ไทยแลนด์
Saturday 4th of May 2024
0
نفر 0

กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ตอนที่ 2

๑๐ ตำแหน่งเคาะลิฟะฮ์ของท่านอิมามอะลี (อ) เหมือนกับเรื่องอะห์กามในแง่ที่ว่าทั้งสองเป็นวะห์ยูจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำหน้าที่ประกาศ และเมื่อสิ่งนี้เป็นวะห์ยู จึงปราศจากข้อผิดพลาด การหลงลืม ความต้องการส่วนตัว และความผูกพันธ์ทางครอบครัวอย่างสิ้นเชิง สิ่งนี้เป็นพระบัญชาของอัลลอฮ์
กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ตอนที่ 2

๑๐ ตำแหน่งเคาะลิฟะฮ์ของท่านอิมามอะลี (อ) เหมือนกับเรื่องอะห์กามในแง่ที่ว่าทั้งสองเป็นวะห์ยูจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำหน้าที่ประกาศ และเมื่อสิ่งนี้เป็นวะห์ยู จึงปราศจากข้อผิดพลาด การหลงลืม ความต้องการส่วนตัว และความผูกพันธ์ทางครอบครัวอย่างสิ้นเชิง สิ่งนี้เป็นพระบัญชาของอัลลอฮ์

 
๑๑ ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ไม่มีหน้าที่ต้องทำอย่างอื่นนอกจากการประกาศสาส์นและอะห์กามของพระองค์ ไม่ว่าประชาชนจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม ดังความต้องการส่วนตัวของท่านศาสดาจึงไม่อาจมีอิทธิพลต่อภารกิจนั้นได้ เช่นกันการแต่งตั้งบรรดาศาสดา (อ) ทั้งหลายก็เป็นเช่นนี้ สรุปก็คือการแต่งตั้งท่านศาสดา และตัวแทนเป็นสิทธิของอัลลอฮ์โดยตรง ดังนั้นคำว่า (بلغ) จึงตรงประเด็นตามที่เรากล่าวอ้าง และทำให้รู้ว่าการแต่งตั้งตัวแทนของท่านศาสดา ไม่ใช่หน้าที่ของท่านศาสดา ท่านไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง ท่านเป็นเพียงแค่เป็นผู้ประกาศวะห์ยูแก่ประชาชนตามพระประสงค์ของพระองค์

 
ฉะนั้นเมื่อท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ยังไม่สามารถแต่งตั้งตัวแทนของท่านได้แล้ว แน่นอนบุคคลก็ไม่ต้องกล่าวถึงอีกเลย ซึ่งสิ่งนี้สามารถเข้าใจได้จากคำว่า (بلغ) ดังนั้นการแต่งตั้งตัวแทนจึงไม่ใช่หน้าที่ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม

 
๑๒ ตำแหน่งตัวแทนของท่านอิมามอะลี (อ.) ในยุคนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะที่ถูกประทานลงมาให้กับท่านศาสดาซึ่งได้ถูกกำหนดมาตั้งแต่วันแรก ดังเช่นอะห์กามอิสลามที่ได้ถูกกำหนดมาตั้งแต่วันแรกเช่นกัน เพียงแต่อัลลอฮ์ได้ประกาศแก่ประชาชนตามวาระโอกาสที่พระองค์ทรงเห็นว่ามีความเหมาะสม เหตุผลของการกล่าวอ้างคือคำว่า مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ นั้นบ่งบอกว่าพระบัญชานี้นั้นได้มาจากองค์พระผู้อภิบาลในก่อนหน้านี้

 
๑๓ การให้ความสำคัญต่อตำแหน่งอิมามและวะศีย์ (ตัวแทน) ในอิสลาม หมายถึงศาสนานั้นขึ้นอยู่กับอิมาม และในความเป็นจริงอิมามัตคือแก่นแท้ของศาสนา ดังนั้นอุปมาของศาสนาที่ปราศจากอิมาม จึงเหมือนกับมนุษย์ที่ไม่มีหัวใจ ดังเช่นที่ อัลลอฮ์ทรงกำชับอย่างหนักกับท่านศาสดาว่า “ถ้าท่านไม่ทำเท่ากับว่าไม่เคยประกาศสาส์นของข้าเลย” ประโยคดังกล่าวต้องการที่จะสื่อว่ามันสมองของอะห์กาม หรือฐานรากของมันนั้นคือ วิลายะฮ์และอิมาม นั่นเอง

 
๑๔ ประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พยายามใช้อิทธิพลและอำนาจที่ตนมีอยู่บีบบังคับท่านศาสดา ถ้าหากท่านศาสดาประกาศสาส์นนั้นเมื่อใด พวกเขาจะจัดการกับท่านทันที ดังนั้นพระองค์จึงทรงตรัสว่า “อัลลอฮ์จะทรงคุ้มครองท่านจากบรรดาประชาชน.

 
ทั้งหมดที่กล่ามานั้น จะสมบูรณ์และทำให้เราสามารถเข้าใจถึงความสำคัญของวันฆอดีรคุม และตำแหน่งอิมาม ได้อย่างชัดเจนขึ้น เมื่อเราไปศึกษาโองการที่ ๓ ซูเราะฮ์มาอิดะฮ์ เราก็จะเข้าใจในทันทีว่าทั้งสองโองการมีความเกี่ยวพันธ์กัน เพราะพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสในโองการนี้ว่า

 
الْيَوْمَ يَئِسَ الَّذِينَ كَفَرُواْ مِن دِينِكُمْ فَلاَ تَخْشَوْهُمْ وَاخْشَوْنِ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا

 
“วันนี้บรรดาผู้ปฏิเสธต่างหมดหวังในศาสนาของพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่ากลัวพวกเขา แต่จงกลัวฉันเถิด วันนี้ฉันได้ทำให้สมบูรณ์สำหรับพวกเจ้า ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและฉันได้ทำให้บริบูรณ์แล้วสำหรับพวกเจ้า ซึ่งความโปรดปรานของฉัน และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับพวกเจ้า”
รายงานทั้งในสายสุนนีและชีอะฮ์ได้มีมติเป็นเอกฉันฑ์ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ ได้ถูกประทานลงมาภายหลังจากที่ได้แต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) ให้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา และดำรงตำแหน่งอิมามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ณ ฆอดีรคุม ซึ่งนอกเหนือจากเหตุผลทางหลักฐานแล้ว เหตุผลทางสติปัญญาก็บ่งบอกเช่นเดียวกัน เพราะในวันนั้นมีคุณสมบัติพิเศษอยู่ ๔ ประการด้วยกันกล่าวคือ
1- เป็นวันแห่งการสิ้นหวังของบรรดาผู้ปฏิเสธทั้งมวล

 
2- เป็นวันที่ศาสนามีความสมบูรณ์

 
3- เป็นวันที่ความโปรดปรานของอัลลอฮ์มีอย่างสมบูรณ์
4- เป็นวันที่อิสลาม ได้รับเกียรติให้เป็นศาสนาของประชาชาติ เป็นศาสนาที่มีความสมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับของพระองค์เอง

 
และเมื่อเรามาพิจารณาวันสำคัญต่างๆ ในประวัติศาสตร์ เราจะพบว่าไม่มีวันใดมีความสำคัญเกินไปกว่า วันบิอ์ษัต (วันแต่งตั้งศาสดามุฮัมมัดเป็นศาสนทูตอย่างเป็นทางการ) วันอพยพของท่านศาสดา วันแห่งการพิชิตมักกะฮ์ วันที่ได้รับชัยชนะในสงครามต่างๆ วันหัจญะตุลวะดาอ์ และวันอื่นๆ ซึ่งวันเหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ มากมาย และถือเป็นวันที่สำคัญแห่งประวัติศาสตร์อิสลาม

 
ทว่าวันต่างๆ เหล่านั้นไม่ได้มีคุณสมบัติพิเศษสี่ประการตามที่กล่าวมาข้างต้น แม้แต่หัจญะตุลวะดาอ์ก็ตามเพราะว่า การประกอบพิธีฮัจญ์เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเท่านั้น ฉะนั้นมีอยู่วันเดียวที่มีคุณสมบัติพิเศษครบทั้งสี่ประการนั้นคือ วันอีดฆอดีรคุม ซึ่งเป็นวันที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำการแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ) ให้เป็นตัวแทนของท่าน และเป็นอิมามอย่างเป็นทางการ และวันนี้นั่นเองที่บรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลายต่างสิ้นหวังจากการที่จะทำลายศาสนาของอัลลอฮ์ (ซ.บ)

 
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งถูกต้อง และตรงกับความเป็นจริง ที่บรรดาผู้รู้ทั้งสุนนี่และชีอะฮ์ต่างได้ยอมรับกันว่า ฮะดีษ (รายงาน) ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า

 
                                                                   من كنت مولاه فهذا علي مولاه                
“ใครที่ฉันเป็นนายเหนือเขา อะลีคนนี้ก็คือนายเหนือเขาด้วย”
เป็นคำกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เมื่อครั้งท่านนั้นทรงแต่งตั้งท่านอะลี บิน อบูตอลิบ ให้เป็นผู้นำประชาชติอิสลามหลังจากท่าน หลังจากการเดินทางกลับจากการบำเพ็ญฮัจญ์ครั้งสุดท้ายในระหว่างทาง ที่ถูกเรียกว่า ฆอดีรคุม และรายงานนี้ก็มีความเกี่ยวข้องกันกับสองโองการตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น.

 

 
โดย กัรบาลาอีย์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อัลมะอาด วันแห่งการฟื้นคืนชีพ
การขัดเกลาจิตวิญญาณในอิสลาม ...
...
มัสญิดฎิรอร มีความหมายว่าอะไร? ...
...
ตัฟซีรอัลกุรอ่านเบื้องต้น ...
ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ ...
นะบูวะห์ (ตอนที่ 4)
...
ประวัติของท่านอะลี อักบัร บิน ...

 
user comment