ไทยแลนด์
Wednesday 25th of December 2024
0
نفر 0

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 เดือนรอมฎอน

 

بسم الله الرحمن الرحيم

اللهمّ لا تؤاخِذْني فیهِ بالعَثراتِ

واقِلْني فیهِ من الخَطایا والهَفَواتِ

ولا تَجْعَلْني فیه غَرَضاً للبلایا والآفاتِ

بِعِزّتِك یا عزّ المسْلمین

 
ความว่า :


  โอ้อัลลอฮ์ โปรดอย่าเอาผิดข้าฯ ในบาปต่างๆ โปรดผ่อนปรนข้าฯจากความผิดพลาดและความโง่เขลา  โปรดอย่าทำให้ข้าฯเป็นเป้าหมายของการทดสอบและความชั่ว ด้วยเกียรติของพระองค์  โอ้พระผู้ทรงเป็นเกียรติของมวลมนุษย์

 
คำอธิบาย :


اللهمّ لا تؤاخِذْني فیهِ بالعَثراتِ

 

โอ้อัลลอฮ์ โปรดอย่าเอาผิดข้าฯ ในบาปต่างๆ  

 

ในบางครั้ง มนุษย์จะหวั่นไหว อิหม่านจะอ่อนแอและตักวา(ความยำเกรง)จะลดลง  บาปๆต่างจะนำมาซึ่งความหวั่นไหว บางครั้ง พระองค์จะทรงกริ้วโกรธจากการทำบาปของเรา ซึ่งในวันนี้มนุษย์ที่ต้องพบเจอกับภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ก็เนื่องจากการทำบาปนั่นเอง

 

มนุษย์จำต้องตระหนักว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันเช่น รถชนรถพลิกคว่ำเสียชีวิต ตายแบบเฉียบพลัน ก็เนื่องจากบาปบางอย่างที่เขาได้กระทำไป

 

บุคคลที่ไม่นมาซต้นเวลาและกลับสาละวนอยู่กับเรื่องดุนยา  นมาซต้นเวลานั้นจะทำการสาปแช่งเขา  เช่น คนขับรถเมื่อถึงเวลานมาซก็ไม่ได้นมาซต้นเวลา และนมาซอันนี้ก็จะทำการสาปแช่งเขาโดยที่เขาอาจเกิดอุบัติเหตุรถชนและเสียชีวิต นี่คือ ผลของการสาปแช่งจากนมาซ   ดังนั้น นมาซที่ถูกทอดทิ้งดังกล่าวจะขอจากพระองค์ว่า  โอ้พระองค์ โปรดสาปแช่งเขา  เนื่องจากเขาได้ทอดทิ้งฉัน

 

หากมนุษย์นมาซตรงเวลา เหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น  นอกจากนั้นนมาซยังจะขอดุอาอ์ให้กับเขา  ว่า “โอ้อัลลอฮ์ โปรดให้การคุ้มครองและรักษาเขา เพราะเขาได้รักษาเวลาต่อฉัน แน่นอนยิ่งชีวิตก็จะราบรื่น......  

 

หากบุคคลใดอยู่กับพระองค์ก็จะไม่มีผู้ใดสามารถหลอกลวงเขาได้เพราะเขามีพระองค์

 

“มนุษย์จะถูกสอบสวนเท่าขีดความสามารถของตน”

 

มนุษย์ที่เกิดมาบนโลกนี้จะมีอายุขัยที่ถูกกำหนดมาแล้วอย่างชัดเจน   อีกทั้งจำต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์  เพราะหากมิฉะนั้นแล้วเขาจะถูกสอบสวนจากพระองค์  ดั่งที่อัลกุรอานได้กล่าวว่า

 

وَإِن تُبْدُوا مَا فِي أَنفُسِكُمْ أَوْ تُخْفُوهُ يُحَاسِبْكُم بِهِ اللَّهُ

 

ความว่า และถ้าหากพวกเจ้าเปิดเผยสิ่งที่อยู่ในใจของพวกเจ้าหรือปกปิดมันไว้ก็ตาม อัลลอฮ์จะทรงนำสิ่งนั้นมาชำระสอบสวนแก่พวกเจ้า

 

ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนเองมีความสามารถ และนอกเหนือจากนั้นถือว่าไม่ใช่หน้าที่

 

لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا

 

ความว่า อัลลอฮ์จะไม่ทรงบังคับสิ่งหนึ่งใดนอกจากตามความสามารถเท่านั้น

 

يُرِيدُ اللَّهُ أَن يُخَفِّفَ عَنكُمْ ۚ وَخُلِقَ الْإِنسَانُ ضَعِيفًا

 

ความว่า อัลลอฮ์ทรงปรารถนาที่จะผ่อนผันให้แก่พวกเจ้า และมนุษย์นั้นถูกบังเกิดขึ้นในสภาพที่อ่อนแอ

 

และในวันนี้เราได้วิงวอนขอจากพระองค์โปรดอย่าเอาผิดในความหวั่นไหวของเราที่ได้กระทำความผิดบาปตลอดชีวิตที่ผ่านมา  อัลกุรอานกล่าวว่า

 

رَبَّنَا لَا تُؤَاخِذْنَا إِن نَّسِينَا أَوْ أَخْطَأْنَا

 

ความว่า โอ้พระผู้อภิบาลของพวกเรา! โปรดอย่าเอาโทษแก่เราเลย หากพวกเราลืม หรือผิดพลาดไป

 

ประโยคถัดมา

 

وَ أَقِلْنِي فِیهِ مِنَ الْخَطَایا وَ الْهَفَوَاتِ

 

โปรดผ่อนปรนข้าฯจากความผิดพลาดและความโง่เขลา

 

อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงเป็นพระผู้ทรงอภัยต่อปวงบ่าวของพระองค์  และจะทรงพึงพอพระทัยต่อบ่าวของพระองค์อย่างรวดเร็ว ดั่งที่เรากล่าวว่า

 

یـا سـریـع الرضـا

 

ในอัลกุรอานเป็นที่รับรู้ว่าพระองค์ทรงเรียกร้องให้บ่าวของพระองค์เข้าสู่ประตูแห่งความเมตตาของพระองค์


 
وَسَارِعُوا إِلَىٰ مَغْفِرَةٍ مِّن رَّبِّكُمْ وَجَنَّةٍ عَرْضُهَا السَّمَاوَاتُ وَالْأَرْضُ أُعِدَّتْ لِلْمُتَّقِينَ

 

ความว่า และพวกเจ้าจงรีบเร่งกันไปสู่การอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเจ้า และไปสู่สวรรค์ซึ่งความกว้างของมันนั้น คือบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน โดยที่มันถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง

 

โดยที่พระองค์ไม่ทรงต้องการ การทำอิบาดะฮ์ใดๆของบ่าวของพระองค์ ในขณะที่เราต่างหากที่จำเป็นและต้องการยังพระองค์ “โอ้ พระผู้อภิบาลของของข้าฯ ข้าฯไม่มีใครนอกจากพระองค์”  นอกจากพระองค์แล้วไม่มีใครที่จะสามารถให้การช่วยเหลือและให้การอภัยโทษได้ “ไม่มีผู้ใดที่จะสามารถอภัยโทษบาปต่างๆที่ได้ทำไปนอกจากพระองค์”  ดังนั้นในวันนี้เราจึงวิงวอนจากพระองค์ โปรดผ่อนปรนจากความผิดพลาดและโง่เขลาต่างๆที่ได้ทำไป

 

ประโยคถัดมา

 

ولا تَجْعَلْني فیه غَرَضاً للبلایا والآفاتِ

 

โปรดอย่าทำให้ข้าฯเป็นเป้าหมายของการทดสอบและความชั่ว


คำว่า “ฆอรอฎ็อน”  หมายถึง เป้าหมาย  ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วม ภัยพิบัติต่างๆ เหล่านี้คือ บาลาอ์  และเกิดมาจากบาปที่มนุษย์ได้ทำไป

 

อัลกุรอานกล่าวว่า

 

 وَمَا أَصَابَكُم مِّن مُّصِيبَةٍ فَبِمَا كَسَبَتْ أَيْدِيكُمْ وَيَعْفُو عَن كَثِيرٍ

 

ความว่า และเคราะห์กรรมอันใดที่ประสบแก่พวกเจ้า ก็เนื่องด้วยน้ำมือของพวกเจ้าได้ขวนขวายได้ และพระองค์ทรงอภัย (ความผิดให้) มากต่อมากแล้ว หมายความว่าทุกเคราะห์กรรมที่ประสบแก่พวกเจ้าล้วนมาจากน้ำมือของพวกเจาเองทั้งสิ้น

 

“ เรื่องเล่า”

 

ในเมืองแห่งหนึ่งได้เกิดภัยพิบัติซึ่งสร้างความเสียหายต่อผลิตพลเรือกไร่สวนองุ่นของประชาชน   และได้มีการแจ้งข่าวให้กับเจ้าของสวนทุกคนทราบ เมื่อได้แจ้งให้กับเจ้าของสวนหนึ่ง เขาได้ตอบว่า ฉันมีความมั่นใจว่าสวนองุ่นของฉันจะไม่เป็นอะไรและจะไม่ได้รับความเสียหายอย่างแน่นอน    เพราะฉันเป็นคนจ่ายซะกาตจ่ายคุมส์  เมื่อไปถึงสวนปรากฏว่าสวนของเขาไม่เป็นอะไรจริงๆ แต่สวนของคนอื่นได้รับความเสียหายทั้งหมด

 

“เรื่องเล่าที่สอง ”

 

ในยุคสมัยชาห์ มีจัตุรัสหนึ่งที่เป็นที่รู้จักชื่อว่า “จัตุรัสเขียว” ซึ่งในปีหนึ่งวันเกิดของริฎอชาห์ ตรงกับคืนอาชูรอพอดี ทางเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งให้ทุกร้านตกแต่งประดับประดาหลอดไฟให้มีสีสันงดงาม และถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็จะถูกจับและจะตกอยู่ในอันตราย  ซึ่งทุกคนที่มีร้านประกอบอาชีพบริเวณจัตุรัสเขียวก็ได้ตกแต่งไฟอย่างสวยงาม ยกเว้นร้านหนึ่งที่ไม่ทำตามและเจ้าของร้านก็ได้หลบหนีและหลบซ่อนตัวเป็นเวลานานพอสมควร  ถัดจากนานไม่นานบริเวณตลาดดังกล่าวเกิดไฟไหม้ และได้ไหม้ร้านทั้งหมดในบริเวณนั้น ยกเว้นร้านที่ไม่ทำตามคำสั่งของชาห์เท่านั้น เหตุผลเพราะเขาให้เกียรติท่านอิมามฮูเซ็น(อ)ที่ไม่ยอมประดับไฟและได้ทำการปิดร้านในวันอาชูรอ

 

อัลกุรอานกล่าวว่า

 

 إِنَّ اللَّهَ لا یغَیرُ ما بِقَوْمٍ حَتَّی یغَیرُوا ما بِأَنْفُسِهِمْ وَ إِذا أَرادَ اللَّهُ بِقَوْمٍ سُوْءاً فَلا مَرَدَّ لَهُ وَ ما لَهُمْ مِنْ دُونِهِ مِنْ والٍ

 

ความว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง และเมื่ออัลลอฮฺทรงปรารถนาความทุกข์แก่ชนกลุ่มใดก็จะไม่มีผู้ตอบโต้พระองค์ และสำหรับพวกเขาไม่มีผู้ช่วยเหลือนอกจากพระองค์

 

ประโยคสุดท้าย

 

بِعِزَّتِك یا عِزَّ الْمُسْلِمِین
 
 

ด้วยเกียรติของพระองค์  โอ้พระผู้ทรงเป็นเกียรติของมวลมนุษย์ โปรดตอบรับดุอาอ์ของเราด้วยเถิด โอ้พระผู้เกียรติที่เกียรติของมวลมุสลิมอยู่ในมือของพระองค์

 

บทความโดย เชคอิบรอฮิม อาแว

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

สุนทรพจน์ของท่านอิมามฮูเซน (อ.) ...
ความประเสริฐของเดือนรอญับ
ดุอาประจำวันที่ 13 ...
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 ...
สถานภาพการเมือง ...
บักกะฮ์ ...
อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร ...
วะฮฺยูคืออะไร ...
...
เพราะเหตุใดท่านอิมามอะลี (อ.) ...

 
user comment