ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

บทบาทของการรอคอยอิมามมะฮ์ดี (อ.) ที่มีต่อชีวิตของมนุษย์

บทบาทของการรอคอยอิมามมะฮ์ดี (อ.) ที่มีต่อชีวิตของมนุษย์ ] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า
บทบาทของการรอคอยอิมามมะฮ์ดี (อ.) ที่มีต่อชีวิตของมนุษย์

บทบาทของการรอคอยอิมามมะฮ์ดี (อ.) ที่มีต่อชีวิตของมนุษย์

 

]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า

 

اَلْمُنْتَظِرُ لاَمْرِنا کَالْمُتَشَحِطِّ بِدَمِه فى سَبیلِ اللهِ

 

"ผู้ที่รอคอยกิจการ (การปรากฏตัวของมะฮ์ดี) ของเรานั้น ประดุจดังผู้ที่เปื้อนไปด้วยเลือด (ในการต่อสู้) ในหนทางของ

อัลลอฮ์" (1)

 

สองการอรรถาธิบายที่สามารถกล่าวถึงได้ เกี่ยวกับริวายะฮ์ (คำรายงาน) นี้ โดยไม่มีความขัดแย้งต่อกัน นั่นคือ

 

1. ผู้ที่รอคอยการปรากฏตัว (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) พวกเขาจะกระทำสิ่งต่างๆ ที่ผลของมันจะมีความเท่าเทียมกับญิฮาด (การต่อสู้) ในทางของพระผู้เป็นเจ้า ดังเช่นที่ท่านอิมามอลี (อ.) ได้กล่าวว่า "ญิฮาด (การต่อสู้) นั้นจะนำไปสู่ความยิ่งใหญ่ ความสูงส่งและศักดิ์ศรีของศาสนา ชัยชนะของสัจธรรมและความยุติธรรม" (2)

 

ผลของการรอคอยของบรรดาผู้รอคอยที่แท้จริงก็เช่นเดียวกันนี้ มันคือการรอคอยที่ดำเนินไปภายใต้การขัดเกลาตน การนำเอาตามบทบัญญัติต่างๆ ของอิสลามมาปฏิบัติ และการทำให้เสียงเรียงร้องของศาสนาดังไปถึงยังจุดต่างๆ อันไกลโพ้นของโลก โดยอาศัยการใช้ประโยชน์จากปากกา การพูดและเครื่องมือทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 

คำถาม : เราจะเป็นผู้รอคอยแบบใด?

 

คำตอบ : ผู้รอคอยบางคน เพียงแค่กล่าวซ้ำๆ ประโยคที่ว่า "โอ้ท่านอิมาม! โปรดรีบเร่งการปรากฏตัวของท่านเถิด” เพียงแค่นี้พวกเขาก็คิดว่าตนเองเป็นผู้รอคอยแล้ว! บางคนสรุปการรอคอยไว้แค่การอ่านดุอาอ์ “นุดบะฮ์”  การอ่านซิยาเราะฮ์ “อาลิยาซีน” และอื่นๆ ในทำนองเพียงเท่านี้ นอกเหนือไปจากนี้ บางคนก็จะไปยังมัสยิดญัมการอนอันศักดิ์สิทธิ์ และคิดว่าสิ่งนี้ก็เพียงพอแล้ว!

 

การอรรถาธิบายต่างๆ เกี่ยวกับ “การรอคอย” (อินติซ๊อร) ในลักษณะเช่นนี้ เป็นเหตุทำให้เมื่อเราพิจารณาคำรายงาน (ริวายะฮ์) ต่างๆ ที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ จะทำให้เรารู้สึกประหลาดใจ และถามตัวเองว่า "เป็นไปได้อย่างไรที่ผลรางวัลของการอ่านดุอาอ์เพียงบทหนึ่งจะเทียบเท่ากับความอุตสาห์พยายามของมุญาฮิด (นักต่อสู้) ที่เกลือกกลิ้งอยู่บนกองเลือดของตนเอง!" แต่หากเราอรรถาธิบาย “การรอคอย” (อินติซ๊อร) ว่า มันคือ การเตรียมพร้อมของประชาคมโลก สำหรับการปรากฏตัว (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) แล้ว การรอคอยนี้จะเทียบเท่ากับญิฮาด (การต่อสู้) ยิ่งไปกว่านั้น บางทีอาจจะมีมิติต่างๆ ที่กว้างขวางกว่า!

 

2. มิติด้านนอกของการรอคอย ก็คือ การอรรถาธิบายแบบแรกนั้นเอง แต่มิติด้านในของการรอคอย (อินติซ๊อร) นั้นคือ การต่อสู้กับจิตใจและอารมณ์ใฝ่ต่ำ เราจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างและเตรียมพร้อมตัวเอง เนื่องจากท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) คือผู้ที่จะมาสถาปนาความยุติธรรม หากตัวเราเป็นผู้อธรรมแล้วเราจะสามารถเป็นผู้รอคอยท่านได้อย่างไรกัน? ท่านคือผู้สะอาดบริสุทธิ์ แต่ถ้าหากเราเป็นผู้ที่แปดเปื้อน แล้วเราจะกล่าวอ้างตนว่าเป็นผู้รอคอยการปรากฏตัว (ซุฮูร) ของท่านได้อย่างไร?

 

ดังนั้นการรอคอยที่แท้จริงนี้จะเป็นจริงขึ้นมาได้ก็จำเป็นที่เราจะต้องทำการต่อสู้กับตัวเอง และเราจะต้องสร้างเสริมตัวเองจนถึงขั้นที่เราจะคู่ควรต่อการเป็นทหารของท่านอิมาม (อ.) แน่นอนยิ่งว่าญิฮาด (การต่อสู้) กับตัวเองนั้นมีความยากลำบากกว่าญิฮาด (การต่อสู้) กับศัตรูหลายเท่านัก ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองในฮะดีษ (วจนะ) ที่มีชื่อเสียงบทหนึ่ง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) จึงได้กล่าวกับบรรดามุสลิมที่เดินทางกลับมาจากสงครามที่หนักหน่วงว่า

 

مَرْحَباً بِقَوْم قَضَوْا اَلْجِهادَ الاَصْغَرَ وَ بَقِىَ عَلَیْهِمُ الْجِهادُ الاَکْبَرَ،

قالُوا: وَ مَا الْجِهادُ الاَکْبَرُ؟ قالَ: اَلْجِهادُ مَعَ النَّفْسِ

 

“ยินดีต้อนรับหมู่ชนที่ได้เสร็จสิ้นจากการต่อสู้เล็ก (ญิฮาด อัซฆัร) และยังคงเหลือการต่อสู้ใหญ่ (ญิฮาด อักบัร) สำหรับพวกเขา” ประชาชนได้กล่าวว่า “การต่อสู้ใหญ่ (ญิฮาด อักบัร) นั้นคืออะไร?” ท่านกล่าวว่า “การต่อสู้กับตัวเอง” (3)

 

บทสรุปในที่นี้ก็คือ “การรอคอย” (อินติซอร) อิมามมะฮ์ดี (อ.) จำเป็นจะต้องอรรถาธิบายให้ประชาชนได้รับรู้ทั้งมิติด้านนอกและมิติด้านในของมัน เพื่อไม่ให้การรอคอยนั้นกลายเป็นสิ่งที่ไร้คุณค่าและเนื้อหา และถูกสรุปไว้แต่เพียงในขอบเขตของการวิงวอนขอดุอาอ์เพียงเท่านั้น หากเรากำลังรอคอยแขกผู้มีเกียรติคนหนึ่ง เราควรจะทำอะไรบ้าง? แน่นอน เราจะทำความสะอาดทั้งร่างกายของตัวเราและจัดเตรียมบ้านของเราให้อยู่ในสภาพที่เป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วบรรดาผู้ที่รอคอยการมาของท่านอิมามซะมาน (อ.ญ.) ไม่จำเป็นสำหรับพวกเขาหรือที่จะต้องตระเตรียมความพร้อมบ้านเรือนของตนเอง?!

 

เชิงอรรถ :

(1) บิฮารุลอันวาร เล่ม 10 หน้า 104

(2) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ กะลิมาตุลกิซอร เล่ม 252

(3) มีซานุลฮิกมะฮ์ หมวดที่ 586 ฮะดีษที่ 2741 (เล่มที่ 2 หน้า 140)

 

ขอขอบคุณ เว็บไซต์ซอฮิบซะมาน


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ผู้ป่วยแห่งกัรบาลาอฺ (ตอนที่2)
อิมามริฎอ คือ ผู้ค้ำประกันกวาง
ทำไมต้องนมาซ?!
วจนะอิมามมะฮ์ดี
วันประสูติอิมามฮุเซน
ฮิญาบในอิสลาม
เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 1
...
...
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...

 
user comment