ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

ชีวิตคู่ในอิสลาม

ครอบครัว คือหน่วยพื้นฐานของสังคมและอารยธรรม ที่ปัจจุบันนี้กำลังเกิดความแตกแยกขึ้นอย่างมากมาย ระบบของครอบครัวแบบอิสลามนำมาซึ่งสิทธิของสามี ภรรยา ลูกๆ และญาติพี่น้องอย่างสมดุลมั่นคง เป็นการหล่อเลี้ยงอุปนิสัยที่ไม่เห็นแก่ตัว มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความรัก ให้อยู่ในขอบข่ายของระบบครอบครัวที่ถูกวางโครงสร้างไว้เป็นอย่างดี ความสงบสุขและมั่นคงปลอดภัยที่


      ครอบครัว คือหน่วยพื้นฐานของสังคมและอารยธรรม ที่ปัจจุบันนี้กำลังเกิดความแตกแยกขึ้นอย่างมากมาย ระบบของครอบครัวแบบอิสลามนำมาซึ่งสิทธิของสามี ภรรยา ลูกๆ และญาติพี่น้องอย่างสมดุลมั่นคง เป็นการหล่อเลี้ยงอุปนิสัยที่ไม่เห็นแก่ตัว มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความรัก ให้อยู่ในขอบข่ายของระบบครอบครัวที่ถูกวางโครงสร้างไว้เป็นอย่างดี ความสงบสุขและมั่นคงปลอดภัยที่มาจากหน่วยของครอบครัวที่มั่นคงนั้นมีคุณค่าอย่างใหญ่หลวง และถือว่าเป็นแก่นสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณของสมาชิกภายในครอบครัวอีกด้วย ระเบียบของสังคมที่มีความปรองดองกันนั้นสร้างขึ้นมาจากการขยายของครอบครัวและด้วยการเห็นคุณค่าของเด็กๆ

 
 
การแต่งงานและชีวิตครอบครัว

 
 
ลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของสังคมแบบอิสลามคือการแต่งงานการสร้างครอบครัว อิสลามสนับสนุนให้มีการแต่งงานและหลีกเลี่ยงการครองตัวเป็นโสด ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) ได้กล่าวไว้ว่า “คนที่แต่งงานแล้วเท่ากับได้ทำให้ศาสนาของเขาสมบูรณ์ไปแล้วครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งที่เหลือนั้นคือเขาต้องมีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ” และท่าน(ศ.) ยังได้กล่าวอีกว่า “ผู้ที่ปรารถนาจะมีความสะอาดบริสุทธิ์เมื่อเขาได้พบกับอัลลอฮฺนั้น เขาควรจะแต่งงานและมีคู่ครอง”

 
 
อัล-กุรอานได้อธิบายถึงการร่วมชีวิตระหว่างชายและหญิงไว้ดังนี้ :

 
 
“และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ พระองค์ทรงสร้างคู่ครองให้แก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุขสงบอยู่กับนาง และทรงให้มีความรักใคร่และความเมตตาระหว่างพวกเจ้า แท้จริง ในการนี้ ย่อมเป็นสัญญาณแก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ” (อัล-กุรอาน 30/21)
 

 
จากโองการนี้เราจะพบว่ามีสิ่งสำคัญสามประการเพื่อการแต่งงานที่ประสบผลสำเร็จ ประการแรกก็คือ เป็นที่พักพิงทางสังคมและทางอารมณ์ (“จะได้มีความสุขสงบอยู่กับนาง”) ซึ่งสามีและภรรยาจะพบกับความมั่นคงและความปลอดภัยทางการเงิน จิตวิญญาณ อารมณ์ และการอยู่ร่วมในสังคม ประการที่สองคือ ความรักระหว่างคู่ครอง การแต่งงานที่ไม่มีพื้นฐานของความรักมักจะเกิดความล้มเหลวได้ทุกเมื่อ และประการที่สามคือ ความเมตตาระหว่างคู่ครอง ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจ การเห็นคุณค่า การเคารพ และการเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน

 
 
การหย่าร้าง

 
 
ถึงแม้อิสลามจะไม่สนับสนุนการหย่าร้าง แต่ก็เป็นที่อนุญาตเพื่อเปิดทางให้แก่การแต่งงานที่ล้มเหลว ซึ่งไม่มีทางที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นได้อีก อัลลอฮฺไม่ทรงประสงค์ให้สามีภรรยาต้องอยู่ในความทุกข์ทรมานและทนอยู่กับความเสียหายทางอารมณ์ ร่างกาย และการเงิน ดังนั้นพระองค์จึงประทานบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการหย่าร้างไว้ในโองการอัล-กุรอานด้วยเช่นกัน ในบทชื่อ “การหย่าร้าง” (อัฏ-ฏอลาก)

 
 
แต่อิสลามสนับสนุนให้มีการกลับมาคืนดีกันระหว่างคู่ครอง และสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนของทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบในการช่วยเหลือพวกเขาในการกลับมาคืนดีกันอย่างสุดความสามารถ เมื่อไม่มีทางจะอยู่ด้วยกันได้อีกอย่างแน่นอน ในที่สุดจึงค่อยมีการหย่าร้าง และภายหลังการหย่าร้างแล้ว ก็ยังต้องมีระยะเวลาในการรอคอยสำหรับผู้หญิง เพื่อพิจารณาตัดสินใจในเรื่องชีวิตของพวกเขาและชะตากรรมของลูกๆ สามีภรรยาที่หย่าร้างกันส่วนใหญ่จะกลับมาคืนดีกันในระหว่างระยะเวลาในการรอคอยนี้ แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายต่างก็แสดงออกว่าไม่มีความสนใจจะกลับมาคืนดีกันในระหว่างระยะเวลาคอยคอยนั้น ก็ให้ถือว่าการหย่าร้างสมบูรณ์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ฆอดีรคุม ...
ชีวิตคู่ในอิสลาม
...
ฟะดักในประวัติศาสตร์อิสลาม
...
วันสำคัญในเดือนรอบีอุลเอาวัล
อรรถาธิบายซูเราะฮ์ อัลฆอชิยะฮ์
ท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...

 
user comment