ไทยแลนด์
Thursday 26th of December 2024
0
نفر 0

ริซกี (ปัจจัยดำรงชีวิต) ที่ได้รับโดยไม่คาดฝัน

ริซกี (ปัจจัยดำรงชีวิต) ที่ได้รับโดยไม่คาดฝัน

ริซกี (ปัจจัยดำรงชีวิต) ที่ได้รับโดยไม่คาดฝัน

 

      

มนุษย์ในฐานะที่เป็นสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐที่สุดของพระผู้เป็นเจ้า ก็เช่นเดียวกับสิ่งถูกสร้างอื่นๆ ที่จะได้รับประโยชน์จากปัจจัยอำนวยสุข (เนี๊ยะอ์มัต) ต่างๆ จากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสร้าง โดยที่มนุษย์เองไม่มีแม้แต่ความสามารถที่จะนับคำนวณปัจจัยอำนวยสุข (เนี๊ยะอ์มัต) เหล่านั้นของพระองค์ได้ ดังที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

 

وَ إِنْ تَعُدُّوا نِعْمَةَ اللَّهِ لا تُحْصُوها إِنَّ اللَّهَ لَغَفُورٌ رَحیمٌ

 

“และหากพวกเจ้าจะนับความโปรดปรานของอัลลอฮ์ พวกเจ้าก็จะไม่สามารถนับคำนวณมันได้ แท้จริงอัลลอ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษยิ่ง อีกทั้งทรงเมตตายิ่ง” (1)

 

 

ปัจจัยดำรงชีวิต (ริซกี) ที่ไม่มีที่สิ้นสุด

      

พระผู้เป็นเจ้าในฐานะที่เป็นสิ่งดำรงอยู่ที่ไม่มีสิ่งใดเหมือน ในทุกๆ มิติแห่งการดำรงอยู่ของพระองค์นั้นอยู่เหนือการคาดคิดและจินตนาการของเรา แม้แต่ในด้านของการประทานปัจจัยดำรงชีพของพระองค์ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้ คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวถึงพระองค์ในนาม “ผู้ประทานปัจจัยดำรงชีวิตที่ดีที่สุด” โดยกล่าวว่า :

 

وَ إِنَّ اللَّهَ لَهُوَ خَیْرُ الرَّازِقین

 

“และแท้จริงอัลลอฮ์ คือผู้ทรงประทานปัจจัยดำรงชีวิตที่ดีที่สุด” (2)

     

  ปัจจัยดำรงชีวิตต่างๆ จากพระเจ้านั้น ไม่ใช่จำกัดเฉพาะในด้านแห่งวัตถุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัย (ริษกี) อื่นๆ ที่เหนือกว่าวัตถุด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เอง พระองค์จึงทรงตรัสว่า :

 

وَ ما أُوتیتُمْ مِنْ شَیْ‌ءٍ فَمَتاعُ الْحَیاةِ الدُّنْیا وَ زینَتُها وَ ما عِنْدَ اللَّهِ خَیْرٌ وَ أَبْقى‌ أَ فَلا تَعْقِلُونَ

 

“และสิ่งใดก็ตามที่พวกเจ้าได้รับนั้น มันเป็นเพียงปัจจัยอำนวยสุขแห่งชีวิตทางโลกนี้ และเป็นเครื่องประดับของมัน แต่สิ่งที่อยู่ ณ อัลลอฮ์นั้นดีกว่าและจีรังกว่า พวกเจ้าไม่ใช้ปัญญาใคร่ครวญดอกหรือ?” (3)

 

 

ริซกี (ปัจจัยดำรงชีวิต) ที่พิเศษ

 

      

แม้ว่าในเนี๊ยะอ์มัต (สิ่งอำนวยสุข) แต่ละประการของพระผู้เป็นเจ้า จะมีความน่าอัศจรรย์ใจแฝงอยู่ แต่รูปแบบอันเป็นพิเศษของบางริซกี (ปัจจัยดำรงชีวิต) ที่มีความน่าอัศจรรย์ใจเป็นทวีคูณ และอยู่เหนือการคิดคำนวณโดยทั่วไปก็จะมาประสบกับมนุษย์เราด้วยเช่นกัน

 

      

จำเป็นที่จะต้องย้ำว่า จุดประสงค์จากคำว่า “ริซกี” (ปัจจัยดำรงชีวิต หรือปัจจัยอำนวยประโยชน์ในชีวิต) นั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะริษกีที่เป็นวัตถุเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมถึงการประทานความสำเร็จ (เตาฟีก๊อต) ทั้งมวล ความรู้ (มะอาริฟ) และสถานภาพทางจิตวิญญาณด้วยเช่นกัน ในที่นี้เราจะอธิบายถึงคุณลักษณะและความลับบางส่วนของริซกี (ปัจจัยดำรงชีวิต ) ที่มนุษย์จะได้รับโดยไม่คาดคิด

 

 

สถานะของความพยายาม

 

       

พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดสื่อ (อัซบาบ) ไว้สำหรับทุกๆ  ริซกี (ปัจจัยดำรงชีวิต) ซึ่งจะได้รับมาด้วยความอุตสาห์พยายาม หากปราศจากความอุตสาห์พยายามมนุษย์ก็จะไม่ได้รับสิ่งใด :

 

وَ أَنْ لَیْسَ لِلْإِنْسانِ إِلاَّ ما سَعى

 

“และมนุษย์จะไม่ได้รับสิ่งใด นอกจากสิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้” (4)

 

       

โองการนี้เป็นกฎเกณฑ์สากลที่สามารถใช้เป็นเหตุผลอ้างอิง ทั้งเกี่ยวกับความสำเร็จในชีวิตทางโลกนี้และในปรโลก เกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า :

 

باكِروا فی طَـلَبَ الرِّزقِ وَ الحَوائِجِ فَاِنَّ الغُدُوَّ بَرَكَةٌ وَ نَجاحٌ

 

“จงรีบรุดในการแสวงหาปัจจัยดำรงชีวิตและสิ่งต้องการต่างๆ ตั้งแต่ยามเช้าตรู่ เพราะแท้จริงยามเช้าตรู่นั้นคือบารอกัต (ความจำเริญ) และความสำเร็จ” (5)

 

       

ความจริงที่เราได้รับจากประสบการณ์ของเราทุกคนได้พิสูจน์ให้เห็นว่า บางส่วนของสิ่งที่เราได้รับนั้นเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิด อยู่เหนือการคำนวณโดยทั่วไปของเราอย่างสิ้นเชิง และนั่นคือความหมายของคำว่า “ริซกี” (ปัจจัยดำรงชีวิต) ที่ได้รับมาโดยไม่ได้คาดคิด!

 

 

กรณีของสิ่งเร้นลับ (ฆ็อยบ์)

 

      

บรรดาผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) นอกเหนือจากการใช้ประโยชน์จากซุนนะฮ์ (แบบแผน) อันเป็นสากลของพระเจ้า และความอุตสาห์พยายามในการแสวงหาความสำเร็จ (เตาฟีก) ทางด้านวัตถุและจิตวิญญาณแล้ว พวกเขายังจะเปิดทางไว้สำหรับริษกี (ปัจจัยดำรงชีวิต) ต่างๆ ที่เร้นลับและไม่คาดฝัน ตามที่โองการอัลกุรอานได้กล่าวว่า :

 

الَّذینَ یُؤْمِنُونَ بِالْغَیْبِ وَ یُقیمُونَ الصَّلاةَ وَ مِمَّا رَزَقْناهُمْ یُنْفِقُونَ

        

  “บรรดาผู้ศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ และดำรงไว้ซึ่งการนมาซ และบริจาคส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา” (6)

 

     

  การมีศรัทธา (อีหม่าน) ต่อริษกีที่ไม่อาจคิดคำนวณและอยู่ในความคาดหมายนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งจากความศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ ดังที่อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า :

 

وَ فِی السَّماءِ رِزْقُكُمْ وَ ما تُوعَدُون‌

 

“และในฟากฟ้ามีปัจจัยยังชีพของพวกเจ้า และสิ่งที่พวกเจ้าถูกสัญญาไว้” (7)

 

 

        การได้รับประโยชน์จากริซกีที่เร้นลับนั้น มีกฎเกณฑ์ต่างๆ อันเป็นเฉพาะของมัน

 

        ริซกีที่เร้นลับ (ฆ็อยบ์) ในคัมภีร์อัลกุรอานจะถูกกล่าวถึงด้วยสำนวนว่า “ริซกีที่ได้รับโดยไม่ได้คาดคิด” ดังที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า  :

 

وَ مَنْ یَتَّقِ اللَّهَ یَجْعَلْ لَهُ مَخْرَجاً  وَ یَرْزُقْهُ مِنْ حَیْثُ لا یَحْتَسِب

“และผู้ใดที่ยำเกรงอัลลอฮ์ พระองค์จะทรงประทานทางออกแก่เขา และจะทรงประทานปัจจัยดำรงชีพแก่เขาโดยที่เขาไม่คาดคิด” (8)

 

 

การมอบความหวังไว้ที่พระผู้เป็นเจ้า

 

       คัมภีร์อัลกุรอาน พร้อมกับการเตือนท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ให้ระวังตนจากการคาดหวังในเนี๊ยะอ์มัต (ปัจจัยอำนวยสุข) ต่างๆ ที่ถูกมอบให้แก่บรรดาผู้ปฏิเสธและคนเนรคุณทั้งหลายนั้น ได้ดึงดูดความสนใจของท่านไปสู่ริษกีจากพระผู้เป็นเจ้า โดยกล่าวว่า :

 

وَ لا تَمُدَّنَّ عَیْنَیْكَ إِلى‌ ما مَتَّعْنا بِهِ أَزْواجاً مِنْهُمْ زَهْرَةَ الْحَیاةِ الدُّنْیا لِنَفْتِنَهُمْ فیهِ وَ رِزْقُ رَبِّكَ خَیْرٌ وَ أَبْقى

 

“และเจ้าจงอย่าทอดสายตาของเจ้าไปยังสิ่งที่เราได้ให้มันแก่กลุ่มต่างๆ จากพวกเขา อันเป็นเครื่องประดับแห่งชีวิตทางโลกนี้ เพื่อเราจะทดสอบพวกเขาในสิ่งนั้น และริษกี (ปัจจัยดำรงชีวิต) ของพระผู้อภิบาลของเจ้านั้น ย่อมดีกว่าและจีรังยั่งยืนยิ่งกว่า” (9)

 

      

ด้วยเหตุนี้เองท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงกล่าวว่า :

 

مَنِ انْقَطَعَ اِلَى اللّهِ كَفاهُ اللّهُ كُلِّ مَؤُنَةٍ وَ رَزَقَهُ مِنْ حَیْثُ لا یَحْتَسِبُ وَ مَنِ انْقَطَعَ اِلَى الدُّنْیا و َكَلَهُ اللّهُ اِلَیْها

 

“ผู้ใดที่มุ่งความหวังไปยังอัลลอฮ์ อัลลอฮ์จะทรงทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตทั้งหมดพอเพียงแก่เขา และจะทรงประทานปัจจัยดำรงชีพแก่เขาโดยที่เขาไม่คาดคิด และผู้ใดที่มุ่งความหวังไปที่โลกนี้ (สิ่งอื่นจากอัลลอฮ์) พระองค์ก็จะทรงปล่อยเขาไว้กับโลกนี้” (10)

 

      

ดังนั้นคนที่คู่ควรที่จะได้รับริซกีที่เร้นลับ คือผู้ที่ไม่ผูกความหวังไว้กับสิ่งอื่นจากพระผู้เป็นเจ้า

 

    

   ริษกีนั้นมีสองประเภท คือ ริซกีที่เราต้องขวนขวายแสวงหามัน และริซกีที่มันจะมาหาเราโดยไม่ต้องแสวงหา ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวกับท่านอิมามฮะซันมุจญ์ตะบา (อ.) ว่า :

وَ اعلَم یا بُنَیَّ إِنَّ الرِزقَ رِزقانِ؛ رِزقٌ تَطلُبُهُ وَ رِزقٌ یَطلُبُکَ فإِن لَم تَأتِهِ أَتاکَ

 

“โอ้ลูกรักของพ่อ! แท้จริงริษกีนั้นมีสองอย่าง ริษกีที่เจ้าแสวงหามัน และริษกีที่มันจะมาหาเจ้าโดยที่แม้เจ้าจะไม่แสวงหามัน มันก็จะมาสู่เจ้า” (11)

 

 

บทสรุป :

 

จากสิ่งที่ได้กล่าวไปทั้งหมดนั้น เป็นที่ชัดเจนว่า ควบคู่ไปกับความอุตสาห์พยายามและการขวนขวาย หรือการอาศัยสื่อที่เป็นปัจจัยทางด้านวัตถุนั้น จำเป็นที่เราจะต้องระวังรักษาตักวา (ความยำเกรง) และความสำรวมตนต่อพระผู้เป็นเจ้า และการมอบหมาย (ตะวักกุ้ล) ต่อพระองค์ ซึ่งเป็นปัจจัยทางด้านจิตวิญญาณ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำมาซึ่งของขวัญและปัจจัยอำนวยสุขแห่งชีวิต (ริซกี) ที่ไม่คาดคิดจากพระองค์ !

 

ข้อมูลอ้างอิง :

(1) อัลกุรอาน บทอันนะฮ์ลิ โองการที่ 18

(2) อัลกุรอาน บทอัลฮัจญ์ โองการที่ 58

(3) อัลกุรอาน บทอัลกอศ๊อศ โองการที่ 60

(4) อัลกุรอาน บทอันนัจญ์มุ โองการที่ 39

(5) นะฮ์ญุลฟะซอฮะฮ์, หน้าที่ 371, ฮะดีษที่ 1078

(6) อัลกุรอาน บทอัลบากอเราะฮ์ โองการที่ 3

(7) อัลกุรอาน บทอัซซาริยาต โองการที่ 22

(8) อัลกุรอาน บทอัฏฏอลาก โองการที่ 2-3

(9) อัลกุรอาน บทฏอฮา โองการที่ 31

(10) นะฮ์ญุลฟะซอฮะฮ์, หน้าที่ 731, ฮะดีษที่ 2796

(11) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, จดหมายที่ 31

 

โดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ


ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
กำเนิดจักรวาล
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ทำไมเราต้องทำนมาซด้วย?
น้ำผึ้งในอัลกุรอานและฮะดีษ
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความเป็นพี่น้องในอิสลาม
คุตบะฮ์ชะอ์บานียะฮ์ ...
อาลัมบัรซัค ...
มหัศจรรย์ 7 ประการของศาสดาอีซา ...

 
user comment