ไทยแลนด์
Sunday 5th of January 2025
0
نفر 0

ลี้ภัยสู่พระองค์

ลี้ภัยสู่พระองค์

ความหมายของการลี้ภัยสู่พระองค์
มนุษย์ที่เดินทางสู่การประกอบพิธีฮัจย์ เท่ากับเขาอยู่ระหว่างการเดินทางสู่พระผู้เป็นเจ้า

ถึงแม้ว่ามนุษย์ทุกคนสามารถอิบาดะฮ์และเข้าเฝ้าพระองค์ได้ทุกที่ทุกเวลาก็ตาม แต่พระองค์ได้ทรงกำหนดบางสถานที่และบางช่วงเวลาเอาไว้เพื่อต้อนรับปวงบ่าวของพระองค์เป็นพิเศษ ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในโองการอันต่อเนื่องมาจากโองการที่เกี่ยวกับพิธีฮัจย์ว่า

ففروا الی الله
"จงลี้ภัยสู่อัลลอฮ์.."

นั่นหมายความว่า การเดินทางเพื่อประกอบพิธีฮัจย์คือการลี้ภัยสู่พระผู้เป็นเจ้าให้พ้นจากอันตรายของทุกภาคี

แต่เนื่องจากทุกหนแห่งอยู่ใต้อาณัติของพระองค์ การเดินทางสู่พระองค์จึงมิได้หมายถึงการเดินทางในเชิงกาลเวลาและสถานที่ พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า

هو الذی فی السموات اله و فی الارض اله
"พระองค์คือองค์สักการะ ณ ชั้นฟ้า และเป็นองค์สักการะ ณ ผืนดิน"

เพราะเหตุนี้ พิธีกรรมฮัจย์ย่อมมีรหัสยะและความเร้นลับเฉพาะตัวอย่างแน่นอน อันเป็นเหตุให้กล่าวถึงฮัจย์ว่าเป็นการลี้ภัยสู่พระองค์

และการลี้ภัยสู่พระองค์ก็คือการผละตนออกจากพันธนาการของทุกสิ่ง และถวิลหาเพียงพระองค์เท่านั้น และหนึ่งในเนื้อหาของพิธีฮัจย์ก็คือ การผละจากทุกภาคีเพื่อถวิลหาพระองค์นั่นเอง .. "และจงลี้ภัยสู่พระองค์"

นั่นหมายความว่า หากผู้ใดเดินทางมาประกอบพิธีฮัจย์เพื่อจุดประสงค์ทางธุรกิจ หรือเพื่อเสริมชื่อเสียงวงศ์ตระกูล หรือเจตนาอื่นใดแล้วล่ะก็
เขากำลังลี้ภัย"จากพระองค์" มิไช่กำลังลี้ภัย"สู่พระองค์"

เหตุผลก็คือ ช่วงที่ฮัจยีตั้งเป้าว่าจะเดินทางมาประกอบพิธีฮัจย์หรืออุมเราะฮ์นั้น เขาเริ่มเดินทางสู่พระองค์แล้ว
และการเดินทางสู่พระองค์ย่อมหมายถึงการวางใจในพระองค์เพียงผู้เดียว มิไช่ผู้อื่น!

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากฮัจยีมั่นใจเพียงข้าวของสัมภาระที่เตรียมมา
มั่นใจในฐานะและทุนรอนที่เตรียมมา
มั่นใจในเพื่อนร่วมเดินทางที่มาด้วยกัน

...นั่นแสดงว่าเขากำลังลี้ภัยสู่สัมภาระ ลี้ภัยสู่ทรัพย์สิน และลี้ภัยสู่เพื่อนร่วมทาง
และแน่นอนว่าฮัจย์ของเขาไม่ไช่การลี้ภัยสู่พระองค์อย่างไม่ต้องสงสัย!

แน่นอนว่านั่นคือการเดินทางสู่สำรับอาหารที่ตนเองเตรียมมา มิไช่เดินทางสู่สำรับที่เต็มไปด้วยอาหารอันโอชะที่พระองค์ทรงตระเตรียมไว้ให้
สรุปคือ คำสอนหนึ่งที่แฝงอยู่ในพิธีฮัจย์คือการตัดขาดความคาดหวังจากทุกสิ่งเพื่อเชื่อมสู่พระองค์เท่านั้น

อิมามญะวาดได้กล่าวไว้ว่า "การไว้วางใจในพระองค์เปรียบดังทุนทรัพย์สำหรับสินค้าทุกระดับราคา และเปรียบดุจบันไดที่ทอดสู่ทุกระดับความสูง"



........................................



"เธอยังไม่ได้ครองเอียะฮ์รอม!"
อิมามซัยนุลอาบิดีน ได้กล่าวกับชิบลีย์หลังจากที่เขากลับจากพิธีฮัจย์ว่า "เธอทำอะไรมาบ้าง?"

ชิบลีย์ : กระผมเพิ่งกลับจากการประกอบพิธีฮัจย์ครับ

อิมาม : เธอไปมีกอต(จุดที่กำหนดให้เริ่มครองเอี้ยะฮ์รอม)หรือเปล่า? เปลี้องเสื้อผ้าที่มีรอยเย็บและสวมผ้าเอี้ยะฮ์รอมหรือเปล่า? อาบน้ำฆุสุลเอียะฮ์รอมหรือยัง? เธอปฏิบัติสิ่งเหล่านี้แล้วหรือเปล่า?

ชิบลีย์ : ครับ

อิมาม : ในเวลาที่เปลื้องเสื้อผ้าที่มีรอยเย็บ เธอตั้งปณิธานว่าจะเปลื้องความผิดบาปออกจากตัวเธอหรือเปล่า?

ชิบลีย์ : เปล่าครับ

อิมาม : ในเวลาที่เธอสวมผ้าเอียะฮ์รอม เธอได้ตั้งปณิธานหรือเปล่าว่าเธอจะเข้าสู่การภักดีต่อพระองค์

ชิบลีย์ : เปล่าครับ

อิมาม : ในเวลาที่เธออาบน้ำฆุสุล เธอได้ตั้งปณิธานหรือไม่ว่าจะชำระตนเองจากกิเลสต่างๆ

ชิบลีย์ : เปล่าครับ กระผมเพียงแค่ถอดเสื้อผ้าที่ได้รับการเย็บ และคลุมผ้าเอียะฮ์รอม และอาบน้ำฆุสุล แล้วจึงเหนียต(ตั้งเจตนาว่าจะประกอบพิธีฮัจย์)

อิมาม : ถ้าเช่นนั้นเธอก็ยังไม่ได้ครองเอียะฮ์รอมเลย !

........................................



การครองเอียะฮ์รอมมีกฏเกณฑ์ที่เปิดเผยทั่วไปซึ่งผู้คนล้วนปฏิบัติตามอย่างครบถ้วน แต่นอกเหนือจากนั้น ยังมีสาระที่ซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งผู้จาริกทางจิตวิญญาณและผู้ที่เข้าใจสาระเหล่านี้เท่านั้นที่จะปฏิบัติ

ไม่ไช่ว่าการอิบาดะฮ์พระองค์ในวาระโอกาสอื่นๆสามารถกระทำโดยสวมเสื้อผ้าทั่วไปได้ทว่าในพิธีฮัจย์จะต้องอิบาดะฮ์โดยสวมผ้าพิเศษ(ที่ไม่ได้ตัดเย็บ)เท่านั้น พระองค์จึงจะยอมรับ

แต่กฏเกณฑ์เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของเนื้อหาที่แฝงเร้นในพิธีฮัจย์ต่างหาก เพื่อต้องการให้มนุษย์ตระหนักเสมอว่ายังมีอีกวันหนึ่งที่มนุษย์จะต้องสวมผ้าที่ไม่ได้รับการตัดเย็บ และนั่นก็คือ วันที่มนุษย์สิ้นลมและได้รับการห่อหุ้มด้วยผ้าดิบที่ไม่มีรอยตัดเย็บใดๆ





ถอดความจากคำสอนของอายะตุลลอฮ์ อับดุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี

แปลและเรียบเรียงโดย อิบนุ อิลยาส

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
การบริหารริซกี
ทำไมอิสลามห้ามดื่มสุรา
อิสลามเชิญชวนมนุษย์สู่อะไร ?
เทววิทยาอิสลาม บทที่ 4
ใครคือซัยนับ?
อภัยทาน
วิถีฟื้นฟูของอิมามมะฮ์ดี
อิมามฮุเซน (อ.) ...
กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ...

 
user comment