ทัศนะและคำพูดต่าง ๆ
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวถึงคำว่า อะฮฺลุลบัยตฺ บ่อยมากซึ่งเป็นการอธิบายถึงคนกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับท่าน ท่านได้กล่าวถึงความพิเศษที่เฉพาะเจาะจง ฐานันดร สิทธิที่มีเหนือคนอื่น หน้าที่ความรับผิดชอบของคนทั่วไปที่มีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) และบทบาทสำคัญที่อะฮฺลุลบัยตฺต้องรับผิดชอบ
อัล-กุรอานได้กล่าวถึงชนกลุ่มนี้ในฐานะต่าง ๆ มากมายด้วยคำจำกัดความที่แตกต่างกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อะฮฺลุลบัยตฺ แต่น่าเสียดายว่าแม้ว่าอัล-กุรอานจะกล่าวถึงความสำคัญ และให้คำจำกัดความไว้แล้ว แต่ก็ยังมีบางกลุ่มชนพยายามจะตีความหมายของ อะฮฺลุลบัยตฺ ให้เป็นอย่างอื่น
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้อธิบายถึงอะฮฺลุลบัยตฺตามที่อัล-กุรอานได้กล่าวถึง ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งสื่อความหมายโดยตรงและโดยอ้อม เพื่อสร้างความเข้าใจในหมู่ประชาชนแต่น่าเสียดาย แม้ว่าท่านจะพยายยามอธิบายแล้วแต่ก็ไม่อาจลบล้างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นท่ามกลางหมู่ประชาชาติได้ เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากว่ามีกลุ่มหนึ่งตั้งใจจะสร้างความสับสนให้เกิดขึ้น และเป็นปรปักษ์กับเหตุผลของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ทั้งเปิดเผยและปิดบัง ซึ่งจะอธิบายและวิเคราะห์รายละเอียดเหล่านั้น อินชาอัลลออฮฺ
อะฮฺลุลบัยตฺในอัล-กุรอาน
คำว่า อะฮฺลุลบัยตฺ ถูกกล่าวไว้ในอัล-กุรอาน ๓ ครั้ง
๑.ตอนกล่าวถึงเรื่องราวของท่านศาสดามูซา (อ.) ขณะที่ท่านยังเป็นทารก ซึ่งครอบครัวของฟิรเอานฺได้พบท่าน และนำไปเลี้ยงดู ท่านไม่เคยดืมน้ำนมจากหญิงคนใดทำให้ครอบครัวของฟิรเอานฺ เป็นกังวลและไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรดี จนกระทั่งพี่สาวของท่านได้มาถึงและกล่าวกับพวกเขาว่า
هَلْ أَدُلُّكُمْ عَلَى أَهْلِ بَيْتٍ يَكْفُلُونَهُ لَكُمْ وَهُمْ لَهُ نَاصِحُونَ فَرَدَدْنَاهُ إِلَى أُمِّهِ كَيْ تَقَرَّ عَيْنُهَا وَلَا تَحْزَنَ
ฉันจะชี้แนะครอบครัวหนึ่งแก่พวกท่านเพื่อดูแลเขาแทนพวกท่านเอาไหม ซึ่งพวกเขาเป็นผู้หวังดีต่อเขา ดังนั้น เราจึงให้เขากลับคืนสู่มารดาของเขา เพื่อจะได้สร้างความปิติยินดีแก่นาง และนางจะไม่เศร้าโศก[๑]
โองการดังกล่าวไม่ได้อธิบายให้กระจ่างว่าจุดประสงค์ของคำว่า พี่สาวมูซา หมายถึงอะไร เป็นไปได้ไหมถ้าจะกล่าวว่า หมายถึงทุกคนที่ใกล้ชิดกับครอบครัวของมูซา หรือเฉพาะบางคนเท่านั้น หรือว่าหมายถึงคนใกล้ชิดเนื่องจากสาเหตุ (นะเซาะบี) หรือโดยสายเลือด หรือทั้งสองกรณี หรือนอกจากทั้งสองสาเหตุแล้วยังรวมไปถึงคนใกล้ชิดที่เป็นญาติห่าง ๆ อีกด้วย
สมมุติฐานตามความหมายข้อที่หนึ่งจึงเป็นไปไม่ได้เนื่องจากว่า คำว่าอะฮฺลุลบัยตฺ ในโองการดังกล่าวไม่ได้เฉพาะเจาะจงสิ่งใดทั้งสิ้นเพราะถูกกล่าวลอย ๆ คำว่า อะฮฺลุลบัยตฺ ในโองการเป็นนามในประเภทนักกิเราะฮฺ (หมายถึงเป็นนามที่ไม่ได้เจาะจงว่าหมายถึงผู้ใด)
๒. ตอนกล่าวถึงเรื่องราวของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ขณะที่มะลาอิกะฮฺได้แจ้งข่าวดีกับท่านว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) จะประทานบุตรเป็นรางวัลแก่ท่านได้แก่ ศาสดาอิซฮาก และยะอฺกูบ โดยกล่าวว่า
قَالُواْ أَتَعْجَبِينَ مِنْ أَمْرِ اللّهِ رَحْمَتُ اللّهِ وَبَرَكَاتُهُعَلَيْكُمْ أَهْلَ الْبَيْتِ إِنَّهُ حَمِيدٌ مَّجِيدٌ
พวกเขากล่าวว่า เธอแปลกใจต่อพระบัญชาของอัลลอฮฺหรือ พระเมตตาของอัลลอฮฺและความจำเริญของพระองค์จงประสบแด่พวกท่านโอ้ครอบครัว (ของอิบรฮีม) แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ ผู้ทรงไพโรจน์[๒]
โองการดังกล่าวได้เจาะจงว่าภรรยาของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นอะฮฺลุลบัยตฺ เนื่องจากอัล-กุรอานได้ตรัสกับท่านหญิงโดยตรง แต่สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าภรรยาของศาสดาจะเป็นอะฮฺลุลบัยตฺของท่านเสมอไป หรือนับว่าภรรยาเป็นอะฮฺลุลบัยตฺทุกที่ ๆ ที่โองการกล่าวถึงคำว่าอะฮฺลุลบัยตฺ โดยเฉพาะในที่ ๆ ไม่มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์สิ่งใดบ่งบอกว่าหมายถึงภรรยา ต่างไปจากโองการข้างต้นที่กล่าวถึงภรรยาของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ซึ่งสามารถนับว่าท่านหญิงเป็นอะฮฺลุลบัยตฺคนหนึ่ง เนื่องจากมีสัญลักษณ์บ่งบอกไว้อย่างชัดเจน แต่ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุผลกล่าวอ้างได้ว่า อะฮฺลุลบัยตฺนั้นรวมไปถึงภรรยาทุกคนของท่านศาสดา
๓. อัล-กุรอานกล่าวว่า
يَا نِسَاءَ النَّبِيِّ لَسْتُنَّ كَأَحَدٍ مِّنَ النِّسَاء إِنِ اتَّقَيْتُنَّفَلَا تَخْضَعْنَ بِالْقَوْلِ فَيَطْمَعَ الَّذِي فِي قَلْبِهِ مَرَضٌ وَقُلْنَقَوْلًا مَّعْرُوفًا وَقَرْنَ فِي بُيُوتِكُنَّ وَلَا تَبَرَّجْنَ تَبَرُّجَ الْجَاهِلِيَّةِ الْأُولَى وَأَقِمْنَ الصَّلوةَ وَآتِينَ الزَّكَوةَ وَأَطِعْنَ اللَّهَ وَرَسُولَهُ إِنَّمَايُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْتَطْهِيرًاوَاذْكُرْنَ مَا يُتْلَى فِي بُيُوتِكُنَّ مِنْ آيَاتِ اللَّهِ وَالْحِكْمَةِ إِنَّاللَّهَ كَانَ لَطِيفًا خَبِيرًا
โอ้ บรรดาภริยาของสาสดา พวกเธอไม่ได้มีฐานะภาพเหมือนกับสตรีคนอื่น หากพวกเธอยำเกรง (อัลลอฮฺ) ก็ไม่ควรพูดจาอ่อนหวาน เพราะจะเป็นเหตุทำให้ผู้ที่มีหัวใจเป็นโรคพากันมุ่งหวัง แต่จงพูดด้วยวาจาที่ดีพอเหมาะพอควร และจงอยู่ในบ้านเรือนของพวกเธอและอย่าได้โออวดความงาม เช่น การอวดความงามของสตรียุคโฉดในสมัยก่อน และจงดำรงนะมาซ จ่ายซะกาต และจงภักดีต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺเอ๋ย และทรงประสงค์ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างแท้จริง และจงรำลึกถึงสิ่งที่ได้ถูกอ่านในบ้านเรือนของพวกเธอ จากโองการและวิทยาการทั้งหลายของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้อย่างละเอียด และทรงเป็นผู้ตระหนัก[๓]
ถ้าสังเกตจะเห็นว่าโองการที่กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺเอ๋ย และทรงประสงค์ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ได้ถูกกล่าวไว้ท่ามกลางโองการที่กล่าวถึงเหล่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำมาสู่ความขัดแย้งและความเข้าใจผิดของมุสลิมบางกลุ่มที่มีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ ซึ่งพวกเขาคิดว่าภรรยาของท่านศาสดาก็เป็นอะฮฺลุลบัยตฺเช่นกัน
ทัศนะและข้อวิเคราะห์ต่าง ๆ
เมื่อพิจารณาถึงทัศนะและข้อวิเคราะห์ต่าง ๆ ของนักตัฟซีรและนักวิชาการคนอื่น จะพบว่าเกี่ยวกับอะฮฺลุลบัยตฺนั้นทุกคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้
กลุ่มที่ ๑ มีความเห็นว่าเหล่าภรรยาเป็นอะฮฺลุลบัยตฺ เช่น คำกล่าวของอิกเราะมะฮฺ ที่ได้ประกาศตามท้องตลาด และได้เรียกร้องประชาชนให้มายืนยันถึงสิ่งนั้น เขาได้กล่าวว่า จุดประสงค์ของคำว่าว่า อะฮฺลุลบัยตฺ ตามโองข้างต้น (อะฮฺซาบ/๓๓) หมายถึงเหล่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งนอกจากพวกนางแล้วไม่มีผู้ใดถูกนับว่าเป็นอะฮฺลุลบัยตฺ[๔]
คำกล่าวของอิกเราะมะฮฺ ได้มีผู้อ้างว่าเป็นคำพูดของท่านอิบนุ อับบาซ และซะอีดิบนิญุบัยรฺ[๕]
คำกล่าวอ้างข้างต้นได้กล่าวพาดพิงถึง มะกอติล เช่นกัน[๖]
กล่าวพาดพิงถึง อะฏอ กัลป์บียฺ ซะอีดิบนิ ญุบัยรฺ[๗]และอุรวะติบนิญุบัยรฺ ซึ่งทั้งหมดกล่าวอ้างว่าโองการดังกล่าวถูกประทานลงมาที่บ้านของท่านหญิงอาอิชะฮฺ[๘]
กลุ่มที่ ๒ มีความเห็นว่าอะฮฺลุลบัยตฺ หมายถึงอัซฮาบกิซาอฺ ซึ่งได้แก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน ฮุซัยนฺ และเหล่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
บางทัศนะจากกลุ่มที่ ๒ ได้ลงความเห็นว่า อะฮฺลุลบัยตฺเฉพาะอัซฮาบกิซาอฺ และเหล่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับท่าน[๙]
กลุ่มที่ ๓ มีความเห็นว่า อะฮฺลุลบัยตฺหมายถึงท่านศาสดาเพียงคนเดียวไม่เกียวข้องกับคนอื่น[๑๐]
กลุ่มที่ ๔ มีความเห็นว่า อะฮฺลุลบัยตฺหมายถึงบะนีฮาชิมเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับเหล่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)[๑๑]
บางทัศนะจากกลุ่มที่ ๔ มีความเห็นว่า หมายถึงทุกคนที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับท่าน บางคนกล่าวว่า หมายถึงบุคคลที่เป็นเครือญาติกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ทั้งโดยสาเหตุ และโดยสายเลือด[๑๒]
กลุ่มที่ ๕ อะบูฮัยยานมีความเห็นว่า ตรงที่อะฮฺลุลบัยตฺหมายถึงเหล่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และเหล่าบิดาของพวกนางนั้นบ่งบอกว่าคำที่เป็นเพศชายมีความหมายครอบคลุมเหนือคำที่เป็นเพศหญิง[๑๓]
กลุ่มที่ ๖ มีความเห็นว่า อะฮฺลุลบัยตฺหมายถึงบรรดาสตรี และบะนีฮาชิมทั้งหมดที่ห้ามรับเซาะดะเกาะฮฺ (ฮะรอมสำหรับพวกเขา)[๑๔]
กลุ่มที่ ๗ มีความเห็นว่า อะฮฺลุลบัยตฺหมายถึงอะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน และฮุซัยนฺ และบางริวายะฮฺกล่าวว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็รวมอยู่ในนั้นด้วย[๑๕]คำกล่าวนี้ได้พาดพิงถึงอะนัซ บินมาลิก, วาซิละติบนิอัซเกาะอฺ[๑๖]อะบูซะอีดคุดรียฺ อาอิชะฮฺ และอุมมิซะละมะฮฺ[๑๗]เฏาะฮาวียฺ กันญียฺ ชาฟิอียฺ ซะฮะบียฺ กุมมียฺ มุญาฮิด กุตาดะฮฺ และกัลป์บียฺ ทว่าคนส่วนมากและนักตัฟซีรส่วนใหญ่ ก็มีความเห็นเช่นนั้น ซึ่งบางคนกล่าวว่า บรรดานักตัฟซีรทั้งหลายและคนส่วนใหญ่มีความเห็นพ้องต้องกันว่า โองการดังกล่าวได้ถูกประทานให้กับอะฮฺลิกิซาอฺ โดยกล่าวว่าเรืองนี้ทุกคนมีความเห็นเหมือนกันว่า โองการได้ประทานให้กับอะฮฺลุลบัยตฺเฉพาะ ซึ่งได้แก่อะฮฺลิกิซาอฺนั้นเอง แต่ประเด็นที่ว่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จะถูกนับว่าเป็นอะฮฺลุลบัยตฺด้วยหรือไม่ มีความเห็นขัดแย้งกัน และจุดประสงค์ของคนส่วนใหญ่ ณ ที่นี้หมายถึงบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่ใช่บุคคลเฉกเช่น อิกเราะมะฮฺ หรือมะกอติล เนื่องจากเรื่องนี้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และเซาะฮาบะฮฺเป็นผู้แจ้งข่าวคำพูดของท่านแน่นอนเป็นที่เชื่อถือของทุกคน ขณะที่อิกเราะมะฮฺ และมะกอติลจัดว่าเป็นคนโกหก
บางริวายะฮฺกล่าวว่า อะฮฺลุลบัยตฺนอกจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน ฮุซัยนฺแล้ว ยังรวมบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์เข้าอีกด้วย และบางริวายะฮฺบรรดาอิมามียะฮฺมีความเห็นพ้องต้องกันว่า โองการตัฏเฏาะฮีดรวมไปถึงบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ทั้ง ๑๒ ท่าน[๑๘]
สรุปสิ่งที่กล่าวมา
ทัศนะทั้งหมดที่กล่าวมา ถ้าสังเกตจะเห็นว่าทั้งหมดกล่าวถึง ๓ ประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ ๑.เหล่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นับว่าเป็นอะฮฺลุลบัยตฺด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มภรรยาตามลำพัง หรือกลุ่มภรรยาร่วมกับอัซฮาบุกิซาอฺ หรือร่วมกับบะนีฮาชิมคนอื่นทั้งที่ใกล้ชิดและไม่ใกล้ชิด
๒. ญาติของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่มาจากบะนีฮาชิม ซึ่งนอกเหนือไปจากอะฮฺลุกิซาอฺ หมายถึงบุคคลที่ห้ามรับเซาะดะเกาะฮฺ ซึ่งเป็นญาติกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยสายเลือด และบางริวายะฮฺได้เพิ่มเหล่าภรรยาเข้าไปด้วย แต่บางริวายะฮฺปฏิเสธการเข้าร่วมของเหล่าบรรดาภรรยา
๓. อะฮฺลุลบัยตฺ นั้นหมายถึงอะฮฺลิกิซาอฺเท่านั้น ไม่ได้หมายรวมไปถึงบุคคลอื่นแต่อย่างใด โดยอ้างอิงริวายะฮฺที่เชื่อได้ประกอบคำอ้างอิง และถือว่าอิมามทั้ง ๑๒ ท่านก็ร่วมอยู่ในอะฮฺลุลบัยตฺด้วยเช่นกัน
จากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวอ้างมาซึ่งตามความเป็นจริงมีทั้งยอมรับ และปฏิเสธประเด็นสรุปข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามทัศนะส่วนใหญ่ไม่ได้เกินเลยไปจากสิ่งที่กล่าวมา ส่วนทัศนะใดจะเป็นฝ่ายถูก ต้องอาศัยเหตุผลเป็นตัวตัดสิน
อ้างอิง
[๑] อัล เกาะซ็อด / ๑๒-๑๓
[๒] ฮุด / ๗๓
[๓] อะฮฺซาบ ๓๒-๓๔
[๔] ญามิอุล บะยาน เล่มที่ ๒๒ หน้า ๗, อัดดุรุลมันซูร เล่มที่ ๕ หน้า ๑๙๘ ซึ่งรายงานมาจากอิกเราะมะฮฺ และมัรดะวียะฮฺ, ฟัตฮุลเกาะดีร เล่มที่ ๔ หน้า ๒๗๘-๒๗๙, อัตติบยาน เล่มที่ ๘ หน้า ๓๐๘, ซีรุ อิอฺลามุลนุบลาอฺ เล่มที่ ๘ หน้า ๒๐๘, ตับซีรุ อัล-กุรอานุลอะซีม เล่มี่ ๓ หน้า ๔๘๓, อัตตับซีรุลฮะดีซ เล่มที่ ๘ หน้า ๒๖๓-๒๖๘ , ตะฮฺซีบุตตารีค ดิมิชกฺ เล่มที่ ๔ หน้า ๒๐๖, มีซาน เล่มที่ ๑๖ หน้า ๓๑๐ , มัจมะอุลบะยาน เล่มที่ ๘ หน้า ๓๕๖, อัซบาบุลนุซูล หน้า ๒๓๐, อัลมะวาฮิบุลลิดดีนียะฮฺ เล่มที่ ๒ หน้า ๑๒๒, นูรุลอับซอร หน้า ๑๑๐, อัซเซาะวาอิกุลมุฮฺริเกาะฮฺ หน้าที่ ๑๔๑, ละบาบุลตะอฺวีล คอซัน เล่มที่ ๓ หน้า ๓๖๖, อะฮฺกามุลกุรอาน เล่มที่ ๕ หน้า ๒๓๐, ตารีคุลอิสลาม ซะฮะบียฺ หน้า ๑๓๓ , อัลญามิอุ ลิอะฮฺมิลกุรอาน เล่มที่ ๑๔ หน้า ๑๘๒
[๕] อัดดุรุลมันซูร เล่มที่ ๕ หน้า ๑๙๘ รายงานมาจาก อิบนิฮาตัม อิบนิ อะซากิร อิบนิมัรดะวียะฮฺ, ฟัตฮุลเกาะดีร เล่มที่ ๔ หน้า ๒๗๘-๒๗๙, ตารีคคุลอิสลาม ซะฮะบียฺ หน้า ๑๓๓, ตับซีรุลมีซาน เล่มที่ ๓ หน้า ๔๘๓, ซีรุอิอฺลามุลนุบลาอฺ เล่มที่ ๒ หน้า ๒๐๘, ๒๒๑, ตะฮฺซีบุตตารีค ดิมิชกฺ เล่มที่ ๔ หน้า ๒๐๘,อัซบาบุลนุซุล หน้า ๓๐๒, นูรุลอับซอร หน้า ๑๑๐, อัซเซาะวาอิกุลมุฮฺริเกาะฮฺ หน้าที่ ๑๔๑, ละบาบุลตะอฺวีล เล่มที่ ๓ หน้า ๔๖๖, อัซอาฟุรรอฆีน หน้าที่ ๑๐๘, อัลญามิอุลิอะฮฺกามิลกุรอาน เล่มที่ ๔๑ หน้า ๑๘๒
[๖] ฟัตฮุลบารียฺ เล่มที่ ๔ หน้า ๒๗๘, ตะฮฺซีบุตตารีค ดิมิชกฺ เล่มที่ ๔ หน้า ๒๐๖, นูรุลอับซอร หน้าที่ ๑๑๐, ละบาบุตตะอฺวีล เล่มที่ ๓ หน้า ๔๖๖, อัซอาฟุรรอฆีน หน้าที่ ๑๐๘
[๗] ฟัตฮุลเกาะดีร เล่มที่ ๔ หน้า ๒๗๘, ตะฮฺซีบุตตารีค ดะมิชกฺ เล่มที่ ๔ หน้า ๒๐๖ รายงานมาจากอิบนิญุบัยรฺ, อัลญามิอุ ลิอะฮฺกามิลกุรอาน เล่มที่ ๑๔ หน้า ๑๘๒ รายงานมาจากอะฏิอ
[๘] อัดดุรุลมันซูร เล่มที่ ๕ หน้า ๑๙๘ รายงานมาจากอิบนิซะอฺด, ฟัตฮุลเกาะดีร เล่มที่ ๔ หน้า ๒๗๙
[๙] อัซซุนัน อัล กุบรอ เล่มที่ ๒ หน้า ๑๕๐, ตะฮฺซีบุตตารีค ดะมิชกฺ เล่มที่ ๔ หน้า ๒๐๘-๒๐๙, อัลมะวิฮิบุ ลิดดีนียะฮฺ เล่มที่ ๒ หน้า ๑๒๓, ฟัตฮุลเกาะดีร เล่มที่ ๔ หน้า ๒๘๐, อิซอาฟุรรอฆิบีน หน้า ๑๐๘, มิรกอตุลอุซูล หน้าที่ ๑๐๗-๑๐๘, อัลญามิอุลิอะฮฺกามิลกุรอาน เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๘๓
[๑๐] อัซเซาะวาริกุล มุฮฺริเกาะฮฺ หน้า ๑๔๑
[๑๑] ฟัตฮุลบารียฺ เล่มที่ ๔ หน้า๒๘๐, อัลญามิลิอะฮฺกามิลกุรอาน เล่มที่ ๔ หน้า ๑๘๓ รายงานมาจาก ซะอฺละบียฺ และซัยดฺ บินอัรกอม, ตับซีรมีซาน เล่มที่ ๑๖ หน้า ๓๑๐, ละบาบุตะอฺวีล คอซัน เล่มที่ ๓ หน้า ๔๖๖, อัซอาฟุรรอฆิบีน หน้า ๑๐๗-๑๐๘,
[๑๒] อัลมะวาฮิบุลลิดดีนียะฮฺ เล่มที่ ๒ หน้า ๑๒๗
[๑๓] ตะฮฺซีบุตตารีค ดะมิชกฺ เล่มที่ ๔ หน้า ๒๐๙
[๑๔] ตะฮฺซีบุตตารีค ดะมิชกฺ เล่มที่ ๔ หน้า ๒๐๘, อัซตัซฮีล ลิอุลูมิลตันซีล เล่มที่ ๓ หน้า ๑๓๗, อิซอาฟุรรอฆิบีน หน้า ๑๐๘, อัซเซาะวาอิกุลมุฮฺริเกาะฮฺ หน้า ๑๔๑
[๑๕] ยะนาบีอุล มะวัดดะฮฺ หน้า ๒๙๔, อัซเซาะวาอิกุลมุฮฺริเกาะฮฺ หน้า ๑๔๑ , อัลมะวาฮิบุลลิดดีนียะฮฺ เล่มที่ ๒ หน้า ๑๒๓ , ฟัตฮุลเกาะดีร เล่มที่ ๔ หน้า ๒๗๙, ตะฮฺซีบุตตารีค ดะมิชกฺ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๐๘, อิซอาฟุรรอฆิบีน หน้าที่ ๑๐๘ ตัฟซีร กุมมียฺ เล่มที่ ๒ หน้า ๑๙๓-๑๙๔, อัลกิชาฟ เล่มที่ ๓ หน้า ๕๓๘, มุชกิลุลอาซาร เล่มที่ ๑ หน้า๓๓๒,๓๓๙, อัลมุอฺตะซิร มินัลมุคตะซัร เล่มที่ ๒ หน้า ๒๖๖-๒๖๗
[๑๖] มัจมะอุลบะยาน เล่มที่ ๘ หน้า ๓๕๖
[๑๗] ตะฮฺซีบุตตารีค ดะมิชกฺ เล่มที่ ๔ หน้า ๙๐๘, มัจมะอุลบะยาน เล่มที่ ๘ หน้า ๓๕๖, อิซอาฟุรรอฆิบีน หน้า ๑๐๘,
[๑๘] เชิงอรรถ ญะวามิอุลญามิอฺ หน้า ๓๗๓
ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์