ไทยแลนด์
Thursday 26th of December 2024
0
نفر 0

ปัจจัยที่สำคัญในการยับยั้งจากการกระทำบาป

ปัจจัยที่สำคัญในการยับยั้งจากการกระทำบาป

ปัจจัยที่สำคัญในการยับยั้งจากการกระทำบาป


ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า :

مَنْ خافَ العِقـابَ إِنْصـَرَفَ عَنِ السَّيـِّئاتِ

"ใครก็ตามที่กลัวการลงโทษ เขาจะหลีกเลี่ยงจากความชั่วทั้งหลาย" (1)

 

      ปัจจัยที่สำคัญในการยับยั้งจากการกระทำ "บาป" คือพลังแห่งศรัทธา (อีหม่าน) และความกลัวต่อ "การลงโทษ"

 

      คนที่ทำบาปนั้นเป็นเพราะเขาไม่เชื่อมั่นต่อ "การฟื้นคืนชีพ" และ "การคิดบัญชีในปรโลก" หรือไม่ก็เพราะ "ไม่ใส่ใจ" ต่อประเด็นสำคัญนี้

 

      การเสริมสร้างความเข้มแข็งต่อ "ความศรัทธาในศาสนา" คือเกราะป้องกันที่แข็งแกร่งที่สุดในการต่อสู้กับการทุจริตและการรุกรานทางวัฒนธรรม และการโน้มเอียงไปสู่ความเสื่อมทรามต่าง ๆ ทางศีลธรรม สิ่งที่ได้รับมาจาก "ความเชื่อ" ไม่อาจสร้างขึ้นได้จาก "ความรู้"

 

      ส่วนหนึ่งจากหลักการที่สำคัญของการประกาศเชิญชวนของบรรดาศาสดา คือการสร้างความสนใจและความศรัทธามั่นต่อ "วันแห่งการสอบสวนบัญชี" และ "วันแห่งการลงโทษ" และการที่มนุษย์จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำต่าง ๆ ของตนในโลกนี้ ทุกคนที่ทำความดีและความชั่วแม้เพียงเท่า "อณู" ในปรโลกเขาจะได้รับผลตอบแทนของมัน

 

      คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า :

 

فَمَن يَعْمَلْ مِثْقَالَ ذَرَّةٍ خَيْراً يَرَهُ. وَمَن يَعْمَلْ مِثْقَالَ ذَرَّةٍ شَرّاً يَرَهُ

"ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่กระทำความดีหนึ่ง แม้เพียงธุลีเดียว เขาก็จะเห็นมัน และผู้ใดก็ตามที่กระทำความชั่วหนึ่ง เขาก็จะได้เห็นมัน" (2)


จากเหตุผลดังกล่าวนี้ การดำเนินบทลงโทษต่าง ๆ ในสังคมอิสลามจึงมี "ความดีงามมากมายนับไม่ถ้วน" ซึ่งจะช่วยถอนรากถอนโคนอาชญากรรมต่าง ๆ ได้

 

      การกลัวการลงโทษในโลกนี้และความหวั่นกลัวต่อโทษทัณฑ์ในปรโลก! นี่คือปัจจัยที่จะช่วยกำจัดการทุจริตและความชั่วทั้งหลาย

 

แหล่งอ้างอิง :

 

(1) ฆุร่อรุลหิกัม, เล่มที่ 3, หน้าที่ 335


(2) อัลกุรอาน บทอัลซิซาล โองการที่ 8

 

บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ฮิดายะฮ์ (การชี้นำ)ในอัลกุรอาน
เตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า)
ความหมายของตักวาในอัลกุรอาน
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
...
กำเนิดจักรวาล
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ทำไมเราต้องทำนมาซด้วย?
น้ำผึ้งในอัลกุรอานและฮะดีษ
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร

 
user comment