ไทยแลนด์
Sunday 19th of May 2024
0
نفر 0

กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ตอนที่ 1

ในอัลกุรอาน มีหลายโองการที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้นำของท่านอิมามอาลี(อ.) แต่ที่จะนำเสนอ ณ ที่นี้ คือโองการที่ ๖๗ ของซูเราะฮ์มาอิดะฮ์ โองการที่ ๖๗ ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ ซึ่ง

ในอัลกุรอาน มีหลายโองการที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้นำของท่านอิมามอาลี(อ.) แต่ที่จะนำเสนอ ณ ที่นี้ คือโองการที่ ๖๗ ของซูเราะฮ์มาอิดะฮ์

 
โองการที่ ๖๗ ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญที่อัลลอฮ์ (ซ.บ) ทรงแต่งตั้งให้ท่านอิมามอะลี (อ) เป็นผู้นำสืบทอดตำแหน่งต่อหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) พระองค์ได้ทรงตรัสว่า

 
يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ
“โอ้รอซูล! จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า ถ้าหากเจ้าไม่ปฏิบัติก็เท่ากับเจ้าไม่ได้ประกาศสาส์นของพระองค์เลย และอัลลอฮ์จะทรงคุ้มกันเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงชี้นำพวกที่ปฏิเสธศรัทธา”
บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรของชีอะฮ์ และบางคนของซุนนี่ อาทิเช่น ฟัครุร์-รอซีย์ และตับซีร์ อันมะนาร์ ได้พูดว่าโองการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับท่านอิมามอะลี (อ.) และเหตุการณ์ในฆอดีรคุม

 
พระดำรัสโองการข้างต้นกับโองการก่อนและหลังจากโองการดังกล่าวนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งอั-กุรอานทั้งหมดมีเฉพาะโองการนี้เท่านั้นที่มีมาในรูปแบบของการบังคับท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ให้ประกาศสาส์นนี้ และหากท่านศาสดาไม่ยอมประกาศสาส์ดังกล่าว ภารกิจทั้งหมดที่ทำมาตลอดระยะเวลา ๒๓ ปีนั้น ถือว่าเปล่าประโยชน์ ซึ่งสิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงมีบัญชามาต้องเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

 
แง่คิดที่ได้รับจากโองการ

๑. ซูเราะฮ์มาอิดะฮ์ ถูกประทานลงมาในช่วงบั้นปลายชีวิตอันจำเริญของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)

 
๒. ในโองการได้แทนที่การใช้คำว่า ياأيّهاالنبي เป็นคำว่า ياأيهاالرسول เป็นการแสดงให้เห็นว่าสาส์นนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง

 
๓. โองการได้ย้ำเตือนท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ว่า หากไม่ประกาศสาส์นสำคัญดังกล่าว ก็ถือว่าการงานที่ปฏิบัติมาทั้งหมดสูญเปล่า

 
๔. ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) มีความหวั่นเกรงต่อการประกาศสาส์นนั้น แต่ทว่าพระองค์อัลลอฮ์ได้ปลอบว่าฉันจะปกป้องเจ้าจากความชั่วร้ายของมนุษย์

 
๕. ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่ได้กลัวอันตรายจะเกิดขึ้นกับตัวท่าน เพราะที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการทำลายเจว็ดในมักกะฮ์ การทำสงครามกับศัตรูครั้งแล้วครั้งเล่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่เคยกลัวอันตรายใดแม้แต่นิดเดียว หลายครั้งที่ท่านถูกขว้างด้วยก้อนหินจนสาวกหลายคนได้รับบาดเจ็บ ดังนั้นเป็นไปได้อย่างไรที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เพิ่งจะมานึกกลัวในบั้นปลายชีวิต ?

 
๖. ความสำคัญของสาส์นนั้นถือว่าเป็นรากฐานสำคัญของอิสลาม เพราะหากเป็นเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ไม่จำเป็นต้องบังคับให้ท่านศาสดาปฏิบัติภารกิจนี้

 
๗. สิ่งสำคัญในสาส์นนั้นไม่เกี่ยวข้องกับ เตาฮีด นุบูวต หรือมะอ๊าดอย่างแน่นอน เพราะสิ่งสำคัญเหล่านั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เผยแพร่ตั้งแต่ตอนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมาแนะนำกันอีกในบั้นปลายสุดท้าย

 
๘. สิ่งสำคัญนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการนมาซ การถือศีลอด การจ่ายซะกาต ประกอบพิธีฮัจญ์ และญิฮาดอย่างแน่นอน เพราะตลอดระยะเวลา ๒๓ ปี ท่านศาสดาได้เชิญชวนให้ประชาชนสู่การปฏิบัติเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา และพวกเขาก็ได้ปฏิบัติกันมาตลอดโดยไม่มีความหวาดกลัวใดๆ

 
๙ .เมื่อได้ค้นคว้าถึงสาเหตุที่มาของโองการข้างต้น เราก็จะพบถึงเหตุการณ์ที่สำคัญหนึ่ง สิ่งนั้นคือเหตุการณ์แห่งวันฆอดีรคุม วันนั้นท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้แต่งตั้งให้ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นตัวแทนและเป็นค่อลิฟะฮ์ต่อภายหลังจากท่าน ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวสุนทรพจน์ด้วยเสียงที่ดังชัดเจนว่า “ฉันขอฝากสิ่งสำคัญสองสิ่งไว้ให้เป็นอะมานะฮ์แก่พวกท่าน ได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮ์ (กุรอาน) และอิตรอตีผู้เป็นทายาทของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด โอ้ประชาชนเอ๋ยพวกท่านจงอย่าล้ำหน้าและอย่าหล้าหลังจากทั้งสอง เพราะมันจะเป็นสาเหตุทำให้พวกท่านหลงทางตลอดไป”

 
ในเวลานั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้จับมือท่านอิมามอะลี (อ.) ชูขึ้น และแนะนำต่อประชาชน หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า “ใครคือผู้ที่รู้ดีกว่าผู้ศรัทธาทั้งหลาย? พวกเขาพูดว่า อัลลอฮ์ (ซบ.) และรอซูลของพระองค์เป็นผู้ทีรู้ดีกว่าใครทังหมด”

 
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “อัลลอฮ์ (ซ.บ) เป็นผู้ปกครองฉัน ส่วนฉันเป็นผู้ปกครองมวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย และฉันมีความประเสริฐกว่าพวกเขาและชีวิตของเขา”

 
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า “ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย ขออัลลอฮ์ทรงรักผู้ที่รักเขา และเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา”

 
หลังจากนั้นมลาอิกะฮ์ญิบรออีลได้นำวะฮีย์ลงมาว่า “วันนี้ข้าฯ ได้ทำให้ศาสนาของพวกจ้าสมบูรณ์แล้วแก่พวกเจ้า และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าฯ อย่างครบถ้วนแก่พวกเจ้า”

 

 

 
โดย กัรบาลาอีย์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

การดำรงตนอยู่ในความบริสุทธิ์ ...
กุรอานกับบิ๊กแบง
ดุอาอฺ อาวุธของผู้ศรัทธา
หลักคำสอนบางประการที่น่าสนใจ
บทบาทของท่านหญิงซัยนับ บินติ ...
28 ซอฟัร ...
ท่านหญิงคอดีญะฮฺ บินติคุวัยลิด ...
...
การรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมาย ...
สิทธิของสรรพสัตว์ ...

 
user comment