ไทยแลนด์
Friday 15th of November 2024
0
نفر 0

ข้อบัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอด

ข้อบัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอด

เงื่อนไขการเป็นวาญิบและความถูกต้องของศีลอด
ถาม กรณีที่เด็กผู้หญิงบรรลุศาสนภาวะแล้วแต่เธอไม่สามารถถือศีลอดได้เพราะมีร่างกายอ่อนแอ และหลังจากเดือนร่อมะฎอนก็ไม่สามารถถือศีลอดได้อีกจนถึงเดือนร่อมะฎอนปีหน้า ฮุกุ่มของเธอเป็นอย่างไร ?

ตอบ กรณีที่ไม่สามารถถือศีลอดหรือชดใช้ศีลอดได้ด้วยสาเหตุเพียงเพราะมีร่างกายอ่อนแอ ถือว่าวาญิบยังไม่หมดไปจากตัวเธอ ดังนั้นเธอต้องถือศีลอดชดใช้ (หากมีความสามารถในภายหลัง)


ถาม เด็กหญิงที่เพิ่งจะบรรลุศาสนภาวะซึ่งการถือศีลอดเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับเธอ กฎฮุกุ่มในกรณีของเธอจะเป็นเช่นไร ? และโดยทั่วไปแล้ว อายุบาลิฆของเด็กสาวคือ ๙ ขวบบริบูรณ์ตามจันทรคติใช่ไหม ?

ตอบ ตามทัศนะอันเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้รู้ อายุบาลิฆของเด็กหญิงคือ ๙ ขวบบริบูรณ์ (นับตามจันทรคติ)

ดังนั้น เป็นวาญิบสำหรับเธอที่จะต้องถือศีลอดเมื่อถึงวัยบาลิฆ และไม่อนุญาตให้ละเลยการถือศีลอดเพียงเพราะมีอุปสรรคบางประการ แต่ถ้าหากการถือศีลอดเป็นอันตรายต่อเธอ หรือสร้างความลำบากให้กับเธอเกินจะทนได้ ก็ถือว่าอนุญาตให้เธอละศีลอดได้


ถาม เด็กหญิงที่มีอายุ ๙ ขวบบริบูรณ์เป็นวาญิบต้องถือศีลอด แต่เธอได้ละศีลอดก่อนเวลาเนื่องจากประสบความยากลำบากในการถือศีลอดด้วยเหตุผลบางประการ ในกรณีดังกล่าว เธอต้องถือศีลอดชดใช้หรือไม่ ?

ตอบ เป็นวาญิบต้องถือศีลอดชดใช้


ถาม พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต้องใช้เวลาบินประมาณสองสามชั่วโมง และเพื่อความปลอดภัยจำเป็นต้องดื่มน้ำทุก ๆ ยี่สิบนาที ดังนั้น เป็นวาญิบต้องถือศีลอดชดใช้และต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺหรือไม่ ?

ตอบ ถ้าการถือศีลอดเป็นอันตรายต่อตนเอง อนุญาตให้ละศีลอดและดื่มน้ำได้ และให้ถือศีลอดชดใช้ภายหลังโดยไม่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ


ถาม ข้าพเจ้าติดบุหรี่อย่างรุนแรง ฉะนั้นในเดือนร่อมะฎอนหากไม่ได้สูบบุหรี่ ข้าพเจ้าจะหงุดหงิดและโมโหมาก และความโมโหนั้นเองทำให้พาลทะเลาะกับครอบครัว ในกรณีดังกล่าว หน้าที่ของข้าพเจ้าคืออะไร ?

ตอบ เป็นวาญิบสำหรับท่านต้องถือศีลอดเดือนร่อมะฎอน และไม่อนุญาตให้สูบหรี่ขณะถือศีลอด อีกทั้งไม่อนุญาตให้แสดงกิริยามารยาทไม่ดีกับครอบครัวและบุคคลอื่นโดยไม่มีเหตุผล



หญิงมีครรภ์และการให้นม
ถาม หญิงที่ตั้งครรภ์เป็นวาญิบต้องถือศีลอดในเดือนร่อมะฎอนไหม ?

ตอบ การตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเป็นวาญิบของศีลอด แต่ถ้ากลัวว่าการถือศีลอดจะเป็นอันตรายต่อตนเองหรือทารกในครรภ์ อันเป็นความหวาดกลัวที่คนทั่วไปยอมรับ ถือว่าไม่เป็นวาญิบต้องถือศีลอด


ถาม หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่รู้การถือศีลอดจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่ เป็นวาญิบต้องถือศีลอดไหม ?

ตอบ ถ้ากลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์อันเป็นความกลัวที่คนทั่วไปยอมรับ เป็นวาญิบต้องละศีลอด แต่ถ้าไม่กลัวเช่นนั้น ก็ถือว่าเป็นวาญิบต้องถือศีลอด


ถาม ข้าพเจ้าเป็นคนอ่อนแอและต้องให้นมลูกทุก ๆ ๑๐ นาที เกรงว่าถ้าถือศีลอดจะเป็นสาเหตุทำให้น้ำนมแห้ง ข้าพเจ้าควรจะทำอย่างไรดี ?

ตอบ ถ้าน้ำนมน้อยลงหรือจะหมดไปเพราะการถือศีลอด หรือเกรงว่าจะมีอันตรายต่อลูกของเธอ ก็ถือว่าอนุญาตให้ละศีลอดได้ และต้องถือศีลอดชดใช้ภายหลังเดือนร่อมะฏอนพร้อมกับจ่ายอาหารแก่คนยากจนทุกวันที่ได้ขาดศีลอดประมาณวันละ ๑ มุด (ประมาณ ๗.๕ ขีด)



การป่วยไข้และข้อห้ามจากแพทย์
ถาม แพทย์บางคนไม่ค่อยเคร่งครัดศาสนาเท่าใดนักได้สั่งห้ามไม่ให้ผู้ป่วยถือศีลอด โดยมีเหตุผลว่า เป็นอันตราย ฉะนั้นคำสั่งแพทย์ถือว่าเป็นเหตุผลได้ไหม ?

ตอบ ถ้าหากเป็นแพทยที่ไม่น่าไว้วางใจ และคำพูดของเขาก็ดูไม่น่าเชื่อถือ และไม่ได้ทำให้เกิดความหวาดระแวงต่ออันตราย ก็ถือว่าไม่จำเป็นต้องใส่ใจในคำพูดเหล่านั้น


ถาม มารดาของข้าพเจ้าไม่สบายมานานประมาณ ๑๓ ปี ด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้ถือศีลอด ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าการที่ไม่ได้ถือศีลอดเป็นเพราะต้องใช้ยาบำบัดอยู่เป็นประจำ กรณีเช่นนี้ ศีลอดที่ไม่ได้ถือต้องชดใช้ไหม ?

ตอบ ถ้าไม่สามารถถือศีลอดได้เพราะป่วยอย่างต่อเนื่อง ถือว่าไม่เป็นวาญิบต้องชดใช้ศีลอดที่ขาดไป


ถาม ข้าพเจ้าต้องสวมแว่นตาตามแพทย์สั่ง ประกอบกับสายตาของข้าพเจ้าอ่อนแอมาก เมื่อไปพบแพทย์ ๆ ได้บอกว่า ถ้าหากไม่บำรุงสายตาให้แข็งแรงมันจะทวีความอ่อนแอเพิ่มขึ้นและถ้าปฏิบัติ เช่นนั้นมันจะเป็นอุปสรรคต่อการถือศีลอดทันที ข้าพเจ้าจะต้องทำอย่างไร ?

ตอบ ถ้าหากการถือศีลอดเป็นอันตรายต่อสายตาของท่าน ไม่เป็นวาญิบต้องถือศีลอด ในทางกลับกันเป็นวาญิบสำหรับท่านต้องละศีลอด และถ้าอาการป่วยของท่านได้ยาวนานไปจนถึงร่อมะฎอนปีหน้า ก็ให้จ่ายอาหารแก่คนยากจนทุกวัน วันละประมาณ ๑ มุด





จากคำวินิจฉัยของ พณฯ อายะตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซัยยิด อลี คอเมเนอี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 2
ภารกิจของ “นัฟซุซซะกียะฮ์” ...
การตั้งชื่อว่าอัล-กุรอาน
เป้าหมายของเดือนรอมฎอน ...
...
...
มารู้จักอิมามมะฮฺดีย์
...
มุฮัมมัด บินซัลมาน จะพาซาอุฯ ...
วิธีออดอ้อนฉอเลาะพระเจ้า

 
user comment