ไทยแลนด์
Tuesday 7th of January 2025
0
نفر 0

สถานภาพสตรีในอิสลาม

สถานภาพสตรีในอิสลาม

สถานภาพสตรีในอิสลาม

 

 
وَالْمُؤْمِنُونَ وَالْمُؤْمِنَاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَاء بَعْضٍ يَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ
وَيُقِيمُونَ الصَّلاَةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَيُطِيعُونَ اللّهَ وَرَسُولَهُ أُوْلَـئِكَ سَيَرْحَمُهُمُ اللّهُ إِنَّ اللّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٌ
“บรรดาชายผู้ศรัทธา และบรรดาหญิงผู้ศรัทธา คือ ผู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในเรื่องของการชักชวนการทำความดี และห้ามปรามการทำความชั่ว และพวกเขาจะดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจ่ายซะกาต และเชื่อฟัง (อิฏออัต) อัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์ พระองค์อัลลอฮฺจะทรงเอ็นดูเมตตาแก่พวกเขาเหล่านั้น แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณยิ่ง”
(ซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 71)
“รากฐานทางความคิด” ปัญหาหนึ่งของสตรี คือ สตรีไม่รู้จักสถานภาพและบทบาทของตัวเองในอิสลาม ทั้งๆ ที่ พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้เรียกพวกเธอเหล่านั้นว่า “มุอฺมินะฮฺ”
‘มุอฺมินะฮฺ’ แปลว่า “ผู้ศรัทธาหญิง”
สตรีมุสลิมทุกคนเป็นมุสลิมะฮฺ แต่สตรีมุสลิมทุกคนไม่ใช่มุอฺมินะฮฺ (ไม่ใช่ผู้ศรัทธาที่แท้จริง)
ในโองการข้างต้นพระองค์ทรงมีพระดำรัสว่า…

 
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาชาย และบรรดาผู้ศรัทธาหญิง คือ ผู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” หมายความว่า แท้จริงแล้วผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิงในทัศนะของพระผู้เป็นเจ้ามีความเท่าเทียมกัน ทั้งสองเป็นเอาลียาอฺซึ่งกันและกัน หรือเป็นผู้ชี้แนะ ผู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในบางครั้งหญิงผู้ศรัทธาจะเป็นผู้ปกป้อง ผู้ช่วยเหลือชายผู้ศรัทธา

 
ในโองการข้างต้นอิสลามได้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของผู้ศรัทธาหญิงและชายผู้ศรัทธาว่ามีความเท่าเทียมกัน ในบางสถานการณ์ชายผู้ศรัทธาจะได้รับการสนับสนุนจากหญิงผู้ศรัทธาและลูกๆ ผู้ศรัทธาในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ และภารกิจเหล่านั้นมีอะไรบ้างที่ทั้งชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธา คือ เอาลิยาอฺซึ่งกันและกัน
ในโองการข้างต้น “การส่งเสริมการทำความดีและการยับยั้งการทำความชั่ว เป็นหน้าที่ของทั้งชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธา ที่จะต้องปกป้องและขจัดวัฒนธรรมที่แปลกปลอมที่เข้ามาในสังคมชีอะฮฺให้หมดไป ทั้งสองมีหน้าที่ในส่วนนี้เหมือนกัน ไม่มีความแตกต่างแต่อย่างใด
สรุป คือ การปฏิบัติหน้าที่ตามพระบัญชาของพระองค์อัลลอฮฺ(ซบ) สำหรับหญิงผู้ศรัทธาและชายผู้ศรัทธาเท่าเทียมกันทุกประการ ต่อมาการปฏิบัตินมาซ ทั้งชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธาก็มีภารกิจที่เท่าเทียมกัน

 
ภรรยาต้องเป็นผู้ที่กิยามในนมาซ ต้องประสพความสำเร็จในการปฏิบัตินมาซ ชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธาจะต้องเป็นผู้ที่ยืนหยัดในนมาซ เพราะนมาซจะยับยั้งพวกเขาจากความไม่ดีงามทั้งหลาย ยับยั้งเขาจากการนินทา การให้ร้าย การกระทำในสิ่งที่ไร้สาระทั้งปวงได้
คนที่ทำให้นมาซสำเร็จ คือ คนที่ขจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการทำให้นมาซสำเร็จ เช่น การติดยึดอยู่กับการแต่งตัวสวยๆ งามๆ เพราะเป็นค่านิยมของคนนอก และอื่นๆ ทั้งหญิงผู้ศรัทธาและชายผู้ศรัทธา
หากเขาเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง นมาซของเขาต้องไปถึงยังสวรรค์ด้วยกันทั้งสอง ไม่ใช่เฉพาะผู้ชาย หรือเฉพาะผู้หญิง แต่ทั้งสอง ทั้งสามีภรรยาจะต้องไปด้วยกัน
สรุป “การพัฒนาจิตวิญญาณให้สูงส่ง” สำหรับหญิงผู้ศรัทธาและชายผู้ศรัทธามีความเท่าเทียมกันทุกประการ
การจ่ายซากาต บางครั้งเป็นวายิบ บางครั้งเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ การขัดเกลาจิตวิญญาณด้านการให้ การใช้ทรัพย์สินในหนทางของพระผู้เป็นเจ้านั้น ทั้งหญิงผู้ศรัทธาและชายผู้ศรัทธาจะมีความเท่าเทียมกัน ถ้าหากสามีเชิญชวนให้ภรรยาบริจาค เขาคือ เอาลิยาอ์ของภรรยา

 
ในเรื่องการบริจาค ถ้าภรรยาเชิญชวนสามีให้บริจาค เขาคือเอาลิยาอฺของสามีในเรื่องการบริจาค

 
สรุปคือ “บทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมมุสลิม” สำหรับชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธามีความเท่าเทียมกันทุกประการ การอิฏออัต (เชื่อฟัง) ต่ออัลลอฮ(ซบ)ละรอซูลของพระองค์ ชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธาจะมีการอิฏออัตอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสตรีส่วนมากไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ แต่พวกเขาจะต้องพัฒนาตัวเอง ต้องเรียนรู้ สตรีจะต้องเรียนรู้ให้มากเท่ากับผู้ชาย และจะต้องรู้จักสถานภาพของตัวเอง และบทบาทของตัวเองในด้านต่างๆ สตรีต้องรู้ว่าเขามีความเท่าเทียมกับผู้ชายในความเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง

 
ปัญหาในปัจจุบัน คือ ผู้หญิงไม่ค่อยพัฒนาองค์ความรู้ตัวเองในเรื่องศาสนา

 
การพัฒนาองค์ความรู้ของสตรี

 
สตรีจะต้องติดตามข่าวสารสถานการณ์โลก เพื่อเขาจะได้มีความรู้ก่อนที่จะทำงาน จะสามารถนำสิ่งที่รู้นั้นไปนำเสนอต่อผู้อื่นได้
ดังนั้น “การอิฎออัต (เชื่อฟัง) ต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์” สำหรับชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธามีความเท่าเทียมกันทุกประการ

 
บทสรุป : อิสลามถือว่า ชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธามีความเท่าเทียมกันทุกประการ ไม่มีความแตกต่างกันแม้สักนิดเดียว ทว่าในเรื่องใดบ้าง?
คำตอบคือ
1- การทำความดี การส่งเสริมการทำความดี

 
การทำความชั่ว การยับยั้งการทำความชั่ว (การส่งเสริมการทำความดี และยับยั้งการทำความชั่ว)
2- การพัฒนาจิตวิญญาณให้สูงส่ง (การดำรงไว้ซึ่งการนมาซ)
3- บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมมุสลิม (การจ่ายซากาต)

 
4-การเชื่อฟังต่อพระบัญชาของพระองค์อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ (การอิฎออัตต่ออัลลอฮฺและศาสดาของพระองค์)
สตรีทุกคนจะต้องหลุดพ้นจาก “รากฐานความคิดที่ผิดพลาด” ที่ว่าสตรีไม่ได้มีความสำคัญเท่าเทียมกับบุรุษ เนื่องจากในโองการข้างต้น อิสลามถือว่า สตรีผู้ศรัทธาและบุรุษผู้ศรัทธามีความเท่าเทียมกันในเรื่องราวของศาสนา สตรีก็ต้องทำความดี พัฒนาจิตวิญญาณ รับผิดชอบสังคม และเชื่อฟังพระองค์และรอซูลของพระองค์เท่าเทียมกับบุรุษเช่นเดียวกัน

 

 
●✺ اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم ●✺

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

สุภาษิตจากอิมามฮะซัน ...
ชะฮาดะฮ์อิมามอะลี อัลฮาดีย์
ปรัชญาแห่งศีลอด
กุรอานกับการแต่งกาย
สวนฟะดักท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
...
...
ตัฟซีรอัลกุรอ่านเบื้องต้น ...
...
ความประเสริฐของ ...

 
user comment