อัลกุรอาน ถูกรวบรวมขึ้นด้วยความเห็นชอบของเหล่าเซาะฮาบะฮฺ หรือว่าถูกรวบรวมขึ้นตามความเห็นชอบ โดยสมบูรณ์ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ท่านอุษมาน มิได้ใช้สถานภาพทางการเมือง นำเอาโองการที่มีความขัดแย้งกัน รวบรวมไว้ในโองการที่ว่าด้วยเรื่องหลักปฏิบัติดอกหรือ? การจัดพิมพ์อัลกุรอานไปตามการประทานลงมา ถือว่าเป็นบิดอะฮฺหรือไม่? ถ้าไม่เป็นบิดอะฮฺ แล้วเป็นเพราะสาเหตุอันใดสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่านจึงไม่จัดพิมพ์อัลกุรอาน ไปตามการประทานลงมาอย่างถูกต้อง? ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือ ทั้งที่ทุกวันนี้เป็นยุคของข่าวสารข้อมูล ซึ่งอย่างน้อยที่สุดรัฐอิสลามสามารถสร้างความเข้าใจ และขจัดความไม่เข้าใจ ปัญหาด้านศาสนา และนิกาย แก่คนอื่น หรือรัฐอิสลามเสนอตัวแก้ไขสิ่งที่เซาะฮาบะฮฺได้กระทำไว้ โดยการอ้างอิงถึงประวัตศาสตร์การประทานโองการลงมา ภายใต้นิยามที่ว่าอัลกุรอานกับต้นฉบับใหม่ ที่ตรงตามการประทานลงมาในสมัยท่านศาสดา (ซ็อลฯ)
คำตอบโดยสังเขป
ตามประวัติศาสตร์การประทานอัลกุรอานลงมา จะเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ผู้ระบุสถานที่ของโองการว่าสมควรอยู่ ณ ที่ใด มิใช่ความพอใจของเซาะฮาบะฮฺว่า จะให้โองการนั้น โองการนี้อยู่ที่ใดก็ได้ตามความพอใจ หมายถึงทุกโองการที่ประทานลงมานั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับและออกตำสั่งว่าโองการนั้น หรือโองการนี้ควรจะอยู่ที่ใด ฉะนั้น อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือพวกเราทุกวันี้ ก็คืออัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้ใช้วิธีรวบรวมโดยมีนักอ่าน และนักท่องจำจำนวนหนึ่งให้ความร่วมมือ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ฉะนั้น อัลกุรอาน ฉบับที่มีอยู่นี้มิอาจกล่าวได้ว่า ถูกรวบรวมโดยความเห็นชอบของท่านอุษมานแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อว่าท่านจะได้สับเปลี่ยนโองการตามใจชอบ
คำตอบเชิงรายละเอียด
การรวบรวมอัลกุรอานถูกระทำใน 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นตอนของการจัดระเบียบ และการจัดวางโองการต่างๆ ไว้เคียงข้างกัน จึงทำให้เกิดบท (ซูเราะฮฺ) ต่างๆ ขั้นตอนนี้ถูกกระทำขึ้นในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยคำสั่งของท่าน ซึ่งสถานที่แต่ของละโองการท่านศาสดาเป็นผู้กำหนด
2. ขั้นที่สองคือการรวมรวมต้นฉบับต่างๆ และจำนวนหน้าที่ถุกบันทึกแยกกันไว้ โดยนำเอาต้นฉบับเหล่านั้นมารวมเป็นเล่มเดียวกัน ซึ่งขั้นตอนนี้ถูกกระทำขึ้นในสมัยของท่านอบูบักรฺ
3.ขั้นตอนที่สามคือ การรวบรวมอัลกุรอานทั้งเล่ม โดยนำเอาต้นฉบับที่บันทึกไว้ในทีต่างๆ ซึ่งการนำเอาต้นฉบับเหล่านั้นมารวมกัน เพื่อป้องกันความผิดพลาด และความแตกต่างในการอ่าน ซึ่งขั้นตอนนี้ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน[1]
คำอธิบาย
ภายหลังการวะฟาดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) การรวบรวมอัลกุรอาน ได้ถูกกระทำอย่างเป็นทางการ โดยคำสั่งของท่านอบุบักรฺ เคาะลิฟะฮฺที่ 1 โดยความช่วยเหลือของท่าน “ซัยดฺ บิน ษาบิต” ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านอิมามอะลี (อ.) ในฐานะที่รู้จักอัลกุรอาน มากกว่าใครทั้งสิ้นท่านได้เรียบเรียงต้นฉบับอัลกุราอนขึ้น ประกอบกับอิสลาม ได้ขยายตัวกว้างราวทศวรรษที่ 30 ฮิจญฺเราะฮฺศักราช ประชาชนจำนวนมากมายได้หลั่งไหลเข้ารับอิสลาม และพวกเขาต้องการมีคัมภีร์ไว้ศึกษา จนเป็นสาเหตุทำให้ต้องมีคัมภีร์ไว้ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และวิชาการ จึงเป็นที่มาของการจัดทำกุรอานเป็นรูปเล่ม จากต้นฉบับที่เชื่อถือไว้ จากท้องที่ต่าง ๆ จากตำราอ้างอิงทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก อ้างถึงความแตกต่างกันในการอ่าน ที่ปรากฎอยู่ในหมู่มุสลิมทั้งหลาย ซึ่งกล่าวว่ารากเหง้าของความขัดแย้ง กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความแตกแยกกัน[2]
การเสนอให้มีการอ่านและการรวมอัลกุรอาน เป็นเล่มเดียวกันเสนอโดย “ฮุดัยฟะฮฺ” ซึ่งท่านอุษมานก็มีความเห็นพร้องต้องกัน ถึงความจำเป็นดังกล่าว ด้วยเหตุนี้เอง ท่านเคาะลิฟะฮฺ ที่สามจึงได้ขอคำปรึกษาหารือจากเหล่าเซาะฮาบะฮฺ ซึ่งทั้งหมดก็เห็นดีเห็นงามถึงความจำเป็นดังกล่าว แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะความยากลำบากเพียงใดก็ตาม ท่านอุษมานได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมากลุ่มหนึ่งจำนวน 4 คน ประกอบด้วย ท่านซัยดฺ บิน ษาบิต อับดุลลอฮฺ อิบนุ ซุบัยร์ สะอีด บิน อาศ และอับดุรเราะฮฺมาน บิน ฮาริษ แต่หลังจากนั้นกลุ่มดังกล่าวได้ขยายตัวเป็น 12 คน ซึ่งเคาะลิฟะฮฺ ได้มีคำสั่งแก่พวกเขาว่า เนื่องจากอัลกุรอาน ถูกประทานลงมาด้วยภาษากุเรช ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงเขียนด้วยภาษากุเรช
กลุ่มที่ประสงค์ต้องการทำให้อัลกุรอาน เป็นฉบับเดียวกันถูกจัดตั้งขึ้น เมื่อราวปีฮิจญฺเราะฮฺที่ 25 การดำเนินการครั้งแรกได้รับคำสั่งจากท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้สั่งให้รวบรวมอัลกุรอาน จากต้นฉบับที่บันทึกไว้ตามหัวเมืองต่าง ๆ ในแคว้นอิสลามสมัยนั้น
ในขั้นตอนนี้ หลังจากอัลกุรอานได้ถูกรวบรวมเป็นฉบับเดียวกันแล้ว ก็ถูกส่งไปยังมะดีนะฮฺ หลังจากนั้นท่านเคาะลิฟะฮฺได้สั่งให้ทำลายต้นฉบับเดิมทิ้งเสีย หรือโยนไปต้มในน้ำเดือด ด้วยเหตุนี้นี้เองท่านอุษมานจึงได้รับฉายาว่า “ฮัรรอกุลมะซอฮิบ” หมายถึงผู้เผาต้นฉบับทิ้ง ขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดส่งต้นฉบับที่รวบรวมแล้ว ไปยังสถานที่และศูนย์กลางสำคัญ ขณะที่ส่งต้นฉบับไปยังหัวเมืองต่างๆ นั้น ท่านเคาะลิฟะฮฺ ได้จัดส่งนักกอรีไปด้วย เพื่อให้เขาอ่านกุรอานให้ประชาชนได้รับฟัง[3]
บรรดานักประวัติศาสตร์ได้นับจำนวน ต้นฉบับที่ถูกจัดทำขึ้น และถูกจัดส่งไปยังหัวเมืองต่างๆ ในครั้งนี้ แตกต่างกัน “อิบนุ อบีดาวูด” กล่าวว่ามีจำนวน 6 เล่ม ซึ่งถูกส่งไปยังเมืองต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ มักกะฮฺ กูฟะฮฺ บัศเราะฮฺ ชาม บะฮฺเรน และเยเมน และถูกเก็บรักษาไว้ในมะดีนะฮฺ เล่มหนึ่ง ซึ่งเรียกต้นฉบับนั้นว่า “อัม” หรือ “อิมาม” ท่านยะอฺกูบียฺ บันทึกไว้ในหนังสือของท่าน โดยเพิ่มต้นฉบับเข้าไปอีก 2 เล่ม ซึ่งถูกส่งไปยังอียิปต์ และอัลญะซีเราะฮฺ ส่วนต้นฉบับที่ถูกส่งไปยังเมืองต่างๆ นั้น ได้ถูกส่งไปยังศูนย์กลาง และถูกเก็บรักษาอยู่ที่นัน นอกจากนั้นยังมีต้นฉบับอื่นๆ อีกที่คัดลอกไปจากต้นฉบับดังกล่าว เพื่อให้ทั่วถึงและสะดวกสำหรับประชาชน[4]
การเรียงตามต้นฉบับของอุษมาน ก็คือการเรียงดังกุรอานในปัจจุบัน ซึ่งเหมือนการเรียงอยู่ในต้นฉบับต่างๆ ของบรรดาเซาะฮาบะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกับต้นฉบับของ อบี บิน กะอับ ซึงในสมัยนั้นการเขียนลายมือ เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีของชนอาหรับในยุคนั้น ฉะนั้น การจดบันทึกจึงปราจาคสระและวรรยุกต์[5]
ส่วนผู้รู้ฝ่ายชีอะฮฺ มีความเชื่อว่าอัลกุรอานที่มีอยู่ในมือของเราในปัจจุบัน ก็คืออัลกุรอานสมบูรณ์และครบถ้วนแล้ว ซึ่งต้นฉบับของอุษมานก็คือ อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือของเราเล่มปัจจุบัน ซึ่งปราศจากการแก้ไขเพิ่มเติม การสังคายนา และการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าในชวงเวลาเดียวกันท่านอิมามอะลี (อ.) จะบันทึกอัลกุรอานไว้ด้วยตัวของท่านเอง โดยบันทึกไปตามการประทานลงมาอย่างเป็นระเบียบก้ตาม แต่ทว่าอัลกุรอานเล่มที่มีอยู่เดิมนี้ ก็ได้รับการรับรองและการยืนยันจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ทุกท่าน ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นอันใดทั้งสิ้น ที่เราต้องจัดพิมพ์อัลกุรอานอีกเล่มหนึ่ง โดยพิมพ์เรียงไปตามวาระการถูกประทานลงมา แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่เป็นบิดอะฮฺก็ตาม เนื่องจากว่า “บิดอะฮฺ” หมายถึง การนำสิ่งต่างๆ เข้ามาในศาสนา ซึ่งสิ่งนั้นไม่เคยมีอยู่ก่อน แน่นอนว่า การกระทำดังกล่าวเป็น ฮะรอม และบรรดาอิมามของชีอะฮฺ ก็ชี้ให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว
ชายคนหนึ่งอ่านและกล่าวเกี่ยวกับอัลกุรอาน ต่อหน้าท่านอิมามซอดิก (อ.) แต่ต่างไปจากที่ประชาชนอ่านและเข้าใจทั่วไป ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “เจ้าอย่าอ่านคำนี้เช่นนี้อีก แต่เจ้าจงอ่านเหมือนที่ทั่วไปอ่าน”[6]
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้แสดงเห็นชอบด้วยกับการที่จะรวบรวม ต้นฉบับอัลกุรอานไว้ในเล่มเดียวกัน ท่านอิบนุอบีดาวูด รายงานจากท่านซูอิด บิน ฆ็อฟละฮฺว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่า อุษมานมิได้กระทำสิ่งใดเกี่ยวกับอัลกุรอานเลย เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับคำปรึกษาหารือแล้ว”[7]
อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า “ถ้าหากการสั่งให้รวบรวมต้นฉบับ ต้นมาถึงฉัน ฉันก็คงต้องทำเฉกเช่นที่อุษมานได้กระทำ”[8]
สรุปสิ่งที่กล่าวมา ตามประวัติการรวบรวมอัลกุรอาน ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือผู้กำหนดว่า โองการไหนควรจะอยู่ที่ใด มิใช่ความเห็นชอบ หรือความพอใจของเซาะฮาบะฮฺแต่อย่างใด กล่าวคือทุกโองการที่ประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับเองว่าควรจัดวางไว้ตรงที่ใด และอัลกุรอานที่อยู่ในมือของเราปัจจุบันนี้ก็คือ อัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากนักกอรี และนักท่องจำอัลกุรอานกลุ่มใหญ่ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานเล่มปัจจุบัน ได้รับการยอมรับจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ดังนั้น ไม่สามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอานเล่มนี้ ถูกรวบรวมขึ้นตามความพอใจของท่านอุษมาน เพื่อว่าท่านจะได้สามารถกำหนดสถานที่ของโองการตามความพอใจได้
[1]ชากีรีน ฮะมี ริฎอ กุรอานเชนอซี หน้า 19 ดัฟตัรนัชรฺ มะอาริฟ, พิมพ์ครั้งที่ 7 1386
[2] ดัรซ์ นอเมะฮฺ อุลูมกุรอานี ฮุซัยนฺ ญะวาด ออรอซเตะฮฺ หน้า 198, สำนักพิมพ์ ดัฟตัร ตับลีฆอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 1378
[3] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 203
[4] ออมูเซซ อุลูมกุรอาน ฉบับแปล อัตตัมฮีม ฟี อุลูมิลกุรอาน, มุฮัมมัด ฮาด มะอฺริฟัต ผู้แปล อบูมุฮัมมัด วะกีลี เล่ม 1, หน้า 425, สำนักพิมพ์ มัรกัซ จอพ วะ นัชรฺ ซอเซมอน ตับลีฆอต อิสลามี กุม พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1371
[5] อ้างแล้ว เล่ม 1, หน้า 433
[6] อ้างแล้ว เล่ม 1 หน้า 416
[7] อัลอิตติกอน ฟี อุลูม กุรอาน, ญะลาลุดดีน ซุยูฏี เล่ม 1 หน้า 170 สำนักพิมพ์ อัซรียะฮฺ พิมพ์ที่เบรุต ปี ฮ.ศ. 1408
[8] มุฮัมมัด อิบนุ มะฮฺมูด แต่ถูกรู้จักกันในนามของ อิบนุ ญะซะรียฺ, อันนัชรฺ ฟิล กะรออาต อัลอะชะเราะ,เล่ม 1 หน้า 8, สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอะละมียะฮฺ พิมพ์ เบรูต