ไทยแลนด์
Thursday 26th of December 2024
0
نفر 0

ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ แบบอย่างสำหรับมนุษยชาติ (ตอนที่ 2)

ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ แบบอย่างสำหรับมนุษยชาติ (ตอนที่ 2)

ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ แบบอย่างสำหรับมนุษยชาติ (ตอนที่ 2)

 

ในหนังสือ“มุสนัด”ของท่านอะห์มัด อิบนุฮัมบัล ซึ่งเป็นแหล่งอ้างอิงที่มีชื่อเสียงที่สุดเล่มหนึ่งของพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ได้อ้างคำรายงานจากท่านอะนัส บินมาลิก ว่า : วันหนึ่งท่านบิลาล อิบนิรอบะฮ์ ได้มาอะซานนมาซซุบฮิ์ล่าช้ากว่าปกติ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้ถามว่า “ทำไมเจ้าจึงมาช้า”

 

     บิลาล กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเดินผ่านบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ในสภาพที่ท่านกำลังโม่แป้งด้วยมือข้างหนึ่ง และลูกของท่านก็กำลังร้องไห้อยู่ ข้าพเจ้าจึงกล่าวขึ้นว่า ถ้าท่านอนุญาตก็ให้ข้าพเจ้าโม่แป้งแทน แล้วท่านก็กล่อมให้ลูกเงียบเถิด หรือจะให้ข้าพเจ้ากล่อมเด็กแล้วท่านจะโม่แป้งก็ได้”

 

     ท่านหญิงกล่าวว่า “ฉันมีความเมตตา (และอ่อนโยน) ต่อลูกของฉันมากกว่าท่าน (ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้โม่แป้งให้ท่านหญิง และท่านหญิงก็กล่อมให้ลูกของท่านเงียบ) และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้ามาช้า” ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) จึงกล่าวว่า

 

فرحمتها رحمك اللَّه

“เจ้าได้เมตตาต่อนาง ดังนั้นขออัลลอฮ์ทรงเมตตาเจ้า” (14)

 

แบบอย่างในด้านความกล้าหาญของท่านหญิงฯ

 

     คุณลักษณะต่างๆ อันงดงามทางด้านจริยธรรมของท่านหญิงนั้นเป็นประเด็นที่ชัดเจนยิ่งสำหรับทุกคน ตัวอย่างเช่น ความกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวของท่านในการปกป้องท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จากบรรดาผู้ตั้งภาคี (มุชริกีน) ชาวมักกะฮ์ และการไปยังสนามรบในสงครามอุฮุด เพื่อทำบาดแผลให้แก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)

 

แบบอย่างในด้านการอิบาดะฮ์

 

     นับตั้งแต่ช่วงเวลาของการถือกำเนิด (วิลาดัต) ท่านได้ดำรงตนอยู่ในเส้นทางของการยอมตนเป็นบ่าวและการเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) ต่อพระผู้เป็นเจ้าจวบจนลมหายใจสุดท้ายของท่าน ฮะดีษต่อไปนี้เป็นสักขีพยานได้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้

 

     ในเรื่องราวเกี่ยวกับการถือกำเนิดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) การจุติของท่านหญิงในครรภ์มารดาอันเกิดจากผลไม้แห่งสวนสวรรค์ และการที่สตรีผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสี่ของโลก อย่างเช่น ท่านหญิงมัรยัม ท่านหญิงอาซิยะฮ์ และท่านอื่นๆ ได้มาปรากฏตัวในช่วงเวลาที่ท่านหญิงกำลังคลอดออกมาจากครรภ์ของมารดา

 

     ในหนังสือมุสนัดของท่านอะห์มัดอิบนิฮัมบัล ได้บันทึกไว้ว่า :

 

فولدت فاطمة عليهاالسلام فوقعت حين وقعت على الارض ساجدة

 

“ในขณะที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถือกำเนิดนั้น เมื่อ (ร่างของท่าน) ตกลงสู่พื้น และขณะที่ท่านหญิงได้สัมผัสกับพื้นนั้น ท่านอยู่ในสภาพของผู้สุหญูด” (15)

 

ความรักนวลสงวนตัว (อิฟฟะฮ์)

 

     สถานภาพแห่งความบริสุทธิ์และการรักนวลสงวนตัว (อิฟฟะฮ์) ของท่านหญิงนั้นถึงขั้นที่ว่าในหนังสือเล่มเดียวกันนั้นได้อ้างอิงรายงานอันน่าพิศวงจาก อัซมาอ์ บินติอุมัยซ์ เอาไว้ ดังต่อไปนี้ว่า

 

     วันหนึ่งท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ได้กล่าวกับฉันว่า “ฉันรู้สึกไม่สบายใจจากการปฏิบัติของประชาชนชาวมะดีนะฮ์ต่อกรณีที่หลังจากการตายของสตรีของพวกเขา ที่พวกเขาจะนำร่างของพวกเธอไปฝังในสภาพที่ไม่น่าดู โดยที่พวกเขาจะใช้ผ้าเพียงผืนเดียวห่อร่างของพวกนางซึ่งสัดส่วนจากเรือนร่างของพวกนางจะปรากฏให้เห็น”

 

      อัซมาอ์ ได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็นสิ่งหนึ่งในดินแดนแห่งฮะบะชะฮ์ (เอธิโอเปีย) ซึ่งพวกเขาจะใช้ในการแบกหามศพ” ต่อจากนั้นอัซมาฮ์ได้นำเอากิ่งก้านต่างของต้นอินทผลัมมาทำเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมโดยที่พวกเขาจะใช้ผ้าคลุมบนไม้เหล่านั้นอีกทีหนึ่ง และจะวางร่างของศพลงในนั้นโดยที่เรือนร่างของศพจะไม่ปรากฏ

 

      เมื่อท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะรอ (อ.) ได้เห็นสิ่งนั้น ท่านกล่าวว่า “ดีมากเลย (ดังนั้นเมื่อฉันจากโลกนี้ไป พวกท่านก็จงนำร่างของฉันใส่ลงในสิ่งนี้แล้วนำไปฝังเถิด)...”

 

      และในตอนท้ายของฮะดีษบทนี้ได้กล่าวว่า : เมื่อสายตาของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ได้มองเห็นสิ่งนั้น ท่านได้ยิ้ม และนี่เป็นเพียงรอยยิ้มครั้งเดียวภายหลังจากการเสียชีวิต (วะฟาต)ของท่านศาสดามูฮัมมัด (ซ็อลฯ)

 

การเสียสละและการพลีอุทิศตนในการต้อนรับแขกอาหรับ

 

      การต้อนรับแขกสำหรับผู้เป็นสามีนั้นขึ้นอยู่กับความเสียสละและการให้บริการของภรรยา หากจะกล่าวว่าท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี อิบนิอะบีฏอลิบ (อ.) เป็นผู้ที่ต้อนรับและมีอัธยาศัยที่ดีต่อแขก และจะมีความรู้สึกเหงาหง่อยเศร้าใจหากไม่มีแขกมาเยือน หรือให้บริการที่ไม่ประทับใจต่อแขกแล้ว เหตุผลประการหนึ่งก็เนื่องมาจากความมั่นใจของท่านต่อความพร้อมและการให้การต้อนรับแขกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทหนึ่งได้กล่าวว่า

 

رئى اميرالمؤمنين عليه‌السلام حزينا فقيل له: مم حزنك؟ قال: لسبع اتت لم يضف الينا

 

ท่านอะมีรรุลมุอ์มินีน (อ.) ถูกพบเห็นอยู่ในสภาพที่เศร้าสร้อย มีผู้ถามท่านว่า “ทำไมท่านถึงดูเศร้าสร้อยเช่นนี้” ท่านตอบว่า “เนื่องจากเวลาได้ผ่านมาเจ็ดวันแล้วโดยที่ไม่มีแขกมาเยือนเราเลย” (16)

 

     วันหนึ่งมีชาวอาหรับชนบทผู้ยากจนคนหนึ่งได้มาพบท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ในสภาพที่ทุกข์ทรมานจากความหิว เขาได้ร้องทุกข์โอดครวญต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) เกี่ยวกับความหิวของตน ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ส่งคนไปดูตามบ้านภรรยาทั้งหลายของท่านเพื่อให้พวกนางจัดเตรียมอาหารเลี้ยงแขก แต่ทุกคนกล่าวเหมือนกันว่า “เราไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากน้ำ”

 

     ท่านศาสดาจึงได้ปฏิบัติเช่นเคยตามปกติโดยขอความช่วยเหลือจากมุสลิมคนอื่นๆ ว่าใครที่จะรับเอาบุรุษผู้หิวโหยคนนี้เป็นแขกของตน และก็เป็นเหมือนเช่นเคยที่ท่านอะลี (อ.) ได้ตอบรับสิ่งนั้น และได้พาชาวอาหรับผู้นั้นไปยังบ้านของตน และขอให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ช่วยจัดการในเรื่องนี้ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) กล่าวว่า

 

ما عندنا إلا قوت الصبية ولكنا نؤثر به ضيفنا

 

“เราไม่มีอาหารอะไรมาก นอกจากปริมาณอาหารของเด็กคนหนึ่ง แต่เราก็พร้อมที่จะเสียสละสิ่งนั้นให้กับแขกของเรา (และเรายอมที่ตนเองจะอยู่ในความหิว)”

 

      ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงกล่าวกับท่านหญิงว่า

 

نومي الصبية وأنا أطفئ للضيف السراج

 

“เธอจงทำให้เด็กๆ หลับ ส่วนฉันจะดับไฟรับรองแขก”

 

     ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ได้ปฏิบัติตามที่ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน (อ.) ต้องการ คือทำ (วิธีใดก็ได้) ให้ลูกๆ หลับโดยไม่ต้องรับประทานอาหาร และตนเองก็จะต้องอยู่ในสภาพของผู้ที่มีความหิวเช่นกัน และ (เพื่ออำพรางมิให้แขกได้ล่วงรู้ถึงสิ่งนั้น) ท่านได้ดับไฟในบ้าน และรับรองแขกในความมืดยามค่ำคืน และให้เขารับประทานอาหารจนอิ่ม ในขณะเดียวกันก็แสดงตนประหนึ่งว่าร่วมรับประทานอาหารกับแขกด้วย เพื่อไม่ให้แขกรู้สึกไม่สบายใจ

 

     ช่วงเวลาค่ำคืนได้ผ่านไป และช่วงเวลาเช้าตรู่ท่านได้ยังมัสยิดและได้พบกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ท่านศาสดาเมื่อได้มองเห็นท่านอะลี (อ.) ท่านก็ร้องไห้ และกล่าวว่า “เมื่อคืนมวลมะลาอิกะฮ์ของพระผู้เป็นเจ้าต่างพิศวงต่อการรับรองแขกของพวกเจ้า และในเหตุการณ์นี้โองการที่ 9 ของบทอัลฮัชรุ์ ก็ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับพวกเจ้าว่า

 

و يؤثرون على انفسهم و لو كان بهم خصاصة

 

“และพวกเขาได้เสียสละให้แก่ผู้อื่นก่อนตัวเอง ถึงแม้พวกเขาจะมีความต้องการสักปานใดก็ตาม” (17)

 

     ประเด็นดังกล่าวนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) เป็นผู้ที่มีความเสียสละเพียงใด และมีส่วนสำคัญเพียงใดในการส่งเสริมจิตวิญญาณแห่งการเสียสละให้แก่สามีและลูกๆ ของท่าน

 

 

แหล่งอ้างอิง :

 

(14) มุสนัด อะห์มัด อิบนิฮัมบัล, เล่มที่ 3, หน้าที่ 150

(15) ซะคออิรุลอุกบา, หน้าที่ 44

(16) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 41, หน้าที่ 28

(17) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 41, หน้าที่ 28 และหน้าที 34, และเล่มที่ 36

 

 

บทความ โดย เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ


ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
กำเนิดจักรวาล
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ทำไมเราต้องทำนมาซด้วย?
น้ำผึ้งในอัลกุรอานและฮะดีษ
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความเป็นพี่น้องในอิสลาม
คุตบะฮ์ชะอ์บานียะฮ์ ...
อาลัมบัรซัค ...
มหัศจรรย์ 7 ประการของศาสดาอีซา ...

 
user comment