ไทยแลนด์
Thursday 26th of December 2024
0
نفر 0

หลักคำสอนบางประการที่น่าสนใจ

13.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการซื้อขาย 1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การค้าที่น่าเกลียดสมควรละเว้น 2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การค้าที่โมฆะ 3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไข
หลักคำสอนบางประการที่น่าสนใจ

13.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการซื้อขาย
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การค้าที่น่าเกลียดสมควรละเว้น
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การค้าที่โมฆะ
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของผู้ขายและผู้ซื้อ
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สินค้าและสิ่งแลกเปลี่ยน
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การกล่าวข้อมูกมัดในการค้า
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การค้าขายผลไม้
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การขายเชื่อ
8. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การค้าขายล่วงหน้าหมายถึง จ่ายเงินก่อนและรับสินค้าภายหลัง
9. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การค้าขายล่วงหน้า
10. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงือนไขของการค้าขายล่วงหน้า
11. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การขายทองคำและเงินด้วยทองคำและเงิน
12. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การยกเลิกการค้าขาย
13. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับการค้าขาย
14.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการลงทุนร่วมกัน
15.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการประนีประนอม
16.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้เช่า
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของทรัพย์สินที่ให้เช่า
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ให้เช่า
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ปัญหาทั่วไปของการให้เช่า
17.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการตั้งเงินรางวัล
18.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้เช่าพื้นดินเพื่อการเกษตร
19.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้เช่าสวนผลไม้ที่มีกำหนดเวลา
20.) บทบัญญัติเกี่ยวกับบุคคลที่ไม่สามารถใช้ทรัพย์สินของตนได้
21.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการตั้งตัวแทน
22.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้ยืม
23.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการโอนเงิน
24.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการจำนอง
25.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการประกัน
26.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการค้ำประกัน
27.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการรับฝากสิ่งของ
28.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงิน

29.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการสมรส
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ประเภทของการสมรส
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การกล่าวข้อผูกมัด
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง หลักการกล่าวข้อผูกมัดการสมรสถาวร
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง หลักการกล่าวข้อมูกมัดการสมรสชั่วคราว
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของการกล่าวข้อผูกมัดการสมรส
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ข้อตำหนิอันเป็นเหตุของการยกเลิกการสมรส
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การห้ามสมรสกับสตรีบางประเภท
8. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง กฎเกณฑ์การกล่าวข้อผูกมัดการสมรสถาวร
9. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การสมรสชั่วคราว
10. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การมอง ปกติการมองเห็นเป็นหนึ่งในความโปรดปรานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น มนุษย์ควรใช้ความโปรดปรานดังกล่าวเพื่อสร้างความสมบูรณ์ และพัฒนาตนเองไปสู่ความสูงสุด หรืออย่างน้อยที่สุดควรใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด การมองธรรมชาติที่สวยงาม ถ้าไม่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิของคนอื่นไม่เป็นไร แต่การปกปิดตนเองไม่ให้คนอื่นเห็น หรือการมองเพศตรงข้ามที่แต่งงานกันได้ มีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะขอกล่าวในโอกาสต่อไป
11. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับการแต่งงาน

30.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้นมทารก
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขการให้นมของแม่นมอันเป็นเหตุให้ไม่สามารถสมรสได้
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง มารยาทการให้นม
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับการให้นม
31.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการหย่าร้าง
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของการหย่าร้าง
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง กำหนดเวลาหลังการหย่าร้าง
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง กำหนดเวลาของสตรีที่สามีเสียชีวิต
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การหย่าแบบบาอิน (หมายถึงหลังการหย่าสามีไม่มีสิทธิ์กลับไปหาภรรยาอีก) และการหย่าแบบริจอีย์ (หมายถึง หลังการหย่าสามีไม่มีสิทธิ์ขับภรรยาออกจากบ้าน)
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การกลับไปหาภรรยาหลังการหย่า
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การหย่าแบบคุลอ์ (เคาะละฮฺ) หมายถึง ภรรยาไม่สมัครใจจะอยู่กินกับสามีอีกต่อไป นางได้มอบสินสมรส หรือทรัพย์สินส่วนอื่นให้สามีเพื่อเรียกร้องให้สามีหย่า
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การหย่ามุบาราต หมายถึงภรรยาจ้างสามีให้หย่า
8. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับการหย่าร้าง
32.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการช่วงชิงทรัพย์สิน
33.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการพบเจอทรัพย์สินของคนอื่น
34.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการล่าและเชือดสัตว์
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การเชือดและการล่าสัตว์
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง คำสั่งในการเชือดสัตว์
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของการเชือดสัตว์
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขการเชือดอูฐ
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งที่ดีขณะเชือดสัตว์
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การล่าสัตว์ด้วยอาวุธ
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การล่าสัตว์ด้วยสุนัขล่าสัตว์
8. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การประมง
9. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การจับตั๊กแตน

35.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการรับประทานและการดื่ม
อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ทรงมอบธรรมชาติทีสวยงาม สรรพสัตว์ทั้งหลาย พืช ผัก และผลไม้ เพื่อให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ในการกิน ดื่ม นำมาเป็นเครื่องนุ่งห่ม และทำเป็นที่อยู่อาศัย และใช้ทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ตามความต้องการของมนุษย์ แต่เพื่อให้เกียรติและเคารพในสิทธิของบุคคลอื่น และเพื่อปกป้องชีวิตมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ จึงได้วางกฎเกณฑ์ในเรื่องการกินและการดื่ม
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การรับประทานและการดื่ม
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ประเภทอาหารที่เป็นทั้งเนื้อสัตว์และพืช
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ทั้งสัตว์สี่เท้า สัตว์น้ำ และสัตว์ปีก
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของเนื้อสัตว์ที่อนุมัติและไม่อนุมติให้บริโภค
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง แบบอย่างอันดีงามขณะรับประทานและดื่ม
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง แบบอย่างอันดีงามในการดื่มน้ำ
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง แบบอย่างอันน่าเกลียดในการดื่มน้ำ

36.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการบนและการสัญญา
37.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการสาบาน
38.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการอุทิศ
39.) บทบัญญัติเกี่ยวกับพินัยกรรม
40.) บทบัญญัติเกี่ยวกับมรดก
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ผู้รับมรดกชั้นที่หนึ่ง
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ผู้รับมรดกชั้นที่สอง
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ผู้รับมรดกชั้นที่สาม
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การรับมรดกระหว่างสามีภรรยา
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับมรดก

41.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการเชิญชวนให้ประกอบกรรมดีและห้ามปรามกรรมชั่ว
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ขั้นตอนของการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว
42.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกัน
43.) บทบัญญัติเกี่ยวกับปัญหาทั่วไปในการป้องกัน
44.) บทบัญญัติเกี่ยวกับปัญหาเกิดขึ้นใหม่การสัญญา
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การทำสัญญา
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การหมดสัญญาเช่า
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การทำธุรกิจกับธนาคาร
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การประกันภัย
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ล็อตเตอรี่ หรือสลากกินแบ่ง
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การผสมเทียม
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การชำแหละศพเพื่อศึกษา
ข้อห้ามสำหรับมุสลิม
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงประเด็นหัวข้อที่หลักการอิสลามได้สอนไว้ ซึ่งแต่ละหัวข้อมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย จะขอนำเสนอรายละเอียดเหล่านั้นในโอกาสต่อไปตามความเหมาะสม
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าหลักการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอิสลามแบ่งออกเป็นหมวดหมู่กล่าวคือ สิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติ หากละเว้นถือว่ามีความผิดตามศาสนบัญญัติ สิ่งที่จำเป็นต้องละเว้น ถ้าหากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิด ต้องถูกลงโทษ สิ่งที่สมควรปฏิบัติ หรือสนับสนุนให้ปฏิบัติซึ่งมีกุศลบุญมากมาย แต่ถ้าไม่ปฏิบัติจะไม่ถูกลงโทษ สิ่งที่ไม่สมควรปฏิบัติและไม่สนับสนุนให้ปฏิบัติ แต่ถ้าหากปฏิบัติจะไม่ถูกลงโทษ และสิ่งปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติมีผลเท่าเทียมกัน

ศาสนาทุกศาสนาบนโลกนี้ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่ออบรมสั่งสอนให้คนเป็นคนดี ปฏิบัติคุณงามความดี และออกห่างจากความชั่วทั้งหลาย หรือเรียกว่าบาป อิสลามเป็นหนึ่งในศาสนาแห่งฟากฟ้าที่สมบูรณ์ที่สุด และเป็นศาสนาสุดท้ายที่พระเจ้าทรงประทานลงมา มีคำสอนครอบคลุมทั้งด้านความศรัทธา การปฏิบัติ และจริยธรรม คำสอนของอิสลามจึงกล่าวถึงทั้งสิ่งที่เป็นคุณงามความดี และสิ่งที่เป็นบาปกรรมทั้งหลาย แต่ ณ ที่นี้จะนำเสนอเฉพาะสิ่งที่เป็นบาปกรรมเท่านั้น

อิสลามสอนว่ากระบวนการที่เป็นบาป มีทั้งที่เป็นบาปใหญ่และบาปเล็ก ซึ่งทั้งสองถูกห้ามปฏิบัติอย่างเด็ดขาด จะแตกต่างกันตรงโทษทัณฑ์ ซึ่งพระเจ้าทรงพิจารณาและตัดสินไปตามบาปนั้น ๆ

การพิจารณาการกระทำใดเป็น “อกุศลกรรม” ในอิสลาม จึงต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นหลัก ซึ่งอกุศลกรรมทั้งหมดเข้าใจได้จากอัล-กุรอาน วัจนะของท่านศาสดา (ขอพระเจ้าทรงประสาทพรแด่ท่านและครอบครัว) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ทั้งนี้โดยอาจจะสรุปตัวอย่างให้เห็นภาพรวมว่า การกระทำดังต่อไปนี้ถือว่าเป็น “บาป” อันที่จริงมีบาปมากมาย แต่จะขอนำเสนอเฉพาะบาปที่มนุษย์อาจละเมิดได้ตลอดเวลา ในศาสนาอิสลามมีข้อห้ามอันเป็นบาปให้ศาสนิกต้องละเว้นมากมาย ทั้งข้อห้ามด้านหลักศรัทธา ข้อห้ามด้านหลักปฏิบัติ และข้อห้ามด้านจริยธรรม

ข้อห้ามสำหรับมุสลิมด้านหลักศรัทธา
1. ห้ามปฏิเสธความเป็นพระเจ้าของอัลลอฮฺ (มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์.)
2. ห้ามตั้งภาคีเทียบเคียง หรือนับถือสิ่งอื่นเป็นพระเจ้า นอกจากอัลลอฮฺ หรือนับถือสิ่งอื่นว่ามีความสามารถเทียบเท่าอัลลอฮฺ ซึ่งเรียกว่า ชิรกฺ หมายถึงการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า ซึ่งเป็นอกุศลกรรมเดียวที่ไม่ได้รับการอภัยจากพระเจ้า
3. ห้ามกราบบูชาสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ แม้ว่าจะเป็นบิดามารดาก็ตาม
4. ห้ามตั้งตนเป็นผู้วิเศษ หรือแอบอ้างตนเป็นศาสดา หรืออิมาม
5. ห้ามปฏิเสธบทบัญญัติของอัลลอฮฺ
6. ห้ามปั้นหรือทำรูปเคารพาบูชา
7. ห้ามเคารพบูชารูปภาพ รูปปั้น และเครื่องรางของขลัง
8. ห้ามกราบไหว้ธรรมชาติ เช่น ภูเขา ต้นไม้ ดวงตะวัน ดวงจันทร์ ดวงเดือน เทวดาและนางไม้
9. ห้ามด่าทอบรรดาศาสดาและอิมามผู้บริสุทธิ์
10. ห้ามปฏิเสธหรือด่าทอพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน
11. ห้ามเผา อัล-กุรอาน
12. ห้ามประดิษฐ์สิ่งแปลกปลอมขึ้นในศาสนา
13. ห้ามเกรงกลัวอำนาจอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ
14. ห้ามสิ้นหวังในพระเมตตาของอัลลอฮฺ

ข้อห้ามสำหรับมุสลิมด้านหลักปฏิบัติ
1. ห้ามรับประทานอาหารที่ต้องห้าม เช่น เนื้อสุกร สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ที่มีเขี้ยวเล็บ ฯลฯ
2. ห้ามสังหารชีวิตผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม
3. ห้ามละเว้นจากการแสดงความเคารพภักดีอัลลอฮฺ เช่น ไม่นมาซ
4. ห้ามละเว้นการจ่ายซะกาต หรือทานบังคับ
5. ห้ามละเว้นการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
6. ห้ามละเว้นการจ่ายค่มซ์
7. ห้ามละเว้นการเดินทางไปประกอบหัจญ์เมื่อมีความสามารถ
8. ห้ามประพฤติผิดในกาม (การทำซินา)
9. ห้ามเรียกหรือเก็บกินดอกเบี้ย
10. ห้ามการฉ้อฉลทรัพย์สินเด็กกำพร้า และของผู้อื่น
11. ห้ามพูดเท็จหรือกล่าวร้ายต่ออัลลอฮฺและบรรดาศาสดา
12. ห้ามหนีสงครามศาสนา
13. ห้ามเป็นผู้ปกครองที่อยุติธรรม
14. ห้ามการเป็นพยานเท็จ
15. ห้ามเสพสุราและของมึนเมา
16. ห้ามเล่นการพนันและเสียงโชคทุกชนิด
17. ห้ามใส่ร้ายหญิงผู้บริสุทธิ์ว่านางกระทำการชั่ว
18. ห้ามลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น
19. ห้ามล่วงละเมิดหรือใช้ทรัพย์ของผู้อื่นโดยเจ้าของไม่ได้อนุญาต
20. ห้ามกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ
21. เอาประโยชน์จากผู้อื่นโดยมิชอบ
22. ห้ามฆ่าตัวตายหรือฆ่าผู้อื่น
23. ห้ามโกหก
24. ห้ามตัดสินความโดยการขาดความยุติธรรม
25. ห้ามติดสินบน
26. ห้ามมีชู้
27. ห้ามสมรสกับหญิงทีสามีหย่าโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ
28. ห้ามเล่าเรื่องโกหก
29. ห้ามแช่งด่า หรือสบถสาบานที่เป็นเท็จ
30. ห้ามละเมิดและบิดพลิ้วสัญญา
31. ห้ามการทำนายทายทัก
32. ห้ามขายบริการสิ่งมืนเมา
33. ห้ามซื้อขายสิ่งของที่ไม่มีค่า เช่น ปัสสาวะและอุจจาระ
34. ห้ามใช้เล่ห์เพทุบายในการค้าขาย
35. ห้ามบริโภคสิ่งของที่นะญิซ (จัดว่าโสโครกตามหลักการอิสลาม)
36. ห้ามขายสื่อเครื่องรางของขลัง หรือพระพุทธรูป
37. ห้ามซื้อขายอุปกรณ์การพนันทุกประเภท
38. ห้ามทำเสน่ห์ ลงคาถาอาคมทั้งในฐานะผู้ทำเองหรือรับจ้างผู้อื่น
39. ห้ามบริโภคอาหารต้องห้าม เช่น ซากสัตว์ สัตว์ที่เชือดโดยไม่ได้เอ่ยพระนามของพระเจ้า สัตว์บูชายัญ และเลือดสัตว์ทุกชนิด
40. ห้าม บริโภคเนื้อที่ไม่อนุมัติ เช่น เนื้อสัตว์ดุร้ายทุกประเภทตลอดจนสัตว์ที่มีเขี้ยว และกงเล็บ เช่น เสื้อ สิงโต หมี หมาป่า และสัตว์อื่น ๆ ที่อยู่ในประเภทเดียวกัน เช่น สุนัขจิ้งจอก
41. ห้ามบริโภคเนื้อกระต่ายและแมลงทุกชนิด
42. ห้ามบริโภคสัตว์สี่เท้า เช่น สุนัข แมว และสัตว์อื่นที่คล้ายคลึงกัน
43. ห้ามบริโภค ค้างคาว นกยูง นกกา (และนกประเภทเดียวกับกา) นกทั้งหมดที่มีกงเล็บ เช่น นกอินทรีย์ เหยี่ยว เป็นต้น นกที่เวลาบินแล้วกางปีกเล่นลม เช่น นกนางนวลเป็นต้น
44. ห้ามบริโภคไข่ของสัตว์ที่เนื้อไม่อนุมัติให้บริโภคทุกชนิด
45. ห้ามบริโภคปลาไม่มีเกล็ดทุกชนิดตลอดจนปลาหมึก และแมงกะพรุน
46. ห้ามบริโภคสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ เขียด สัตว์ที่มีกระดอง เช่น เต่า ตะพาบน้ำ เป็นต้น
47. ห้ามบริโภคบางสิ่งของสัตว์ที่อนุมัติให้บริโภคเนื้อ ซึ่งมีอยู่ 15 ชนิดในตัวสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้แก่ เลือด อุจจาระ (ขี้เพลี้ย) อวัยวะสัตว์ตัวผู้ อวัยวะสัตว์ตัวเมีย มดลูก ปลีกมดลูกทั้งสอง ต่อม (อวัยวะคัดหลั่ง) ไข่สัตว์สี่เท้า (อัณฑะ) เม็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดถั่วอยู่ในสมองสัตว์สี่เืท้า ไขสันหลัง เส้นประสาท ถุงน้ำดี ม้าม ถุงปัสสาวะ และแก้วตาดำ
48. ห้ามกินดิน และสิ่งที่ไม่ใช่อาหารทุกประเภท
49. ห้ามกินหรือดื่มสิ่งที่เป็นนะญิซ
50. ห้ามกินสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น กินอาหารที่มีไขมันมากสำหรับคนป่วยซึ่งเป็นอันตราย
51. ห้ามรับประทานอาหารทุกชนิดที่สกัดหรือทำมาจากไขมัน หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุญาตให้บริโภค
52. ห้ามรับประทานพืชผักทุกชนิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
53. ห้ามประกอบอาชีพไม่สุจริตทุกประเภท
54. ห้ามทำแท้ง
55. ห้ามผู้ชายห้ามใส่ทองเป็นเครื่องประดับ และสวมใส่ผ้าไหม
56. ห้ามสตรีมุสลิมถอดผ้าคุมศีรษะเมื่ออยู่ต่อหน้าชายที่สามารถแต่งงานกันได้
57. ห้ามนำมุสลิมไปเผา
58. ห้ามตัดความสัมพันธ์กับญาติพี่น้อง
59. ห้ามดูถูกหรือดูแคลนศาสนาอื่น
60. ห้ามแต่งงานกับคนนอกศาสนา
61. ห้ามมองสิ่งอื่น หรือเพศตรงข้ามด้วยความเสน่ห์หา
62. ห้ามสัมผัสอักษรอัล-กุรอาน พระนามของอัลลอฮฺ ศาสดาและบรรดาอิมามผู้บริุสุทธิ์ โดยปราศจากวุฏูอ์
63. ห้ามฟังเพลงดูสื่อลามก หรือรูปภาพที่ก่อให้เกิดอารมณ์ใคร่
ข้อห้ามสำหรับมุสลิมด้านจริยธรรม
1. ห้ามกระทำการรังแกและเหยียดหยามผู้คน
2. ห้ามเดินเหินอย่างหยิ่งผยองและกระทืบพื้นเสียงดัง
3. ห้ามกระทำให้เพื่อนบ้านเดือนร้อน
4. ห้ามทำให้มุสลิมได้รับความทุกข์และความเดือนร้อน
5. ห้ามไม่เคารพเชื่อฟังบิดามารดา อัล-กุรอาน กล่าวว่าแม้คำว่าอุฟก็ห้ามกล่าวกับบิดามารดา
6. ห้ามแสดงอาการยโส โอหัง
7. ห้ามไม่ปกป้องตัวเองให้พ้นจากการแปดเปื้อนบาป
8. ห้ามโอ้อวด
9. ห้ามเรียนรู้ศาสนา เพื่อใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์ในโลกนี้ และการปิดบังความรู้
10. ห้ามปิดบังความจริง
11. ห้ามกล่าวลำเลิกบุญคุณ
12. ห้ามแอบฟังเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่น
13. ห้ามเป็นสายลับ
14. ห้ามเข้าบ้านคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
15. ห้ามพูดจาเสียดสีให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
16. ห้ามภรรยาปฏิบัติไม่ดีต่อสามี เช่น ออกจากบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต
17. ห้ามสามีกดขี่ภรรยาและละเลยหน้าที่ของสามีที่ดี
18. ห้ามบังคับมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกระทำสิ่งที่เหนือความสามารถ
19. ห้ามบุตรฝ่าฝืนคำสั่งของบิดามารดา
20. ห้ามเนรคุณคนบุคคลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีพระคุณต่อเรา
21. ห้ามสุลุ่ยสุหร่าย
22. ห้ามร้องไห้พิรี้พิไร เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์หรือความล้มเหลว
23. ห้ามปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไม่ถูกต้องหรืออยุติธรรม
24. ห้ามข่มเหงรังแกภรรยา คนรับใช้ ผู้อ่อนแอ และสัตว์
25. ห้ามนินทาว่าร้าย และใส่ความผู้อื่น
26. ห้ามเปิดเผยข้อตำหนิของบุคคลอื่น





ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮฺ

หลักคำสอนบางประการ
นอกจากบรรดาสาขาที่เป็นข้อบังคับที่สำคัญที่สุดของศาสนามีอยู่ด้วยกัน 10 ประการ แล้ว อิสลามยังมีหลักคำสอนอื่น ๆ อีกซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตัวของมุสลิมทุกคน เนื่องจากโดยหลักการแล้วอิสลามเชื่อว่าศาสนามิได้เป็นเพียงหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจเท่านั้น เมื่อยามเดือดร้อนคนเราจึงเข้าพึ่งพิงศาสนา ทว่าอิสลามถือว่าศาสนา คือ ชีวิตการเป็นอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก และทุกอิริยาบถที่แสดงออก คือ คำสอนของศาสนา ดังนั้น คำว่าศาสนาโดยหลักการของอิสลามแล้วหมายถึง ความศรัทธาในเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า การแสดงความเคารพภักดี การเชื่อฟังปฏิบัติตาม ความมีใจบุญสุนทานและอื่น ๆ ความหมายเหล่านี้มีความผูกพัน และสัมพันธ์กันโดยตรงกับความศรัทธาในพระผู้สร้าง

บางครั้งหมายถึงความเชื่อเรื่องการตัดสิ้น การตอบแทนผลรางวัล หรือการลงโทษผู้ทำบาป คำบัญชา และกฎหมาย ความหมายเหล่านี่มีความส้มพันธ์อันบ่งบอกถึงความเชื่อในภพหน้า
และบางครั้งศาสนาบ่งบอกถึง จารีตประเพณี หลักความประพฤติ นิใสใจคอ หลักธรรม และคำตรัสของท่านศาสดามุฮัมมัด หรือบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์

โดยหลักการแล้วอิสลามเชื่อว่าแนวความคิดที่อยู่เบื้องหลังศาสนา คือ โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ต้องมีแบบฉบับในการดำรงชีวิต ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของอุดมคติ หรือแนวความคิดทางจิตใจบางประการ ซึ่งอิสลามเรียกว่า ความศรัทธา มนุษย์คือสัตว์สังคม ต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึงกันและกันเพื่อการดำรงชีวิตของเขาและเพื่อความจำเป็นในชีวิตนานานประการ เมื่อเป็นดังนี้ สังคมมนุษย์ทุกสังคมจึงจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์บางอย่าง เพื่อที่จะเป็นเครื่องป้องกันจากความอยุติธรรม และรักษาสิทธิต่าง ๆของบรรดาสมาชิกแต่ละรายในสังคม แต่ใครเล่าจะเป็นผู้มีสิทธิออกกฎหมายมาปกครองสังคม อิสลามเชื่อว่า มนุษย์ไม่สิทธิออกกฎหมายแน่นอน เนื่องจากโดยสัญชาติญาณทางธรรมชาติแล้ว มนุษย์ย่อมเล็งเห็นผลประโยชน์ของตัวเองเป็นประการแรก ที่สำคัญไปกว่านั้นมนุษย์อาจมีการลงความเห็นที่ผิดพลาด ดังเป็นที่ประจักษ์อยู่ในสังคมโลกปัจจุบัน

อิสลามจึงเชื่อว่าบรรดากฎหมายต่าง ๆ จะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ที่อยู่ในสถานะที่สูงส่งกว่ามนุษย์ และเหนือกว่ามนุษย์ ผู้ซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบรรดากฎหมายเหล่านั้น และจะต้องเป็นผู้ที่มนุษย์ทุกคนต่างมีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ซึ่งผู้นั้นจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเกรียงไกร ประมวลคำสอน กฎหมาย และหลักการที่พระองค์ประทานลงมาจึงเป็นครรลองในการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ของมนุษย์ทุกคนภายใต้ชื่อว่า อิสลาม หรือ ศาสนาอิสลาม

ดัวยเหตุนี้ คำสอนของอิสลามจึงมิได้มีบทบาทอยู่ที่การแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้าเท่านั้น ในทางกลับกันอิสลามสอนว่าการแสดงออกของทุกอิริยาบถ ถ้ามีจุดหมายเพื่อพระเจ้า ถือว่าสิ่งนั้นเป็นการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้าอย่างแท้จริง ดังนั้น ไม่ว่ามนุษย์จะประกอบอาชีพการงานใด มีหน้าที่การงานในทางสังคมอย่างไร กำลังพูด หรือกระทำสิ่งใดอยู่ก็ตาม ถ้าเขาตั้งเจตนาแน่วแน่ว่า สิ่งที่ตนกำลังทำนั้นมีเป้าหมายเพื่อพระผู้เป็นเจ้า แน่นอน สิ่งเหล่านั้นถือว่าเป็นการแสดงความเคารพภักดี

ดังนั้น ถ้ามนุษย์พูดในนามของพระเจ้า กระทำการงานทุกสิ่งในนามของพระองค์ เขาจะพูดหรือกระทำสิ่งผิดได้อย่างไร เมื่อมนุษย์ไม่พูดหรือกระทำสิ่งผิดความเห็นแก่ตัว ความอยุติธรรม การฉ้อฉลสิทธิของบุคคลอื่น และบาปก็จะไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงเชื่อว่าศาสนา คือ ชีวิตการเป็นอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก และทุกอิริยาบถที่แสดงออก คือ คำสอนของศาสนา โดยหลักการอิสลามจึงเชื่อว่าศาสนาครอบคลุมอยู่บน 3 หลักการสำคัญ กล่าวคือ ความเชื่อ การปฏิบัติ และจริยธรรม ซึ่งทั้งสามหลักการดังกล่าวมีพื้นฐานวางอยู่บนหลักคำสอนของศาสนาทั้งสิ้น

ดังนั้น นอกจากข้อบังคับที่สำคัญที่สุด 10 ประการ ดังกล่าวไปแล้วอิสลามยังมีข้อบังคับอันเป็นหลักคำสอนด้านการปฏิบัติอื่น ๆ อีก ซึ่งจะขอกล่าวเฉพาะประเด็นหัวข้อเท่านั้นโดยจะไม่ลงไปในรายละเอียด

หลักคำสอนบางประการเกี่ยวกับการปฏิบัติ
บทบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม (ตักลีด)
การตักลีด หมายถึงการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจญ์ตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดในสมัยของตน ซึ่งนักปราชญ์ของอิสลามที่สามารถค้นคว้าหาเหตุผล และวินิจฉัยบทบัญญัติของศาสนาได้เรียกว่า “มุจญ์ตะฮิด” ผู้เป็นตัวแทนโดยทั่วไปของอิมามผู้บริสุทธิ์

บทบัญญัติเกี่ยวกับความสะอาด
อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้่าผู้ทรงเกรียงไกร ไม่ทรงประสงค์ที่จะสร้างความยากลำบาก และความคับแค้นใด ๆ แก่สูเจ้า แต่ทว่าพระองค์ทรงประสงค์ที่จะทำความสะอาดสูเจ้า และประสงค์ให้ความโปรดปรานของพระองค์ที่ประทานให้แก่สูเจ้า เกิดความสมบูรณ์เพื่อสูเจ้าจะได้ขอบคุณพระองค์ (อัล-กุรอาน อัล-มาอิดะฮ์ โองการที่ 6)

1.) ประเภทของน้ำ น้ำบริสุทธิ์และน้ำผสม
* น้ำกุร หมายถึง น้ำที่มีปริมาตรอยู่ในพิกัดกำหนด คือ ประมาณ 377 กก. หรือบรรจุอยู่ในภาชนะที่มีความกว้าง ยาว สูงประมาณ 3.5 คืบ
* น้ำน้อย หมายถึงน้ำที่มีปริมาณน้อยกว่าน้ำกุร
* น้ำไหล เช่น น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หรือลำธาร
* น้ำฝน
* น้ำบ่อ

บทบัญญัติเกี่ยวกับน้ำ
2.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการขับถ่าย
* บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การปัสสาวะ อุจจาระ
* บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การทำความสะอาดหลังปัสสาวะและอุจจาระ
* บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งดีงามและสิ่งน่าเกลียดในเวลาขับถ่าย

3.) สิ่งโสโครกและบทบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งโสโครก
ประเภทของสิ่งโสโครก
1. ปัสสาวะและอุจจาระ ของมนุษย์และสัตว์ทุกประเภทที่ไม่อนุญาตให้บริโภคเนื้อเป็น็นนนนอาหาร และเป็นสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่ง
2. น้ำอสุจิ ของคนและสัตว์ทุกประเภทที่มีเลือดไหลพุ่ง ถึงแม้จะเป็นสัตว์ที่อนุญาตให้บริโภคเนื้อเป็นอาหารก็ตาม
3. เลือด ของมนุษย์และสัตว์ทุกประเภทที่มีเลือดไหลพุ่ง
4. ซากศพ ของคนและสัตว์ทุกประเภทที่มีเลือดไหลพุ่ง
5. สุนัข ที่อาศัยอยู่บนบก ซึ่งอวัยวะทุกส่วนเป็นสิ่งโสโครก
6. สุกร ที่อาศัยอยู่บนบก ซึ่งอวัยวะทุกส่วนเป็นสิ่งโสโครก
7. สุรา และสิ่งมืนเมา ที่เป็นของเหลวทุกชนิด
8. เบียร์ (เครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่สกัดมาจากข้าวบาร์เล่ย์ เป็นส่วนใหญ่)
9. กาฟิร ผู้ปฏิเสธอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้า ศาสดา และหลักคำสอนของอิสลาม
10. สิ่งมืนเมาประเภทเบียร์
11. เหงื่อที่เกิดจากการผิดประเวณี
12. เหงื่อของอูฐที่กินสิ่งโสโครก

บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง วิธีพิสูจน์สิ่งของที่เป็นสิ่งโสโครก
บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง วิธีพิสูจน์สิ่งของที่สะอาดแต่กลายเป็นสิ่งโสโครก
บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งโสโครกทั้งหลาย
4.) สิ่งที่ใช้ทำความสะอาดสิ่งโสโครกทั้งหลาย
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง น้ำที่ใช้ทำความสะอาดสิ่งโสโครก
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง พื้นดินที่ใช้ทำความสะอาดสิ่งโสโครก
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง แสงแดดที่ใช้ทำความสะอาดสิ่งโสโครก
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การเปลี่ยนสภาพของสิ่งโสโครก
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การต้มน้ำองุ่นให้เหลือน้อย 2 ใน 3 ของภาชนะ
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การเคลื่อนย้าย
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การยอมรับอิสลาม
8. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การตาม
9. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การขจัดสิ่งโสโครกต่าง ๆ ให้สะอาด
10. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การกักขังสัตว์ที่กินสิ่งโสโครกก่อนนำไปเชือดเป็นอาหาร
11. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การหายตัวไปของมุสลิม
12. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ภาชนะต่าง ๆ ที่เปื้อนสิ่งโสโครก

5.) วุฎูอ์ หรือการทำความสะอาดก่อนนมาซ
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง วิธีทำความสะอาดก่อนนมาซประเภทจุ่มอวัยวะส่วนที่ต้องทำความสะอาดลงในน้ำ
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง คำขอพรขณะทำความสะอาดก่อนนมาซอันเป็นสิ่งดีงาม
3. เงื่อนไขของการทำความสะอาดก่อนนมาซ
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การทำความสะอาดก่อนนมาซ
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง อวัยวะส่วนที่ต้องทำความสะอาดก่อนนมาซ
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งที่เป็นสาเหตุทำการทำความสะอาดก่อนนมาซโมฆะ
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การทำความสะอาดก่อนนมาซขณะที่อวัยวะที่ต้องทำความสะอาดนั้นมีผ้าพันแผลปิดอยู่ หรือเข้าเฝือกไว้

6.) การอาบน้ำตามศาสนบัญญัติ
บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ประเภทของการอาบน้ำตามศาสนบัญญัติ ซึ่งมีทั้งที่เป็นข้อบังคับ และสมัครใจทำ และการอาบน้ำดังกล่าวมีความแตกต่างกับการอาบน้ำทั่วไปตรงที่ได้กุศลบุญ และเป็นคำสั่งของศาสนา
การอาบน้ำตามศาสนบัญญัติที่เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) ได้แก่
1. การอาบน้ำหลังการร่วมหลับนอนกับภรรยา
2. การอาบน้ำหลังการหมดรอบเดือน
3. การอาบน้ำหลังการหมดโลหิตหลังการคลอดบุตร
4. การอาบน้ำขณะทีระดูดเกินกำหนด
5. การอาบน้ำหลังการสัมผัสคนตายที่ร่างกายเย็นหมดทุกส่วน
6. การอาบน้ำให้คนตายตามศาสนบัญญัติ
7. การอาบน้ำหลังจากที่ได้บนบานไว้

บทบัญญัติเกี่ยวกับการอาบน้ำตามศาสนบัญญัติ
ก. การหลับนอนกับภรรยา
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งต้องห้ามมิให้กระทำหลังการร่วมหลับนอนกับภรรยา เช่น สัมผัสอักษรคัมภีร์อัล-กุรอาน เข้าไปในมัสยิดอัลฮะรอมหรือมัสยิดนบี เข้าไปหยุดในมัสยิดอื่น ๆ นำสิ่งของไปวางในมัสยิด อ่านมหาคัมภีร์อัล-กุรอานบางโองการที่บังคับให้กราบหลังการอ่าน
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งที่น่าเกลียดห้ามมิให้กระทำหลังการร่วมหลับนอนกับภรรยา เช่น กินหรือดื่ม นอนหลับ ทาน้ำมัน อ่านคัมภีร์เกิน 7 โองการ สัมผัสคำอธิบายคัมภีร์ ฯลฯ
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การอาบน้ำตามขั้นตอนโดยเริ่มที่ศีรษะ ซีกขวา และซีกซ้าย
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การอาบน้ำโดยลงไปในน้ำ
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การอาบน้ำตามศาสนบัญญัติ

บทบัญญัติเกี่ยวกับเกี่ยวกับการอาบน้ำตามศาสนบัญญัติสำหรับสตรี
ข. ระดูเกินกำหนด
1. ลักษณะของระดูเกินกำหนด
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการมีระดูเกินกำหนด
ค. ระดูหรือรอบเดือน
1. ลักษณะของระดูและบทบัญญัติเกี่ยวกับระดู
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ของระดู
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรือง ประเภทของรอบเดือน
4. บทบัญญัติต่าง ๆ เกี่ยวกับรอบเดือน
ง. โลหิตหลังการคลอดบุตร

จ. การอาบผู้เสียชีวิตและบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การอาบน้ำเมื่อสัมผัสคนตาย
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง บุคคลใกล้สิ้นใจ
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง หลังการสิ้นใจ
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การอาบน้ำให้คนเสียชีวิต
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การห่อศพ
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การใส่พิมเสน
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การนมาซให้คนเสียชีวิต
8. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งดีงามเกี่ยวกับนมาซให้คนเสียชีวิต
9. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การฝังผู้เสียชีวิติ
10. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งดีงามเกี่ยวกับการฝังคนเสียชีวิต
11. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง นมาซให้ผู้เสียชีวิตในคืนแรกของการฝังศพ
12. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การขุดศพ

7.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการ ตะยัมมุม
หากสูเจ้าป่วยไข้หรืออยู่ระหว่างเดินทางหรือคนใดในหมู่สูเจ้ามาจากที่ถ่ายทุกข์ หรือสูเจ้าได้ร่วมประเวณีกับผู้หญิง แล้วสูพวกเจ้าหาน้ำไม่ได้ ฉะนั้น จงตะยัมมุมด้วยดินที่สะอาด ดังนั้น จงเช็ดใบหน้าของสูเจ้า และมือทั้งสองของสูเจ้า (อัล-กุรอาน บทอัล-มาอิดะฮฺ โองการที่ 6)

ก. บทบัญญัติว่าด้วยการ ตะยัมมุมเพื่อทดแทนการอาบน้ำตามหลักศาสนา หรือการทำความสะอาดก่อนนมาซเนื่องจากว่า
1. เมื่อใดก็ตาม ที่ไม่มีน้ำ และไม่สามารถหาน้ำได้
2. เกรงว่าน้ำอาจเป็นอันตรายกับตัวเอง (เช่นใช้น้ำแล้วอาจทำให้ไม่สบาย)
3. ถ้าใช้น้ำอาบน้ำหรือทำความสะอาดก่อนนมาซ เกรงว่าตัวเองหรือครอบครัว เพื่อน คนสนิทอาจพบกับความกระหายจนถึงขั้นเสียชีวิต หรือไม่สบายได้ เป็นข้อบังคับต้องปกป้องชีวิตคน ซึ่งความกระหายถึงขั้นที่ว่าถ้าไม่ให้น้ำดื่มต้องตายแน่นอน หรือแม้แต่ชีวิตสัตว์เลี้ยงของตนก็ตาม
4. ร่างกายและเสื้อผ้าเปื้อนสิ่งโสโครก และน้ำมีแค่ทำความสะอาดร่างกายกับเสื้อผ้าเท่านั้น ประกอบกับเสื้อผ้าตัวอื่นไม่มี
5. ไม่มีเวลาพอที่จะอาบน้ำหรือทำความสะอาดก่อนนมาซ
6. การใช้น้ำ หรือภาชนไม่อนุมัติสำหรับตน เช่น เป็นสิ่งที่ขโมยมา

ข. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งของที่ตะยัมมุมลงบนนั้นแล้วถูกต้อง
ค. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง วิธีการตะยัมมุม

8.) บทบัญญัติเกี่ยวกับนมาซ
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ความสำคัญของนมาซ
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง นมาซภาคบังคับต่าง ๆ
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง นมาซภาคบังคับประจำวัน
8.1) เวลานมาซและบทบัญญัติของเวลา
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เวลานมาซซุฮริและอัซริ
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เวลานมาซมัฆริบและอิชาอ์
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เวลานมาซซุบฮิ
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง กฎเกณฑ์ของเวลานมาซ
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ลำดับของนมาซที่ต้องกระทำตามลำดับ
8.2) บัญญัติเกี่ยวกับนมาซมุซตะฮับ
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การปฏิบัตินมาซมุซตะฮับ
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เวลาของนมาซมุซตะฮับประจำวัน
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง นมาซฆิฟัยละฮ์
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง กิบละฮฺทิศทางที่ต้องหันไปสู่
8.3) บทบัญญัติเกี่ยวกับร่างกายและเสื้อผ้าของผู้นมาซ
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การปกปิดร่างกายในนมาซ
8.4) บทบัญญัติเกี่ยวกับเงื่อนไขของเสื้อผ้า
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เสื้อผ้าต้องสะอาด
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เสื้อผ้าต้องได้รับอนุญาต
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เสื้อผ้าต้องไม่ทำมาจากชิ้นส่วนของซากศพ
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เสื้อผ้าต้องไม่มาจากสัตว์ที่ห้ามบริโภคเนื้อ
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เสื้อผ้าต้องไม่ทำมาจากผ้าตาดทอง หรือเงิน
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง บางส่วนของร่างกายไม่จำเป็นต้องปกปิดขณะนมาซ
8.5) บทบัญญัติเกี่ยวกับสถานที่นมาซ
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของสถานที่นมาซ
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สถานที่ดีซึ่งสนับสนุนให้นมาซบนนั้น
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สถานที่ไม่ดีไม่สนับสนุนให้นมาซบนนั้น
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง กฎเกณฑ์ของมัสยิด
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การบอกเวลานมาซและการอิกอมะฮฺ
8.6) บทบัญญัติอันเป็นข้อบังคับในนมาซ
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การตั้งเจตนานมาซ
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การตักบีเราะตุลอิฮฺรอม
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การยืนนมาซ
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การกล่าวคำพูดในนมาซ
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การโค้งคารวะในนมาซ
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การกราบในนมาซ
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งที่อนุญาตให้กราบลงบนนั้น
8. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนขณะกราบ
9. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การกราบอันเป็นข้อบังคับของอัล-กุรอาน
10. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การกล่าวยืนยันในนมาซ
11. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การกล่าวสลามในนมาซ
12. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ลำดับขั้นตอนของนมาซ
13. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ความต่อเนื่องของนมาซ
14. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การขอพรขณะนมาซ
8.7) บทบัญญัติเกี่ยวกับการวิงวอนหลังนมาซ
8.8) บทบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้นมาซโมฆะ
8.9) บทบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งที่น่าเกลียดในนมาซ
8.10) บทบัญญัติเกี่ยวกับความสงสัยในนมาซ
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ความสงสัยที่ถูกต้อง
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ความสงสัยที่ไม่ต้องใส่ใจ
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ความสงสัยที่ถูกต้อง
8.11) บทบัญญัติเกี่ยวกับนมาซเดินทาง
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของการเดินทาง
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ปัญหาต่าง ๆ ของนมาซ
8.12) บทบัญญัติเกี่ยวกับการชดเชยนมาซ
8.13) บทบัญญัติเกี่ยวกับการนมาซร่วมกัน
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง นมาซร่วมกัน
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ผู้นำนมาซร่วมกัน
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของการนมาซร่วมกัน
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งดีงามในการนมาซร่วมกัน
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งที่น่าเกลียดในการนมาซร่วมกัน
8.14) บทบัญญัติเกี่ยวกับนมาซอายาต
8.15) บทบัญญัติเกี่ยวกับคำสั่งนมาซอายาต
8.16) บทบัญญัติเกี่ยวกับนมาซอีดฟิฏร์ และอีดอัฎฮา
8.17) บทบัญญัติเกี่ยวกับการจ้างนมาซแทนผู้เสียชีวิต
9.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอด
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของการถือศีลอด
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การตั้งเจตนานในการถือศีลอด
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดโมฆะ มีทั้งสิ้น 9 สิ่ง
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดโมฆะ
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง สิ่งที่น่าเกลียดสำหรับผู้ถือศีลอด
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การบังคับให้ชดเชยและจ่ายค่าปรับสำหรับศีลอด
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การจ่ายค่าปรับสำหรับศีลอด
8. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การชดเชยศีลอดเพียงอย่างเดียว
9. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง กฎเกณฑ์ของการชดเชยศีลอด
10. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การถือศีลอดเดินทาง
11. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง บุคคลที่ได้รับการละเว้นไม่ต้องถือศีลอด
12. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การพิสูจน์วันแรกของเดือน
13. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ศีลอดที่ไม่อนุมัติและศีลอดที่น่าเกลียด
14. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ศีลอดสมัครใจและสนับสนุนให้ถือ
15. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การถืออดสำหรับผู้ที่ไม่ได้ถือศีลอด
10.) บทบัญญัติเกี่ยวกับการจ่ายค่มซ์
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ผลประโยชน์ที่หามาได้
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง แร่ธาตุต่าง ๆ
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง กรุสมบัติต่าง ๆ
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ทรัพย์สินที่อนุมัติผสมกับทรัพย์สินที่ไม่อนุมัติ
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การนำทรัพย์สินขึ้นมาจากท้องทะเล
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ทรัพย์สงคราม
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง พื้นดินที่ผู้ปฏิเสธอาศัยอยู่ในประเทศมุสลิมซื้อจากมุสลิม
8. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ผู้ที่สิทธิ์รับค่มซ์
11.) บทบัญญัติเกี่ยวกับทานบังคับ
1. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขที่เป็นข้อบังคับสำหรับทานบังคับ
2. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ทานบังคับที่เป็นข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ อินทผลัม และองุ่นแห้ง
3. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ขั้นกำหนดของทองคำ
4. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ขั้นกำหนดของเงิน
5. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ทานบังคับที่เป็นอูฐ วัว และแกะ
6. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ขั้นกำหนดของอูฐ
7. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ขั้นกำหนดของวัว
8. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ขั้นกำหนดของแกะ
9. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ผู้มีสิทธิ์รับทานบังคับ
10. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขของผู้มีสิทธิ์รับทานบังคับ
11. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การตั้งเจตนาในการบริจาคทานบังคับ
12. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับทานบังคับ
13. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ทานบังคับอัลฟิฏเราะฮ์
14. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ผู้มีสิทธิ์รับทานบังคับอัลฟิฏเราะฮ์
15. บทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับทานบังคับฟิฏเราะฮ์
12.) บทบัญญัติเกี่ยวกับหัจญ์


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
กำเนิดจักรวาล
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ทำไมเราต้องทำนมาซด้วย?
น้ำผึ้งในอัลกุรอานและฮะดีษ
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความเป็นพี่น้องในอิสลาม
คุตบะฮ์ชะอ์บานียะฮ์ ...
อาลัมบัรซัค ...
มหัศจรรย์ 7 ประการของศาสดาอีซา ...

 
user comment