ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

วันประสูติอิมามฮุเซน

วันประสูติอิมามฮุเซน

3 ชะอฺบาน วันคล้ายวันประสูติอิมามฮุเซน(อ.)
อิมามฮุเซน(อ.) อิมามท่านที่สาม ประสูติเมื่อวันที่ 3 เดือนชะอฺบาน ปี ฮ.ศ.4 ที่เมืองมะดีนะฮ์ ในวันที่ท่านประสูติ ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) ได้เคยกล่าวล่วงหน้าไว้ว่า ศาสนาอิสลามจะอยู่รอดได้โดยหลานชายคนที่สองของท่าน ที่ชื่อฮุเซน(อ.) ผู้นี้

ท่านประสูติในค่ำคืนที่สามของเดือนชะอฺบาน บิดาของท่าน ท่านอิมามอะลี(อ.)คือแบบอย่างที่ดีที่สุดของการมีเมตตาต่อมิตรสหาย และกล้าหาญที่สุดเมื่อเผชิญศัตรูของอิสลาม ส่วนมารดาของท่านคือท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.) บุตรสาวของท่านศาสดา(ศ.) ผู้มีความรู้อย่างกว้างขวาง และได้รับการสืบทอดคุณสมบัติทั้งหลายมาจากบิดาของนาง อิมามฮุเซน(อ.) จึงเป็นผู้มีความรู้ มีเมตตา มีความกล้าหาญ และอุทิศตนเพื่อศาสนา เช่นเดียวกับท่านตา บิดา มารดา และพี่ชายของท่าน

เมื่อข่าวดีเรื่องการประสูติของท่านได้ยินไปถึงท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ.) ท่านได้มาที่บ้านของบุตรสาวของท่าน และรับทารกแรกเกิดผู้นั้นไว้ในอ้อมแขน กล่าวอะซานและอีกอมะห์ที่หูขวาและซ้ายของท่าน ในวันที่ 7 หลังจากเสร็จพิธีอะกีเกาะห์แล้ว จึงได้ตั้งชื่อให้ว่า อัล-ฮุเซน ตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ

อิมามฮะซัน(อ.) และอิมามฮุเซน(อ.) บุตรชายทั้งสองของอิมามอะลี บิน อะลีฏอลิบ(อ.) และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.) ได้รับความเคารพนับถือและยกย่องในฐานะเป็น "หัวหน้าของชายหนุ่มในสวรรค์" ตามที่ท่านศาสดา(ศ.) ได้กล่าวไว้
ในสมัยของท่านนั้น ยะซีด บุตรของมุอาวียะห์ได้ขึ้นครองราชย์ เขาเป็นคนอยุติธรรมและละเมิดศาสนา เขากินเหล้าเมายา และมีพฤติกรรมที่โหดร้าย ทันทีที่มีอำนาจ เขาเริ่มฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และกฎหมายอิสลาม นอกจากนั้น เขายังอ้างตัวว่าเป็นเคาะลีฟะฮ์ เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของท่านศาสดาแห่งอิสลาม เพื่อเป็นการยืนยันสถานะนี้ของเขา เขาจึงต้องการบังคับให้อิมามฮุเซน(อ.) มอบสัตยาบันและยอมรับอำนาจปกครองของเขา

แน่นอนว่าหากคนอย่างยะซีดได้เป็นเคาะลีฟะฮ์ ประชาชนจะตกอยู่ในอันตราย เพราะเขาจะนำความเชื่อและประเพณีที่ขัดกับอิสลามมาบังคับใช้ (ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆตามที่ประวัติศาสตร์ระบุไว้อย่างเป็นเอกฉันท์ เพราะยะซีดเริ่มปีแรกของตนด้วยการสังหารอิมามฮุเซน และปีต่อๆมาด้วยการสังหารหมู่ชาวมะดีนะฮ์ และการยิงถล่มอาคารกะอ์บะฮ์)

ฉะนั้น ภาระรับผิดชอบเพื่อปกป้องอิสลามและสิทธิมนุษยชนจึงตกอยู่บนบ่าของอิมามฮุเซน(อ.)

ประชาชนชาวกูฟะฮ์หลายคนไม่ยอมรับยะซีดเป็นเคาะลีฟะฮ์ พวกเขาจึงเชิญอิมามฮุเซน(อ.) ให้มายังกูฟะฮ์เพื่อเป็นผู้นำของพวกเขา ท่านอิมามฮุเซนซึ่งขณะนั้นได้เดินทางออกจากมะดีนะฮ์เพื่อเป็นการประท้วงการดำรงตำแหน่งของยะซีด จึงเดินทางไปยังกูฟะฮ์พร้อมด้วยญาติพี่น้องที่เป็นชายหนุ่ม สตรี และเด็ก และมิตรแท้ที่จริงใจอีกจำนวนหนึ่ง

ระหว่างทาง ท่านได้เผชิญหน้ากับกองทัพพร้อมอาวุธของยะซีด เพื่อเป็นการรักษาศาสนาของท่านตาผู้บริสุทธิ์(ศ.) อิมามฮุเซน(อ.) จึงตั้งมั่นที่จะเผชิญหน้ากับกองทัพมารเหล่านี้ในสนามรบ ท่านและมิตรสหายของท่านต่อสู้ด้วยความองอาจ ชายชาตรีแห่งวงศ์วานนบีแทบทุกคนได้พลีชีพตนเพื่ออิสลาม เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่กัรบะลา ดินแดนในประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 10 มุฮัรรอม ฮ.ศ.61

วันที่ 10 มุฮัรรอม ได้รับการขนานนามว่าวันอาชูรอ วันนั้น มุสลิมทั่วโลกจะรำลึกถึงการต่อสู้ที่ไร้เทียมทานของอิมามฮุเซน(อ.) และมิตรสหายของท่าน ที่ทำการต่อสู้กับทรราชย์ พวกเขาไว้อาลัยต่อผู้พลีชีพเหล่านี้ ที่สละชีวิตของตนเพื่อรักษาไว้ซึ่งอิสลาม

การพลีอุทิศของอิมามฮุเซน(อ.) เพื่อรักษาไว้ซึ่งอิสลามนั้น ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนในหน้าประวัติศาสตร์ของโลก ท่านกล่าวไว้ว่า
"ในทัศนะของฉัน การได้สละชีวิตลงในหนทางของอัลลอฮฺถือเป็นเกียรติยิ่ง และการยื่นมือออกไปร่วมมือกับผู้กดขี่นั้น ไม่ใช่อื่นใดนอกจากความอัปยศ"



ขอขอบคุณเว็บไซต์ อะฮ์ลุลบัยต์ อคาเดมี (ประเทศไทย)

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ศาสดาและวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ
ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ...
สถานภาพสตรีในอิสลาม
วันอีดกุรบาน ...
ยะกีนมีกี่ระดับ?
การปฏิบัติตามหน้าที่ในกัรบะลา ...
...
อิคลาศ(ความบริสุทธิ์ใจ)ในอิสลาม
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
...

 
user comment