ไทยแลนด์
Thursday 26th of December 2024
0
نفر 0

น้ำผึ้งในอัลกุรอานและฮะดีษ

น้ำผึ้งในอัลกุรอานและฮะดีษ

 

น้ำผึ้ง เป็นหนึ่งในอาหารที่มีตำนานเล่าขานกันไม่รู้จบ ย้อนไปในสมัยจักรวรรดิโรมัน น้ำผึ้งมีค่าเทียบเท่าทองคำ จนสามารถใช้ชำระภาษีแทนทองคำได้ สำหรับเรื่องราวของน้ำผึ้งที่ดูจะคล้ายกันทั่วโลก คือ “การเป็นน้ำอมฤตเพื่อสุขภาพ” ด้วยประโยชน์ทางอาหารและยานานัปการ บ่อยครั้งจึงเห็นน้ำผึ้งทำหน้าที่เป็นทั้งอาหารและยาในเวลาเดียวกัน จนทุกบ้านมักมีน้ำผึ้งติดบ้านกันไว้เสมอทุกยุคทุกสมัย

 

น้ำผึ้งในอัลกุรอานและฮะดีษ

 

 

وَ أَوْحَى رَبُّک إِلى النَّحْلِ أَنِ اتخِذِى مِنَ الجِْبَالِ بُیُوتاً وَ مِنَ الشجَرِ وَ مِمَّا یَعْرِشونَ

ثمَّ کلِى مِن کلِّ الثَّمَرَتِ فَاسلُکِى سبُلَ رَبِّکِ ذُلُلاً یخْرُجُ مِن بُطونِهَا شرَابٌ مخْتَلِفٌ أَلْوَنُهُ فِیهِ شِفَاءٌ لِّلنَّاسِ إِنَّ فى ذَلِک لاَیَةً لِّقَوْمٍ یَتَفَکَّرُونَ

 

“และพระผู้อภิบาลของสูเจ้า ทรงดลใจแก่ผึ้งว่า จงทำรังตามภูเขาและตามต้นไม้ และตามที่พวกเขา (มนุษย์) ทำร้านขึ้น”

“แล้วเจ้า (ผึ้ง) จงกินจากผลไม้ทั้งหลาย แล้วจงดำเนินตามทางของพระผู้เป็นเจ้าของเจ้า โดยสะดวกสบาย มีเครื่องดื่ม (น้ำผึ้ง) ที่มีสีสันต่างๆ ออกมาจากท้องของมัน ในนั้นมีสิ่งบำบัดแก่มวลมนุษย์ แท้จริงในนั้นย่อมเป็นสัญญาณแก่กลุ่มชนผู้ตรึกตรอง”

(อัลกุรอานบทอันนะฮํลิ โองการที่ 68-69)

 

     ท่านอิมามอะลี อิบนิ อบีฏอลิบ (อ.) กล่าวว่า “ผู้ป่วยจะไม่ได้รับการเยียวยารักษา ด้วยสิ่งใดที่เสมอเหมือนกับการได้ดื่มน้ำผึ้ง” (1)

 

     ในรายงานจำนวนมากได้อธิบายถึงคุณค่าต่างๆ ของน้ำผึ้งไว้เป็นการเฉพาะ ดังเช่นในรายงานบทหนึ่งซึ่งกล่าวว่า “น้ำผึ้งสามารถบำบัดรักษาโรคต่างๆ ได้ถึงเจ็ดสิบโรค”

 

      คุณสมบัติประการหนึ่งของน้ำผึ้ง คือ การยับยั้งและป้องกันโรคหวัด อิมามริฎอ (อ.) กล่าวถึงคุณสมบัติข้อนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า “และผู้ใดปรารถนาที่จะป้องกันโรคหวัดตลอดช่วงเวลาของฤดูหนาว ดังนั้น เขาจงรับประทานน้ำผึ้งพร้อมรวงผึ้งสามคำในทุกๆ วัน” (2)

 

อ้างอิง

(1) บิฮารุล อันวาร เล่มที่ 66 หน้า 292

(2) บิฮารุล อันวาร เล่มที่ 62 หน้า 324

 

น้ำผึ้ง (Honey) น้ำอมฤตเพื่อสุขภาพ

อัศจรรย์แห่งน้ำผึ้ง

 

      หยดหยาดสีเหลืองทองนี้ ผลิตจากฝูงผึ้งนับหมื่นตัวที่ออกจากรังรวงไปหาน้ำหวานจากดอกไม้นับแสนดอกทุกรุ่งอรุณของวันใหม่ เป็นที่มาของอาหารทิพย์ที่กลายเป็นตำนานในการรักษาสุขภาพมานานนับพันปี

      วิตามิน : น้ำผึ้งเป็นศูนย์รวมวิตามิน ได้แก่ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 และวิตามินซี ซึ้งให้พลังในการทำงาน ปรับสมดุลให้ร่างกายและจิตใจ ทำให้ผิวหนัง เส้นผม และกล้ามเนื้อแข็งแรง

      แหล่งคาร์โบไฮเดรตชั้นยอด : น้ำผึ้งมีส่วนประกอบของน้ำตาลฟรักโทสและกลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยวที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง จึงเหมาะสำหรับคนที่มีอาการอ่อนเพลีย

      สารไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ เป็นสารที่ช่วยยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย คนสมัยโบราณจึงใช้น้ำผึ้งเป็นยาฆ่าเชื้อแทนยาปฏิชีวนะ ซึ่งปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการดูแลปัญหาสิวกันอย่างแพร่หลาย

 

น้ำผึ้งเพิ่มพลังงาน

 

      มื้อเช้าสุขภาพกับน้ำผึ้ง : ใครที่รู้สึกอ่อนเพลียในยามเช้า หรือไม่มีพลังงานในการเริ่มวันใหม่ ให้ลองเติมน้ำผึ้งลงไปในอาหารหรือเครื่องดื่มเล็กน้อย เพราะนอกจากจะให้พลังงานที่ร่างกายดูดซึมได้ง่ายแล้ว ยังมีวิตามินที่ช่วยเพิ่มความสดใสอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กินขนมปังโฮลวีตกับน้ำผึ้ง หรือผลไม้รวมราดน้ำผึ้ง จะช่วยให้สดชื่นขึ้น

      น้ำผึ้งกับเครื่องดื่มเรียกพลังระหว่างวัน : น้ำผึ้งช่วยให้สดชื่นและคลายความอ่อนล้าจากการทำงานได้ เคล็ดลับง่ายๆ เพียงเติมน้ำผึ้งลงไปในเครื่องดื่มสุขภาพที่ชื่นชอบ เช่น น้ำผึ้งผสมมะนาว นมถั่วเหลืองผสมน้ำผึ้ง หรือจะเติมลงในชาก็หอมกรุ่น ให้รสละมุนกลมกล่อม แต่ไม่ควรเติมมากจนเกินพอดี เพราะอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มได้

      น้ำผึ้งก่อนนอน : หากเกิดอาการนอนไม่หลับ อย่าเพิ่งนึกถึงยานอนหลับฤทธิ์แรง ลองทานน้ำผึ้งสัก 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น ในเวลาอาหารเย็นทุกวันจะช่วยให้นอนหลับได้สนิท ตื่นเช้าจะรู้สึกผ่อนคลายและสดใส ขณะเดียวกัน น้ำผึ้งยังมีสรรพคุณช่วยลดอาการโลหิตจาง เนื่องจากน้ำผึ้งมีธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบของฮีโมโกลบิน จึงช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง

 

เคล็ดลับการเลือกน้ำผึ้ง

 

     วิธีง่ายๆ ในการดูว่าเป็นน้ำผึ้งแท้หรือน้ำผึ้งเทียม อันดับแรก ให้ลองดมกลิ่นดูว่ามีกลิ่นหอมของดอกไม้ตามที่ระบุเอาไว้บนฉลากหรือไม่ เพราะน้ำผึ้งควรมีกลิ่นหอมของดอกไม้ที่ผึ้งออกไปเก็บน้ำหวานมา

     ลักษณะของน้ำผึ้งจะต้องมีความหนืด ไม่ว่าจะอยู่ในอุณหภูมิห้องหรือที่ที่มีอากาศร้อน ไม่มีสิ่งเจือปนแม้แต่เกสรดอกไม้หรือตัวผึ้ง

     นอกจากนี้น้ำผึ้งต้องเป็นเนื้อเดียวกัน มีสีเดียวกันทั้งขวด ไม่ตกผลึกหรือแยกสีอ่อนสีเข้มอย่างชัดเจน และสีของน้ำผึ้งควรจะเป็นสีอ่อนตามธรรมชาติ หากเจอน้ำผึ้งสีเข้มจนถึงดำ ให้สันนิษฐานว่าเป็นน้ำผึ้งเก่า ซึ่งคุณประโยชน์ต่างๆ จะลดทอนลงไป

ประโยชน์ของน้ำผึ้งในการสร้างเสริมสุขภาพและรักษาโรคต่างๆ

    บำรุงสุขภาพ น้ำผึ้ง 3 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่นดื่มทุกวัน
    อดนอน น้ำผึ้ง 1-2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมน้ำผลไม้
    ยาอายุวัฒนะ น้ำผึ้ง 1/2 -1 ช้อนโต๊ะ ดื่มทุกวัน เช้า/ก่อนนอน
    นอนไม่หลับ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มเวลาอาหารเย็นหรือก่อนนอน
    ไอ หลอดลมอักเสบ มีเสมหะ กระเทียม 1-2 กลีบ (ตำให้ละเอียด) น้ำมะนาว 1/2 เกลือเล็กน้อย พิมเสนหรือการบูร 2-3 เกล็ด น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
    ท้องอืด ท้องเฟ้อ น้ำผึ้ง 1/2 ช้อนโต๊ะ น้ำขิงเข้มข้น ½ ถ้วย เกลือเล็กน้อยดื่มวันล่ะ 3 เวลาหลังอาหาร
    ท้องผูก น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มก่อนนอน
    เด็กปัสสาวะรดที่นอน น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา (ไม่ผสมน้ำ) ดื่มก่อนนอน
    ท้องเสียรุนแรง น้ำผึ้ง 1-2 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1/2 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว
    เด็กหวะนม น้ำผึ้ง 1/2 -1 ช้อนโต๊ะ ผสมนมให้เด็กดื่ม11. กล้ามเนื้อเป็นตะคริว น้ำผึ้ง 2 ช้อนชา ดื่มทุกเมื่ออาหาร
    ล้างแผล แผล ฝี หนอง แผลเรื้อรัง น้ำผึ้ง 1 ส่วน ผสมน้ำ 9 ส่วน ชะล้างแผล หัวหอมแดง 2 หัวตำให้ละเอียด+น้ำผึ้งพอกฝี น้ำสุกที่เย็นแล้วล้างแผลให้สะอาด ใช้สำลีหรือผ้าพันแผลชุบน้ำผึ้งปิดบริเวณแผล
    แผลไฟไหมน้ำร้อนลวก ถูกท่อไอเสีย ใช้ผ้าพันแผลชุบน้ำผึ้งปิดแผลไว้แล้วเปลี่ยนผ้าพันแผลทุก 12 ชั่วโมง
    โรคกระเพาะ ดื่มน้ำผึ้ง 2-3 ช้อนโต๊ะ ขณะปวด และ 3 ช้อนโต๊ะ ก่อนนอน
    ผู้ป่วยริดสีดวงทวาร น้ำผึ้งผสมกระเทียมโทน บริโภควันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
    เด็กโตช้าและโลหิตจาง น้ำผึ้งผสมนมดื่มเป็นประจำ
    เสียน้ำหรือเสียเลือด (10-20 %) น้ำ 1 ถ้วยแก้ว ผสมเกลือ 1/4 ช้อนชา น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
    โรคเด็ก (ทางเดินอาหารผิดปกติ) น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ถ้วย

(ข้อมูลจาก: นิตยสารชีวจิต และ มูลนิธิหมอชาวบ้าน)

 

แปลและเรียบเรียง : เชคมูฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ
ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ฮิดายะฮ์ (การชี้นำ)ในอัลกุรอาน
เตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า)
ความหมายของตักวาในอัลกุรอาน
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
...
กำเนิดจักรวาล
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ทำไมเราต้องทำนมาซด้วย?
น้ำผึ้งในอัลกุรอานและฮะดีษ
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร

 
user comment