ไทยแลนด์
Thursday 26th of December 2024
0
نفر 0

ท่านหญิง ฟาฏิมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ คือใคร?

ท่านหญิง ฟาฏิมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ คือใคร?



ท่านหญิง ฟาฏิมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ คือใคร?

 

ขณะที่เมื่อเสียงทารกน้อยได้ส่งเสียงร้องดังไปทั่วเมืองมะดีนะฮ์ จากครอบครัวที่เรียบง่ายและความเป็นสมถะของท่านอิมาม มูซา อัลกาซิม (อ) แสงแห่งรัศมีอันงดงามได้พวยพุ่งสู่ฟากฟ้า ทำให้เสียงร้องไห้ของเด็กน้อยนั้นต้องหยุดชะงักลง ถือว่าเวลาแห่งการรอคอยของผู้เป็นบิดานั้นได้มาถึง นั่นคือ เวลาที่ทารกน้อยผู้นี้ได้ถือกำเนิดขึ้นมา ในวันที่ 1 ของเดือนซุลเกาะดะฮ์ ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 173 ณ เมืองมะดีนะฮ์ อัลมุเนาวะเราะฮ์


 ทารกน้อยนั้นมีนามว่า ฟาฏิมะฮ์ อัลกุบรอ ซึ่งรู้จักกันในนามว่า “มะอ์ศูมะฮ์”


มารดาของนางเป็นสตรีที่ประเสริฐที่สุดในยุคสมัยที่มีนามว่า ท่านหญิงนัจญ์มะฮ์ คอตูน ซึ่งด้วยกับความบริสุทธิ์ของนาง จึงได้ฉายานามว่า ฏอฮิเราะฮ์ และบิดาของนาง คือ ท่านอิมามมูซา อัลกาซิม (อ) ผู้เป็นอิมาม ท่านที่เจ็ดแห่งวงศ์วานอาลิมุฮัมมัด ผู้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้บริสุทธิ์


ฉายานามของนาง คือ มะฮ์ศูมะฮ์(ผู้ที่สะอาดบริสุทธิ์ , กะรีมะตุอะฮ์ลิลบัยต์(ผู้เอื้ออารีแห่งครอบครัวศาสดา,ฏอฮิเราะฮ์ (ผู้สะอาดไร้มลทิน ,ฮะมีดะฮ์(ผู้ได้รับการสรรเสริญ ,รอฎียะฮ์(ผู้ที่ได้ความพึงพอใจ,ตะกียะฮ์ (ผู้ที่สะอาด,มัรฎียะฮ์ (ผู้ที่มีความพึงพอใจ),รอชิดะฮ์ (ผู้ที่ชี้นำ) และอุคตุรริฎอ (น้องสาวของอิมามริฎอ)


ก่อนการถือกำเนิดของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์  ท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก ได้แจ้งข่าวดีถึงการถือกำเนิดของท่านหญิงให้กับท่านอิมามมูซา อัลกาซิม (อ) ซึ่งเป็นครอบครัวแห่งวิลายะฮ์และอิมามะฮ์ได้เฝ้ารอคอยการถือกำเนิดของบุตรีผู้นี้มานานมากถึง 45 ปีด้วยกัน เพราะว่า ท่านอิมามริฏอ ผู้เป็นพี่ชายของท่านหญิงได้ถือกำเนิดมาก่อนท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ถึง 25 ปี


ในขณะที่ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ถือกำเนิด เป็นช่วงระยะเวลาสุดท้ายแห่งการเป็นอิมามัต (ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ศาสดา)ของท่านอิมาม มูซา อัลกาซิม (อ) นั่นคือ ปีฮิจเราะฮ์ที่ 148 ซึ่งท่านอิมามได้ดำรงตำแหน่งอิมามัต เพียง 35 ปี และอยู่ในยุคสมัยของการปกครองของราชวงศ์อับบาสียะฮ์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ยุคสมัยนั้น ได้สร้างความยากลำบากเป็นอย่างมากให้กับบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ และมวลศรัทธาชนชีอะฮ์ผู้ปฏิบัติตาม แม้กระทั่ง นามของบรรดาอิมามก็ไม่อาจที่จะกล่าวขานได้ นั่นคือ ในสมัยของการปกครอง คอลีฟะฮ์ฮารูน อัรรอชีด ซึ่งในบางครั้งท่านอิมามได้ถูกจับกุมและนำตัวไปขังไว้ในคุก และบางครั้งก็ถูกปล่อยให้เป็นอิสระ ซึ่งก็เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดระยะเวลากว่า 14 ปี ด้วยกัน อีกทั้งในช่วงเวลานั้น ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ถือกำเนิดขึ้นมาพอดี


ท่านอิมาม มูซา อัลกาซิม ถูกทำชะฮาดะฮ์ (พลีชีพ) (1)ในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 183 ขณะที่ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์มีอายุได้เพียง 10 ปี อีกทั้งพี่ชายของท่านหญิง คือ ท่านอิมามอะลี อัรริฎอ ซึ่งมีอายุ 35 ปี ก็ได้เป็นผู้สืบทอดอิมามัตต่อจากบิดาของท่าน


ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ มีนามเดียวกันกับผู้เป็นบุตรีแห่งศาสนทูตของอัลลอฮ์ นั่นคือ ท่านฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (ซ) ซึ่งสถานภาพของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์นั้นมิได้เหมือนกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ แต่ด้วยกับนามเดียวกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ทำให้บรรดาชีอะฮ์ทั้งหลายมีความรักต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ ดั่งในวจนะหนึ่งจากท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก ได้กล่าวไว้ว่า


“พวกท่านจงรู้ไว้เถิดว่า สรวงสวรรค์นั้นมีประตูอยู่ เจ็ดบาน ซึ่งประตูทั้งสามบานนั้นเปิดออกสู่เมืองกุม ซึ่ง ณ สถานที่แห่งนั้น มีสถานที่ฝังศพของวีรสตรีนางหนึ่งที่เป็นบุตรหลานของฉัน และนามของนางนั้นคือ ฟาฏิมะฮ์ บิน มูซา และด้วยกับการชะฟาอะฮ์ (อนุเคราะห์) ของนางจะทำให้บรรดาชีอะฮ์ของนางนั้นได้เข้าสู่สรวงสวรรค์”

 

ท่านอิมามอะลี บิน มูซา อัรริฏอได้กล่าวถึงท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ว่า


مَنْ زَارَ الْمَعصُومَةَ بِقُمْ كَمَنْ زَارَنى

 

“ผู้ใดก็ตามที่ได้มาซิยาเราะฮ์ (เยี่ยมเยียน)มะอ์ศูมะฮ์ ยัง เมืองกุม เปรียบเสมือนกับว่าเขานั้นได้มาเยี่ยมเยียนยังฉัน”

 


หมายเหตุ


(1)ชะฮาดะฮ์ หมายถึง หนึ่งในความเชื่อของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ ที่เชื่อว่า บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์มิได้เสียชีวิตโดยธรรมชาติ แต่ทว่าท่านทั้งหลายนั้นเสียชีวิตโดยการเป็นชะฮีด กล่าวคือ มีฐานะภาพเหมือนดั่งผู้ที่ร่วมต่อสู้ในสงครามยุคศาสดา  เช่น ท่านอิมามฮุเซนที่รู้จักกันว่า ท่านนั้นคือ อัชชะฮีด เหมือนดั่งในการกล่าวสะลามยังท่านโดยการกล่าวว่า


السلام علیك یا حسین الشهید
 

ขอกล่าวสะลามมายังท่าน โอ้ฮุเซน ผู้เป็นชะฮีด  ซึ่งตามแนวทางของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ มีความเชื่อว่า บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ นั้นเป็นชะฮีดทั้งหมดทุกคน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันว่า ชะฮาดะฮ์

 

แปลและเรียบเรียงโดย เชคญะมาลุดดีน

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

เตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า)
ความหมายของตักวาในอัลกุรอาน
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
...
กำเนิดจักรวาล
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ทำไมเราต้องทำนมาซด้วย?
น้ำผึ้งในอัลกุรอานและฮะดีษ
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความเป็นพี่น้องในอิสลาม

 
user comment