ไทยแลนด์
Thursday 26th of December 2024
0
نفر 0

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 8

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 8

บทเรียนอูศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา)


ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 8

 

 

อะไร คือ บทพิสูจน์ความยุติธรรมและฮิกมะฮ์ของพระผู้เป็นเจ้า

เมื่อเรามองไปที่การสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า เราจะพบว่า พระองค์เป็นผู้ทรงสร้าง ผู้ทรงมีอำนาจ(กุดรัต) และทรงมีเจตนารมณ์เสรี(อิคติยาร) อย่างสมบูรณ์ ดั่งที่พระองค์ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกรุอาน

 

ซูเราะฮ์ยาซีน โองการที่ 82

 

إِنَّمَا أَمْرُهُ إِذَا أَرَادَ شَيْئًا أَن يَقُولَ لَهُ كُن فَيَكُونُ

 

“แท้จริงพระบัญชาของพระองค์ เมื่อทรงประสงค์สิ่งใด พระองค์ก็จะตรัสแก่มันว่า “จงเป็น” แล้วมันก็จะเป็นขึ้นมา”

 

คำอธิบาย : ข้อพิสูจน์ประการหนึ่ง โองการนี้ได้อธิบายไว้อย่างลึกซึ้งและเป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุดถึงพลังอำนาจอันไร้ขีดจำกัดของพระองค์ กล่าวคือ นอกจากอำนาจของพระองค์ไม่มีที่สิ้นสุดแล้ว ยังไม่มีอำนาจใดอยู่เหนืออำนาจและเจตนารมณ์เสรี(อิคติยาร)ของพระองค์ ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นตามเจตนาและพระประสงค์ของพระองค์ และทุกสรรพสิ่งไม่ได้บังเกิดมาจากการบีบบังคับใดๆยังพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นการบีบบังคับในรูปแบบใดก็ตาม เว้นแต่ยังพระองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้น ที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงทุกสรรพสิ่งและจบสิ้นที่พระองค์


เจตนารมณ์เสรีและพลังอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า

หากการงานนั้นมาในรูปแบบ เจตนารมณ์เสรี(อิคติยาร) ที่มีภววิสัยเป็นปัจจัยเสริม หรือประกอบการตัดสินใจ ถือว่าการตัดสินใจนั้น เป็นเจตนารมณ์เสรี ที่ไม่สมบูรณ์ เพราะมีปัจจัยแวดล้อมเข้ามาแทรกแซง


หากมีการพิจารณาประเด็นรายละเอียดถึงการกระทำ จำต้องตระหนักว่า ในทุกสรรพสิ่งจะต้องไม่เกิดจากการบังคับ ถูกจูงใจ หรือมีสภาวะที่ต้องได้รับการสนับสนุน อีกทั้งสภาพแวดล้อมรูปแบบใดก็ตามไม่สามารถส่งผลใดๆต่อพระองค์ได้ เช่นนี้ จึงถือได้ว่าเป็นเจตนารมณ์เสรี(อิคติยาร)ที่สมบูรณ์ นัยยะนี้บ่งบอกคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า

เป็น “ผู้ทรงกามาล” (พระองค์คือผู้สมบูรณ์)หรือพระองค์คือ “ผู้ทรงสัมบูรณ์” (สมบูรณ์ยิ่ง)


คำอธิบาย : คำว่า “กามาล” คือ อะไรก็ตามที่เป็นความสมบูรณ์

 

ตัวอย่าง “ความสมบูรณ์ทางด้านความรู้ (อิลมฺ)ของพระองค์”

สำหรับพระองค์ ‘อิลมฺ’ เป็นความรู้ที่สมบูรณ์ และ เป็นความรู้ที่สมบูรณ์โดยไม่ต้องพึ่งพิงความรู้ใดๆจากแหล่งอื่น อีกทั้งพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ (กุดรัต) และทรงมีเจตนารมณ์เสรี (อิคติยาร)ที่สมบูรณ์ ดังนั้นแล้ว เมื่อความประสงค์  (อิรอดัต) นี้ มาจากผู้ที่มีอำนาจและเจตนารมณ์เสรีอย่างสมบูรณ์ แน่นอนว่า ความประสงค์ (อิรอดัต)ที่สมบูรณ์ย่อมเกิดขึ้น

 

การสร้างพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญ เมื่อมนุษย์เข้าใจว่าพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ พระองค์เป็นผู้ทรงมีเจตนารมณ์เสรีและเป็นผู้ทรงมีความประสงค์ของตัวเองอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งแท้จริงแล้วไม่ได้มาจากการถูกบีบบังคับ หรือจากสภาวะหนึ่งสภาวะใดมามีส่วนร่วมในพระประสงค์ของพระองค์ จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่า พระประสงค์ของพระองค์ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ทั้งในเรื่องให้เป็นหรือไม่ให้เป็น ให้เกิดหรือไม่ให้เกิด ให้ทำหรือไม่ให้ทำ สิ่งเหล่านี้เกิดมาจากพระประสงค์ของพระองค์ที่สมบูรณ์โดยไม่มีปัจจัยใดๆ เข้ามามีส่วนร่วมในพระประสงค์ของพระองค์ทั้งสิ้น ซึ่งหาก มองในด้าน ‘ฮิกมะฮ์’ แล้ว อัลลอฮฺ(ซบ)เป็นพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงวิทยปัญญา(ฮากีม) และผู้ทรงรอบรู้(อาลีม) ที่สัมบูรณ์

 

ฉะนั้น พระประสงค์ของพระองค์ จึงเป็นพระประสงค์ที่มาจากความรอบรู้และมาจากวิทยปัญญาที่สมบูรณ์และถูกต้อง อีกทั้งพระประสงค์ของพระองค์จะไม่มีวันไร้สาระ เช่นนี้แล้ว เมื่อพระองค์กำหนดสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้แก่มนุษย์ สิ่งนั้นย่อมมี ฮิกมะฮ์(ปรัชญาของเป้าหมาย) เหตุผล เพราะมาจากผู้ทรงวิทยปัญญา(ฮากีม)โดยแท้จริง ดังนั้นแล้ว เมื่อมีฮิกมะฮ์ จึงเป็นความยุติธรรมโดยอัตโนมัตินั่นเอง

 

ขอขอบคุณสถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ความหมายของตักวาในอัลกุรอาน
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
...
กำเนิดจักรวาล
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ทำไมเราต้องทำนมาซด้วย?
น้ำผึ้งในอัลกุรอานและฮะดีษ
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความเป็นพี่น้องในอิสลาม
คุตบะฮ์ชะอ์บานียะฮ์ ...

 
user comment