ไทยแลนด์
Wednesday 6th of November 2024
0
نفر 0

ทำไมพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) จึงทรงสาปแช่งผู้ที่ปฏิบัตินมาซ?

ทำไมพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) จึงทรงสาปแช่งผู้ที่ปฏิบัตินมาซ?

ทำไมพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) จึงทรงสาปแช่งผู้ที่ปฏิบัตินมาซ?

 

การมีมะอ์รีฟัตในนมาซแปลว่าอะไร?

 

ผู้ที่มีความรู้เรื่องนมาซ คือ ผู้ที่รู้ว่า นมาซนั้นเป็นวาญิบ และถ้าไม่ปฏิบัติถือว่าเป็นการกระทำความผิด รู้แค่ว่าต้องปฏิบัตินมาซเท่านั้น และเขาก็ปฏิบัตินมาซทุกเวลา ทว่าการปฏิบัตินมาซตลอดชีวิตของเขาที่ผ่านมาไม่ได้พัฒนาตัวของเขาเลยแม้แต่นิดเดียว หมายถึง นมาซที่เขาปฏิบัติ ไม่ได้เป็นเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของเขา นมาซไม่ได้ขัดเกลาจิตวิญญาณของเขา นมาซไม่ได้ขัดเกลาวิถีชีวิตของเขาเลยแม้แต่นิดเดียว สรุปว่า เขาได้แค่การก้มๆ เงยๆ เท่านั้นเอง


ถ้าถามว่า ทำไมเขานมาซแบบนั้น?


คำตอบก็คือ เพราะการปฏิบัตินมาซของเขา เป็นการปฏิบัตินมาซแบบไม่มีมะอ์รีฟัตนั่นเอง

 

ผู้ที่ไม่มีมะอ์รีฟัตในนมาซ หมายถึง ผู้ที่ไม่รู้ว่า เขาปฏิบัตินมาซเพื่ออะไร? เป้าหมายของการปฏิบัตินมาซคืออะไร? สิ่งเดียวที่เขารู้ คือ “ต้องนมาซ” หากไม่นมาซก็จะเป็นการทำบาป หากไม่นมาซจะตกนรก ซึ่งการนมาซเช่นนี้ จะไม่ไห้ประโยชน์ใดๆ สำหรับผู้ที่ปฎิบัตินมาซเลย และเป็นที่มาของการสาปแช่งผู้ปฏิบัตินมาซที่มีอยู่ในอัลกุรอาน

 

ศาสนานี้ไม่ได้กล่าวเพียงแค่เรื่องราวโดยผิวเผิน และพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ก็มิได้ทรงจะซื้อท่าทาง และอริยาบทของมนุษย์เท่านั้น แต่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ประสงค์จะซื้อหัวใจที่สะอาดบริสุทธิ์ของมนุษย์ หัวใจที่ปราศจากเชื้อโรคทั้งปวง ซึ่งอัลกุรอานได้ยืนยันในสิ่งนี้ เมื่อวันพิพากษามาถึง วันที่พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ) ได้ทรงอธิบายในวันนั้นว่า

 

يَوْمَ لا يَنْفَعُ مَالٌ وَلا بَنُونَ

 

“วันที่ทรัพย์สมบัติและลูกหลานจะไม่อำนวยประโยชน์ใดๆเลย”


(ซูเราะฮ์อัชชุอารออ์ โองการที่ 88)

 

ในวันนั้นมนุษย์ทุกคนจะได้รู้ว่า ทรัพย์สินเงินทอง และบรรดาลูกๆ หลานๆ จะไม่มีประโยชน์ใดๆ อะไรกับพวกเขาแม้แต่นิดเดียว ตลอดชีวิตของพวกเขาที่เขาขวนขวายต่างๆ นานา ละทิ้งความสุขสบายส่วนตัวเพื่อให้ได้มาสองสิ่งข้างต้น ตลอดชีวิตพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะสะสมทรัพย์สมบัติเอาไว้เพื่อให้ลูกๆ กระทั่งบางคนได้กลายเป็นทาสของคำๆ นี้ตลอดชีวิตก็มี


หรือบางคนที่ไม่มีลูกๆ ก็พยายามสะสมเงินทองเพื่อให้ร่ำรวย และเมื่อร่ำรวยแล้วก็ไม่คิดที่จะหาความสุขสบายให้กับตนเอง และใช้ทรัพย์สินเหล่านั้นไปในหนทางของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ตลอดชีวิตของเขามีแต่สะสมเอาไว้เท่านั้น สะสมจนแม้กระทั่งตัวเองก็ไม่ใช้ประโยชน์ใดๆ อย่าว่าแต่ผู้อื่น

 

แต่ทว่าเมื่อวันแห่งการพิพากษามาถึงมนุษย์จะรู้ว่า ทรัพย์สินเงินทอง ลูกๆ ที่เขาพยายามสะสมกักตุนไว้ในโลกนี้จำนวนมาก ไม่ได้อำนวยประโยชน์ใดๆกับเขา ไม่ได้ช่วยเหลืออะไรเขาได้เลย!

 

إِلا مَنْ أَتَى اللَّهَ بِقَلْبٍ سَلِيمٍ
 

“เว้นแต่ผู้มาหาอัลลอฮ์ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง”

 

(ซูเราะฮ์อัชชุรออ์ โองการที่ 89)


หัวใจดวงนั้น และหัวใจแบบนั้น ที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) รับซื้อ ! หัวใจไม่มีเชื้อโรคใดๆ หัวใจแบบมีหนอน มีเชื้อโรค มีไวรัส พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ไม่เอาเป็นอันขาด

 

คำว่า   سَلِيمٍ (ซะลีม) ในภาษาอาหรับ ให้ความหมายว่า สะอาด บริสุทธิ์ ไม่มีพิษภัย ไม่มีเชื้อโรค ไม่มีตำหนิใดๆ จึงจะเรียกว่า “ซะลีม”

 

ดังนั้น ในวันนั้น คือวันกิยามัต พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) จะทรงซื้อหัวใจที่ “ซะลีม” เท่านั้น หัวใจที่บริสุทธิ์ผุดผ่องเท่านั้น

 

แล้วถ้าถามว่า พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) จะเอาอะไรมาซื้อหัวใจที่บริสุทธิ์?

 

แน่นอนมันก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของหัวใจ และหัวใจสะอาดบริสุทธิ์ ก็มีคุณภาพที่แตกต่างกันอีก มีทั้งราคาสูง และราคาที่ต่ำ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของหัวใจที่บริสุทธิ์นั้นๆ แต่บอกได้ว่าต่ำสุดคือสวรรค์ ถ้ายิ่งสะอาดบริสุทธิ์มาก สิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) จะทรงซื้อหัวใจของมนุษย์ มันก็จะยิ่งมากตามไปด้วย มากกว่าสวรรค์เป็นอย่างมาก ที่มากกว่าสวรรค์ และสูงกว่ากว่าสวรรค์ คืออะไร ค่อยว่ากันในวาระอื่นก็แล้วกัน

 

ถ้าพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ซื้อด้วยกิริยาผิวเผินตามเปลือกนอกของมนุษย์แล้วไซร้ ทุกคนที่ถือศีลอด ก็จะได้เข้าสวรรค์ทั้งหมดอย่างแน่นอน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ใช่เลย

 

ถ้าพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ ) ซื้อด้วยกิริยาผิวเผินตามเปลือกนอกของมนุษย์แล้วไซร้ ทุกคนที่ก้มๆ เงยๆ ที่เราเรียกว่า “นมาซ” มนุษย์ทั้งหมดที่ปฏิบัตินมาซทุกเวลาไม่ขาดก็จะได้เข้าสวรรค์ แต่ในความจริงแล้ว มันไม่ใช่เลย

 

โดยเฉพาะบางตัวอย่าง มีพระดำรัสในอัลกุรอาน พระองค์ทรงประกาศอย่างชัดเจน ว่า


 فَوَيْلٌ لِلْمُصَلِّينَ
 

“ความวิบัติจงมีแด่ผู้นมาซ”


 (ซูเราะฮ์อัลมาอูน โองการที่ 4)

 

คำตอบ เพราะนมาซแบบไม่มี “มะอ์รีฟัต” เมื่อนมาซแบบไม่มีมะอ์รีฟัต พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ก็จะออกมาจากผู้ที่ปฏิบัตินมาซ และการที่บอกว่า


 الَّذِينَ هُمْ عَنْ صَلاتِهِمْ سَاهُونَ
 

“ผู้ที่พวกเขาละเลยต่อการนมาซของพวกเขา”


 (ซูเราะฮ์อัลมาอูน โองการที่ 5)

 

ผู้ที่ละเลยต่อการนมาซของพวกเขา คือ การนมาซแบบไม่มีมะอ์รีฟัต ก็จะมีพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมออกมาจากผู้ที่นมาซแบบนั้น พฤติกรรมอะไรบ้าง?


นมาซแล้ว ยังทำการโอ้อวด นมาซแล้วเพิกเฉย นมาซแล้วยังไม่มีการบริจาค นมาซแล้วยังไม่มีการช่วยเหลือ และนั้นคือ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่ออกมาจากผู้ปฏิบัตินมาซแบบไม่มีมะอ์รีฟัต

 

ทำไมพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์จึงออกมาจากผู้นมาซ?

 

คำตอบสุดท้ายก็คือ เพราะไม่มีมะอ์รีฟัตในเรื่องนมาซ

 

การไม่มีมะอ์รีฟัต ไม่เพียงแค่จะไม่ให้ประโยชน์เท่านั้น แต่มันอาจจะให้โทษได้ด้วยซ้ำ เช่น กรณีของการนมาซดังที่กล่าวไป ซึ่งนี่ก็เป็นแค่หนึ่งตัวอย่างเท่านั้น เพราะเป็นไปไม่ได้ที่อัลกุรอานจะสาปแช่งทุกๆ อย่าง เช่น สาปแช่ง ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ ผู้ถือศีลอด ฯลฯ

 

พวกเราจะต้องเอาไปเปรียบเทียบหมวดหมู่กันเอาเอง ในเมื่อมีการสาปแช่งผู้นมาซในอัลกุรอาน แล้วเราจะนำเอานมาซมาจำกัดในหมวดหมู่ไหน?

 

นมาซจำกัดอยู่ในหมวดหมู่ภาคอิบาดะห์ ซึ่งแสดงว่า ทุกๆ อิบาดะห์ ก็มีโอกาสที่จะถูกสาปแช่งได้ ซึ่ง อัลกุรอาน ยกมาเพื่อเป็นกรณีตัวอย่างเท่านั้น และเมื่อเราสามารถจัดหมวดหมู่ตัวอย่างในลักษณะเช่นนี้ เราก็จะพบกับคำตอบว่า ทำไมอัลลอฮ์ (ซ.บ) จึงยกนมาซมาเป็นกรณีตัวอย่าง?


เพราะนมาซ คือ เสาหลักของศาสนา เพราะนมาซเป็นอิบาดะห์ที่สำคัญที่สุด ซึ่งนี่แหละ คือ เทคนิคของอัลกุรอาน ซึ่งซ่อนเร้นนัยยะต่างๆ ที่สูงส่งเป็นอย่างมาก แทนที่จะเลือกเรื่องอื่นๆ เพราะบางทีมนุษย์อาจจะไม่ตกใจ อาจจะไม่ใส่ใจ แต่ที่ยกตัวอย่างนมาซมา เหตุเพราะในหมวดหมู่อิบาดะห์ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “นมาซ”

 

ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ ) ทรงต้องการชี้ให้เห็นว่า แม้แต่ผู้นมาซ พระองค์ยังสาปแช่งเลย ถ้าหากเป็นนมาซที่ไม่ตรงตามเป้าหมาย แล้วเรื่องอื่นๆ ก็ไม่ต้องพูดถึง ศีลอด ฮัจญ์ ซะกาต ฯลฯ


และทำไมผู้ที่อ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน จึงถูกสาปแช่งโดยพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน? คำตอบก็คือ เพราะไม่มะอ์รีฟัตต่อพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน !

 

ในที่นี้ มะอ์รีฟัตต่ออัลกุรอาน ไม่ได้แปลว่า อ่านอัลกุรอานได้แล้ว อ่านกุรอานไม่ผิดแล้ว (แต่คนที่อ่านผิดอาจจะโดนสาปแช่งหนักขึ้นไปอีก) การมีมะอ์รีฟัตต่ออัลกุรอาน ไม่ได้แปลว่า อ่านอัลกุรอาน และรู้ความหมายของอัลกุรอานเท่านั้น

 

ทว่าต่ำสุด หรือเขตแดนของคำว่า มะอ์รีฟัตต่ออัลกุรอาน คือ นำอัลกุรอานมาปฏิบัติ และนั่นแค่เบื้องต้นของคำว่า มะอ์รีฟัต เสียด้วยซ้ำไป การนำอัลกุรอานมาสู่จิตวิญญาณ ซูเราะฮ์ใด โองการใด ที่เกี่ยวกับความศรัทธา เกี่ยวกับอะกีดะฮ์ จะต้องเอาบทนั้น โองการนั้นมาปฏิบัติ ต้องเอาโองการนั้นมาอยู่ในจิตวิญญาณ เข้ามาอยู่ในความศรัทธาของเรา

 

บทบรรยายโดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ปีศาจ (ซาตาน) ...
ดุอาประจำวันที่ 26 ...
อิมามฮุเซน (อ.) ...
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 11 ...
จอมราชันย์แห่งโคราซาน ...
รักเสมอแม้เธอตกงาน
ชีอะฮฺในตำราซอเฮียะห์
...

 
user comment