ไทยแลนด์
Friday 15th of November 2024
0
نفر 0

เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 2

เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 2

เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 2

 


ความสัมพันธ์ของเรื่องเล่าในกุรอานกับความหมายทางภาษา


คำว่า กิซเซาะฮ์ ที่ถูกใช้ในกุรอานมีความหมายสอดคล้องกับความหมายในทางภาษาอย่างสมบูรณ์ ในกุรอานใช้คำว่า “กอศอศ” ที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “กอซซอ” ไปในความหมายที่ว่า ผู้เล่าเรื่องกำลังติดตามเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วซึ่งบางครั้งหมายถึงเรื่องที่เกิดขึ้นเกิดมานานแล้วเช่นที่

กุรอานกล่าวไว้ในซูเราะฮ์ ฏอฮาโองการที่ 99 ว่า


كَذلِكَ نَقُصُّ عَلَيْكَ مِنْ أَنْباءِ ما قَدْ سَبَقَ


“เช่นนี้แหละ เราได้บอกเล่าข่าวคราวที่ได้เกิดขึ้นแต่กาลก่อนแก่เจ้า”


หรือบางครั้งให้ความหมายตามรากศัพท์เดิม (มัศดัร) ที่หมายถึง การติดตามข่าวคราวหรือติดตามร่องรายของคนหรือสิ่งของ เช่น ในกุรอานกล่าวว่า


قَالَ يَا بُنَيَّ لَا تَقْصُصْ رُؤْيَاكَ عَلَىٰ إِخْوَتِكَ


“เขา(ยะอฺกูบ) กล่าวว่า “โอ้ลูกรักเอ๋ย ! เจ้าอย่าเล่าความฝันของเจ้าแก่พี่น้องของเจ้า”

 


คำว่า กอศอศ ในกุรอานบางทีมาหลังจากการเล่าเรื่องผ่านไปแล้ว 1 เรื่อง หรือบางทีก็มาหลังจากเล่าเรื่องไปแล้วหลายเรื่องดังเช่นในซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน ที่มาหลังจากเล่าเรื่องเพียงเรื่องเดียวของท่านศาสดาอีซา (อ)


إِنَّ هَٰذَا لَهُوَ الْقَصَصُ الْحَقُّ


“แท้จริงเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง”

 


ในซูเราะฮ์อะอ์รอฟ อัลลอฮ์ทรงใช้คำนี้หลังจากเล่าเรื่องหลายเรื่องราวมาแล้ว คือเรื่องราวของนบีอาดัม นูฮ์ ฮูดและมูซา (อ) พระองค์ทรงตรัสว่า


فَاقْصُصِ الْقَصَصَ لَعَلَّهُمْ يَتَفَكَّرُونَ


“เจ้าจงเล่าเรื่องราวเหล่านั้นเถิด เพื่อว่าพวกเขาจะได้ใคร่ครวญ”


ดังนั้นจากที่กล่าวมาทั้งหมดคำว่า “กอศอศ” ที่ถูกใช้ในกุรอานถูกนำเสนอไปในความหมายเกี่ยวกับการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วหรือเล่าเรื่องที่มีความต่อเนื่อง มีเป้าหมายชัดเจนในการสร้างจินตนาการให้เกิดขึ้นในสติปัญญาของผู้ฟังซึ่งในนิยามของกุรอานเรียกว่า กิซเซาะฮ์กุรอาน ไม่ว่าเรื่องนั้นจะมีความยาวหรือสั้นหรือเกิดขึ้นนานแล้วหรือเพิ่งเกิดก็ตาม

 

คำอื่นที่ถูกใช้ในความหมายกิซเซาะฮ์


ความหมายคำว่า กิซเซาะฮ์ ในกุรอานไม่ได้ถูกจำกัดไว้ในเฉพาะคำว่า กอศอศ เท่านั้นยังมีคำอื่นที่ให้ความหมายเดียวกันนี้เช่นกัน บางทีเช่นคำว่า นะบะอ์ ฮะดิษ คำเหล่านี้ก็มีความหมายเดียวกับคำว่า กอศอศ ด้วยซึ่งก็สามารถนำโองการที่ใช้คำเหล่านี้มาใช้ในเป้าหมายและแก่นแท้เดียวกับกิซเซาะฮ์ได้เช่นกัน เช่นโองการเหล่านี้

 

نَتْلُو عَلَيْكَ مِن نَّبَإِ مُوسَىٰ وَفِرْعَوْنَ بِالْحَقِّ


“เราจะอ่านแก่เจ้า บางส่วนแห่งเรื่องราวของมูซาและฟิรเอานด้วยความจริง”


وَهَلْ أَتَاكَ حَدِيثُ مُوسَىٰ


“และเรื่องราวของมูซาได้มีมาถึงเจ้าบ้างไหม”


أَوْ كَالَّذِي مَرَّ عَلَىٰ قَرْيَةٍ وَهِيَ خَاوِيَةٌ عَلَىٰ عُرُوشِهَا


“หรือเช่นผู้ที่ได้ผ่านเมืองหนึ่ง (บัยตุลมักดิส) โดยที่มันพังทับลงบนหลังคาของมัน”


แม้กระทั่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยของท่านศาสดาที่ถูกกล่าวไว้ในกุรกานเช่นเรื่องราวเกียวกับสงครามบะดัร สงครามอุฮุด บัยอัตริดวาน ซุลฮุดัยบียะฮ์ ถือเป็นเรื่องเล่ากุรอานด้วยเช่นกัน

 

สรุปเนื้อหา


คำว่า กิซเซาะฮ์ ในกุรอานหมายถึง การเล่าเรื่องราวในอดีตหรือเรื่องราวของชนรุ่นก่อน การติดตามร่องรอยและเรื่องเล่าที่แฝงคำสอน


กุรอานใช้คำว่า กิซเซาะฮ์ไปในความหมายเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตหรือคำกล่าวที่มีเนื้อหาให้ติดตามและการสร้างฉากภาพที่มีเป้าหมายเพื่อแฝงคำสอนให้เกิดขึ้นในหัวมนุษย์


บางครั้งความหมายของคำว่า กิซเซาะฮ์ ถูกนำเสนอมาในคำเช่น นะบะอ์หรือฮะดีษ

 

บทความโดย เชคมูฮัมหมัดอะลี ประดับญาติ

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 2
ภารกิจของ “นัฟซุซซะกียะฮ์” ...
การตั้งชื่อว่าอัล-กุรอาน
เป้าหมายของเดือนรอมฎอน ...
...
...
มารู้จักอิมามมะฮฺดีย์
...
มุฮัมมัด บินซัลมาน จะพาซาอุฯ ...
วิธีออดอ้อนฉอเลาะพระเจ้า

 
user comment