ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

อิสลามเชิญชวนมนุษย์สู่อะไร ?

อิสลามเชิญชวนมนุษย์สู่อะไร ?



อิสลามเชิญชวนมนุษย์สู่อะไร ?

 

หลักการที่อิสลามเชิญชวนมนุษย์ มีอยู่สามหลักพื้นฐาน ที่เรียบง่ายและชัดเจน ได้แก่

 

หลักที่ 1 สิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับชีวิต คือ การใช้ชีวิตของมนุษย์ คือ การได้มาซึ่งความสำเร็จ หรือความผาสุข  

 

ไม่มีใครที่จะสงสัยในเรื่องนี้  เพราะไม่ว่าใครต่างก็คิดว่า พวกเขาต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตกันทุกคน  เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่หวังที่จะประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ พวกเขาต้องการขจัดความต้องการ และทำให้ความบกพร่องในชีวิตสมบูรณ์ แม้แต่ผู้ที่เสียสละทรัพยสินและสิ่งที่ตนมีเพื่อผู้อื่น หรือผู้ที่ยอมทนทุกข์เพื่อให้ประชาชนสุขสบาย ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาต่างก็ต้องการได้มาซึ่งการประสบความสำเร็จในชีวิต แม้ว่าจะต้องกระทำในสิ่งที่ขมขื่นและเหนื่อยยากก็ตาม หรือแม้แต่คนที่ผู้มีจิตใจกล้าหาญ พวกเขาต่างก็ถือว่าความสำเร็จ คือ การโอบกอดความตาย

 

ความสำเร็จอันนี้แหละ คือ สิ่งที่ท่านศาสดาได้เริ่มต้นเชิญชวนสู่แนวทางนิ้ เช่น ที่ท่านกล่าวว่า


«قولوا لا اله إلّااللَّه تفلحوا»

 

“จงกล่าวเถิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ แล้วพวกท่านจะประสบความสำเร็จ”

 

อ้างอิง :

حكم النبى الاعظم ، ج 1، ص 524

 

หลักที่ 2 มนุษย์จำต้องมองด้วยความเป็นจริงสำหรับการได้มาซึ่งความสำเร็จ

 

เมื่อทุกคนต้องการประสบความเร็จ ซึ่งหมายถึงความสำเร็จจริงๆ ไม่ใช่การคาดเดา เลื่อนลอย หรือสมมุติ พวกเขาจะต้องมองหรือมีทัศนะอย่างแท้จริงด้วย คนที่หิวต้องการกินข้าว คนที่กระหายต้องการดื่มน้ำ เขาต้องการข้าว ต้องการน้ำจริงๆ ไม่ใช่สิ่งสมมุติ เขาต้องการสิ่งที่จะขจัดความหิวและกระหายได้จริงๆ ไม่ใช่ของปลอม  นั่นคือเขาต้องการไปสู่เป้าหมายที่สำเร็จอย่างแท้จริง ไม่ใช่การมโนภาพหรือการคาดไปเอง

 

สมมติว่า มนุษย์เราใช้ชีวิตกันสองรูปแบบ ในแบบที่หนึ่ง คือ ใช้ชีวิตอย่างราชา สุขสบาย และได้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการ แต่เป็นเพียงแค่ความเลื่อนลอย ไม่ใช่ความจริง และเป็นความคิดที่ผิด กับอีกชีวิตหนึ่ง คือใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย เป็นไปตามความเหมาะสม แต่เป็นชีวิตที่มีฐานจากการการมองด้วยสิ่งที่เป็นจริง  อยู่กับความเป็นจริง เมื่อเราเอาสองชีวิตมาเปรียบเทียบกัน   สามัญสำนึกของเขาย่อมเลือกชีวิตในรูปแบบที่สอง

 

ผลจากการมีวิสัยทัศน์ที่สัจจริง คือ สำหรับผู้ที่ศึกษาแนวทางที่แท้จริงของอิสลาม ศึกษาอัลกุรอ่าน และ อัลฮาดิษ เขาจะไม่สงสัยเลยว่า แต่ละประโยคที่เป็นรากฐานของอิสลาม วางอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่มั่นคงของมนุษย์ ผลที่ได้รับก็คือ มนุษย์ จะปฏิบัติตามความจริง ,สัจธรรมในทุกสภา เขาจะยอมจำนนต่อสัจธรรม แม้ว่ามันจะขัดแย้งกับ อารมณ์ใฝ่ต่ำของเขาก็ตาม ตัวอย่างเหมือนกับคนป่วยที่ต้องรักษาสุขภาพเขาจะปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์เพื่อขจัดโรคที่ตัวเองมีให้หายไป และเหมือนกับสังคมทุกคนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งในความเป็นจริงกฎหมายเหล่านี้จะต้องถูกปฏิบัติ แม้ว่ามันจะขัดแย้งกับความเห็นของคนบางกลุ่มก็ตาม

 

อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของอิสลาม การเชื่อฟัง สัจธรรม ครอบคลุมทุกมิติ และสภาพการและไม่มีอื่นจากนี้ ไม่มี โมฆะชั่วครู่ สัจธรรมชั่วคราว โมฆะส่วนหนึ่งและ สัจธรรมอีกส่วน

 

อัลกุรอ่านชี้นำว่า หากละทิ้งสัจธรรมแล้ว ไม่มีอะไรอื่น นอกจากความหลงผิด


فَمَاذَا بَعْدَ الْحَقِّ إِلَّا الضَّلَالُ ۖ فَأَنَّىٰ تُصْرَفُونَ

 

“ฉะนั้นหลังจากความจริงแล้วจะมีอะไรอีกเล่า นอกจากความหลงผิดเท่านั้น แล้วทำไมเล่าพวกท่านจึงถูกให้หันเหออกไปอีก?” บทยูนูส : 32

 

และเช่นเดียวกัน อัลกุรอ่านยังชี้นำว่า  หากสัจธรรม คือ สิ่งที่สอดคล้องกับ อารมณ์ใฝ่ต่ำ โลกจะต้องพินาศย่อยยับอย่างแน่นอน

 

وَلَوِ اتَّبَعَ الْحَقُّ أَهْوَاءَهُمْ لَفَسَدَتِ السَّمَاوَاتُ وَالْأَرْضُ وَمَنْ فِيهِنَّ ۚ بَلْ أَتَيْنَاهُمْ بِذِكْرِهِمْ فَهُمْ عَنْ ذِكْرِهِمْ مُعْرِضُونَ

 

“และหากว่าความจริงนั้นสอดคล้องอารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขาแล้ว ชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินและสิ่งที่อยู่ในนั้นต้องเสียหายอย่างแน่นอน แต่ทว่าเราได้นำข้อเตือนสติของพวกเขา (คืออัลกุรอาน) มาให้พวกเขาแล้ว แต่พวกเขาเป็นผู้หันหลังให้กับข้อเตือนสติของพวกเขา”

บท มุอฺมินูน  :71

 

นี่คือ ความจริงในอิสลาม ซึ่งสอดคล้องกับสามัญสำนึกของมนุษย์และไม่ต้องสงสัยเลยว่า ไม่มีสามัญสำนักของมนุษย์คนใดที่ บอกกับมนุษย์ว่า อย่าตามสิ่งที่เป็นสัจธรรม

แน่นอน ในสังคมของมนุษย์ย่อมมีผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับธรรมะและต่อต้านสัจธรรม แต่ถึงกระนั้น บางส่วนก็รู้ตัวว่า การต่อต้านสิ่งที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่น่าตำหนิและขัดแย้งกับคุณธรรมในจิตใจและบางส่วนก็พยายามต่อต้านและสำนึกเสียใจต่อการต่อต้านคุณธรรมความดี พวกเขาได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ การกลับสู่ทางที่ถูกต้องอีกครั้ง ทว่าเหนือสิ่งอื่นใด ประเด็นเรื่องความจำเป็นต่อการปฏิบัติตามสัจธรรม ต่อการปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกต้อง  ก็ถือเป็นหลักที่สอดคล้องกับสติปัญญา และชัดเจนโดยตัวของมัน

 

หลักที่ 3 ในระหว่างการเดินทางของชีวิต มนุษย์จะต้องก้าวหน้าในการรู้จักวิธีใช้สติปัญญา

 

การที่มนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตบนเส้นทางที่ถูกต้องได้ เขาจะต้องรู้จักวิธีใช้สติปัญญาอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ใช้ความรู้สึก เพราะคุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์ ก็คือ พลังแห่งสติปัญญา

 

พวกเขาสามารถกระทำทุกการงานและตัดสินได้ โดยอาศัยพลังแห่งสติปัญญาอันนี้  และด้วยพลังอันนี้ มันจะทำให้พวกเขาสามารถแยกแยะ ผิด ถูก ชั่ว ดี จริง เท็จ และทำให้เขาสามารถตัดสินใจทำในสิ่งที่เหมาะสมและไม่ทำในสิ่งที่เหมาะสม ส่วนบรรดาสรรพสัตว์จะใช้สัญชาติญาณดิบในการดำรงชีวิต

 

ด้วยสติปัญญาและความคิด จะนำพามนุษย์ไปสู่ความสำเร็จและความผาสุขในชีวิตปัจเจก และสังคมของมนุษย์ พวกเขาจะต้องใช้ การใช้เหตุผลและตรรกะของมนุษย์ ในการใช้ชีวิต ไม่ใช่ วิธีการใช้ชีวิตแบบสัตว์ ปัญหาของมนุษย์ ไม่ได้อยู่ตรงที่ พวกเขาไม่มีสติปัญญา แต่อยู่ตรงที่พวกเขาไม่ใช้สติปัญญา

 

ความมั่นคงของหลักการนี้ในโลกแห่งความเป็นมนุษย์ มีความชัดเจนถึงขั้นที่ ไม่มีผู้ใดบนโลกนี้ ที่จะพูดว่า การมีสติปัญญา และการใช้สติปัญญา ถือเป็นสิ่งที่ไม่ดีและไม่มีใครชอบที่จะอยู่อย่าง ไร้ปัญญาและอิสลามก็เรียกร้องมนุษย์ไปสู่สิ่งนี้

 

ผลของหลักทั้งสามประการ


จากหลักทั้งสามประการที่ได้นำเสนอไป ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า มนุษย์จะต้องแสวงหาการประสบความสำเร็จของชีวิตที่เป็นจริง  ทั้งในด้านวัตถุและ จิตวิญญาณ  ด้วยการใช้สติปัญญาและการใคร่ครวญ เป็นประตู เปิดไปสู่หนทางที่ถูกต้อง  ไม่มีใครในโลกนี้ ที่ไม่ต้องการความสำเร็จหรือไม่ต้องการความสำเร็จที่เป็นจริง หรือ หากจะมีมนุษย์ที่ไม่ใช้สติปัญญา เขาก็คงเปรียบดั่งเด็กแรกเกิดหรือมนุษย์ที่ไม่ใช้ของขวัญที่ตัวเองได้รับ และในความเป็นมนุษย์ของเขา ก็จะไม่มีทางไปสู่ความสมบูรณ์

 


บทความโดย Muhammad Behesti


ที่มา เอบีนิวส์ทูเดย์

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อิคลาศ(ความบริสุทธิ์ใจ)ในอิสลาม
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
...
ข้อเท็จจริง (ฮะกีกัต) ...
ความรู้ ...
ทำไมต้องเราต้องมารำลึก ...
ประวัติย่อของอิมามมุฮัมมัด ...
คุณสมบัติของอัล-กุรอาน
สานสัมพันธ์กับอิมามซะมาน
...

 
user comment