ฉัน ได้ถามยังท่านอิมามอะลี (อ) ว่า “โอ้บิดาแห่งบรรดาผู้กำพร้า คนรวยต้องรับผิดชอบคนยากจนหรือไม่? หรือว่าคนรวยมีสิทธิที่จะใช้จ่ายทรัพย์สินของเขาได้ตามอำเภอใจ และทอดทิ้งผู้ยากไร้ คนยากคนจนไปตามยถากรรมของเขา?”
อิมามอะลี (อ) ได้ตอบแก่ฉันว่า “พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดให้อาหารของผู้ยากไร้ เป็นสิ่งจำเป็นในทรัพย์สินของผู้ร่ำรวยทั้งหลาย (หมายถึงเป็นวาญิบ (จำเป็นต้องปฏิบัติ) สำหรับผู้ร่ำรวยทั้งหลายที่จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการดำรงชีพของผู้ยากจน ทั้งหลาย) ดังนั้นจะไม่มีผู้ยากจนคนใดต้องอยู่ในสภาพที่หิวโหย เว้นเสียแต่ผู้ร่ำรวยจะกีดกั้นพวกเขา (หมายถึงไม่หยิบยื่นสิทธิแก่พวกเขา) และพระองค์จะทรงสอบสวนเขาต่อการกระทำของพวกเขาในวันแห่งการตัดสิน (กิยามัต)”
พวกเขาจะถูกถามว่า ด้วยเหตุอันใดที่พวกเขาไม่นึกถึงผู้ยากไร้ทั้งหลายเลย และเรื่องทรัพย์สินที่พระองค์ได้ทรงมอบแก่พวกเขา พระองค์จะทรงถามว่า ด้วยเหตุใดพวกเขาจึงลิดรอนสิทธิของผู้ยากไร้ และผู้ขัดสนทั้งหลาย แทนที่การดูแลผู้ยากไร้ ผู้อ่อนแอในสังคม และการแจกจ่ายความร่ำรวยแก่ผู้อื่นอย่างเป็นธรรม พวกเขาหมกมุ่นอยู่กับการใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย และฟุ่มเฟีอยที่สุด
ฉันได้ถามอิมามอะลี (อ) ต่อว่า “ชีวิตของข้าฯ ขอพลีแด่ท่านโอ้อิมาม ฉันขอถามว่าความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ของผู้ร่ำรวยทั้งหลายในทัศนะของท่านคือ อะไร?”
อิมามอะลี (อ) ได้ตอบแก่ฉันว่า “คือเมื่อท่านได้สะสมทรัพย์สินเอาไว้ เนื่องจากว่าท่านคือตัวแทนของบุคคลอื่นๆ ท่านจะประสพกับความเคราะห์ร้ายในการสะสมมัน และท่านจะได้รับความโชคดีในการแจกจ่ายมันไปในหนทางของพระองค์”
ฉันได้ถามอิมามอะ ลี (อ) อีกต่อไปว่า “ผู้ร่ำรวยต้องทำเช่นไรบ้าง เพื่อที่ว่าในวันแห่งการตัดสิน (วันกิยามัต) เขาจะต้องไม่พบกับความเคราะห์ร้าย?”
อิมามอะลี (อ) ได้ตอบแก่ฉันว่า “จงใช้จ่ายทรัพย์สินที่ดีที่สุดของเจ้าไปในหนทางซึ่ง ด้วยสื่อแห่งการใช้จ่ายนั้นจะสามารถนำพาการปฏิบัติความดีต่างๆ ของเจ้าสู่เบื้องบน และยกฐานะภาพของเจ้าได้ (ด้วยการบริจาคทาน ช่วยเหลือคนยากคนจน ผู้ยากไร้ขัดสน) จงเอาใจใส่ในเรื่องต่อไปนี้
ทรัพย์สินเงินทอง และความร่ำรวย ถ้าหากว่าอยู่บนความถูกต้อง ก็จะมีผลตอบแทน แต่ถ้าหากเป็นสิ่งต้องห้ามก็จะมีการลงโทษทัณฑ์ และถ้าหากมีความคลุมเครือก็จะถูกตำหนิติเตียน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระมัดระวังในทุกๆ ภารกิจซึ่งในวันแห่งการตัดสินจะไม่ต้องมีภาระที่หนักอึ้ง