ไทยแลนด์
Tuesday 24th of December 2024
0
نفر 0

อรรถาธิบายซูเราะฮ์ อัลฆอชิยะฮ์

อรรถาธิบายซูเราะฮ์ อัลฆอชิยะฮ์


ซูเราะฮ์(บท)อัล-ฆอชิยะฮ์

 

เนื้อหาโดยรวมของซูเราะฮ์


ซูเราะฮ์นี้ถูกประทานที่มักกะฮ์ มีทั้งหมด 26 โองการ ซึ่งโดยหลักแล้วจะกล่าวถึงสามเนื้อหาหลักดังนี้
1. เรื่องของการฟื้นคืนชีพ โดยเฉพาะการลงโทษที่เจ็บปวดของคนทำความผิดบาป และรางวัลที่น่าปราบปลื้มและตื้นตันของบรรดาผู้ศรัทธา
2. เรื่องของเอกานุภาพ โดยชี้ให้เห็นถึงการสร้างชั้นฟ้า ภูเขา แผ่นดินและให้มนุษย์พินิจในสามประเด็นนี้
3.เรื่องของตำแหน่งศาสดา และเสี้ยวหนึ่งจากภารกิจต่างๆ ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งโดยรวมแล้วจะมุ่งสู่เป้าหมายของซูเราะฮ์มักกียะฮ์ที่เป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของศรัทธาและความเชื่อ

 

ความประเสริฐในการอ่านซูเราะฮ์นี้


มีฮะดีษบทหนึ่งจากท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ว่า “ใครก็ตามที่อ่านซูเราะฮ์นี้ พระผู้เป็นเจ้าจะทำให้การคิดบัญชีของเขาง่ายยิ่งขึ้นในวันกิยามะฮ์ (วันแห่งการตัดสิน)” (1)
มีฮะดีษอีกบทหนึ่งจากอิมามซอดิก (อ.) ว่า “ใครก็ตามที่อ่านซูเราะฮ์นี้เป็นประจำในนมาซต่าง ๆ ที่เป็นวาญิบและมุสตะฮับ พระผู้เป็นเจ้าจะทรงให้เขาอยู่ภายใต้ความเมตตาของพระองค์ทั้งในโลกนี้และอาคิเราะฮ์ และจะให้เขาปลอดภัยจากไฟนรกในวันกิยามะฮ์” (2)

 

بِسْمِ اللَّـهِ الرَّحْمَـٰنِ الرَّحِيمِ
هَلْ أَتَاكَ حَدِيثُ الْغَاشِيَةِ ﴿١﴾ وُجُوهٌ يَوْمَئِذٍ خَاشِعَةٌ ﴿٢﴾ عَامِلَةٌ نَّاصِبَةٌ ﴿٣﴾ تَصْلَىٰ نَارًا حَامِيَةً ﴿٤﴾ تُسْقَىٰ مِنْ عَيْنٍ آنِيَةٍ ﴿٥﴾ لَّيْسَ لَهُمْ طَعَامٌ إِلَّا مِن ضَرِيعٍ ﴿٦﴾ لَّا يُسْمِنُ وَلَا يُغْنِي مِن جُوعٍ ﴿٧﴾ وُجُوهٌ يَوْمَئِذٍ نَّاعِمَةٌ ﴿٨﴾ لِّسَعْيِهَا رَاضِيَةٌ ﴿٩﴾ فِي جَنَّةٍ عَالِيَةٍ ﴿١٠﴾ لَّا تَسْمَعُ فِيهَا لَاغِيَةً ﴿١١﴾ فِيهَا عَيْنٌ جَارِيَةٌ ﴿١٢﴾ فِيهَا سُرُرٌ مَّرْفُوعَةٌ ﴿١٣﴾ وَأَكْوَابٌ مَّوْضُوعَةٌ ﴿١٤﴾ وَنَمَارِقُ مَصْفُوفَةٌ ﴿١٥﴾ وَزَرَابِيُّ مَبْثُوثَةٌ ﴿١٦﴾ أَفَلَا يَنظُرُونَ إِلَى الْإِبِلِ كَيْفَ خُلِقَتْ ﴿١٧﴾ وَإِلَى السَّمَاءِ كَيْفَ رُفِعَتْ ﴿١٨﴾ وَإِلَى الْجِبَالِ كَيْفَ نُصِبَتْ ﴿١٩﴾ وَإِلَى الْأَرْضِ كَيْفَ سُطِحَتْ ﴿٢٠﴾ فَذَكِّرْ إِنَّمَا أَنتَ مُذَكِّرٌ ﴿٢١﴾ لَّسْتَ عَلَيْهِم بِمُصَيْطِرٍ ﴿٢٢﴾ إِلَّا مَن تَوَلَّىٰ وَكَفَرَ ﴿٢٣﴾ فَيُعَذِّبُهُ اللَّـهُ الْعَذَابَ الْأَكْبَرَ ﴿٢٤﴾ إِنَّ إِلَيْنَا إِيَابَهُمْ ﴿٢٥﴾ ثُمَّ إِنَّ عَلَيْنَا حِسَابَهُم ﴿٢٦

 

คำแปล


ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณา ผู้ทรงเมตตาเสมอ


1. ข่าวคราวของฆอชียะฮ์ (วันกิยามะฮ์ที่เหตุการณ์แห่งความรุนแรงได้ปกคลุมไปทั่ว) ได้มายังเจ้าแล้วมิใช่หรือ?
2. ในวันนั้นมีหลายใบหน้าที่ต่ำต้อย
3. ใบหน้าที่ตรากตราระกำใจ
4. เข้าไปเผาไหม้ในไฟอันร้อนแรง
5. จะถูกให้ดื่มจากน้าพุที่ร้อนจัด
6. ไม่มีอาหารอื่น นอกจากฎอเรี้ยะอ์ (ต้นหนามแห้ง ขมและกลิ่นเหม็น)
7. มันจะไม่ทำให้อ้วน และไม่ทำให้หายหิว
8. ในวันนั้นมีหลายใบหน้าที่เบิกบาน
9. พึงพอใจเพราะความพากเพียรของพวกเขา
10. อยู่ในสวนสวรรค์อันสูงส่ง
11. จะไม่ได้ยินเรื่องไร้สาระในนั้น
12. ในนั้นมีตาน้าไหลริน
13. ในนั้นมีเตียงที่ถูกยกไว้สูงเด่น
14. และมีแก้วน้าถูกวางไว้
15. และมีหมอนอิงถูกเรียงไว้เป็นแถว
16. และมีพรมอย่างดีเลิศถูกปูไว้
17. พวกเขาไม่พิจารณาดูอูฐหรอกหรือว่า มันถูกสร้างมาอย่างไร ?
18. และยังท้องฟ้าบ้างหรือว่ามันถูกยกให้สูงขึ้นอย่างไร ?
19. และยังภูเขาบ้างหรือว่า มันถูกปักตั้งไว้อย่างไร ?
20. และยังแผ่นดินบ้างหรือว่ามันถูกแผ่ลาดไว้อย่างไร ?
21. ดังนั้นจงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น
22. เจ้ามิใช่ผู้มีอานาจเหนือพวกเขา
23. นอกจากผู้ที่ผินหลังให้และปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น
24. อัลลอฮ์จะทรงลงโทษเขาซึ่งการลงโทษอันมหันต์
25. แท้จริง ยังเราเท่านั้นคือการคืนกลับของพวกเขา
26. แล้วก็แท้จริง หน้าที่ของเรานั้นคือ การสอบสวนพวกเขา


คำอรรถาธิบาย


ใบหน้าที่ตรากตา ระกำใจ


ในเริ่มต้นของซูเราะฮ์นี้ เราจะเจอชื่อใหม่ของวันกิยามะฮ์ นั่นก็คือ ฆอชียะฮ์ เอกองค์อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงตรัสว่า “ข่าวคราวของฆอชียะฮ์ (วันกิยามะฮ์ที่เหตุการณ์แห่งความรุนแรงได้ปกคลุมไปทั่ว) ได้มายังเจ้าแล้วมิใช่หรือ ?” การเลือกชื่อนี้สำหรับวันกิยามะฮ์ นั่นก็เนื่องจากว่า เหตุการณ์ที่น่ากลัวได้ปกคลุมทั่วทุกที่อย่างฉับพลัน โดยผิวเผินแล้วคู่สนทนาในโองการนี้คือท่านศาสดา(ศ็อลฯ) และการกล่าวประโยคนี้ในลักษณะเป็นคาถามแก่ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)เพื่อบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่และความสาคัญของวันนั้น ต่อมาอธิบายถึงสภาพของบรรดาผู้ทาบาปว่า “ในวันนั้นมีหลายใบหน้าที่ต่าต้อย” อัปยศและกลัวการลงโทษที่รุนแรงในวันนั้นซึ่งได้ห้อมล้อมเขาไว้ทั้งหมด และเนื่องจากสภาพทางจิตของมนุษย์จะสะท้อนให้เห็นทางใบหน้ามากที่สุด ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความกลัว ความอัปยศที่ปกคลุมทั่วใบหน้าของเขา แล้วตรัสต่อว่า “ใบหน้าที่ตรากตรา ระกาใจ” เขาได้เพียรพยายามอย่างมากมายในการใช้ชีวิตบนโลกนี้ แต่มันไม่มีประโยชน์อันใดเลยนอกจากความเหน็ดเหนื่อย ไม่มีการงานใดที่เป็นที่ยอมรับ ณ อัลลอฮ์ (ซบ.) และแล้วเขาก็ต้อง “เข้าไปเผาไหม้ในไฟอันร้อนแรง” ทว่าการลงโทษพวกเขาไม่ได้จบลงเพียงแค่นี้ เขาจะมีความหิวกระหายเนื่องจากความร้อนระอุของไฟ แต่เขาจะถูกดับกระหายด้วยน้าพุที่ร้อนจัด“จะถูกให้ดื่มจากน้าพุที่ร้อนจัด” เป็นน้าเดือดที่ความร้อนของมันถึงจุดเดือดแล้ว โองการต่อมากล่าวถึงอาหารของพวกเขาเมื่อเกิดความหิวว่า “ไม่มีอาหารอื่นนอกจากฎอเรี้ยะอ์ (ต้นหนามแห้ง ขมและกลิ่นเหม็น)” แล้วตรัสต่อว่า “มันจะไม่ทาให้อ้วน และไม่ทาให้หายหิว” แน่นอนอาหารเช่นนี้มันไม่ได้เสริมสร้างต่อร่างกายและทาดับความหิวได้ เป็นอาหารที่บาดคอซึ่งเป็นการลงโทษอย่างหนึ่ง ทว่าตามที่เราได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งว่า เราที่ถูกขังอยู่ในโลกแห่งวัตถุนี้ไม่สามารถที่จะอธิบายถึงคุณลักษณะของความโปรดปรานต่าง ๆ แห่งสวรรค์ และการลงโทษต่าง ๆ ในนรกได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่ให้เราเห็นลางๆจากไกลๆ

 

สาระศึกษา


มีฮะดีษบทหนึ่งจากท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ว่า “ (ฎอเรี้ยะอ์ คือสิ่งหนึ่ง ที่อยู่ในไฟนรก คล้ายกับหนาม ขมยิ่งกว่าตะบองเพชร น่าขยะแขยงยิ่งกว่าซากศพ และร้อนระอุยิ่งกว่าไฟ พระผู้เป็นเจ้าเรียกสิ่งนั้นว่า ฎอเรี้ยะอ์”3


คำอรรถาธิบาย


ในวันนั้นมีหลายใบหน้าที่เบิกบาน


โองการต่าง ๆ นี้อธิบายถึงสภาพของบรรดาผู้ศรัทธาที่ประพฤติความดีงาม และอธิบายถึงคุณลักษณะของความโปรดปรานต่าง ๆ ที่ไม่มีสิ่งใดเหมือนแห่งสวรรค์ เพื่อให้การตักเตือนได้ควบคู่ไปกับการแจ้งข่าวดี ทรงตรัสว่า “ในวันนั้นมีหลายใบหน้าที่เบิกบาน” ตรงกันข้ามกับใบหน้าของผู้ที่ทาบาปที่จมอยู่ในความอัปยศและความทุกข์ เป็นใบหน้าที่อิ่มเอมซึ่ง “พึงพอใจเพราะความพากเพียรของพวกเขา” ตรงกันข้ามกับชาวนรกที่เขาไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากความเพียรพยายามนอกจากความเหน็ดเหนื่อย ต่อมาได้อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า “อยู่ในสวนสวรรค์อันสูงส่ง” อาจเป็นไปได้ที่จะเป็นการชี้ให้เห็นถึงสถานที่ที่สูงส่ง กล่าวคือพวกเขาอยู่ในสวรรค์ชั้นสูงส่ง หรือหมายถึงตาแหน่งที่สูงส่ง ทว่าการอรรถาธิบายที่สองดูจะเหมาะสมกว่า ถึงแม้ว่าเป็นไปได้เช่นกันที่จะหมายรวมถึงความหมายทั้งสอง ต่อมาอธิบายถึงอีกคุณลักษณะหนึ่งของสวรรค์ซึ่งเป็นในด้านของจิตวิญญาณว่า “จะไม่ได้ยินเรื่องไร้สาระในนั้น” ไม่มีทั้งคาพูดที่บ่งบอกถึงความบิดพลิ้ว ความเป็นศัตรู สงคราม การทะเลาะ ความเคียดแค้น ความอิจฉาริษยา การโกหก การใส่ร้าย การนินทาและแม้กระทั่งสิ่งที่ไร้สาระ หลังจากกล่าวถึงความโปรดปรานทางจิตวิญญาณและความสงบ


ก็กล่าวถึงส่วนหนึ่งจากความโปรดปรานต่าง ๆ ทางวัตถุ ทรงตรัสว่า “ในนั้นมีตาน้าไหลริน” เป็นตาน้าที่คล้อยตามต้องการของชาวสวรรค์ มันจะไหลไปในทุก ๆที่ที่พวกเขาต้องการ การมีตาน้าหลากหลายนอกจากจะให้ความสวยงามและความชุ่มชื้นแล้ว ยังประโยชน์นี้อีกคือ แต่ละตาน้ามีเครื่องดื่มที่เฉพาะ ซึ่งชาวสวรรค์จะได้ลิ้มรสในทุก ๆ เวลา เป็นเครื่องดื่มบริสุทธิ์ชนิดต่าง ๆ หลังจากกล่าวถึงตาน้าก็กล่าวถึงเตียงต่าง ๆ ของสวรรค์ว่า “ในนั้นมีเตียงที่ถูกยกไว้สูงเด่น” ความสูงของเตียงนี้เพื่อให้ชาวสวรรค์จะได้มองเห็นรอบ ๆ ตัวเอง และมีความสุขกับการได้มองไปรอบ ๆ นั้น เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากตาน้าและเครื่องดื่มอันบริสุทธิ์ของสวรรค์นั้นจาเป็นต้องมีแก้ว โองการต่อมาจึงกล่าวว่า “และมีแก้วน้าถูกวางไว้” แก้วนั้นจะเต็มไปด้วยตาน้าต่าง ๆ จะถูกหยิบยื่นให้พวกเขาทุกเวลาที่ต้องการ พวกเขาจะดื่มมันใหม่ทุกครั้ง อิ่มเอมและมีความสุขสาราญ เป็นความสุขที่ผู้อาศัยอยู่บนโลกนี้ไม่สามารถที่จะอธิบายถึงคุณลักษณะนั้นได้ ต่อมากล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของความโปรดปรานแห่งสวรรค์มากยิ่งขึ้นว่า “และมีหมอนอิงถูกเรียงไว้เป็นแถว” ประโยคนี้ชี้ให้เห็นว่าพวกเขามีการชุมนุมที่อบอุ่นร่วมกันซึ่งการร่วมกันนี้ปราศจากสิ่งไร้สาระทุก ๆ ชนิด โองการสุดท้ายชี้ให้เห็นถึงพรมชั้นดีเลิศว่า “และมีพรมอย่างดีเลิศถูกปูไว้” ในโองการต่าง ๆ นี้ได้กล่าวถึงความโปรดปรานที่สาคัญทั้งเจ็ดของสวรรค์ ซึ่งต่างก็มีความสวยงามและน่าสนใจยิ่งไปกว่ากัน


สาระศึกษา


ในอัลกรุอานมีการใช้ประโยคหลากหลายเกี่ยวกับภาชนะต่าง ๆของเครื่องดื่มอันบริสุทธิ์แห่งสวรรค์ ในที่นี้และบางโองการอื่น ๆ ใช้คาว่า ( อักวาบ ) ในขณะที่โองการอื่น ๆ ใช้คาว่า ( อะบารีก ) เช่นซูเราะฮ์ วากิอะฮ์ โองการที่ 17-18


คำอรรถาธิบาย


จงมองยังอูฐเถิด มันคือสัญลักษณ์หนึ่ง


โองการนี้กล่าวถึงกุญแจหลักของการไปถึงยังความโปรดปรานต่าง ๆ ซึ่งคือการรู้จักอัลลอฮ์(ซบ.) โดยชี้ให้เห็นถึงสี่ตัวอย่างแห่งพลานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า จากการสร้างสรรค์ของอัลลอฮ์(ซบ.) การเชิญชวนมนุษย์สู่การศึกษาเกี่ยวกับมันถือเป็นหนทางของการเข้าสู่สวรรค์ นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นถึงพลานุภาพอันไร้ขีดจากัดของอัลลอฮ์(ซบ.) ซึ่งเป็นกุญแจในการแก้ปัญหาเรื่องการฟื้นคืนชีพ ทรงตรัสว่า “พวกเขาไม่พิจารณาดูอูฐหรอกหรือว่า มันถูกสร้างมาอย่างไร ?” ชัดเจนว่าเบื้องต้นเป็นคาพูดที่กล่าวกับอาหรับชาวมักกะฮ์ เพราะอูฐเป็นสัตว์ที่มีบทบาทในชีวิตของพวกเขา ต้องอยู่กับมันทั้งวันทั้งคืน


นอกจากนั้นมันยังมีคุณสมบัติต่าง ๆมากมายที่น่าทึ่ง เป้าหมายของการดู ไม่ใช่เป็นการดูธรรมดา แต่เป็นการดูที่ควบคู่ไปกับการคิดไตร่ตรอง ต่อมาก็กล่าวถึงชั้นฟ้าว่า “และยังท้องฟ้าบ้างหรือว่ามันถูกยกให้สูงขึ้นอย่างไร ?” เป็นไปได้อย่างไรที่โลกนี้ถูกตอกตะปูไว้ตามโคจรของมันโดยปราศจากเสาในที่ของมัน ? แล้วไม่จาเป็นต้องพินิจถึงพระผู้สร้าง พระผู้บริหารโลกที่ยิ่งใหญ่นี้หรอกหรือ ? ต่อจากการกล่าวถึงฟากฟ้าก็ลงสู่พื้นดินว่า “และยังภูเขาบ้างหรือว่า มันถูกปักตั้งไว้อย่างไร ?” ภูเขาต่าง ๆ ที่ฐานของมันนั้นเชื่อมโยงติดต่อกันและกัน เปรียบเสมือนลูกโซ่ที่คล้องโลกเอาไว้ ต่อมากล่าวถึงแผ่นดินว่า “และยังแผ่นดินบ้างหรือว่ามันถูกแผ่ลาดไว้อย่างไร ?” เป็นแผ่นดินแผ่ลาด เหมาะสมทั้งการเกษตร การก่อสร้างทุก ๆ ชนิด ให้อยู่ในกรรมสิทธิ์ของมนุษย์ จริงๆแล้วหากโลกนี้เต็มไปด้วยภูเขาการดารงชีวิตจะลาบากขนาดไหน ? ใครกันเล่าที่ทาให้มันแผ่ลาดและสามารถใช้ประโยชน์ซึ่งมันมีมาก่อนที่เราจะเกิด ทั้งหมดนี้อัลกุรอานได้เชิญชวนให้เราคิดไตร่ตรอง ต่อจากการถกเรื่องของเอกานุภาพนี้ ก็หันกลับมากล่าวแก่ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ว่า “ดังนั้นจงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น” “เจ้ามิใช่ผู้มีอานาจเหนือพวกเขา” ใช่แล้ว การสร้างฟากฟ้า แผ่นดิน ภูเขาและปศุสัตว์ต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่า โลกนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยปราศจากการคานวณ การสร้างมนุษย์ก็ย่อมมีเป้าหมายเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้เจ้าจงให้เขารู้ถึงเป้าหมายของการสร้างด้วยการกล่าวตักเตือนของพระองค์ ชี้แนะหนทางแก่พวกเขาในการใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์(ซบ.) แต่การไปถึงยังหนทางของความสมบูรณ์ต้องควบคู่กับความต้องการและความมีอิสรเสรีในการเลือกด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วความสมบูรณ์ที่ได้มาจากการถูกบังคับเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมาย เจ้าไม่สามารถที่จะบังคับพวกเขา และหากเจ้าสามารถทาได้มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร โองการต่อมากล่าวในกรณียกเว้นว่า “นอกจากผู้ที่ผินหลังให้และปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น” “อัลลอฮ์จะทรงลงโทษเขาซึ่งการลงโทษอันมหันต์” เป้าหมายของการลงโทษอันมหันต์ คือการลงโทษในอาคิเราะฮ์ หรือเป้าหมายของการลงโทษอันมหันต์ คือ ส่วนหนึ่งจากการลงโทษที่รุนแรงในวันกิยามะฮ์ เพราะความรุนแรงของการลงโทษคนทาบาปในนรกนั้นไม่เท่าเทียมกัน และท้ายซูเราะฮ์นี้กล่าวด้วยภาษาที่เตือนสาทับว่า “แท้จริงยังเราเท่านั้นคือการคืนกลับของพวกเขา” แล้วกล่าวต่อว่า “แล้วก็แท้จริง หน้าที่ของเรานั้นคือ การสอบสวนพวกเขา” อันที่จริงนี่เป็นการให้กาลังใจและปลอบประโลมท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่าจงอย่าไม่สบายใจกับความดื้อรั้นของพวกเขา จงดาเนินงานต่อไป อีกทั้งเป็นการข่มขู่บรรดาผู้ปฏิเสธที่ดื้อรั้นทั้งหมดให้รู้ว่าการคิดบัญชีของพวกเขานั้นอยู่กับใคร


สาระศึกษา


คุณสมบัติของอูฐที่พิเศษกว่าสัตว์อื่น ได้แก่
1. อูฐเป็นสัตว์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ทั้งเนื้อ ทั้งนม ของมัน อีกทั้งยังใช้นั่งและบรรทุกได้อีกด้วย
2. อูฐเป็นสัตว์ที่แข็งแรงที่สุด ในหมู่สัตว์เลี้ยงทั้งหลาย
3. อูฐสามารถอยู่อย่างหิวกระหายได้หลาย ๆ วัน ( ประมาณหนึ่งสัปดาห์หรือสิบวัน) และมีความอดทนอย่างมากต่อความหิวกระหาย
4. อูฐสามารถเดินทางอันยาวไกลได้ในทุก ๆ วัน และสามารถเดินผ่านพื้นดินที่ยากลาบากไปได้ ด้วยเหตุนี้อาหรับจึงเรียกอูฐว่า เป็นเรือแห่งทะเลทราย
5. มีค่าใช้จ่ายน้อยมากในเรื่องของอาหาร มันจะกินทุกอย่างที่เป็นหนามและเศษไม้
6. มันสามารถเดินทางต่อไปได้อย่างแข็งขัน ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม ท่ามกลางพายุต่าง ๆ ของทะเลทรายที่อาจทาให้ตาบอดและหูหนวกได้ ด้วยกับลักษณะที่เฉพาะที่อัลลอฮ์(ซบ.)ทรงสร้างสาหรับเปลือกตา หูและจมูกของมัน
7. อูฐเป็นสัตว์ที่เชื่องที่สุดในหมู่สัตว์ทั้งหลาย โดยที่ว่าเด็ก ๆ สามารถที่จะจับอูฐเป็นฝูงได้ แล้วพาไปไหนตามต้องการได้

 

 แหล่งอ้างอิง


1 มัจมะอุลบะยาน เล่ม 10 หน้า 477
2 อ้างอิงเดิม

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
อะไรเกิดขึ้นที่เฆาะดีรคุม
มักกะห์ ดินแดนแห่งพันธะสัญญา
ทำไมมนุษย์จึงกลัวความตาย
ซากีนะฮ์(อ.) ...
...
8 ...
ถาม-ตอบ กับอิมามอะลี ริฎอ(อ.)
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด - ...

 
user comment