ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

บทเรียนอูศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา)

บทเรียนอูศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา)

เรื่องเตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า) ตอนที่ 2

 
เราจะมาทำความเข้าใจ คำว่า ดีน (ศาสนา) ตามหลักภาษาคือการ “ตออัต” การตอบแทน ส่วนความหมายทางด้านวิชาการคือ การมีความเชื่อ การศรัทธาต่อพระผู้สร้าง ความเชื่อว่ามีผู้สร้างโลกนี้และมนุษย์ขึ้นมา ความเชื่อต่อคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความเชื่อนั้น เมื่อสององค์ประกอบหลักนี้รวมกันคือเชื่อในการมีอยู่ของพระผู้สร้าง และมีบทบัญญัติจากพระผู้สร้าง จึงจะสามารถเรียกว่า (ดีน) ศาสนาได้

 
เมื่อเราได้ความหมายมาแล้วว่าศาสนาคือการร่วมกันของสององค์ประกอบหลัก คือหลักความเชื่อและหลักปฏิบัติ เรียกว่า อูศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา) และ ฟุรูฮุดดีน (หลักปฏิบัติทางศาสนา) ถ้ามีอูศูลุดดีนเพียงอย่างเดียวไม่มีฟุรุอุดดีนศาสนาก็ไม่สมบรูณ์ และถ้ามีฟุรุอุดดีนเพียงอย่างเดียวไม่มีอูศูลุดดีน ศาสนาก็ไม่สมบรูณ์ด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นศาสนาคือการมีทั้งสององค์ประกอบหลักรวมกัน คือการมีทั้งความศรัทธาและการปฏิบัติไปพร้อมกัน แต่อูศูลุดดีนมีความสำคัญกว่าเพราะจะทำให้ ฟุรุอุดดีนดำรงอยู่ได้

 
อูศูลุดดีน เป็นเรื่องราวที่ว่าด้วยเรื่องของหลักศรัทธา พูดถึงหลักศรัทธาที่เป็นหลักๆ อูศูลุดดีน
หลักๆที่สุดของอิสลามนั้นมีอยู่ห้าประการด้วยกัน คือ เตาฮีด (ความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า) อาเดล (ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า) นบูวัต (ศาสดาจากพระผู้เป็นเจ้า) อิมามัต (ผู้นำทางศาสนาหลังจากสิ้นสุดยุคของศาสดาองค์สุดท้าย) และมะอาด (การตอบแทนหลังความตาย) นี้คือส่วนประกอบอันที่หนึ่งของศาสนา ส่วนประกอบหลักอันที่สองคือหลักปฏิบัติ ชารีอัตต่างๆ หรือฟูรุอุดดีนนั้นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันไม่มีสิ่งนี้ศาสนาก็ไม่สมบรูณ์ เช่น นมาซ ถือศีลอด ทำฮัจญ์ จ่ายทาน ฯ ดังนั้นความสมบรูณ์ในการนับถือศาสนาคือการ มีความเชื่อความศรัทธาที่ถูกต้องและพร้อมกับมีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ถ้าหากมนุษย์ไม่มีการปฏิบัติ ไม่นมาซ ไม่ถือศีลอด ไม่จ่ายทานฯ ความเป็นมุสลิมของมนุษย์ก็ไม่สามารถสมบรูณ์ได้

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
...
เดือนรอมฎอน เดือนแห่งอัลอิสลาม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ ตอนที่ ...
อาลัมบัรซัค ...
ความสำคัญของพ่อแม่ในอิสลาม
ความกตัญญูต่อบิดามารดา
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ฮิดายะฮ์ (การชี้นำ)ในอัลกุรอาน

 
user comment