เอกภาพในอิสลามตามทัศนะของอัลลามะฮ์ อะมีนีย์
ท่านอัลลามะฮฺ อะมีนียฺ คือ ผู้ที่เรียกร้องสู่ความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิม ท่านเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและชัดเจน ท่านได้อธิบายปัญหาดังกล่าวไว้ในหนังสือ อัลเฆาะดีร หลายครั้งด้วยกันและในหลายๆ เล่มด้วยกัน ซึ่ง ณ
ที่นี้จะขอกล่าวสักบางประเด็น เช่น ในบทนำของอัลเฆาะดีร เล่มที่ 1 ท่านได้กล่าวสั้นๆ ว่า อัลเฆาะดีรจะมีบทบาทอย่างไรต่อโลกอิสลาม กล่าวว่า
“เราขอให้ทุกสิ่งในหนังสือเล่มนี้เป็นการรับใช้ศาสนา สัจธรรมสูงสุด และฟื้นฟูประชาชาติอิสลาม”
เฆาะดีรเล่มที่ 3 หน้า 77 หลังจากที่ท่านได้กล่าวอ้างคำพูดของ
อิบนิตัยมียะฮฺ อาลูซียฺ และเกาะซัยมีแล้ว ซึ่งทัศนะของพวกเขาวางอยู่บน พื้นฐานที่ว่า ชีอะฮฺบางกลุ่มถือว่าอะฮฺลุลบัยตฺบางคน เช่น ซัยดฺ บิน อะลี บิน อัลฮุซัยนฺเป็นศัตรู ภายใต้หัวข้อของ นักด์วะอิศลาฮ์ ท่านกล่าวว่า นี่เป็นการว่าร้ายและพูดโกหกใส่ชีอะฮฺอย่างรุนแรง เป็นการหว่านพันธ์เมล็ดแห่งความชั่วร้าย สร้างความเป็นศัตรูในหมู่ประชาชาติอิสลาม อีกทั้งยังนำสังคมอิสลามไปสู่ความแตกแยก ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นการต่อต้านความถูกต้องของมุสลิมส่วนรวม
อัลเฆาะดีรเล่มที่ 3 หน้า 268 ท่านอัลลามะฮฺอ้างถึงคำพูดของ ซัยยิดรอชีด ริฏอ ที่กล่าวถึงชีอะฮฺโดยวางอยู่พื้นฐานที่ว่า ชีอะฮฺ ดีใจที่เห็นความปราชัยทุกประเภทประสบกับมุสลิม เพื่อว่ามุสลิมในอิหร่านจะได้ฉลองชัยชนะของพวกเขา ท่านอัลลามะฮฺได้อ้างอิงถึงคำพูดที่กล่าวว่า
“นี่คือคำพูดที่อุปโลกน์ขึ้นโดย ซัยยิด มุฮัมมัด เราะชีด ริฏอ” โดยปกติแล้วบรรดาชีอะฮฺที่อยู่ในอิหร่านและอิรักจะถูกใส่ร้ายทำนองนี้เสมอ นอกจากนั้นแล้วยังมีนักบูรพาคดี ตัวแทนจากประเทศมุสลิม และคนอื่นอีกที่เดินทางเข้าออกประเทศอิหร่าน และอีรักเป็นประจำยังไม่เคยประสบหรือได้ยินข่าวคราวทำนองนั้นเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาชีอะฮฺ จะให้ความเคารพเป็นพิเศษต่อสิทธิ เลือดเนื้อ เกียรติยศและทรัพย์สินของส่วนรวมไม่ว่าจะเป็นซุนนียฺหรือชีอะฮฺก็ตาม เมื่อความทุกข์ได้ประสบแก่โลกอิสลามไม่ว่าที่ใด เมื่อไหร่ และไม่ว่าจะเกิดกับสำนักคิดใดก็ตาม พวกเขาจะร่วมแสดงความเสียใจด้วยเสมอ ชีอะฮฺไม่เคยจำกัดขอบเขตความเป็นพี่น้องมุสลิม ตามที่อัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ระบุเอาไว้ให้อยู่ในแวดวงของชีอะฮฺเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นซุนนียฺและชีอะฮฺ
ในตอนท้ายของเล่มที่ 3 หลังจากได้อ้างตำราหลายเล่มจากบรรดานักปราชญ์ในสมัยก่อน เช่น อักดุลฟะรีด อิบนุ อับดุร็อบบะฮู อัลอินติซอร อบุลฮะซัน คัยยาฏ มุอฺตะซิลี อัลฟิร็อก บัยนัลฟิร็อก อบูมันซูร แบกแดดียฺ อัลฟัซลฺ อิบนุ ฮัซมฺ อันดิลีซียฺ อัลมิลัล วัลนิฮัล มุฮัมมัด บิน อับดุลกะรีม ชะฮฺริสตานียฺ มินฮาจ อัซซุนะฮฺ อิบนุ ตัยมียะฮฺ และวัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ อิบนุกะซีร และหนังสืออีกหลายเล่มจากบรรดานักปราชญ์ใน
ยุคหลัง เช่น ตารีคอัลมุมัม อัลอิสลามียะฮฺ ชัยคฺ มุฮัมมัด คุฎรียฺ ฟัจญฺรุลอิสลาม อะฮฺมัดอะมีน อัลเญาละฮฺ ฟี รุบูอ์ อัชชัรกิ อัดนา มุฮัมมัด
ซาบิต มิซรียฺ อัซซิรออ์ บัยนัลอิสลาม วัลวะซันนียะฮฺ เกาะซีมีย์ วัชชีอะฮฺ มูซา ญารุลลอฮฺ อัลลามะฮฺ กล่าวว่าเป้าหมายของเราในการอ้างอิงตำราเหล่านี้ ก็เพื่อเตือนและต้องการประกาศให้โลกอิสลามได้รับรู้ถึง อันตราย อีกทั้งเป็นการปลุกพวกเขาให้ตื่นจากความหลับใหล และให้ระวังตัวเองว่าหนังสือเหล่านี้จำนำอันตรายมาสู่สังคมอิสลาม และจะทำให้ความสามัคคีในหมู่มุสลิมเกิดความสั่นคอน มุสลิมจะแปลกแยกออกไป ซึ่งไม่มีปัจจัยใดที่จะทำให้สังคมอิสลามเกิดความแตกแยกได้เลวร้ายยิ่งไปกว่าหนังสือเหล่านี้ บรรดามุสลิมจะพบกับความแตกแยก
ความเป็นพี่น้องของพวกเขาจะขาดสะบั้นลง
อัลลามะฮฺ อามีนียฺ ได้เขียนไว้ในบทนำหนังสือเล่มที่ 5 ภายใต้หัวข้อ นะซะรียะฮฺ กะรีมะฮฺ เนื่องจากได้มีจดหมายปิดผนึกจากอิยิปต์ที่เขียนเกี่ยวกับหนังสือ อัลเฆาะดีร ส่งมาถึงท่าน หลังจากนั้นอัลลามะฮฺได้แสดงทัศนะของท่านอย่างชัดเจน โดยไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยอีกต่อไป ท่านกล่าวว่า ทุกคนมีความอิสระในการแสดงทัศนะเกี่ยวกับหลักศรัทธาและนิกาย ไม่มีผู้ใดประสงค์ที่จะทำลายความเป็นพี่น้องตามที่
อัล-กุรอาน และฮะดีษได้เน้นย้ำเอาไว้ « انما المؤمنون اخوة » แม้ว่าการวิพากษ์ทางด้านวิชาการและศาสนศาสตร์จะลึกล้ำไปไกลแล้วก็ตาม ตลอดแนวทางของสะละฟียฺ ซึ่งหัวหน้าเหล่านั้นคือบรรดาเซาะฮาบะฮฺและตาบิอีน
เรามีนักเขียนอยู่มากมายในโลกอิสลาม แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะมีความขัดแย้งกันในเรื่องหลักอุซูล และหลักการศาสนาก็ตาม แต่พวกเขาก็มีสังคมร่วมกันนั่นคือ ความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าองค์เดียวและศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ที่สำคัญไปกว่านั้นพวกเรามีดวงวิญญาณที่มีวามรักเป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือดวงวิญญาณอิสลามและคำบริสุทธิ์ (กะลิมะตุลอิคลาซ) ซึ่งบรรดานักเขียนอิสลามทุกคนต่างอาศัยอยู่ภายใต้ธงอิสลาม และปฏิบัติหน้าที่ไปตามอัล-กุรอาน และสาส์นของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) สาส์นสำหรับพวกเราทุกคนคือ “แท้จริงศาสนา ณ พระเจ้าคืออิสลาม” ส่วนสโลแกนของพวกเราคือ “ไม่มีพระเจ้าอื่นในนอกจากอัลลอฮฺ มุฮัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์” ใช่พวกเราคือพลพรรคของพระเจ้าและเป็นผู้ปฏิบัติตามศาสนาของพระองค์
ท่านอัลลามะฮฺ อามีนียฺ ได้เขียนไว้ในบทนำหนังสือเฆาะดีรเล่มที่ 8 ภายใต้หัวข้อ “อัลเฆาะดีร ยูญะดุ อัซซุฟูฟ ฟิลมะลา อัลอิสลามี” ซึ่งท่านได้กล่าวถึงบทบาทของเฆาะดีรในความเป็นเอกภาพของมุสลิม ท่านอัลลามะฮฺ ได้วิพากษ์อย่างรุนแรงถึงบุคคลที่กล่าวหาว่า
หนังสืออัลเฆาะดีรคือแห่งที่มาของความแตกแยกในหมู่มุสลิม ท่านได้พิสูจน์ให้เห็นว่าความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น มิหนำซ้ำอัลเฆาะดีร ยังช่วยขจัดความเข้าใจผิดให้หมดไป และทำให้มุสลิมมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเวลานั้นท่านได้อ้างถึง ทัศนะของนักวิชาการที่ไม่ได้เป็นชีอะฮฺ เพื่อเป็นสักขีพยานในเรื่องนี้
บทบาทในเชิงสร้างสรรค์ของเฆาะดีร ในมุมมองของเอกภาพกล่าวคือ อันดับแรกอธิบายถึงเหตุและผลของชีอะฮฺอย่างชัดเจน และได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างกระจ่างชัดว่าประชากรจำนวนเกิน 100 ล้านคน ที่ได้เลือกนับถือชีอะฮฺ ซึ่งขัดแย้งกับการโฆษณาชวนเชื่อของศัตรู และเหตุผลทางการเมืองและความนิยมในชนชาติ ทว่าชีอะฮฺได้ใช้เหตุผลที่แข็งแรงโดยอาศัยอัล-กุรอานและฮะดีซ ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีบุคคลนับถือและเลือกแนวทางชีอะฮฺ
อันดับสองได้พิสูจน์ให้เห็นข้อใส่ร้ายที่ได้กล่าวพาดพิงถึงชีอะฮฺ อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดช่องว่างระหว่างมุสลิมชีอะฮฺ กับมุสลิมนิกายอื่น เช่น กล่าวหาว่าชิอะฮฺเป็นกาเฟร ชีอะฮฺที่ไม่ใช่มุสลิมนั้นดีกว่ามุสลิมที่ไม่ได้เป็นชีอะฮฺ ความพ่ายแพ้ของมุสลิมที่ไม่ได้เป็นชีอะฮฺคือ ความสุขของบุคคลที่ไม่ได้เป็นมุสลิม เช่น ชีอะฮฺ เดินทางไปซิยาเราะฮฺบรรดาอิมามแทนการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญฺ หรือกล่าวว่าชีอะฮฺนนมาซเช่นนั้น ชีอะฮฺแต่งงานเช่นนี้ ทั้งหมดไม่มีเหตุผลและเป็นการโกหกสิ้นดี
สิ่งที่บุคคลอื่นได้จากเฆาะดีร
นักวิชาการส่วนใหญ่ที่นอกเหนือจากชีอะฮฺแล้ว สิ่งที่พวกเขาได้รับจากหนังสือเฆาะดีร เป็นไปตามที่เราได้กล่าวมา มุฮัมมัด อับดุลเฆาะนียฺ ฮะซัน มิซรียฺ ได้วิเคราะห์บทนำหนังสือเฆาะดีร เล่มที่ 1 พิมพ์ครั้งที่ 2 กล่าวว่า ฉันขอดุอาอฺต่อพระเจ้าว่า ขอพระองค์โปรดทำเฆาะดีรของท่านอันเป็นสาเหตุนำไปสู่ความสงบ และความเป็นพี่น้องในหมู่มุสลิมระหว่างชีอะฮฺ และซุนนียฺ เป็นพื้นฐานในการสร้างประชาชาติอิสลามด้วยเถิด
อาดิล ฆัฏบาน บรรณาธิการวารสารฉบับหนึ่งในอิยิปต์นามว่า อัลกิตาบ ได้กล่าวถึงบทนำหนังสือเฆาะดีรเล่มที่ 3 ว่า หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายเหตุผลของชีอะฮฺไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ซุนนีย์สามารถรู้จักชีอะฮฺได้อย่างถูกต้องจากหนังสือดังกล่าว ซึ่งการรู้จักชีอะฮฺ อย่างถูกต้องนั้นเป็นสาเหตุทำให้ทัศนะของชีอะฮฺและซุนนียฺ มีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น สามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
ดร. มุฮัมมัด ฆุลลาบ อาจารย์สอนปรัชญาในวิทยาลัย อุซูลลุดดีน มหาวิทยาลัยอัลอัซอัร ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับบทนำหนังสือเฆาะดีรเล่ม 4 ไว้ว่า “หนังสือของท่านได้มาถึงมือข้าพเจ้าในเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากขณะนี้ข้าพเจ้ากำลังรวมรวมและเขียนหนังสือเกี่ยวกับ วิถีชีวิตมุสลิมจากมุมมองต่างๆ ซึ่งข้าพเจ้าต้องการข้อมูลที่ถูกตรงเที่ยงธรรมเกี่ยวกับชีอะฮฺอิมามียะฮฺอยู่พอดี หนังสือของท่านได้ช่วยเหลือข้าพเจ้าได้เป็นอย่างดี และแน่นอน ข้าพเจ้าจะไม่มีเข้าใจผิดเกี่ยวกับชีอะฮฺอย่างแน่นอน”
ดร. อับดุรเราะฮฺมาน กิยาลียฺ ฮะละบียฺ ได้เขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับบทนำหนังสือเฆาะดีรเล่มที่ 4 ว่า หลังจากได้กล่าวถึงความล้าหลังของสังคมมุสลิมในยุคปัจจุบัน หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ที่สามารถช่วยเหลือมุสลิมให้รอดพ้นชะตากรรมได้ ท่านได้กล่าวว่า การรู้จักวะซียฺ (ตัวแทน) ของศาสดาอย่างถูกต้อง คือหนึ่งในปัจจัยที่จะช่วยเหลือมุสลิม ท่านกล่าวว่า หนังสืออัลเฆาะดีรและเนื้อหาสาระที่เต็มเปี่ยม คือสิ่งจำเป็นประการหนึ่งที่บรรดามุสลิมทั้งหลายต้องต้องรับรู้ เพื่อว่าจะได้รับรู้ว่าบรรดานักประวัติศาสตร์ได้ละเลยปัญหาดังกล่าวไปได้อย่างไร ความจริงอยู่ที่ไหน พวกเราต้องทดแทนสิ่งที่ขาดหายไปในอดีตให้เติมเต็ม และจะต้องขวนขวายทำให้สังคมอิสลามบังเกิดเอกภาพ และแน่นอน สิ่งนี้คือทัศนะของท่านอัลลามะฮฺ อามีนย์ ที่กล่าวถึงปัญหาสำคัญบางประการทางสังคมในยุปัจจุบัน
ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์