ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

เหตุใดกุรอานจึงใช้สำนวน فبشّرهم بعذاب الیم ทั้งๆที่คำว่าข่าวดีมีความหมายเชิงบวก?

เหตุใดกุรอานจึงใช้สำนวน فبشّرهم بعذاب الیم ทั้งๆที่คำว่าข่าวดีมีความหมายเชิงบวก?
เหตุใดกุรอานจึงใช้สำนวน فبشّرهم بعذاب الیم ทั้งๆที่คำว่าข่าวดีมีความหมายเชิงบวก?
คำตอบโดยสังเขป

กุรอานใช้คำว่า “บิชาเราะฮ์” เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งข่าวดีและข่าวร้าย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสำนวนแวดล้อมจะกำหนดความหมายใด กุรอานใช้คำว่าบิชาเราะฮ์ในความหมายเชิงลบในลักษณะอุปลักษณ์ เพื่อสื่อว่าไม่มีสิ่งใดจะมอบแก่พวกเขาแล้วนอกจากการลงทัณฑ์ ทั้งนี้ก็เพราะเหล่ากาฟิรมุชริกีนไม่ฟังคำตักเตือนใดๆทั้งสิ้น อัลลอฮ์จึงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)แจ้งว่าพวกเขาจะถูกลงทัณฑ์อย่างแสนสาหัส

 

คำตอบเชิงรายละเอียด

กุรอานใช้คำว่า “บิชาเราะฮ์” เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งข่าวดีและข่าวร้าย[1] แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสำนวนแวดล้อมจะกำหนดความหมายใด
คำว่าบิชาเราะฮ์ไม่ปรากฏในกุรอาน แต่ปรากฏศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับคำดังกล่าว อาทิเช่น “บุชรอ”
 وَ ما جَعَلَهُ اللَّهُ إِلاَّ بُشْرى لَکُمْ อัลลอฮ์ทรงบันดาลให้ (การช่วยเหลือของเหล่ามลาอิกะฮ์) เป็นข่าวดีแก่สูเจ้า[2] ในโองการนี้ คำว่าบุชรอหมายถึงข่าวดี

 

แต่กริยา “บัชชิร” มีความหมายทั้งสองขั้ว อาทิเช่น
بَشِّرِ الَّذِینَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ أَنَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْری مِنْ تَحْتِهَا الْأَنْهار จงแจ้งข่าวดีแก่ผู้ศรัทธาและประกอบกุศลกรรมว่า พวกเขาจะได้รับมอบสรวงสวรรค์ที่มีธารน้ำใหลรินอยู่เบื้องล่าง[3] บัชชิรในทีนี้หมายถึงข่าวดี

 

ส่วน بَشِّرِ الْمُنافِقِینَ بِأَنَّ لَهُمْ عَذاباً أَلِیماً (จงแจ้งข่าวร้ายแก่มุนาฟิกีนว่า การลงทัณฑ์อันเจ็บแสบรอคอยพวกเขาอยู่)[4] และโองการ فَبَشِّرْهُمْ بِعَذابٍ أَلِیم[5] ซึ่งสองโองการข้างต้น บัชชิร สื่อถึงข่าวร้าย การใช้คำดังกล่าวเพื่อสื่อความหมายนี้ในลักษณะอุปลักษณ์ ลักษณ์ เพื่อสื่อว่าไม่มีสิ่งใดจะมอบแก่พวกเขาแล้วนอกจากการลงทัณฑ์[6] ทั้งนี้ก็เพราะเหล่ากาฟิรมุชริกีนไม่ฟังคำตักเตือนใดๆทั้งสิ้น อัลลอฮ์จึงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)แจ้งว่าพวกเขาจะถูกลงทัณฑ์อย่างแสนสาหัส จึงเป็นการสื่อความหมายเชิงตำหนิ[7]

 



[1] กุเราะชี, ซัยยิด อลี อักบัร, กอมู้ส กุรอาน, เล่ม 1,หน้า 194,ดารุลกุตุบอิสลามี, เตหราน,พิมพ์ครั้งที่หก,1371  และ ฏุร็อยฮี, ฟัครุดดีน, มัจมะอุ้ลบะฮ์ร็อยน์,ค้นคว้าโดย ฮุซัยนี, ซัยยิดอะห์มัด,เล่ม 3,หน้า 321, ร้านหนังสือมุรตะเฎาะวี,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สาม,1375

 

[2] อาลิอิมรอน,126

 

[3] บะเกาะเราะฮ์, 25

 

[4] นิซาอ์,138

 

[5] อินชิก้อก,34

 

[6] กอมู้สกุรอาน,เล่ม 1,หน้า 194 และ มัจมะอุ้ลบะห์ร็อยน์,เล่ม 3,หน้า 321

 

[7] ฮุซัยนี,ฮะมะดอนี,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน, รัศมีอันเจิดจรัส, ค้นคว้าโดย เบะฮ์บูดี, มุฮัมมัด บากิร, เล่ม 18,หน้า 62,63, ร้านหนังสือลุฏฟี,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก, ..1404 และ มะการิม ชีรอซี, นาศิร, ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 26,หน้า 319, ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์, เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,1374

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

วิทยปัญญา 10 ประการ ...
อัลมะฮ์ดีในวจนะอะฮ์ลุลบัยต์
...
ใครบ้างที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ...
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัด อัล ...
ประเภทของเตาฮีด
เปชวาร์ราตรี : เสวนาคืนที่ 1 ...
อัลมะอาด วันแห่งการฟื้นคืนชีพ
...
...

 
user comment