วกชีวิตด้วยเตาบะฮ์
เตาบะฮ์หรือการกลับใจคือสถานะที่อยู่ตรงข้ามกับการทำบาปกรรมเป็นนิจสิน
ขั้นแรกของการเตาบะฮ์คือการตระหนักถึงความน่ารังเกียจของการทำบาป ตระหนักว่าบาปคือม่านที่บดบังระหว่างผู้ทรงสร้างและผู้ถูกสร้าง ระหว่างพระเจ้าและบ่าวของพระองค์
สำนึกดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดความเสียใจที่ได้ทำบาปไป และรู้สึกตัดขาดจากความเอร็ดอร่อยของบาป ทำให้สามารถตัดสินใจตั้งปณิธานว่าจะออกห่างจากบาปตลอดชีวิต รวมถึงทำให้เกิดความพยายามจะชดใช้ในสิ่งที่พลาดพลั้งไปแล้ว (เช่นการนมาซชดเชย,ศีลอดชดเชย..ฯลฯ)
และถ้าหากมีการละเมิดสิทธิของผู้อื่น (ฮักกุนนาส หรือ สิทธิมนุษย์)ก็ให้ชดใช้ความเสียหายนั้นๆเสียก่อน แล้วจึงกลับใจเตาบะฮ์ด้วยความสำนึกผิดอย่างแท้จริง
พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า
"إِنَّ اللّهَ یُحِبُّ التَّوّابِینَ وَ یُحِبُّ الْمُتَطَهِّرِینَ"
แท้จริงพระองค์ทรงโปรดผู้กลับใจและทรงโปรดผู้ชำระตนให้สะอาด
ท่านนบีได้กล่าวไว้ว่า
ผู้กลับใจเตาบะฮ์คือบุคคลที่พระองค์ทรงรัก ผู้ที่กลับใจจากการทำบาปเปรียบได้กับผู้ที่ไม่เหลือบาปในบัญชีชิวิตของเขา
อิมามบากิร (โหลนท่านศาสดา)กล่าวว่า
"หากจะเปรียบแล้ว พระองค์ทรงยินดีต่อการกลับตัวกลับใจของบ่าวคนหนึ่ง ยิ่งไปกว่าการที่นักเดินทางพบพาหนะตนเองหลังจากที่พลัดหลงในค่ำคืนที่มืดมิดเสียอีก"
อิมามศอดิกกล่าวว่า
แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักบ่าวผู้กลับตัวกลับใจบ่อยๆแม้เขาจะเคยทำบาปมาเสมอก็ตาม แต่หากผู้ใดมิได้ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ย่อมจะดีกว่าเป็นแน่แท้
จากเว็บไซต์ Tebyan.net