ไทยแลนด์
Wednesday 8th of January 2025
0
نفر 0

อิมามัต(ตำแหน่งผู้นำ)ของอิมามมุฮัมมัด บากิรฺ(อ.)

อิมามัต(ตำแหน่งผู้นำ)ของอิมามมุฮัมมัด บากิรฺ(อ.)

อิมามมุฮัมมัด บากิรฺ(อ.) ประสูติที่เมืองมะดีนะฮ์เมื่อวันที่ 1 รอญับ ฮ.ศ.57 (ค.ศ.676) และเสียชีวิตที่เมืองมะดีนะฮ์เมื่อวันที่ 7 ซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ.114 (ค.ศ.733) ขณะมีอายุได้ 57 ปี ระยะเวลาในการเป็นอิมามัตของท่าน 19 ปี

 

หลังการเสียชีวิตของอิมามที่ 4 ในปี ฮ.ศ.95 คอลิฟะฮ์แห่งดามัสกัสกำลังหมกมุ่นอยู่กับการพิชิตดินแดนต่างชาติจนพวกเขาไม่มีเวลาสนใจกับประชาชนในมะดีนะฮ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่จงรักภักดีหรือผู้ที่เป็นปรปักษ์ พวกเขายังมีความพอใจที่บรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ไม่ได้แสดงการขัดขืนต่อต้านพวกเขาเนื่องจากชีวิตที่สงบเงียบเป็นที่สุดของอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.) อิมามท่านที่ 4 พวกเขาปล่อยให้ประชาชนชาวมะดีนะฮ์ทำกิจกรรมต่างๆ ไปได้โดยสงบสุข นี่คือช่วงเวลาที่บรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) รอคอย อิมามท่านที่ 5 ของเราได้เปิดโรงเรียนสอนกุรอานและฮะดีษอย่างที่เคยถูกสอนโดยท่านศาสดา(ศ.) และอิมามอะลี(อ.)

 

กล่าวกันว่า อิมามมุฮัมมัด บากิรฺ(อ.) ได้รับความนับถืออย่างสูงในด้านความรู้และวาทศิลป์ของท่าน รวมทั้งเรื่องกำเนิดที่สูงส่งของท่าน อิบนฺ คอลิกัน กล่าวว่า อิมาม(อ.) ได้รับฉายานามว่า "บากิรฺ" (ผู้จำแนกความรู้) เนื่องจากความรู้ด้านศาสนาที่กว้างขวาง และความกระตือรือร้นที่จะสอนผู้อื่นของท่าน นักประวัติศาสตร์หลายคนเช่น ยะอฺกูบี ยืนยันว่าอิมามมุฮัมมัด บากิรฺ(อ.) ได้จำแนกความรู้ออกมา พินิจพิจารณาและตรวจสอบความลึกซึ้งของมัน เพื่อมันจะได้ถูกเผยแพร่แก่ประชาชนทั้งหลายอย่างถูกต้องแท้จริง

 

ในชีวิตที่เงียบสงบอย่างมีเกียรติและเป็นวิชาการของท่านนั้น อิมามมุฮัมมัด บากิรฺ(อ.) มีผู้มาเรียกร้องให้อธิบายคำสอนโดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับสภาวะการเป็นอิมามอยู่อย่างสม่ำเสมอ ประมวลคำสอนของท่านในมะอะษิรุล-บากิร ได้ทำให้แนวทางอิมามสิบสองมีชื่อเสียงโด่งดัง ตามที่มันได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของบุคลิกลักษณะทางปัญญาและจิตวิญญาณของอิมามัต

 

อิมามมุฮัมมัด บากิรฺ(อ.) กับการอบรมสั่งสอนบรรดาสาวก

 

อิมามมุฮัมมัด บากิรฺ(อ.) ได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ มากมายไว้อย่างเต็มที่ เช่นเรื่องธรรมชาติของวิญญาณและนัฟซ์ เรื่องธรรมชาติและคุณลักษณะของอัลลอฮ์ เรื่องคุณสมบัติของผู้รู้ ท่านได้ห้ามปรามเรื่องการโต้แย้งกันเกี่ยวกับธรรมชาติของพระผู้เป็นเจ้า โดยกล่าวว่ามันเป็นเรื่องที่มนุษย์ไม่มีทางทำความเข้าใจได้

 

วันหนึ่ง วาซิล บิน อะตา ผู้นำจากตระกูลมุอฺตะซิลคนหนึ่ง ได้ถามอิมามว่า ความโกรธของอัลลอฮ์หมายถึงอะไร ท่านตอบว่า มันคือการลงโทษ แต่การโกรธนี้จะไม่ถูกนำมาเปรียบเทียบกับความโกรธของมนุษย์ ธรรมชาติของอัลลอฮ์ไม่เปลี่ยนแปลง ท่านได้จำแนกไว้ว่า รอซูล คือศาสดาผู้ที่ได้ยินเสียงของเทวทูตและมองเห็นเทวทูตในรูปของร่างกาย ส่วน นบี ท่านกล่าวว่าเป็นศาสดาผู้ที่ได้ยินเสียงของเทวทูตในสภาวะเดียวกัน แต่มองไม่เห็นเขา ส่วนสภาวะของอิมามนั้นก็เหมือนกับนบีแต่ไม่เหมือนรอซูล ท่านกล่าวว่า บรรดาอิมามคือผู้บริสุทธิ์และอะฮ์ลุลบัยต์ปราศจากความบาป

 

อิมามมุฮัมมัด บากิรฺ(อ.) ปกป้องการอ้างสิทธิ์ความเป็นอิมามัติของท่าน

 

อิมามบากิรฺ(อ.) ทำการปกป้องการอ้างสิทธิ์ของท่านในการเป็นอิมามต่อคอลิฟะฮ์ฮิชามด้วยการอ้างถึงโองการต่อไปนี้

 

 "...วันนี้ ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว และข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้วซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาของพวกเจ้าแล้ว..." (อัล-กุรอาน 5 : 3)

 

ท่านได้กล่าวต่อไปว่า ความสมบูรณ์ตามที่โองการนี้กล่าวถึงนั้นคือ ท่านศาสดาได้ให้ความรู้ในเรื่องเร้นลับอื่นๆ แก่ท่านอะลี(อ.) จากบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ท่านอะลีถูกแต่งตั้งให้เป็นคนพิเศษที่ท่านไว้วางใจ ผู้ซึ่งได้รับมรดกความรู้ในสิ่งเร้นลับต่างๆ ที่ถูกประทานลงมา ฮิชามตอบว่า อัลลอฮ์ไม่ทรงอนุญาตให้มีหุ้นส่วนใดในเรื่องความรู้ในสิ่งเร้นลับ ท่านอะลี(อ.) จะสามารถอ้างเช่นนั้นได้อย่างไร? ท่านอิมาม(อ.) ตอบด้วยการอ้างคำพูดของท่านศาสดา(ศ.) มากมายที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวท่านและสถานอันสูงส่งที่เหมาะสมของท่านอะลี(อ.) เมื่อได้ยินสิ่งต่างๆ ทั้งหมดนี้ ฮิชามนิ่งเงียบแล้วยอมอนุญาตให้อิมาม(อ.) และสาวกของท่านกลับบ้าน ท่าทางผึ่งผายและอำนาจของคอลิฟะฮ์ไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่ออิมาม(อ.) ผู้มีความกล้าหาญและไม่เกรงกลัวที่จะตอบทุกคำถามที่ถูกตั้งขึ้นต่อท่าน

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์อะฮ์ลุลบัยต์อะคาเดมี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อัลกุรอานกับการดำเนินชีวิต ...
ท่านหญิงคอดีญะฮ์ ...
...
เหตุใดมนุษย์จึงต้องมีศาสนา
คำอธิบายดุอาเดือนรอญับ
หลุมดำ
การรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมาย ...
การรักษาสายตาอันร้ายกาจ ตอนที่2
...
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลนัศร์ ตอนที่ ๒

 
user comment