ไทยแลนด์
Monday 25th of November 2024
0
نفر 0

การมีความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์ต้องอยู่คู่กับการกระทำในวจนะของอิมามริฎอ

การมีความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์ต้องอยู่คู่กับการกระทำในวจนะของอิมามริฎอ

การมีความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์ต้องอยู่คู่กับการกระทำในวจนะของอิมามริฎอ

 

ตามโองการต่างๆ ของคัมภีร์อัลกุรอาน แบบฉบับของศาสดาและอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) นั้น บรรทัดฐานในการวัดความดีงามและคุณธรรมของมนุษย์ที่มีเหนือคนอื่นๆ คือ “ตักวา” (ความยำเกรงและความสำรวมตนต่อพระเจ้า) :

 

انَّ أَكْرَمَكُمْ عِنْدَ اللَّهِ أَتْقاكُمْ

“แท้จริงผู้ที่มีเกียรติที่สุดในหมู่พวกเจ้า ณ อัลลอฮ์นั้น คือผู้ที่มีความยำเกรงที่สุดในหมู่พวกเจ้า”


(อัลกุรอานบทอัลหุญุร๊อต โองการที่ 13)

       
และใครก็ตามที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้มากกว่า แน่นอนเขาก็ย่อมนำหน้าบุคคลอื่นๆ เพียงแค่การกล่าวอ้างความรักต่อท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) และอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) ของท่าน โดยปราศจากการย่างก้าวลงสู่สนามของการปฏิบัตินั้น จะไม่ก่อประโยชน์ใดๆ ดังเช่นที่ในโองการจำนวนมากของคัมภีร์อัลกุรอานได้เน้นย้ำในประเด็นนี้ :

 

 وَ الَّذينَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ أُولئِكَ أَصْحابُ الْجَنَّةِ هُمْ فيها خالِدُونَ

“และบรรดาผู้ที่ศรัทธาและปฏิบัติความดีทั้งหลาย พวกเหล่านั้นคือชาวสวรรค์ และพวกเขาจะอยู่ในนั้นเป็นนิรันดร์”


(อัลกุรอานบทอัลบากอเราะฮ์ โองการที่ 82) (1)

 

        
บนพื้นฐานดังกล่าวนี้เอง จะเห็นได้ว่าในวจนะทั้งหลายของท่านอิมามริฎอ (อ.) จะเน้นย้ำบนหลักการทางศาสนาข้อนี้ เคียงคู่กับความรักต่อท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) และอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) ของท่าน เรื่องราวต่อไปนี้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือต่างๆ ได้แก่ อัลอิห์ติญาจญ์, วะซาอิลุชชีอะฮ์ และบิฮารุ้ลอันวาร เป็นสิ่งที่น่าตกใจและเป็นบทเรียนสอนใจอย่างมาก

        
วันหนึ่ง มีบุคคลจำนวนหนึ่งซึ่งมีความรักและความผูกพันต่อท่านอิมาม ได้เดินทางมาจากดินแดนอันไกลโพ้นมายังโคราซานเพื่อเยี่ยมเยือนท่าน แต่คนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมที่ไม่ดีและยังกระทำในสิ่งที่เป็นบาปอยู่ พวกเขาได้หยุดพักอยู่ในโคราซานเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน และในแต่ละวันพวกเขาจะไปยังบ้านของท่านอิมามถึงสองครั้ง แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบ พวกเขาจึงหมดหวังและได้กล่าวกับคนรับใช้ที่ดูแลอยู่หน้าประตูว่า :

 

        “โปรดนำคำพูดของเราไปบอกท่านอิมาม (อ.) ด้วยว่า เรามาจากแดนไกล หากเราไม่ได้เข้าพบท่านอิมาม (อ.) และกลับไปยังหมู่บ้านของเรา และในการกลับไปยังผู้คนในหมู่บ้านของเรานั้น จะทำให้เราได้รับความอับอาย ดังนั้นขอให้ท่านอนุญาตให้เราเข้าพบเถิด”

 

        
ในที่สุดท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้อนุญาตแก่พวกเขา และเมื่อพวกเขาได้เข้าพบท่าน ก็ตัดพ้อว่า ทำไมท่านจงไม่อนุญาตให้พวกเราเข้าพบ? ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า :

 

 لِدَعْوَاكُمْ أَنَّكُمْ شِيعَةُ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِين وَ أَنْتُمْ فِي أَكْثَرِ أَعْمَالِكُمْ لَهُ مُخَالِفُونَ وَ تُقَصِّرُونَ فِي كَثِيرٍ مِنَ الْفَرَائِضِ وَ تَتَهَاوَنُونَ بِعَظِيمِ حُقُوقِ إِخْوَانِكُمْ فِي اللَّهِ وَ تَتَّقُونَ حَيْثُ لَا تَجِبُ التَّقِيَّةُ وَ تَتْرُكُونَ التَّقِيَّةَ حَيْثُ لَا بُدَّ مِنَ التَّقِيَّة

 

“(สาเหตุที่ฉันไม่อนุญาตนั้น) เนื่องจากว่า พวกท่านกล่าวอ้างตนว่า เป็นชีอะฮ์ของท่านอมีรุ้ลมุอ์มินนีน... ในขณะที่พวกท่านขัดแย้งต่อท่านในการกระทำส่วนใหญ่ของพวกท่าน และพวกท่านบกพร่องในข้อกำหนดบังคับ (ฟะรีเฎาะฮ์) จำนวนมาก และพวกท่านไม่ใส่ใจต่อสิทธิต่างๆ มากมายของพี่น้องร่วมศาสนาของพวกท่าน และพวกท่านปิดบังอำพรางตน (ตะกียะฮ์) ในสิ่งที่ไม่ควรปิดบังอำพราง และละทิ้งการปิดบังอำพรางตนในสิ่งที่จำเป็นต้องปิดบังอำพราง” (2)


ตามคำรายงาน พวกเขาได้ทำการสารภาพผิด (เตาบะฮ์) และให้คำมั่นสัญญาว่าจะเป็นชีอะฮ์ที่แท้จริง จะเห็นได้ว่าจากเรื่องราวข้างต้นนี้ ท่านอิมาม (อ.) ได้เตือนพวกเขาว่า เพียงแค่การกล่าวอ้างความรักต่ออะฮ์ลิลบัยติ์ (อ.) เพียงอย่างเดียวนั้นไม่อาจที่จะทำให้มนุษย์ไปถึงยังความสำเร็จและความผาสุกไพบูลย์ได้ ทว่าในทางปฏิบัติจำเป็นต้องปฏิบัติตามซุนนะฮ์ (แบบอย่าง) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และท่านอิมามอะลี (อ.) ด้วย หรือในฮะดีษ (วจนะ) บทหนึ่งซึ่งสังคมชีอะฮ์จำเป็นต้องยึดถือเป็นคำขวัญและหลักปฏิบัติตลอดไปในชีวิตของตน นั่นคือสิ่งที่ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวว่า :

 

 لَا تَدَعُوا الْعَمَلَ الصَّالِحَ وَ الِاجْتِهَادَ فِي الْعِبَادَةِ اتِّكَالًا عَلَى حُبِّ آلِ مُحَمَّدٍ ع وَ لَا تَدَعُوا حُبَّ آلِ مُحَمَّدٍ ع وَ التَّسْلِيمَ لِأَمْرِهِمُ اتِّكَالًا عَلَى الْعِبَادَةِ فَإِنَّهُ لَا يُقْبَلُ أَحَدُهُمَا دُونَ الْآخَر

 

“พวกท่านอย่าได้ละทิ้งการกระทำความดีและความพยายามในการทำอิบาดะฮ์ โดยอาศัยข้ออ้างความรักต่อวงศ์วานของมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และอย่าได้ละทิ้งความรักในวงศ์วานของมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และการยอมจำนนต่อคำสั่งของพวกเขา โดยอาศัยการอิบาดะฮ์แต่เพียงอย่างเดียว เพราะเนื่องจากว่าสิ่งหนึ่งจากทั้งสองจะไม่ถูกยอมรับโดยปราศจากอีกสิ่งหนึ่ง” (3)

 


ประเด็นที่สำคัญจากริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทนี้ :


ความสำคัญของความรักต่อวงศ์วาน (อาลิ) ของมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และความสำคัญของความอุตสาห์พยายามและการกระทำ (อะมั้ล)


ความรักต่อวงศ์วานของมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) โดยปราศจากการกระทำ (อะมั้ล) และความพยายามนั้นไม่เกิดประโยชน์อันใด และความพยายามและการกระทำ (อะมั้ล) โดยปราศจากความรักต่อวงศ์วานของมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) นั้นก็จะไม่ยังคุณประโยชน์อันใดเช่นกัน


    การเลือกปฏิบัติในกิจการต่างๆ ของศาสนานั้นจะถูกปฏิเสธ กล่าวคือ จำเป็นจะต้องยอมรับศาสนาอย่างครอบคลุมในทุกด้าน และปฏิบัติอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนั้นสำนวนประโยคที่มักจะได้ยินจากบางคนที่ว่า “ขอให้หัวใจของคุณสะอาดก็พอแล้ว แม้คุณจะไม่ได้กระทำอะมั้ลใดๆ ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ” คำพูดเช่นนี้นอกจากจะเป็นข้ออ้างที่จะกระทำบาปแล้ว ยังขัดแย้งกับหลักคำสอนของศาสนาอีกด้วย

 

แหล่งที่มา :

 

(1) ดูเพิ่มเติมใน อัลกุรอาน บทอัลบากอเราะฮ์ โองการที่ 25 ; บทอาลิอิมรอน โองการที่ 57 ; บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 9 และบทอัลอัศริ์ โองการที่ 3

(2) อัลอิห์ติญาจ อะลา อะฮ์ลิลลุญาจ, อลัลามะฮ์ฏ็อบริซี, เล่มที่ 2, หน้าที่ 441

(3) บิฮารุ้ลอันวาร, อัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี, เล่มที่ 75, หน้าที่ 347 – 348

 

บทความโดย เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ทำไมอิสลามห้ามดื่มสุรา
บทเรียนจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ ...
อิมามฮะซัน อัสการีย์(อ) ...
อิมามอะลี ...
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ชีวประวัติท่านฮัมซะฮ์ บิน ...
หลักปฏิบัติในอิสลาม ...
สิทธิมนุษยชนในอิสลาม

 
user comment