ถูกชูขึ้นสู่ยอดเสา ความชั่วร้ายและความอับโชคได้มุ่งจู่โจมมนุษย์ โฉมหน้าอันแท้จริงที่น่าเกลียดน่ากลัวของมนุษย์ได้เปิดเผยออกมา ความเสียหายและความเลวร้ายประจำวันมิได้ปรากฏเป็นอย่างอื่น นอกจากเป็นการทดสอบและความป่าเถื่อน ส่วนประชาชนก็มีแต่ความหวาดกลัวและสิ้นหวังในชีวิต ที่พึ่งสำหรับพวกเขามิได้มีสิ่งอื่นใดนอกจากคมดาบและการนองเลือดเท่านั้น (8)

นับตั้งแต่ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ได้ปรากฏออกมา ประเด็นสำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์ผู้ถวิลหาความจริงทุกคน (หลังจากรู้จักพระเจ้าแล้ว) คือการวิเคราะห์วิจัยและศึกษาเกี่ยวกับสภาวะการเป็นศาสดา และสัจธรรมแห่งศาสนาอิสลาม ซึ่งการพิสูจน์ประเด็นดังกล่าวควบคู่อยู่กับการพิสูจน์ความจริงของอัล-กุรอาน ความน่าเชื่อถือของอัล-กุรอานอยู่ตรงที่ว่า อัล-กุรอานเป็นพระดำรัสของพระเจ้าเป็นคัมภีร์แห่งฟากฟ้าฉบับเดียวที่ยังคงเหลืออยู่ในมือของมนุษย์ และได้รับการพิทักษ์รักษาให้พ้นจากการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เป็นหลักประกันเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของหลักศรัทธาในข้ออื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นธรรมนูญสูงสุดสำหรับการดำเนินชีวิต และอัล-กุรอานยังได้อธิบายระบบต่าง ๆ อันทรงคุณค่ายิ่ง พร้อมทั้งหน้าที่อันพึงปฏิบัติสำหรับมนุษย์ทุกคนจนกว่าจะถึงวันแห่งการอวสานของโลก และเป็นกุญแจสำหรับการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโลกทัศน์และวัตถุนิยม


การพิสูจน์การเป็นศาสดาของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ)

ดังที่กล่าวไปแล้วเกี่ยวกับการเป็นศาสดา สามารถพิสูจน์ได้ด้วยกัน 3 วิธี กล่าวคือ

-          แนวทางการรู้จักและความคุ้นเคยกับศาสดาตลอดจนการใช้เครื่องหมายที่บ่งบอกถึงความมั่นใจ

-          จากการพยากรณ์หรือการบอกกล่าวของศาสดาองค์ก่อนหน้านั้น

-          รู้จักได้ด้วยการแสดงปาฏิหาริย์ของศาสดา

ประเด็นเกี่ยวกับศาสดามูฮัมมัด (ซ็อล ฯ) จะเห็นว่ารวมอยู่ในทั้งสามวิธีตามกล่าวมาข้างต้น อีกด้านหนึ่งประชาชนชาวมักกะฮฺต่างได้รับรู้ถึงวิถีชีวิตอันจำเริญของท่านศาสดาเป็นอย่างดีอย่างใกล้ชิด ตลอด 40 ปีเต็ม พวกเขาไม่ได้เห็นความผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อยจากท่านศาสดา ดังที่พวกได้รับรู้ว่าศาสดาเป็นผู้พูดจริงและประพฤติปฏิบัติแต่ความดีงาม จนกระทั่งได้รับฉายานามว่า อามีน หมายถึงผู้ซื่อสัตย์ ซึ่งฉายาดังกล่าวประชาชนได้เป็นผู้ขนานนามให้แก่ท่าน แน่นอน บุคคลที่บุคลิกภาพดังกล่าวเราไม่อาจคาดคิดได้เลยว่าเขาจะกล่าวคำพูดโกหก

อีกด้านหนึ่งศาสดาก่อนหน้านี้เคยกล่าวถึงการมาของศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ไว้ก่อนแล้ว ดังที่อัล-กุรอาน กล่าวว่า

 จงรำลึกถึงครั้นเมื่ออีซาบุตรของมัรยัมกล่าวว่า โอ้ วงศ์วานของอิสรออีลเอ๋ย แท้จริงฉันเป็นเราะซูลของอัลลอฮฺมายังพวกเจ้า เป็นผู้ยืนยันสิ่งที่มีอยู่ในเตารอตก่อนหน้าฉัน และแจ้งข่าวดีถึงการมาของเราะซูลคนหนึ่งซึ่งจะมาหลังฉันชื่อของเขาคือ อะฮฺมัด ครั้นเมื่ออะฮฺมัดได้มายังพวกเขาพร้อมด้วยหลักฐานอันชัดแจ้ง พวกเขากล่าวว่านี่คือมายากลแท้ (อัล-กุรอาน บทอัซซ็อฟ / 6)

นอกจากนั้นยังมีชาวคัมภีร์อีกกลุ่มหนึ่งรอคอยการปรากฏกายของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ตามสัญลักษณ์อันแจ้งชัดตลอดจนคำพูดที่กล่าวถึงการมาของท่านไว้ในตำราของพวกเขา ดังที่อัล-กุรอาน กล่าวว่า

บรรดาผู้ปฏิบัติตามเราะซูลผู้เป็นนบีที่เขียนอ่านไม่เป็น ซึ่งพวกเขาพบว่าถูกจารึกไว้ที่พวกเขา ทั้งในอัต-เตารอตและในอัล-อินญีล โดยนบีจะกำชับพวกเขาให้กระทำในสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบ อนุมัติสิ่งที่ดีทั้งหลายและห้ามปรามสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวงแก่พวกเขา จะปลดเปลื้องภาระอันหนักอึ้งและห่วงคล้องคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขาออกจากพวกเขา ดังนั้น บรรดาผู้ศรัทธาที่ให้ความสำคัญช่วยเหลือและปฏิบัติตามแสงสว่างที่ถูกประทานลงมาแก่เขา แน่นอน พวกเขาคือบรรดาผู้ประสบความสำเร็จ (อัล-กุรอาน บทอัล-อะอฺรอฟ โองการที่ 157)

นอกจากโองการดังกล่าวแล้วยังมีโองการในบทอัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 146, ซูเราะฮฺอันอาม โองการที่ 20 ยังได้กล่าวยืนยันถึงประเด็นดังกล่าวได้เช่นกัน

นอกจากนั้นยังได้กล่าวกับอาหรับผู้ปฏิเสธในยุคนั้นว่า จะมีชายคนหนึ่งมาจากตระกูลของอิสมาอีล (เนื่องจากอาหรับส่วนใหญ่มาจากสายตระกูลของอิสมาอีล) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา และเขาจะรับรองความถูกต้องของบรรดาศาสดาและศาสนาที่เชื่อในพระเจ้าองค์เดียวก่อนหน้านั้น ดังอัล-กุรอานกล่าวว่า

เมื่อมีคัมภีร์ (กุรอาน) จากอัลลอฮฺมายังพวกเขาเพื่อยืนยันสิ่งที่มีอยู่กับพวกเขา และก่อนนั้น พวกเขาเคยอ้อนวอนขอให้มีชัยชนะเหนือบรรดาผู้ปฏิเสธมาก่อน ครั้นเมื่อสิ่งที่พวกเขารู้จักดีมายังพวกเขา พวกเขากลับปฏิเสธสิ่งนั้น ฉะนั้น การสาปแช่งของอัลลอฮฺจึงประสบแก่บรรดาผู้ปฏิเสธ (บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่  89)

นักวิชาการชาวยิวและคริสต์บางคนได้ศรัทธาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ตามหลักฐานและคำพูดที่มีมาก่อนหน้านั้น อัล-กุรอาน กล่าวยืนยันถึงเรื่องนี้ว่า

เมื่อพวกเขาได้ยินสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เราะซูล เจ้าจะเห็นตาของพวกเขาหลั่งน้ำตาออกมา เนื่องจากความจริงที่พวกเขาได้รับรู้ โดยที่พวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของพวกเราโปรดจารึกข้าพระองค์ร่วมกับบรรดาผู้กล่าวปฏิญาณยืนยันด้วยเถิด (บทอัล-มาอิดะฮฺ โองการที่ 83)

บทอัลอะฮฺกอฟ โองการที่ 10 กล่าวยืนยันประเด็นดังกล่าวได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีบางคนมิได้ยอมรับศาสนาอิสลาม เนื่องจากอำนาจฝ่ายต่ำและอำนาจของชัยฎอนเข้าครอบงำพวกเขา ซึ่งสิ่งเหล่านั้นได้กีดกั้นมิให้พวกเขายอมรับความจริง

อัล-กุรอาน ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวทางดังกล่าวว่า มันมิได้เป็นเครื่องหมายแก่พวกเขาดอกหรือว่า บรรดาผู้มีความรู้ของวงศ์วานอิสรออีลก็รู้ดีในเรื่องนี้ (อัล-กุรอาน บทอัชชุอฺอะรอ โองการที่ 197)

การรู้จักศาสดาอิสลามโดยผ่านบรรดาผู้รู้ชาวบนีอิสรอีล และผ่านการพยากรณ์หรือคำแนะนำของบรรดาศาสดาก่อนหน้านี้ ย่อมเป็นเหตุผลอันชัดเจนถึงความถูกต้องในการเป็นศาสดาของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) สำหรับชาวคัมภีร์ทั้งหมด และเป็นเหตุผลอันแน่นอนที่พิสูจน์ในเห็นถึงความจริงของการเป็นศาสดา อีกทั้งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความถูกต้องของความเป็นศาสดาของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) สำหรับบุคคลอื่นอื่นด้วย เนื่องจากการยืนยันความถูกต้องดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐาน และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ได้ถูกแนะนำไว้ถึงการเป็นศาสดาของท่าน ซึ่งพวกเขาได้เห็นด้วยกับตาตนเองและจำแนกสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยสติปัญญาของตน

สิ่งที่น่าประหลาดก็คือในคัมภีร์เตารอตและอินญีลฉบับที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงแล้ว ทั้งที่บรรดานักวิชาการได้พยายามที่จะลบหรือตัดคำพูดที่กล่าวถึงการมาของศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ออกไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีประเด็นที่ชี้ให้เห็นถึงข้อพิสูจน์อันเป็นเหตุผลสำหรับเรื่องราวดังกล่าว ดังเช่นที่เราจะเห็นว่าบรรดานักปราชญ์ชาวยิวและคริสเตียน ที่ถวิลหาสัจธรรมความจริงต่างได้รับทางนำจากการใช้ประโยชน์ในประเด็นที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ของพวกเขา พวกเขาได้มีศรัทธาและเข้ารับอิสลามในที่สุด

นอกจากนั้นแล้วศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ยังได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏไว้อย่างมากมาย ดังมีบันทึกไว้ในตำราประวัติศาสตร์และอัลฮะดีซ ซึงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ได้ถูกค้นพบในคัมภีร์เตารอตแล้ว (9) ส่วนความการุณย์ของพระเจ้าในการแนะนำศาสดาองค์สุดท้าย และศาสนาอันเป็นอมตะนิรันกาลของพระองค์ นอกจากปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ที่เป็นข้อพิสูจน์สำหรับบรรดาผู้ที่เห็นด้วยกับตาตนเอง และสำหรับบุคคลอื่นแล้ว พระองค์ยังได้แจ้งให้พวกเขารับรู้ถึงสัจธรรมดังกล่าวด้วยข้อบันทึกต่าง ๆ อันถือว่าเป็นปาฏิหาริย์ตลอดกาล พระองค์ได้แสดงให้ประชาชาติได้รับรู้ และยังเป็นเหตุผลที่พิสูจน์ความจริงสำหรับประชาชาติทั่งโลก และสิ่งนั้นก็คือ อัล-กุรอานนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ในบทเรียนต่อ ๆ ไปจะอธิบายถึงปาฏิหาริย์ของอัล-กุรอาน

อ้างอิง

[1] เตารอตอโปคาลิปติก (Apocalyptic) หมวดที่ 3 ลำดับที่ 8-12
[2] อ้างแล้วเล่มเดิม หมวดที่ 6 ลำดับที่ 6
[3] อ้างแล้วเล่มเดิม หมวดที่ 32 ลำดับที่ 24 - 32
[4] พันธสัญญาฉบับเก่า ฉบับ 2 ซามูเอล หมวดที่ 11
[5] เตารอตอโปคาลิปติก (Apocalyptic) หมวดที่ 19 ลำดับที่ 30-38
[6] อินญีล โยฮันนา หมวดที่ 2
[7] แต่สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ อิซฮารุลฮัก เขียนโดย เราะฮฺมะตุลลอฮฺ ฮินดียฺ, อัลฮุดา อิลา ดีนิลมุซเฏาะฟา เขียนโดยอัลลามะฮฺ บะลาฆี, เราะซะอาดะฮฺ อัลลามะฮฺชะอฺรอนียฺ
[8] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 187
[9] บิฮารุลอันวาร เล่ม  17 หน้า  225

ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

รู้จัก “วีรชนแห่งกัรบะลาอฺ” ...
ความมหัศจรรย์ของอัล-กุรอาน
ความจริงใจของคู่บ่าวสาว
ความสมถะของอิมามอะลี
...
เราะห์มัต (ความเมตตา) ...
อับบาส ธงทรนงเหนือศัตรู
อิสลามกับการบริจาค
อิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ.) ...
ชีวประวัติอิมามซัยนุลอาบิดีน ...

 
user comment