ไทยแลนด์
Monday 25th of November 2024
0
نفر 0

ทำไมซะกาตจึงเป็นวาญิบ?

โดย : ชะฮีด อายาตุลลอฮ์ อับดุล ฮุเซน ชิรอซี มีภูมิปัญญาซ่อนอยู่เบื้องหลังของการทำให้ซะกาต(การบริจาค) และการทำกุศลต่างๆ เป็นบทบัญญัติข้อบังคับ บางอย่างถูกกล่าวถึงไว้ในคำสอนของท่านศาสดา(ศ.) และบรรดาอิมาม(อ.) ยกตัวอย่
ทำไมซะกาตจึงเป็นวาญิบ?

โดย : ชะฮีด อายาตุลลอฮ์ อับดุล ฮุเซน ชิรอซี

 
 
     มีภูมิปัญญาซ่อนอยู่เบื้องหลังของการทำให้ซะกาต(การบริจาค) และการทำกุศลต่างๆ เป็นบทบัญญัติข้อบังคับ บางอย่างถูกกล่าวถึงไว้ในคำสอนของท่านศาสดา(ศ.) และบรรดาอิมาม(อ.) ยกตัวอย่างเช่น หน้าที่ในการบริจาคและทำกุศลเช่นนั้นถือเป็นบททดสอบอย่างหนึ่งสำหรับคนที่มีฐานะร่ำรวย เป็นการทดสอบว่า อัลลอฮฺทรงเป็นที่รักของพวกเขาหรือว่าความร่ำรวยทางโลกที่ไม่จีรังนี้จะเป็นที่รักยิ่งกว่า, พวกเขาจะมีความศรัทธาอย่างบริสุทธิ์ใจในรางวัลตอบแทนจากพระผู้เป็นเจ้า, สวรรค์, และการชดเชยจากพระองค์หรือไม่, ทดสอบว่าพวกเขาจะมีความจริงแท้ในคำกล่าวอ้างว่าพวกเขาเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงยิ่งใหญ่หรือไม่ ประโยชน์อย่างที่สองจากเรื่องนี้ก็คือ ปัญหาทางการเงินของคนยากจนจะได้รับการแก้ไข

 
 
อิมามญะอ์ฟัร ซอดิก(อ.) อธิบายถึงประโยชน์ของซะกาตไว้ดังต่อไปนี้ :

 
 
“แท้จริงแล้ว ซะกาต(การบริจาค) ถูกทำให้เป็นบทบัญญัติก็เพื่อทดสอบคนรวย และเพื่อตอบสนองความต้องการของคนจน และแน่นอน ถ้าทุกคนได้จ่ายซะกาต(ด้วยความบริสุทธิ์ใจ) ก็จะไม่มีคนยากจนหรือคนอดอยากในหมู่ชาวมุสลิมแม้แต่คนเดียว และจะไม่มีใครต้องการของจากคนอื่น และไม่มีใครต้องหิวโหยและไร้เครื่องนุ่งห่ม

 
 
แต่คนยากจนต้องได้รับความทุกข์ยากจากปัญหาที่เกิดจากบาปของคนรวย ซึ่งพวกเขาไม่ได้ให้ตามสิทธิ์ของพวกเขา  ในสถานการณ์เช่นนี้ จึงเป้นหน้าที่ของอัลลอฮ์ที่จะตัดความเมตตาของพระองค์ไปจากผู้ที่ไม่ได้ทำตามสิทธิ์ทางการเงินของพวกเขา

 
 
ฉันขอสาบานด้วยพระองค์ ผู้ทรงสร้างสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และทรงเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพของพวกเขา แท้จริง ไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้นบนพื้นดินและท้องทะเล ยกเว้นสำหรับผู้ที่ไม่จ่ายซะกาต”
 

 
ประโยชน์ประการที่สามก็คือ เพื่อขัดเกลาตัวเองให้พ้นจากคุณสมบัติของความตระหนี่ และเป็นยาของโรคร้ายนี้ ดังที่อัลลอฮ์ทรงบอกแก่ศาสนทูตของพระองค์ในอัล-กุรอานว่า
 

 
“เจ้าจงเอาส่วนหนึ่งจากทรัพย์สมบัติของพวกเขาเป็นทาน เพื่อทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ และล้างมลทินของพวกเขาด้วยทานนั้น….” (อัล-กุรอาน 9/103)
 

 
“…ผู้ใดปกป้องตนเองจากการตระหนี่ที่อยู่ในตัวของเขา ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ” (อัล-กุรอาน 59/9)
 

 

 
การรักษาจากโรคตระหนี่คือการกระทำการกุศล การบริจาคและการกุศลควรจะกระทำอย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นนิสัย และเท่าที่เป็นไปได้ มุสลิมควรจะรำลึกถึงกฎเกณฑ์และข้อบังคับของการบริจาค โดยคำนึงถึงว่ามันสามารถช่วยรักษาโรคร้ายของการตระหนี่ถี่เหนียวได้

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ทำไมอิสลามห้ามดื่มสุรา
บทเรียนจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ ...
อิมามฮะซัน อัสการีย์(อ) ...
อิมามอะลี ...
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ชีวประวัติท่านฮัมซะฮ์ บิน ...
หลักปฏิบัติในอิสลาม ...
สิทธิมนุษยชนในอิสลาม

 
user comment