ความใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้าในอัลกุรอาน
ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคืออะไร มีประเภทใดบ้าง ? และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร?
คำว่า กุรบุน ในเชิงภาษาหมายถึง ความใกล้ชิดของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง ซึ่งความใกล้ชิดเหล่านี้บางครั้งอาจเป็นสถานที่ และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า สิ่งหนึ่ง (ในมุมมองของสถานที่) ใกล้ชิดกับอีกสิ่งหนึ่งที่กำหนดแน่นอน และมีระยะห่างตายตัว หรือเมื่อวานนี้ (ในมุมมองของเวลา) กับวันนี้มีความใกล้กันยิ่งกว่าเมือสองวันที่แล้ว อย่างไรก็ตามยังมีการใช้งานคำว่า กุรบุน ในความหมายของสามัญทั่วไป ซึ่งคำว่า กุรบุน ถูกใช้ในประเด็นที่เป็นความชื่นชอบส่วนบุคคล เช่น คุณค่าหรือมีศักดิ์ศรีหรือมีตำแหน่งใกล้กัน
ประเภทของความใกล้ชิดจากมุมมองของปรัชญา :
ความใกล้ชิดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท : ความใกล้ชิดในเชิงสถานที่ และ (เวลา) ความใกล้ชิดซึ่งมีการเชื่อมต่อกันในฐานะของการมีอยู่ หรือความใกล้ชิดในความหมายของการเชื่อมต่อกันขององค์รูป ความใกล้ชิดและความห่างไกล ซึ่งการเกิดขึ้นของทั้งสองมี 2 สิ่งที่จำเป็น ตัวอย่าง เช่น ต้องมี "A" และ"B" เสียก่อนจึงจะบังเกิดความใกล้ชิดระหว่าง A" และ"B หรือห่างไกลกันระหว่าง A" และ"B เป็นจริงได้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นความใกล้ชิดในเชิงของสถานที่ ซึ่งสามารถกล่าวได้กับองค์ประกอบทางกายภาพของจักรวาลและร่างกาย หรือความใกล้ชิดในแง่ของเวลาซึ่งมีการระบุเวลาที่แน่นอน มีความใกล้ชิดกันยิ่งกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาอื่นที่ได้สัมพันธ์ไปยังเลาที่สาม และในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ ซึ่งบริสุทธิ์จากข้อบกพร่องและขอบเขตจำกัดในแง่ของกายภาพและการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแก่นแท้ของการมีอยู่ การมีอยู่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด การมีอยู่บริสุทธิ์ การมีอยู่อย่างอนันต์ การมีอยู่อย่างสัมบูรณ์ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด (ไม่ทรงพึ่งพิงให้ผู้อื่นต้องรุบุชี้ถึงพระองค์ หรือสร้างจินตนาพระองค์ในความคิด และไม่มีใครที่จะไม่พึ่งพิงหรือไม่ปรารถนาในพระองค์)[1]
แต่ความใกล้ชิดในความหมายของการเชื่อมต่อขององค์รูป, ไม่อาจกล่าวได้กับพระเจ้า เนื่องจากองค์รูปในสถานภาพนี้เป็นไปโดยอาศัยเครื่องหมายของการมีอยู่ของ องค์รูปในความหมายอันเพราะ ซึ่งองค์ประกอบนั้นอยู่ในชั้นของสรรพสิ่ง และเรียกสิ่งนั้นว่า ชนิด หรือประเภท เป็นการแนะนำขอบเขตของการมีอยู่ ซึ่งพระเจ้านั้นบริสุทธิ์จากองค์รูป[2] หมายความว่าไม่มีขอบเขตสำหรับพระองค์ เพื่อว่าองค์รูปของสรรพสิ่งอื่นจะได้สัมพันธ์ด้านใกล้ชิดหรือห่างไกลไปยังองค์รูปของพระองค์ “ผู้ใดอ้างการมีเครื่องหมายแก่พระองค์ย่อมเท่ากับจำกัดขอบเขตแก่พระองค์ ผู้ใดจำกัดขอบเขตแก่พระองค์ย่อมนับจำนวนของพระองค์”[3]
คนสองคนที่มีส่วนร่วมในองค์รูปเดียวกัน ทั้งสองนั้นมีลักษณะเหมือนกัน เช่น ซัยด์ และอัมร์, ซึ่งมีส่วนร่วมในองค์รูปของความเป็นมนุษย์ ขณะที่พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จาก การต่อต้าน การคล้ายเหมือน และการแบ่ง แต่การเชื่อมต่อด้านจิตวิญญาณในแง่การมีอยู่
แต่ความใกล้ชิดในด้านของการมีอยู่ เนื่องจากพระเจ้านั้นคือ พระผู้ทรงให้ และเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง ประกอบกับเป็นไปไม่ได้ที่สาเหตุสัมบูรณ์จะแยกออกจากมูลเหตุของตนเอง ดังเช่นการแยกตัวของมูลเหตุออกจากสาเหตุสมบูรณ์นั้นก็เป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าความจริงข้างต้นจะกล่าวถึงสาเหตุสมบูรณ์และมูลเหตุก็ตาม เนื่องจากการไม่เท่าเทียมพระเจ้าคือเกียรติยศแห่งการมีอยู่ของพระองค์ ดังนั้น จึงไมมีสิ่งมีอยู่ใดมีความใกล้ชิดในแง่ของการเชื่อมต่อกับพระองค์ อัลกุรอานกล่าว่า “และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วก็ (จงตอบเถิดว่า) แท้จริงข้านั้นอยู่ใกล้”[4]
วาญิบตะอาลากับสิ่งไม่คล้ายเหมือนมีความจีรังถาวร มั่นคงและมีความสูงศักดิ์ ซึ่งสรรพสิ่งที่มีอยู่ในการมีอยู่ของตนนั้น[5] มีความความสัมพันธ์ต่อเนื่อง หมายถึงถ้าไม่รู้จักสาเหตุสมบูรณ์ มูลเหตุก็จุไม่ถูกรู้จักเช่นกัน ดังนั้น ความใกล้ชิดของพระเจ้าที่มีต่อสรรพสิ่ง ก็เนื่องจากความใกล้ชิดของการมีอยู่ของพระองค์ไปยังสรรพสิ่งเหล่านั้น ก็เนื่องจากความใกล้ชิดในการมีอยู่ ไม่มีความใกล้ชิดใดที่จะใกล้ชิดยิ่งไปกว่านี้ เนื่องจากมีอยู่ในทุกที่ พระเจ้าทรงเป็นผู้เริ่มต้น ทรงเป็นผู้ประทาน และทรงยืนหยัดแก่มูลเหตุของตน[6]
ความใกล้ชิดของพระเจ้ากับสรรพสิ่ง :
ความใกล้ชิดของพระเจ้าที่มีต่อเรานั้น สามารถจัดแบ่งโองการอัลกุรอานได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
1) โองการบางกลุ่มบ่งชี้ถึงรากที่มาของความใกล้ชิดว่า พระเจ้าทรงใกล้ชิดกับเรา เช่น โองการที่กล่าวว่า : “และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วก็ (จงตอบเถิดว่า) แท้จริงข้านั้นอยู่ใกล้”[7]
2) โองการกุล่มที่สองบ่งชี้ให้เห็นว่า พระเจ้าเป็นผู้ใกล้ชิดกับเรามากกว่าที่คนอื่นจะใกล้ชิด เช่น โอกงการที่กล่าวว่า : “ขณะที่สูเจ้ากำลังจ้องมองดูอยู่ (แต่ไม่อาจทำสิ่งใดได้)”[8]
3) โองการกลุ่มที่สาม แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร เป็นผู้ใกล้ชิดกับมนุษย์ยิ่งกว่าเส้นหลอดเลือดแดง (คอ) ของเขาเสีย เช่น โองการที่กล่าวว่า : “แน่นอน เราได้บังเกิดมนุษย์มา และเรารู้ดียิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเรานั้นใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก”[9]
4) โองการกลุ่มที่สี่, บ่งชี้ให้เห็นว่าพระเจ้าทรงใกล้ชิดกับมนุษย์ ยิ่งกว่าตัวของเขาเองเสียอีก เช่น โองการที่กล่าวว่า: “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงตอบรับอัลลอฮฺ และเราะซูลเถิด เมื่อเขาได้เชิญชวนพวกเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้พวกเจ้ามีชีวิตชีวาขึ้น และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงกั้นระหว่างบุคคลกับหัวใจของเขา”[10]
การวิพากษ์เกี่ยวกับโองการ 3 กลุ่มแรกนั้นไม่ยากจนเกินไป แต่โองการกลุ่มที่สี่นั้นไม่ง่ายเลยที่เดียว เนื่องจากเป็นไปได้อย่างไรที่พระเจ้าทรงใกล้ชิดกับมนุษย์ยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเสียอีก ?
ดังนั้น จะเห็นว่ามีนักอรรถาธิบายกุรอานบางท่าน ได้ตีความไปตามปรากฏภายนอกของโองการ เช่น กล่าวว่า จุดประสงค์ของประโยคที่ว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงกั้นระหว่างบุคคลกับหัวใจของเขา” ว่าบางครั้งมนุษย์ตัดสินใจกระทำงานบางอย่าง หลังจากนั้นพระเจ้าทรงทำให้เขาสำนึก ซึ่งพระองค์ไม่ทรงปล่อยให้เขากระทำไปตามการตัดสินใจนั้น[11]
นี้เป็นเพียงความหมายปานกลางเท่านั้นเอง แต่เป็นถ้าเรามีเหตุผลทางด้านสติปัญญาที่ตรงกับโองการ และมีเหตุผลอื่นที่สนับสนุนเอาไว้ ซึ่งเราจะไม่กล่าวอ้างดังที่ภายนอกของโองการได้กล่าวว่า: อัลลอฮฺทรงปล่อยช่องว่างระหว่างมนุษย์กับพระองค์ เนื่องจากการมีอยู่ของมนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพาและภายในนั้นว่างเปล่า ทว่ามนุษย์ก็เหมือนกับสรรพสิ่งอื่นที่มีความเป็นไปได้และมีความว่างเปล่า ดังที่มัรฮูมกุลัยนี ได้กล่าวรายงานไว้ว่า : จากท่านอลีญะอฺฟัร (อ.) กล่าวว่า:
ان الله عزوّجل خلق ابن ادم اجوف
“แท้จริงอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ทรงสร้างมนุษย์จากความว่างเปล่า[12]"
ขณะที่มนุษย์นั้นมีแต่ความว่างเปล่า ฉะนั้น ระหว่างมนุษย์กับตัวตนของมนุษย์มีการล้อมรอบการดำรงอยู่ มีช่องว่าง ดังนั้น พระเจ้าจึงมีความใกล้ชิดยิ่งกว่าผู้ใดทั้งสิ้น และถ้าพระเจ้าทรงอยู่ใกล้ ก็หมายถึงคุณลักษณะทั้งหมดของพระองค์อยู่ใกล้ เองคุณลักษณะของพระองค์ก็คืออาตมันของพระองค์ และถ้าคุณลักษณะแห่งอาตมันปรากฏ[13] คุณลักษณะแห่งการกระทำก็จะตามคุณลักษณะแห่งอาตมันปรากฏด้วยและยังก่อให้เกิดผล[14]
แนวทางความใกล้ชิดกับพระเจ้าในมุมมองของปรัชญา :
คำถามพื้นฐานที่ถามเกี่ยวกับความใกล้ชิดคือ เราจะใกล้ชิดกับพระเจ้าและสถานภาพของพระองค์ได้อย่างไร พระเจ้าผู้ทรงเปี่ยมด้วยรัศมีและทรงสร้างท้องฟ้า แผ่นดิน และสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลายด้วยรัศมีของพระองค์, ซึ่งรัศมีนั่นเองที่ก่อให้เกิดการรังสรรค์ ดังนั้น เราจะเข้าใกล้พระองค์จากด้านใด และเราจะวิงวอนขอต่อพระองค์จากทิศทางใด
เป็นที่ชัดเจนว่า พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกรไม่ทิศทาง ไม่มีด้าน ทว่าพระองค์อยู่ในทุกที่ ไม่ว่าสูเจ้าจะไปหรือมาจากด้านไหนทิศทางใดก็สามารถใกล้ชิดกับพระองค์ได้ทั้งสิ้น เนื่องจากพัฒนาจิตใจอยู่ระหว่างการเติมเต็มความสมบูรณ์ให้แก่ตัวตน เป็นการเดินทางจากสิ่งถูกสร้างไปสู่พระผู้สร้าง ซึ่งอยู่ในชั้นของเหตุผลและสติปัญญา ได้เข้าถึงตำแหน่งของวิทยปัญญา[15]โดยการกระทำ และวิทยปัญญาในเชิงของคุณาประโยชน์ เขาได้ต่อเชื่อมกับสติปัญญาสมบูรณ์ และรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งสิ้นสุดระยะทาง ณ เจ้าของแห่งความรู้ เขาได้ประดับตนด้วยพระนามและคุณลักษณะอันดีงามของพระเจ้า หมายถึง ได้เข้าถึงความจำเริญแล้ว และสถานภาพการมีอยู่ของเขาจะมีความแข็งแกร่ง และเป็นหนึ่งในการสำแดงอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า ได้เป็นเจ้าของวิลายะฮฺตักวีนี และจากสภาพนี่เอง จิตวิญญาณของตนก็จะได้เข้าใกล้ชิด[16]
ความใกล้ชิดกับพระเจ้าในมุมมองของโองการและริวายะฮฺ:
เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงครอบคลุมและห้อมล้อมทุกสรรพสิ่งเอาไว้ [17] ดังนั้น จึงไม่เหมาะสมที่พระองค์จะห่างไกลจากสรรพสิ่ง ด้วยเหตุนี้ ความใกล้ชิดของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะประสงค์หรือไม่ก็ตามพระองค์ทรงใกล้ชิดเขา
ด้วยเหตุนี้ หากมนุษย์ต้องการใกล้ชิดกับพระเจ้า พร้อมกับต้องการให้สิ่งเหล่านี้บังเกิดขึ้นเขาจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อฟังปฏิบัติตาม และการกระทำความดีงามความใกล้ชิดกับพระเจ้าจึงจะเกิดขึ้น ดังที่ทานอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า "ความใกล้ชิดกับพระเจ้าจะไม่บังเกิดขึ้นเว้นเสียแต่ว่าต้องมีการเชื่อฟังปฏิบัติตาม" และในกรณีนี้หมาย วิลายะฮฺก็จะเริ่มต้นขึ้นหมายถึง ด้วยการช่วยเหลือ และด้วยความรัก การปฏิบัติภารกิจที่นำไปสู่ความใกล้ชิด เช่น นมาซ ดังที่รายงานกล่าวว่า “นมาซคือความใกล้ชิดสำหรับผู้ยำเกรงทุกคน”[18] ส่วนซะกาตหรือทานบังคับดังที่กล่าวว่า
انّ الزکاة جُعلتْ مع الصلاة قُرباناّ
“แท้จริงซะกาตได้จัดไว้เคียงข้างนมาซซึ่งทั้งสองคือความใกล้ชิด”[19]
สิ่งเหล่านี้คือแนวทางที่สร้างใกล้ชิดกับพระเจ้า และเมื่อความใกล้ชิดได้บังเกิดขึ้นเมื่อนั้นมนุษย์คือมิตรของพระเจ้า และพระเจ้าคือมิตรของมนุษย์ อัลกุรอานบางโองการ เช่น
ان کنتم تحبون اللَّه فاتّبعوني یحببکم اللَّه
“หากสูเจ้ารักอัลลอฮฺ ก็จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮฺก็จะทรงรักสูเจ้า”[20] หรือความรักลักษณะนี้แต่เป็นความรักทั้งสองด้าน[21]
วิธีการปฏิบัติในหนทางความใกล้ชิด :
การกระทำใด ๆ ที่ตัวของมันมีคุณสมบัติในการสร้างความใกล้ชิดกับพระเจ้า และผู้ปฏิบัติได้กระทำสิ่งนั้นเพื่อพระเจ้า หมายถึงได้ทั้งผู้กระทำและงานที่ได้กระทำล้วนเป็นดีทั้งคู เหล่านี้คือการสร้างความใกล้ชิดกับพระเจ้าได้ดียิ่งขึ้น และถ้าบ่าวมีความใกล้ชิดกับพระเจ้าแล้ว เขาก็จะได้รับประโยชน์จากความใกล้ชิดนั้น ฉะนั้น การงานที่มีคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กล่าวคือ : การงานบางส่วนเหล่านั้นเป็นข้อบังคับเหนือตัว และบางส่วนเป็นการงานทีสมัครใจ ดังเช่น การก้าวไปสู่สวรรค์นั้นมีทั้งการกระทำที่เป็นข้อบังคับเหนือตัวและสมัครใจ เช่นเดียวกันการไปถึงยังตำแหน่งของความเป็นมนุษย์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็มีทั้งการงานที่เป็นข้อบังคับเหนือตัวและด้วยความสมัครใจ แต่สิ่งที่เป็นความสำคัญมากที่จะได้รับการพิจารณา ซึงอยู่ในฐานะที่เป็นข้อบังคับเหนือตัวคือ ความบริสุทธิ์ใจและการรู้จักการกระทำนั้น และถ้าเขารู้จักมากเท่าใดความบริสุทธิ์ใจในการกระทำของเขาก็จะมีมากยิ่งขึ้น อัลกุรอานถือว่า การแสดงความเคารพภักดีคือ สื่อสำคัญที่จะช่วยให้เรารู้จักและมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น ดังกล่าวว่า
و اعبد ربّك حتى یأتیك الیقین
“จงเคารพภักดีพระผู้อภิบาลของเจ้า จนกว่าความเชื่อมั่นจะมาหาเจ้า”[22]
แน่นอน, ที่มาของความสงบหรือเชื่อมั่นประเภทนี้มิได้เป็นเหตุนำไปสู่ความเชื่อมั่นในพระเจ้า เนื่องจากความเชื่อมั่นประเภทนี้คือแหล่งที่มาของการแสดงความเคารพภักดี มิใช่เป็นผลของการแสดงความเคารพภักดี หรือมาจากตำแหน่งมวลมิตรของพระเจ้า ทว่าความเชื่อมั่นเช่นนี้คือ การเชื่อมั่นในพระเจ้าพระผู้ทรงบริสุทธิ์ และคุณลักษณะทั้งหมดของพระองค์[23] ส่วนโปรแกมที่เหลืออยู่เช่น จริยธรรมในหนทางใกล้ชิดกับพระเจ้า อยู่ในฐานะของ นาฟิละฮฺ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : เรื่องที่ยิ่งใหญ่ซึ่งพระเจ้าทรงดำรัสแก่ดาวูด (อ.) ว่า โอ้ ดาวูดเอ๋ย ดังที่บุคคลที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นคนใกล้ชิดกับพระเจ้ามากที่สุด ขณะที่คนที่หยิ่งจองหองคือ คนที่ห่างไกลจากพระเจ้ามากที่สุด[24] เป็นที่ชัดเจนว่าความอ่อนน้อมถ่อมตน การมีมารยาทอันดีงาม หรือการทำความดีคือแนวทางที่นำไปสู่ความใกล้ชิดกับพระเจ้า ซึ่งทั้งหมดอยู่ในกฎของนาฟิละฮฺทั้งสิ้น ซึ่งรากที่มาและพื้นฐานคือ ความรักและความรู้จักที่มีต่อพระเจ้า และการแสดงความเคารพที่มีต่อพระองค์
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า :
یا ابا ذر اعبُد اللَّه کانك تراه فان کنت لا تراه فانّه یراك
โอ้ อบาซัรเอ๋ย จงแสดงความเคารพภักดีอัลลอฮฺ ประหนึ่งเจ้าได้เห็นพระองค์ ดังนั้น แม้เจ้าไม่ได้เห็นพระองค์ แต่พระองค์ทรงมองเห็นเจ้า[25]
และแน่นอนว่าการแสดงความเคารพภักดีเช่นนี้ อยู่บนพื้นฐานของการรู้จัก ซึ่งถือเป็นอิบาดะฮฺที่ประเสริฐที่สุด
กล่าวโดยสรุปได้ว่า
ค่าว่า กุรบุน หมายความว่าความใกล้กันของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง บางครั้งความใกล้ชิดนี้อาจเป็นสถานที่ใกล้เคียง และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น กุรบุน จึงอาจเป็นสถานที่หรือเวลาก็ได้ ส่วนในความในทัศนะทั่วไป คำว่า กุรบุน อาจใช้ในความหมายอื่นก็ได้ กล่าวคือ หมายถึงการมีคุณค่า ศักดิ์ศรีและฐานันดรใกล้เคียงกันในสายตาคนอื่น
ประเภทของกุรบุนในทัศนะของปรัชญา :
คำ ว่า กุรบุน ในทัศนะของปรัชญา, แบ่งออกเป็น 3 ประเภทกล่าวคือ: ความใกล้ชิดด้านสถานที่และ (เวลา), ความใกล้ชิดด้านประเภทของสิ่งของ, ความใกล้ชิดของการมีอยู่ สวนความใกล้ชิดด้านสถานที่และเวลานั้น ได้จำกัดอยู่ในอวัยวะ ร่างกาย และส่วนประกอบของจักรวาล อันเนื่องจากว่าพระเจ้านั้นทรงบริสุทธิ์จากการมีร่างกาย จึงไม่สามารถกล่าวได้กับพระองค์ ส่วนความใกล้ชิดด้านประเภทของสิ่ง เช่น ความใกล้ชิดของซัยด์ อัมร์ และอะลี ในธรรมชาติของความมนุษย์ ซึ่งพวกเขามีความคล้ายเหมือนกันในสภาพของสัตว์ประเสริฐที่พูดได้ แต่สำหรับพระเจ้าผู้ทรงอนันต์ เนื่องจากการมีอยู่ของพระองค์ไม่มีที่สิ้นสุดและเป็นการมีอยู่ที่สัมบูรณ์ พระองค์จึงไม่มีองค์รูป ฉะนั้น ความใกล้ชิดเหล่านี้จึงไม่อาจกล่าวได้กับพระองค์
แต่ ความใกล้ชิดในด้านของการมีอยู่ เนื่องจากพระเจ้านั้นคือ พระผู้ทรงให้ และเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง ประกอบกับเป็นไปไม่ได้ที่สาเหตุสัมบูรณ์จะแยกออกจากมูลเหตุของตนเอง และมูลแหตุนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับสาเหตุของตน ดังนั้น ความใกล้ชิดของพระเจ้าที่มีต่อสรรพสิ่ง ก็เนื่องจากความใกล้ชิดของการมีอยู่ของพระองค์ไปยังสรรพสิ่งเหล่านั้น
ความใกล้ชิดของอัลลอฮฺกับสรรพสิ่ง :
ความใกล้ชิดของพระเจ้าที่มีต่อเรานั้น โองการอัลกุรอานได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้
1. โองการบางกลุ่มบ่งชี้ถึงรากที่มาของความใกล้ชิดว่า พระเจ้าทรงใกล้ชิดกับเรา
2. โองการกุล่มที่สองบ่งชี้ให้เห็นว่า พระเจ้าเป็นผู้ใกล้ชิดกับเรามากกว่าที่คนอื่นจะใกล้ชิด
3. โองการกลุ่มที่สาม แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร เป็นผู้ใกล้ชิดกับมนุษย์ยิ่งกว่าเส้นหลอดเลือดแดง (คอ) ของเขาเสีย
4. โองการกลุ่มที่สี่, บ่งชี้ให้เห็นว่าพระเจ้าทรงใกล้ชิดกับมนุษย์ ยิ่งกว่าตัวของเขาเองเสียอีก ฉะนั้น ในอาการอธิบายของโองการกลุ่มที่สี่ควรจะกล่าวว่า: การมีอยู่ของมนุษย์นั้นภายในว่างเปล่า ทว่าการมีอยู่ของเขาก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ตรงกลางว่างเปล่า ด้วยเหตุนี้ ระหว่างมนุษย์กับการมีอยู่ของตัวเอง จึงมีช่องว่างในการควบคุมการมีอยู่
วิธีการใกล้ชิดพระเจ้าในมุมมองทางปรัชญา :
เป็น ที่ชัดเจนว่าพระเจ้านั้นทรงปราศจากด้านและทิศทาง เพื่อว่ามนุษย์จะได้ใกล้ชิดกับพระองค์ในหนทางเหล่านั้น ทว่าความใกล้ชิดของพระเจ้า เกิดจากการเสริมสร้างผลงานในการดำรงอยู่ของมนุษย์ เพื่อที่ว่าจะได้สามารถเป็นแห่งสำแดงพระนามอันไพจิตและคุณลักษณะของพระเจ้า และอยู่ในหนทางของความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้น ความสมบูรณ์แบบต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์มีมากเท่าใด ขั้นของความใกล้ชิดต่อพระเจ้าก็จะเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น
ความ ใกล้ชิดพระเจ้าและขั้นตอนจากมุมมองโองการและรายงาน : เพราะพระเจ้าอยู่ผู้ทรงยิ่งใหญ่อนันต์ ทรงใกล้ชิดกับทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ต้องพยายามกระทำสิ่งที่ดีงาม เพื่อให้ความใกล้ชิดของพระเจ้าบังเกิดขึ้น วิธีการนี้การงานของมนุษย์จึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ
ข้อ บังคับเหนือตัวและนาฟิละฮฺ การกระทำที่มีบทบาทและถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความใกล้ชิดคือ การรู้จักและความจริงใจและความบริสุทธิ์ใจในการกระทำ, ส่วนการกระทำที่เหลือ เช่น: ความอ่อนน้อมถ่อมตน การมีมารยาทดีงาม การกระทำดี และมีความเมตตา และการกระทำอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน ถือว่าอยู่ในกฎของนาฟิละฮฺ
แหล่งอ้างอิง
[1] นะฮฺญุลบะลาเฆาะ, คำเทศนา 186
[2] มาฮียัต หมายความถึงขอบเขตของการมีอยู่ ซึ่งเฉพาะเจาะจงสำหรับสรรพสิ่งที่มีขอบเขตจำกัด ขณะที่พระเจ้าทรงสัมบูรณ์นิรันดรและไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับพระองค์ ด้วยเหตุ พระองค์จึงไม่มีองค์รูป
[3] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, บทเทศนา 1
[4] อัลกุรอานบทบะเกาะฮฺ 168
[5] หมายถึงสรรพสิ่งมีอยู่ในโลกของความเป็นไปได้ในการมีอยู่นั้น ต้องมีความสัมพันธ์หมายถึง ไม่มีสิ่งใดมีความมีอิสระในการมีอยู่ของตน ซึ่งแก่นแท้ทั้งหมดของสิ่งเหล่านั้นคือการมีอยู่ของพวกเขา การมีอยู่ของพวกเขาเหมือกับเงา และไม่มีเงาใดที่มีตัวตน ซึ่งการมีอยู่ของเขาอยู่ขึ้นอยู่กับ ดัชนีทั้งหมดและ สิ่งมีชีวิตเรานอกเหนือจากผู้ทรงอำนาจในคำตัดสินที่เหมาะสมสำหรับเงามีทั้ง หมด แน่ นอนเช่นนี้ความต้องการร่มเงาเพื่อสร้างดัชนีและวัสดุอุปกรณ์ต่อพ่วงเรื่อง ดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวชี้วัด
[6] ฮะซันซอเดะฮฺ ออมูลี ฮะซัน, นุซุซุลฮิกัมบัรฟุซูซุลฮิกัม, หน้า 496
[7] อัลกุรอานบทบะเกาะฮฺ 168
[8] อัลกุรอานบทวากิอะฮฺ 85
[9] อัลกุรอานบทก็อฟ 16
[10] อัลกุรอานบทอัลอันฟาล 24
[11] อบูอะลี ฟัฎลิบนิ ฮะซัน, ตัฟซีรมัจญ์มะอุลบะยาน เล่ม. 4,หน้า 820
[12] กุลัยนี, มุฮัมมัด บิน ยะอ์กูบ, กาฟีย์, เล่ม 6, หน้า 282
[13] ประเภทคุณลักษณะของพระเจ้า : 1) คุณลักษณะซาตียะฮฺ : การรู้จักคุณลักษณะนี้เพียงแค่พิจารณาถึงซาตก็เพียงพอแล้ว เช่น คุณลักษณะความสามารถ ความรู้ และ ชีวิต ... " 2) ลักษณะกริยา : ลักษณะเหล่านี้หากจะพิจารณาเฉพาะซาตเพียงอย่างเดียวถือว่าไม่เพียงพอ ทว่าต้องพิจารณาซาตในฐานของกิริยาหรือก่อให้เกิดกิริยา เช่น การสร้างสรรค์ การดำรงชีพ และการประทานปัจจัย และการ ...".
[14] ญะวาด ออมูลี อับดุลลอฮฺ, ฮิกมะฮฺ อิบาดี, หมวยดที่ 7, หน้า. 213
[15] บรรดานักปราชญ์ได้แบ่งสติปัญญาไว้ 4 ระดังด้วยกัน กล่าวคือ : อันดับแรกสติปัญญาถูกสัมพันธ์ไปยังความเข้าใจทั้งหมดโดยพลัง ซึ่งเรียกว่าสติปัญญาส่วนนี้ว่าสติปัญญาแห่งการจินตนาการ อันดับที่สอง : สติปัญญาด้วยเหตุผลที่เคยชิน ในส่วนนี้สติปัญญาจะคิดถึงเหตุผล จินตนาการรูปภาพ และยืนยันถึงความเป็นจริง ส่วนที่สาม : สติปัญญาด้วยการกระทำ ในระดับนี้สติปัญญาจะใคร่ครวญถึงเหตุผลที่แท้จริงคือ การจัดอันดับความคิดของเหตุผลเพราะสติปัญญาส่วนสามารถเข้าใจถึงสัจพจน์ ส่วนทีสี่ : เรียกว่าสติปัญญามุสตะฟาด หมายถึงทั้งหมดซึ่งปรากฏชัดในความเข้าใจและทฤษฎีนั้นตรงกับโลกเบื้องบน (ราชอาณาจักร) และโลกด้านล่างเมื่อได้รับแล้วจึงใคร่ครวญและทำความเข้าใจ ในลักษณะที่ว่าทั้งหมดได้ปรากฏอยู่ ณ ตัวเอง และได้พิจารณาสิ่งนั้นด้วยกระกระทำ
[16] ฮะซันซอเดะฮฺ ออมูลี ฮะซัน, นุซุซุลฮิกัมบัรฟุซูซุลฮิกัม, หน้า 502
[17] อัลกุรอานฟุซิลัต 54
[18] เชค ซะดูก, มันลายะฮฺเฎาะเราะฮุล ฟะกีฮฺ, เล่ม 1, หน้า 637
[19] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, เฟฎุลอิสลาม คำเทศนา 190
[20] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน 31
[21] ญะวาด ออมูลี, อับดุลลา, วิลายะฮฺในกุรอานน, หน้า 57, สำนักพิมพ์อัสรอ
[22] อัลกุรอาน บทอัลฮิจญร์ 99
[23] ญะวาด ออมูลี, อับดุลลา, วิลายะฮฺในกุรอานน, หน้า 112
[24] เรย์,ชะฮฺรีย์ มุฮัมมัด (ซัยยิดฮุซัยนี ซัยยิดฮะมีด) มุนตะค็อบมีซานอัลฮิกมะฮฺ , รายงานที่ 5212
[25] มัจญ์ลิซซีย์ บิฮารุลอันวาร, เล่ม 77, หน้า 74
ขอขอบคุณเว็บไซต์อิสลามเควสท์