ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

ตัฟซีรซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ ตอนที่ 1

ตัฟซีรซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ ตอนที่ 1

 

อายะฮฺที่ 1

 

بِسمِ اللّه الرَّحمنِ الرَّحِيم

 

ความหมาย


ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ

 

คำอธิบาย

 

ท่ามกลางกลุ่มชนและประชาชาติต่าง ๆ ถือว่า เป็นประเพณีในการเริ่มงานที่สำคัญของตนด้วยกับนามของบุคคลสำคัญหรือผู้อาวุโสที่ได้รับความเคารพนับถือและเป็นที่รักยิ่งในหมู่พวกเขาเพื่อที่ว่าการงานนั้นจะได้เกี่ยวพันกับบุคคลดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้น แน่นอนที่สุดประเพณีดังกล่าวนี้ จึงถูกวางบนพื้นฐานความเชื่อทั้งที่ถูกต้องและเป็นเท็จ กล่าวคือ บางกลุ่มชนเริ่มต้นงานของตนด้วยกับนามของเทวรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆตามความเชื่อของพวกเขา หรือผู้ปกครองที่ต่อต้านอัลลอฮ์ (ซบ.)ในขณะที่ บางกลุ่มชน งานของพวกเขาเริ่มต้นด้วยกับพระนามของอัลลอฮ์ (ชบ.)และด้วยกับพลังอำนาจของมวลมิตรผู้เป็นที่รักของพระองค์ (เอาลิยาอ์)ดังเช่น ในสงครามคอนดัก ผู้ที่ลงมือขุดสนามเพลาะเป็นคนแรกคือท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)


ตัวอย่างการเริ่มต้นงานด้วย بِسمِ اللّه

1. คัมภีร์ของอัลลอฮ์ (อัลกุรอาน) เ ริ่มต้นด้วย بِسمِ اللّه الرَّحمنِ الرَّحِيم

2. ไม่เพียงแค่กุรอานเท่านั้น แต่ทว่าคัมภีร์อื่นๆ ของอัลลอฮฺ (ซบ.)ก็เริ่มต้นด้วย بِسمِ اللّه เช่นกัน

3. ภารกิจของศาสดาทุกท่านเริ่มต้นด้วย بِسم اللّه

4. เมื่อเรือของท่านศาสดานุฮ์ (อ.) เริ่มเคลื่อนตัวในท่ามกลางพายุ และคลื่น ศาสดานุฮ์ (อ.) ได้สั่งสหายของท่านว่า จงขึ้นเรือซึ่งการเคลื่อนและหยุดของเรือนี้ด้วยพระนามของอัลลอฮ์


ดัง อัลกุรอานกล่าวว่า

 

بِسم اللّهِ مَجرِيهَا وَمُرسَهَا(1)

 

5.ในขณะที่ท่านศาสดาสุลัยมาน(อ.) เชิญชวนราชินีแห่งเมืองสะบาอ์ให้ศรัทธาต่ออัลลฮ์ (ซบ.) นั้น ท่านได้ส่งจดหมายเชิญชวนไปถึงพระนางด้วยถ้อยคำ

 

بِسم اللّهِ الرَّحمنِ الرَّحِيم

(2)

 

6.ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล ฯ)เริ่มภารกิจการเผยแผ่สาส์นของท่านด้วยพระนามของอัลลอฮ์


ดัง อัลกุรอานกล่าวว่า

 

اِقرَأبِاسمِ رَبِّكَ

 

7.ท่านอิมามอะลี (อ.)ได้กล่าวกับชายผู้หนึ่งที่เขียน بِسمِ اللّه ว่า “จงเขียนให้ดีและสวยงามที่สุด

 

8. การกล่าว بِسمِ اللّه ในการเริ่มงานต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งงาน การขี่พาหนะ การเริ่มออกเดินทางและงานอื่นๆได้รับการแนะนำและให้ความสำคัญไว้ จนกระทั่งว่า ถ้าหากสัตว์ถูกเชือดโดยไม่ได้กล่าว بِسمِ اللّه การบริโภคเนื้อสัตว์ดังกล่าวถือเป็นสิ่งต้องห้ามและนี่คือรหัสที่เผยให้เห็นว่า ผู้ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียวซึ่งเป็นผู้ที่มีทิศทางและเป้าหมายนั้น แม้แต่อาหารของพวกเขาก็จำเป็นต้องมีทิศทางและเป้าหมายเพื่อพระผู้เป็นเจ้าด้วยเช่นกัน

 

คำถาม สองประการเกี่ยวกับ بِسمِ اللّه

1. เพราะเหตุใดในการเริ่มงานต่าง ๆ ด้วย بِسمِ اللّه  จึงได้รับการแนะนำและให้ความสำคัญไว้ ?

 

ในทำนองเดียวกัน กับที่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของโรงงานหนึ่ง ๆจะมีตราหรือเครื่องหมายของโรงงานนั้น ๆปรากฏอยู่ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะอยู่ในรูปของชิ้น ส่วนเล็ก ๆหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปก็ตามหรือดังเช่น ธงชาติของทุกประเทศที่ติดอยู่ตามสถานที่สำคัญต่างๆ ตามเรือสินค้าของประเทศนั้น ๆ และตามโต๊ะในสำนักงาน

 

เครี่องหมายและสัญลักษญ์เหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อทิศทาง และเป้าหมายของโรงงานในการผลิตสินค้าหรือแนวทางและอุดมการณ์ของประเทศนั้นๆ จะได้มีถูกเบี่ยงเบนออกไป และเครี่องหมายหรือสัญลักษณ์ดังกล่าวจะได้ไม่ถูกลืมเลือนไปจากความทรงจำของประชาชน

 

พระนามของอัลลอฮ์ (ซบ. )และการรำลึกถึงพระองค์ ก็เช่นเดียวกันถือเป็นสัญลักษณ์ของมุสลิม

ด้วยเหตุนี้ ได้มีรายงานในฮะดีษบทหนึ่งว่า


“จงอย่าลืมبِسمِ اللّه “แม้แต่ในการเขียนกลอน สักวรรคหนึ่งก็ตาม”


และในฮะดีษอีกหลายบทได้ระบุถึงผลบุญของผู้ที่สอน بِسمِ اللّه ให้กับเด็กๆ เป็นครั้งแรก (ทั้งนี้เนื่องจากงานดังกล่าวเป็นการปลูกฝังเครื่องหมายของมุสลิมให้กับพวกเขาตั้งแต่เยาว์วัย) (3)

 

นอกจากนี้ ท่านอิมามอะลี (อ. ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของเริ่มงาน ด้วยبِسمِ اللّه ไว้ว่า بِسمِ اللّه เป็นที่มาของความจำเริญ (บะรอกะฮฺ)และการละทิ้งเป็นสาเหตุของการไม่สัมฤทธิผลในกิจการงาน”

 

2. بِسمِ اللّهِ ا لرَّحمنِ الرَّحِيم คือ อายะฮ์ของอัล-กุรอานใช่หรือไม่ ?

 

2.1 ) ตามทัศนะของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ ) ของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อล ฯ)(4)

 

 

ซึ่งมีช่วงชีวิตอยู่ก่อนหน้านี้ ถ้าบรรดาผู้นำสำนักคิดทางนิติศาสตร์(มัซฮับ) ต่างๆ ประมาณ100 ปี และเป็นผู้พลีชีพในหนทางของอัลลอฮ์ (ซบ. )อีกทั้งเป็นกลุ่มชนที่อัลกุรอานได้กล่าวถึงความบริสุทธิ์จากบาป ความผิดพลาดและความหลงลืม (อิศมัต) ของพวกเขาไว้อย่างชัดเจน บุคคลเหล่านี้ถือว่า
بِسمِ اللّهِ ا لرَّحمنِ الرَّحِيم เป็นอายะฮ์หนึ่งของอัล-กุรอาน

 

2.2) ท่านฟัครุดดีน อัรรอซี ได้นำเสนอหลักฐานไว้ 16 ประการในตำราตัฟซีร(อรรถาธิบายอัลกุรอาน)ของเขาที่ยืนยันให้เห็นว่า بِسم اللّهِ الرَّحمنِ الرَّحِيم เป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์

 

2.3) ท่านอาลูซี(5)เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่มีทัศนะดังกล่าว

 

2.4) ในมุสนัดอะห์หมัดได้บันทึกไว้เช่นเดียวกันว่า بِسمِ اللّه เป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์(6)

 

2.5) บุคคลที่ไม่ถือว่า بِسمِ اللّه เป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์ และทิ้งการอ่าน بِسمِ اللّه ในนมาซนั้นได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น วันหนึ่งในขณะที่มุอาวิยะฮ์กำลังนำนมาซและไม่ได้อ่าน بِسمِ اللّه

ประชาชนได้ทักท้วงเขาว่า


اَسرَقتَ الصَّلاَةَ اَو نَسِيتَ

ท่านได้ขโมยนมาซหรือว่าหลงลืม(7)

 

2.6) ท่านอิมามมุฮัมมัด อัลบากิร (อ.)ได้กล่าวถึงบุคคลที่ไม่ได้อ่านبِسمِ اللّه ในนมาซหรือบุคคลที่ไม่ถือว่า بِسمِ اللّه  เป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์ว่า


“พวกเขาได้ขโมยอายะฮ์ที่ประเสริฐที่สุดไปจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์”

 

سَرَقُوا اَكرَمَ آيَة فَى كِتَابِ اللّه(8)

2.7) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (มะอ์ศูม) จากครอบครัวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล ฯ) ได้ยืนกรานให้อ่าน


بِسمِ اللّه ในนมาซด้วยเสียงดัง (ทั้งนี้เพื่อเป็นการทวนกระแสของสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในศาสนา)

 

2.8) ในสุนันบัยฮะกี ได้บันทึกฮะดีษบทหนึ่งไว้ซี่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า


“ทำไมบางคนจึงไม่ถือว่า بِسمِ اللّه เป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์(9)

 

2.9) ชะฮีดมุเฎาะฮะรี (10 )ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรซูเราะฮ์ฟาติฮะฮ์ว่า


“อิบนุอับบาส, อาศิม, กะซาอีย์, อิบนุอุมัร, อิบนุชุบัยร์. อะฏออ์ฏอวูส และซุยูฏีย์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่า

بِسمِ اللّه คือ ส่วนหนึ่งของชูเราะฮ์.”

 

2.10) กุรฎุบีย์ได้ รายงานจากท่านอิมามญะอ์ฟัร์ อัศ-ศอดิก (อ.) ซึ่งท่านอิมาม (อ. ) กล่าวว่า بِسمِ اللّه ” คือมงกุฎของชูเราะฮฺ” ยกเว้นซูเราะฮ์เตาบะฮ์ (ซูเราะฮ์บะรออะฮ์) เท่านั้นที่ไม่มี بِسمِ اللّه ทั้งนี้ตามคำอธิบายของท่านอิมามอะลี (อ. )เนื่องจาก بِسمِ اللّه เป็นถ้อยคำที่ยังความปลอดภัยและความเมตตา ส่วนการ “บะรออะฮ์”ซึ่งเป็นการประกาศความเกลียดชัง และความเป็นศัตรูต่อผู้ปฏิเสธและผู้ตั้งภาคีนั้น ไม่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความเมตตา (11 )

 

บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮ์นี้

 

1. بِسمِ اللّه คือ เครื่องหมายบ่งชี้ถึง ” สีของอัลลอฮ์” (ศิบเฆาะตุลลอฮ์) (12 ) และเป็นเครื่องกำหนดทิศทางความศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว(เตาฮีด)ของมนุษย์


2 . คือ รหัสของการยอมรับความเป็นเอกะของอัลลอฮ์(ซบ. )ส่วนนามของบุคคลอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮ์(ซบ. ) ถือเป็นรหัสของการปฏิเสธและการกล่าวพระนามของอัลลอฮ์ (ซบ.) ควบคู่กับนามของบุคคลอื่นถือเป็นสัญลักษณ์ของการตั้งภาคี (13)

 

ความหมายของอายะฮ์ سَبِّحِ اسمَ رَبِّكَ ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าวนี้ว่า พระนามของอัลลอฮ์
(ซบ.) จำเป็นต้องสะอาดบริสุทธิ์ด้วยเช่นกัน

 

3.بِسمِ اللّه คือ รหัสของความเป็นนิรันดร์ เพราะสิ่งใดก็ตามที่ไม่มี “สีของอัลลอฮฺ” ล้วนมลายสิ้น (14 )

 

4.بِسمِ اللّه คือ รหัสที่เผยให้เห็นว่า เนื้อหาของซูเราะฮ์ได้ถูกประทานลงมาจากผู้เป็นต้นกำเนิดของสัจธรรมและความเมตตา

 

5. بِسمِ اللّه คือ รหัสของความรักและความไว้วางใจในพระองค์

 

6.بِسمِ اللّه คือ เครื่องหมายของการถอนตัวออกจากความยโสโอหัง และการแสดงความไร้ความสามารถของพระองค์

7.بِسمِ اللّه คือ ก้าวแรกของความเป็นบ่าว

 

8.بِسمِ اللّه คือ รหัสของการขับไล่ชัยฎอน (มารร้าย) บุคคลใดก็ตามที่อยู่กับอัลลอฮ์ (ซบ. )ชัยฎอนจะไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อผู้นั้นได้

 

9.بِسمِ اللّه คือ หลักประกันและที่มาของความบริสุทธิ์ในกิจการงานต่างๆ

 

10๐.การกล่าว بِسمِ اللّه ประหนึ่งให้ความหมายว่า “โอ้อัลลอฮ์ ข้าพระองค์ไม่เคยลืมเลือนพระองค์”

 

11. การกล่าว  بِسمِ اللّه ประหนึ่งให้ความหมายว่า “โอ้อัลลอฮ์ แรงบันดาลใจและเป้าหมายของข้าพระองค์คือพระองค์ มิใช่ประชาชน มิใช่ผู้ปกครองที่อธรรม มิใช่ความศิวิไลของโลกนี้ และมิใช่อารมณ์ใฝ่ต่ำ”

 

12.بِسمِ اللّه หมายถึง “การขอความช่วยเหลือของข้าพระองค์ เฉพาะจากพระองค์เท่านั้น”และอาจกล่าวได้ว่า ความหมายของคำกล่าวที่ว่า “อัล-กุรอานทั้งหมดรวมอยู่ในซูเราะฮ์ฟาติฮะฮ์ และซูเราะฮ์ฟาติฮะฮ์รวมอยู่ในบิสมิลลาฮ์และบิสมิลลาฮ์รวมอยู่ในอักษรบานั้น หมายถึงการสร้างสรรค์การชี้นำและการย้อนกลับคืนของสรรพสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลายนั้น ล้วนเกิดขึ้นด้วยกับการแสวงหาความช่วยเหลือจากพระองค์ทั้งสิ้น(15)


(แต่อย่างไรก็ตามอัลลอฮ์ (ซบ. ) เท่านั้นที่ทรงรู้ความแท้จริงของมัน)

 

13.بِسمِ اللّه คือ รหัสที่เผยให้เห็นว่า การเริ่มงานต่าง ๆ นั้น ต้องการกำลังใจ ความหวังและความเมตตาซึ่งที่มาและบ่อเกิดของพลังอำนาจ ความหวังและความเมตตาทั้งมวลคืออัลลอฮ์ (ซบ )

 

ด้วยเหตุนี้  اَلرَّحمن (ผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ) และ اَلرَّحِيم (ผู้ทรงเมตตายิ่ง) จึงนำมาใช้หลังคำว่า  اَللّه

 

14. มนุษย์ก็เช่นเดียวกัน จะต้องสร้างกำลังใจและความหวังโดยการรำลึกถึงอัลลอฮ์(ซบ.) ด้วยกับพระนามที่สมบูรณ์ และครอบคลุมที่สุด (16)ควบคู่กับคุณลักษณะแห่งความเมตตาและความกรุณาปรานีของพระองค์ (17)


ด้วยการกล่าวว่า

بِسمِ اللّه الرَّحمنِ الرَّحِيم


การเริ่มงานด้วยกับถ้อยคำที่หมายถึง ความเมตตานั้นแสดงให้เห็นว่า รากฐานของทุกกิจการงานวางอยู่บนความเมตตากรุณาและเป็นเครี่องหมายที่ชี้ให้เห็นว่า การแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้เป็นต้นกำเนิดของความเมตตานั้นเหมาะสมและคู่ควรยิ่ง

 

อ้างอิง


1. ซูเราะฮ์ ฮูด อายะฮ์ที่41


2. ซูเราะฮ์ อัล-นัมลิ อายะฮ์ที่30


3.ตัฟซีร อัลบุรฮาน เล่มที่ 1 หน้าที่ 43


4.บุคคลกลุ่มหนึ่งจากครอบครัวและสายตระกูลของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ที่ได้รับการเลือกสรรจากอัลลอฮ์ (ซบ.) ให้เป็นผู้นำประชาชาติมุสลิมหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) บุคคลเหล่านี้ได้แก่ ท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ท่านอิมามฮุเซน (อ.)และผู้สืบสายตระกูลของท่านอิมามฮุเซนอีก 9 ท่าน


5.ท่านอาลูซีเป็นนักปราชญ์ท่านหนึ่งของอะฮ์ลิซซุนนะฮฺ และเป็นผู้เขียนตัฟซีร รูฮุล-มะอานี


6. มุสนัดอะห์หมัด เล่มที่ 3หน้าที่ 177 เล่มที่ 4 หน้าที่ 85

 

7.มุสตัดร็อก ฮากิม เล่มที่ 1หน้าที่ 233


8. ตัฟซีร อัลบุรฮาน เล่มที่ 1หน้าที่ 42 หะดีษที่ 15


9.สุนันบัยฮะกี เล่มที่ 2หน้าที่ 50


10. ชะฮีดมุเฏาะฮะรี เป็นนักปราชญ์ร่วมสมัยผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งทีมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ มากมายเช่น ปรัชญา ตรรกวิทยา ฯลฯ ท่านได้ถูกลอบสังหารโดยศัตรูของอิสลามในวันที่ 1 พ.ค. ค.ศ. 1979


11. มัจมะอุล-บะยาน เล่มที่ 5หน้าที่ 2 และฟัครุร-รอซี เล่มที่ 15 หน้าที่ 216


12.โดยปรกติแล้วจิตวิญญาณและธรรมชาติของมนุษย์จะปรับเปลี่ยนไปตามความเชื่อในแนวทางของศาสนา และแนวความคิดของตนเอง ประหนึ่งถูกย้อมด้วยสีสันของสิ่งเหล่านี้ผู้ศรัทธาในอัลลอฮ์ (ซบ.) จะได้รับการย้อมด้วยสีสันของพระองค์ ซึ่งหมายถึงแนวทางอันบริสุทธิ์ของอิสลามกล่าวคือ อิสลามจะชำระขัดเกลาจิตใจสติปัญญาและความคิดของผู้ศรัทธาให้สะอาดบริสุทธิ์จากมลทิน ความมืดมนและสีสันของความเท็จทั้งมวล


13.แม้กระทั่งการเริ่มต้นด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซบ.) ควบคู่กับนามของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ก็ถือว่าไม่อนุญาตเช่นกัน (อิษบาตุล-ฮุดา เล่มที่ 7 หน้าที่ 482)


14.كُلُّ شَىءٍ هَالِكٌ اِلاِّ وَجهَهُ ทุกสรรพสิ่งพินาศสิ้น ยกเว้นแก่นแท้ (ซาต) อันบริสุทธิ์ของพระองค์ (อัล-เกาะศ็อด 88)


15.เนื่องจากตามทัศนะนักวิชาการบางส่วน ความหมายหนึ่งของอักษร บาอ์ในบิสมิลลาฮ์ คือ “อิสติอานะฮ์” (การแสวงหาความช่วยเหลือ) ดังนั้น

بِسمِ اللّه الرَّحمنِ الرَّحِيم

จึงหมายถึง “ข้าพระองค์ขอความช่วยเหลือ ด้วยกับพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ ผู้ทรงเมตตายิ่ง”


16. พระนามของอัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ถูกกล่าวไว้ในอัล- กุรอาน 100 พระนามซึ่งอัลลอฮ์เป็นพระนามที่สมบูรณ์และครอบคลุมที่สุด

 

17. اَلرَّحمن เป็นนามที่ใช้เฉพาะกับอัลลอฮ์ (ซบ.) เท่านั้น ซึ่งหมายถึงผู้ที่ความเมตตาของเขาแผ่กว้าง ไม่มีขอบเขตจำกัดและครอบคลุมทุกสรรพสิ่ง ในขณะที่ผู้อื่นนอกเหนือจากพระองค์นั้น ความเมตตาของเขาอยู่ในขอบเขตจำกัดหรือไม่ก็เป็นผู้ไร้ความเมตตาหรือมิเช่นนั้น ก็เป็นผู้คาดหวังรางวัลตอบแทนโลกนี้หรือโลกหน้าจากการแสดงความเมตตาของตน

 

ที่มา ตัฟซีร นูร เขียนโดย ฮุจญตุลอิสลาม มุฮ์ซิน กะรออะตี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อาณาจักรดุอาสะฮัร
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 ...
ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ ...
...
...
ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 ...
ดุอาประจำวันที่ 18 ...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย

 
user comment