ไทยแลนด์
Saturday 4th of May 2024
0
نفر 0

“อัรบาอีน ฮูซัยนี” ตามหลักคำสอนและประวัติศาสตร์

“อัรบาอีน ฮูซัยนี” ตามหลักคำสอนและประวัติศาสตร์

“อัรบาอีน ฮูซัยนี” ตามหลักคำสอนและประวัติศาสตร์

เกี่ยวกับพิธีกรรมอัรบาอีน สิ่งที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมศาสนาของเรา  คือการรำลึกถึงช่วง 40 วันแห่งการเป็นชะฮาดัตของท่านอิมามฮุเซ็น(อ.)ซัยยิดุชชุฮะดาอ์ ซึ่งตรงกับวันที่ 20 เดือนเซาะฟัร

 

ท่านอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) ได้กล่าวถึงสัญลักษณ์ของผู้ศรัทธา »มุอฺมิน« ไว้ 5 ประการด้วยกัน กล่าวคือ : การดำรงนมาซวันละ 51 เราะกะอัต  ซิยารัตอัรบาอีน สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวา เอาหน้าซัจญฺดะฮฺแนบกับพื้น และอ่านบิสมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม ในนมาซด้วยเสียงดัง[1]

 

ทำนองเดียวกันนักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ พร้อมกับอุฏ็อยยะฮฺ เอาฟีย์ ประสบความสำเร็จต่อการเดินทางไปซิยาเราะฮฺ อิมามฮุเซ็น (อ.) หลังจากถูกทำชะฮาดัตในช่วง 40 วันแรก[2]

 

ซัยยิด บิน ฏอวูส กล่าวว่า : เมื่อเหล่าสตรีและบรรดาบุตรหลานของท่านอิมามฮุเซ็น (อ.) เดินทางกลับจากเมืองชาม เมื่อไปยังประเทศอิรัก พวกเขาได้ร้องขอว่า : พวกเราจะเดินทางกลับไปทางเส้นทางกัรบะลาอ์ และเมื่อไปถึงสถานทีสังหารท่านอิมามฮุเซ็น (อ.) และเหล่าบรรดาสหายของท่านแล้ว  พวกเขาได้พบกับท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ และบนีฮาชิมกลุ่มหนึ่ง และได้เห็นชายคนหนึ่งจากครอบครัวของท่านรอซูล (ซ็อล ฯ) เข้ามาซิยาเราะฮฺท่านอิมามฮุเซ็น (อ.) ซึ่งทั้งหมดได้เข้ามาในเวลาเดียวกัน ต่างคนต่างร่ำไห้แสดงความโศกเศร้าเสียใจ บ้างตบลงบนอก บ้างก็ตบลงบนศีรษะตัวเอง พวกเขาได้จัดการรำลึกถึงโศกนาฏกรรม ด้วยหัวใจที่แตกสลาย และกลุ่มสตรีก็ได้เข้าสมทบกับพวกเขา ซึ่งพิธีกรรมยาวนานอยู่สองสามวัน[3]

 

 

 

[1] มัจญฺลิซซียฺ, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 98, หน้า 329, เบรูต, « عَلاماتُ المُؤمِنِ خَمسٌ : صَلاةُ اِحدی وَ خَمسین وَزِیارَةُ الا ربَعین … ».

 

[2] ฏ็อบรียฺ,มุฮัมมัด บิน อะลี, บะชอรัต อัลมุซเฏาะฟา, หน้า 126, กุม, มุอัซเซะเซะฮ์ นัชร์ อัลอิสลามมี, พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1420.

 

[3] บิฮารุลอันวาร อัลญามิอะฮฺ ลิดดุรริร อัคบาร อัลอะอิมมะตุลอัฏฮาร, เล่ม 45, หน้า 146.

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์ lovehussain.org

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ ...
นะบูวะห์ (ตอนที่ 4)
...
ประวัติของท่านอะลี อักบัร บิน ...
...
ชีวประวัติ ท่านซัยยิด ชาฮ์ ...
ความกตัญญูต่อบิดามารดา
วะฮาบี คือ ...
อิมามญะอฺฟัรกับวิทยาศาสตร์
...

 
user comment