ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

หลุมดำ

หลุมดำ

กุรอานกล่าวถึง"หลุมดำ"
“ข้า (อัลลอฮ.) ขอสาบานด้วยตำแหน่งต่าง ๆ ของดวงดาว
และแท้จริงมันเป็นการสาบานอันยิ่งใหญ่ หากพวกเจ้ารู้” (อัล-กุรอาน 56/75-76)

ในศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นพบอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ของดวงดาวในจักรวาลอย่างมากมาย หนี่งในการค้นพบเหล่านี้ก็คือ หลุมดำ หลุมดำคือลักษณะของดวงดาวที่ได้กลืนกินพลังงานทั้งหมดจนยุบลงไปในตัวของมัน เอง จนในที่สุดก็กลายเป็นหลุมดำที่มีความหนาทึบไม่สิ้นสุดและม้วนเป็นกลุ่มก้อน และเป็นสนามแม่เหล็กที่มีพลังมหาศาล เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำได้ แม้จะใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะแรงดึงดูดของมันเข้มขนมากจนแม้แต่แสงก็ไม่อาจรอดพ้นไปจากมันได้ อย่างไรก็ตาม การยุบตัวของดวงดาวเช่นนี้สามารถรับรู้ได้ด้วยผลกระทบของมันที่มีในบริเวณ รอบๆ

“หลุมดำ” ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1969 โดยจอห์น วีเลอร์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ก่อนหน้านั้นเราเคยคิดว่าเราสามารถมองเห็นดวงดาวได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในภายหลังเราจึงเพิ่งได้รู้ว่ายังมีดวงดาวในอวกาศอีกมากมายที่เราไม่อาจมอง เห็นแสงของมันได้ เพราะแสงของดาวที่ยุบตัวลงเหล่านั้นได้หายไปแล้ว แสงไม่สามารถหลุดรอดออกมาจากหลุมดำได้เพราะมันเป็นการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นของกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ในพื้นที่เล็กๆ แรงดึงดูดมหาศาลนี้ดึงดูดแม้แต่อนุภาคที่มีความเร็วที่สุด เช่นโปรตอน ตัวอย่างของหลุมดำคือ วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเราสามเท่า จบสิ้นลงหลังจากการเผาผลาญและระเบิดตัวเองกลายเป็นหลุมดำที่มีขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลางเพียง 20 กิโลเมตร(12.5 ไมล์) เท่านั้น หลุมดำดูเหมือนถูกปกคลุมด้วยสีดำ แต่มันก็แสดงตัวให้เห็นโดยทางอ้อม ด้วยอำนาจการดูดกลืนขนาดมหึมาด้วยแรงดึงดูดที่มีมันต่อดาวดวงอื่นๆ โองการของอัลลอฮฺ อาจชี้ให้เห็นถึงการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ “หลุมดำ” นี้ได้เป็นอย่างดี

“เมื่อดวงดาวถูกทำให้ดับขันธ์” (อัล-กุรอาน 77/8)

ยิ่งกว่านั้น ดวงดาวขนาดใหญ่ยังทำให้เกิดการปรวนแปรขึ้นในอวกาศ หลุมดำไม่ได้ทำให้เกิดการปรวนแปรขึ้นในอวกาศเท่านั้น แต่มันยังได้ทำให้เกิดเป็นหลุมขึ้นในอวกาศด้วย นี่คือเหตุผลที่ทำให้ดวงดาวที่ยุบตัวเหล่านี้ถูกเรียกว่าหลุมดำ



ขอขอบคุณเว็บไซต์ อะห์ลุลบัยต์อคาเดมี (ประเทศไทย)

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัด อัล ...
วิทยปัญญา 10 ประการ ...
อัลมะฮ์ดีในวจนะอะฮ์ลุลบัยต์
...
ใครบ้างที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ...
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัด อัล ...
ประเภทของเตาฮีด
เปชวาร์ราตรี : เสวนาคืนที่ 1 ...
อัลมะอาด วันแห่งการฟื้นคืนชีพ
...

 
user comment