ไทยแลนด์
Monday 25th of November 2024
0
نفر 0

ความหมายและความสำคัญของของศาสนา (ดีน)

ความหมายและความสำคัญของของศาสนา (ดีน)



ความหมายและความสำคัญของของศาสนา (ดีน)

 

ดีน (ศาสนา) ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในศาสนาหนึ่งนั้นประกอบไปด้วยผู้คนจำนวนมากมายที่ดำรงชีวิต และอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกันหรือต่างชุมชนกันออกไป และมีการประกอบภารกิจที่คล้ายคลึงกัน ทุกคนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แม้ว่ากิจวัตรส่วนตัวของพวกเขา เช่น การรับประทาน การดื่ม การนอนหลับ การตื่น การสนทนา การฟัง การนั่ง การเดิน การใช้ชีวิตอยู่อย่างสันโดด หรืออยู่รวมกันเป็นหมู่คณะจะแตกต่างกันออกไปก็ตาม แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น กิจวัตรหน้าที่เหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ ถึงแม้นว่าไม่อาจทำตามกันได้ก็ตาม สืบเนื่องจากว่าภารกิจเหล่านั้นมีการตรวจสอบเป็นหลักประกันอยู่ หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นเพราะผู้ปฏิบัติทั้งหมดอยู่ในกรอบธรรมเดียวกันนั่นเอง

 

การงานต่างๆที่มนุษย์ได้กระทำระหว่างที่เขามีชีวิตมักทำอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ที่ไม่มีความผิดพลาด ซึ่งในความเป็นจริงสิ่งนั้นได้ออกมาจากเจตจำนงเดียวกัน นั้นคือมนุษย์ทุกคนต้องการชีวิตการเป็นอยู่ที่ดี ที่มีความเจริญรุ่งเรือง และสามารถก้าวเดินไปสู่ความหวังของตนได้ และตราบเท่าที่มีความสามารถ มนุษย์จะทำให้ความปรารถนาของตนคงสภาพอยู่เสมอ และให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด

 

จากจุดนี้เอง จึงมีการร่างตัวบทกฎหมายตามใจปรารถนาขึ้นมา เพื่อรองรับการกระทำของตน หรือนำเอากฎหมายที่ผู้อื่นยอมรับแล้วมาเปรียบเทียบ และเลือกแนวทางที่แน่นอนขึ้นมาเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตของเขา ได้มีการทำงานเพื่อจัดหาปัจจัยยังชีพที่จำเป็น เพราะการจัดเตรียมปัจจัย ถือว่าเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งที่นำมาซึ่งความสุข และเมื่อมนุษย์หิวและกระหาย จึงรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ เพราะการรับประทานและการดื่มถือว่าเป็นความจำเป็นที่ทำให้ความสุขและชีวิตของตนดำเนินต่อไปได้

 

กฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่ได้กล่าวถึงนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ในความเชื่อด้านหนึ่งมันได้ทำให้ชีวิตมีความมั่นคงถาวร เพราะมนุษย์ได้อิงอาศัยมัน บุคคลที่คิดว่าโลกของความจริงก็คือโลกแห่งวัตถุที่สัมผัสได้ และมนุษย์ก็คือสิ่งที่ถูกกำเนิดจากวัตถุ (เมื่อให้ชีวิต เขาก็มีชีวิตและสูญสลายด้วยกับความตาย) ฉะนั้น แนวทางในการดำเนินชีวิตของคนพวกนี้คือการมุ่งหาปัจจัยที่เป็นวัตถุ และการตักตวงความสุขทางโลกให้มากที่สุดตราบเท่าที่ความสามารถนั้นมี เขาได้ทุ่มเทความเพียรพยายามทั้งหมดเพื่อตอบสนองความต้องการของตนและพยายามทำให้กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติเป็นไปตามเจตจำนงตามที่ตนได้ตั้งเอาไว้

 

มีบางกลุ่มชน เช่น พวกที่เคารพบูชารูปปั้น  เชื่อว่า โลกของธรรมชาติเป็นงานสร้างของเทพเจ้าที่อยู่เหนือธรรมชาติ  พระองค์ได้บันดาลโลกขึ้นมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ พระองค์ได้สร้างปัจจัยยังชีพต่างๆ จำนวนมากมาย เพื่อเขาจะได้สัมผัสกับคุณงามความดีของพระองค์ พวกเขาได้จัดระบบชีวิตในลักษณะที่ว่าให้อยู่ในความพึงพอพระทัยของพระองค์ ไม่ทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุให้พระองค์ทรงกริ้วโกรธ เพราะถ้าหากพระองค์พึงพอพระทัย พระองค์จักประทาน ปัจจัยจำนวนมากมายแก่พวกเขา แต่ถ้าพระองค์ทรงกริ้ว พระองค์ก็จะนำมันกลับคืนไปจากพวกเขา

 

 บางกลุ่มชนนอกจากจะเชื่อว่า การมีความศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เกิดจากการสร้างสรรของพระองค์ ซึ่งเป็นผู้กำหนดให้เป็นไปทั้งสิ้น พระองค์เป็นผู้ประทานชีวิตให้กับมนุษย์ อีกทั้งได้กำหนดวิถีชีวิต (ศาสนา) ให้กับมนุษย์ แล้วยังเชื่ออีกว่า พระองค์มีหน้าที่รับผิดชอบการกระทำที่ดีและไม่ดีของมนุษย์ และในสุดท้ายพวกเขาได้พิสูจน์ว่า วันกิยามัต คือวันแห่งการตอบแทนผลบุญความดี และลงโทษผลกรรมชั่ว เช่นดั่งความเชื่อของพวกยะฮูดี นัศรอนี พวกโซโรเอสเตอร์ และมุสลิม กลุ่มชนเหล่านี้ ต้องการแนวทางหนึ่งในการดำเนินชีวิต ซึ่งแนวทางดังกล่าวต้องรักษาขนบธรรมเนียมความเชื่อ และส่งเสริมความสุขสมบูรณ์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าให้กับเขา

 

และทั้งหมดของความเชื่อเหล่านี้ (ซึ่งมูลฐานของมันคือ การเชื่อในแก่นแท้ของพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์ และโลก) รวมทั้งแนวความเชื่อถือและแนวปฏิบัติต่างๆ เป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมต่อวิถีการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติ เราเรียกว่า ดีนหรือศาสนานั่นเอง และถ้าศาสนาแตกสาขาออกไป สาขาเหล่านั้นเรียกว่า มัซฮับ (นิกาย แนวทาง) เช่น มัซฮับชีอะฮ์(นิกายชีอะฮ์) และมัซฮับสุนนะฮ? (นิกายสุนนี) ในอิสลาม หรือมัซฮับโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศาสนา เป็นต้น

 

 ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่กล่าวมา ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ปราศจากศาสนาไม่ได้ (แม้ว่าจะไม่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า ) เพราะศาสนา (ดีน) คือ ระบบการดำเนินชีวิตที่วางอยู่บนพื้นฐานของความศรัทธาที่มั่นคง ที่มนุษย์ไม่อาจแยกออกจากมันได้

 

อัล-กุรอานมีความเชื่อว่ามนุษย์ไม่อาจเลือกศาสนาให้กับตัวเองได้ เพราะแนวทางนั้นพระองค์ได้เลือกให้กับมนุษย์แล้ว เพื่อมนุษย์จะได้พบกับความสุขที่แท้จริง ดังนั้น ถ้าบุคคลใดยอมรับศาสนาที่เป็นสัจธรรม (อิสลาม) เท่ากับเขาได้ดำเนินชีวิตอยู่ในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า ส่วนคนที่ปฏิเสธเท่ากับเขาได้เฉไฉออกไปจากแนวทางที่เป็นสัจธรรมของพระองค์ และอยู่ท่ามกลางการหลงทาง

 

อัล-กุรอานกล่าวว่า“การสาปแช่งของอัลลอฮ์ จงประสบแก่ผู้อธรรม ได้แก่ ผู้ซึ่งขัดขวางวิถีทางของอัลลอฮ์และมุ่งหมายที่จะให้วิถีทางนี้เฉไฉ”  (อัล-อะอฺรอฟ :44 , 45)

 

อิสลาม ตามความหมายของพจนานุกรม หมายถึง ศานติ ความสงบสุข การยอมรับ หรือการยอมจำนนต่ออัลลอฮฺ ซึ่งศาสนา (ดีน) ที่อัล-กุรอานเชิญชวนมนุษย์ไปสู่ คือ อิสลามนั้นเอง ซึ่งระบบทั้งหมด คือการยอมจำนนของมนุษย์ต่อพระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลจักรวาล

 

อัล-กุรอานกล่าวว่า“และบุคคลใดเล่าจะมีศาสนาดียิ่งไปกว่าบุคคลที่ใบหน้าของเขายอมสวามิภักดิ์ต่ออัลลอฮ์ ในสภาพที่เขาเป็นผู้กระทำงานที่ดีเยี่ยม และเขาปฏิบัติตามศาสนาของอิบรอฮีมผู้มุ่งสู่สัจธรรม”  (อัน-นิซาอ์ : 145)

 

อัล-กุรอานกล่าวว่า“จงบอกกับชาวคัมภีร์ว่า โอ้ชาวคัมภีร์ จงก้าวเข้ามาสู่ถ้อยคำหนึ่ง ซึ่งสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเรากับพวกท่าน นั่นคือพวกเราจะไม่เคารพภักดีสิ่งใดนอกจากอัลลอฮ์ และเราจะไม่ตั้งสิ่งใดขึ้นเป็นภาคีกับพระองค์ และจะไม่แต่งตั้งใครจากพวกเราขึ้นเป็นผู้คุ้มครองนอกจากอัลลอฮฺ ดังนั้นถ้าพวกเขาหันหลังให้ ก็จงกล่าวออกไปว่า พวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่าแท้จริงเราเป็นผู้ยอมสวามิภักดิ์แล้ว” (อาลิอิมรอน :64)

 

ผลของการยอมรับคือ การไม่เคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของใคร นอกจากพระองค์

 

อัล-กุรอานได้กล่าวแก่เราว่า บุคคลแรกที่เรียกศาสนานี้ว่า อิสลามและผู้ปฏิบัติตามว่าเป็นมุสลิมคือ ท่านศาสดาอิรอฮีม (อ.)

 

อัล-กุรอานกล่าวว่า“โอ้พระผู้อภิบาลของเราโปรดบันดาลให้เราเป็นผู้ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ และโปรดให้ลูกหลานของพวกเราเป็นประชาชาติผู้ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์”(อัล-บะกอเราะฮฺ  :128)

 

อัล-กุรอานกล่าวว่า“เป็นศาสนาของบิดาของพวกเจ้า อิบรอฮีมเขาได้เรียกพวกเจ้าว่า มุสลิมีน”(อัล-หัจญ์  : 78)


ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
การเป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลก
ความโลภคือรากของความชั่วร้าย
...
...
ทำไมอิสลามห้ามดื่มสุรา
บทเรียนจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ ...
อิมามฮะซัน อัสการีย์(อ) ...
อิมามอะลี ...
"ฝน"ในอัลกุรอาน

 
user comment