ประชาชาติสายกลางในทัศนะของอัลกุรอาน
อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า
และพวกยิวกล่าวว่า พวกคริสต์มิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใด และพวกคริสต์กล่าว่า ชาวยิวมิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใด ทั้ง ๆ ที่พวกเขาอ่านคัมภีร์ ในทำนองเดียวกัน พวกที่ไม่มีความรู้ (บรรดามุชริก) ก็ยังกล่าวเยี่ยงคำกล่าวของพวกเขา ดังนั้น ในวันฟื้นคืนชีพ อัลลอฮฺจะทรงตัดสินระหว่างพวกเขาในเรื่องที่พวกเขาขัดแย้งกัน [1]
อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนดให้มวลมุสลิมเป็นประชาชาติสายกลางในหมู่ประชาชาติทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่พวกยิวและคริสต์ ดังนั้น ประชาชาติสายกลางจึงต้องห่างไกลจากความล้าหลัง และการทำที่เลยเถิดในด้านความเชื่อ และเรื่องเป็นพฤติกรรมของบรรดาศาสนทูตทั้งหลาย
ท่านฮากิมอัลนิชาบูรีย์ กล่าวว่า “แท้จริงพวกเขาคือ พวกอยู่ตรงกลางในเรื่องศาสนาระหว่างพวกทำที่ทำเลยเถิด กับพวกที่หย่อนยานในหน้าที่ ระหว่างพวกทีทำเยยเถิดกับพวกที่ล้าหลังในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพของบรรดาศาสนทูต เช่น พวกยิวและคริสต์ [2]
สภาพสายกลางนั้นหมายถึง ดีและสมดุลที่สุด
ท่านซะมัคชะรีย์ กล่วว่า “ที่บอกว่าสิ่งที่ดีนั้นคือสายกลาง ก็เพราะว่ารอบ ๆ มันต่างมีแต่ความอ่อนแอ และไร้ค่าที่ต่างมุ่งเป้ามาที่ส่วนกลาง ส่วนตรงกลางนั้นเป็นหลักและได้รับการปกป้อง..... หรือมีสภาพสมดุลนั้น ก็เพราะว่าส่วนกลางนั้นเป็นตัวสร้างสมดุลระหว่างสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวมัน”[3]
ท่านอัล กุรฏุบีกล่าวไว้เหมือนกับซะมัคชะรีย์เช่นกัน[4]
สภาพความเป็นกลาง หมายถึงการสมดุลระหว่างการเกินเลย กับการขาดตกบกพร่องนั้นถูกนำมาใช้ตามทัศนะอันมีชื่อเสียงของนักอรรถาธิบายอัล-กุรอาน [5]
โองการนี้ก็เหมือนโองการข้างต้นที่ว่า มีเจตนารมณ์ให้หมายถึงประชาชาติโดยรวม ถึงแม้ว่าบุคคลบางกลุ่ม เช่น อับดุลลอฮฺ บิน อะบีฮาติม รอซี เคาะฏีบ บัฆดาดี อิบนุฮะซัร อัซก่อลานี อิบนุอับดุลบิร กุรฏุบี อิบนุศศิลาฮ์ และอิบนุนนัจญาร[6] ได้พยายามดึงลงมาครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคล โดยกำหนดว่า มุสลิมทุกคนนั้นอยู่ในทางสายกลางและมีความสมดุล แล้ว “เซาะฮาบะฮ์”ทั้งหมดก็มีความเที่ยงธรรมตามการยืนยันของ อัล-กุรอาน
ท่านฟัฎล์ ฏ็อบร่อซี กล่าวว่า “แท้จริง อัลลอฮฮตะอาลาทรงกำหนดให้ประชาชาติของศาสนทูตแห่งพระองค์ มีสภาพสมดุลและเป็นกลางอยู่ระหว่างศาสดาและมวลมนุษย์ หากมีการกล่าวว่า ถ้าในหมู่ประชาชาตินั้นไม่มีใครมีคุณสมบัติเช่นนั้น จะมีการกำหนดคุณลักษณะของกลุ่มุคนทั้งหมดได้อย่างไร คำตอบนั้นคือ ความหมายที่ต้องการสื่อก็คือ บุคคลที่มีคุณสมบัติตามนั้นเพราะในทุกห้วงเวลาย่อมต้องมีคนที่มีคุณสมบัติเช่นว่านั้นเสมอ [7]
ท่านอะฮ์มัดมุซเฏาะฟา มะรอฆี ได้กำหนดเงื่อนไขของการมีคุณสมบัติของความเที่ยงธรรมและเป็นกลางว่า หมายถึงการปฏิบัติตามแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตของท่านศาสดา(ซ็อล ฯ)ดังนั้น บุคคลใดที่ไม่ปฏิบัติตามสิ่งนั้นก็เท่ากับเขาได้หลุดออกจากประชาชาตินี้ไปแล้ว โดยกล่าวว่า “อันที่จริงเราจะได้รับสิทธิมีคุณสมบัตินี้ก็ต่อเมื่อเราได้ปฏิบัติตามวิถีทาง และหลักการของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งมก็คือสิ่งที่พระองค์ได้ทรงทำให้มันมั่นคงอยู่กับบุคคลที่ปฏิบัติตามเท่านั้น ส่วนบุคคลใดฝ่าฝืนออกจากแนวทางน และอุตรินำเอาวิถีทางอื่นขึ้นมาแทนที่ ทั้งผันแปรออกจากทางหลักการนี้ไป เมื่อนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จะเป็นพยานยืนยันต่อพวกเขาด้วยศาสนา และแนวทางของท่านว่าเขามิใช่ หนึ่งในประชาชาติของท่าน....ด้วยเหตุนี้เองที่เขาจะออกจากทางสายกลาง และเข้าร่วมไปในด้านใดด้านหนึ่ง”[8]
ท่านมุฮัมมัดรเราะชีด ริฎอ ก็แสดงทัศนะดังกล่าวนี้ใน “ตัฟซีร อัลมะนาร”[9]
ท่านอัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอี เจาะจงว่าคุณสมบัติเหล่านี้เป็นของ “เอาลิยาอ์” (ผู้เป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ)เท่านั้นไม่ใช่ของบุคคลอื่น โดยกล่าวว่า “เป็นที่รับรู้กันว่า คุณวิเศษนี้ไม่ใช่สิ่งที่ประชาชาติทุกคนจะได้รับมัน มันเป็นคุณวิเศษเฉพาะสำหรับ “เอาลิยาอ์”ผู้บริสุทธิ์ในหมู่พวกเขา”[10]
ท่านยังกล่าวอีกว่า “ความหมายที่ต้องการสื่อเรื่องประชาชาติจะเป็นพยานยืนยัน (พฤติกรรมทั้งหลาย) ก็คือการเป็นพยานยืนยันนี้อยู่ในกรณีของพวกเขา เสมือนดังเช่น ความหมายที่ต้องการสื่อเรื่องที่ว่า ชาวบะนีอิสรออีลประเสริฐกว่าชาวโลกทั้งผองนั้น ความประเสริฐที่ว่านี้มีอยู่ในกรณีของพวกเขา โดยปราศจากซึ่งการให้คุณสมบัติเหล่านี้แก่ทุกคนในหมู่พวกเขา แต่มันเป็นการอ้างอิงถึงคนทั้งหมด เพราะบางส่วนก็อยู่ในกลุ่มคนทั้งหมด และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนนั้นนั่นเอง[11]
สิ่งที่ยืนยันจุดหมายมิใช่ทุกคนในประชาชาตินั้นก็เพราะมีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้นำเสนอทัศนะเรื่องหลักฐานอ้างอิงของฉัน ตามมติของประชาชาตินั้น มักจะอ้างอิงไปยังโองการ ดังกล่าว พวกเขากล่าวอ้างว่า การลงความเห็นตามมติของประชาชาติ เป็นหลักฐานอ้างอิงโดยไม่ต้องพิจารณาไปยังแต่ละบุคคล ดังเช่นที่ ชะรีฟ มุรตะฎอ[12] บูฮัยยาน อันดะลูซี[13] แจงเรื่องพวกเขาไว้
ท่านอะลาอุดดีน บุคอรี ได้เน้นย้ำว่า จุดมุ่งหมายดังกล่าวคือ ประชาชาติโดยรวมทั้งหมด โดยเขากล่าวว่า “เป็นความเหมาะสมที่ว่า ประชาชาติโดยรวมนั้นต้องได้รับการระบุว่ามีความเที่ยงธรรม
ฉะนั้น ทุกคนก็ไม่อาจได้รับการระบุว่ามีคุณลักษณะดังกล่าว เพราะในความเป็นจริงมันขัดแย้งกับสิ่งนั้น”[14]
ดังนั้น จึงเป็นการไม่ถูกต้องที่มีการอ้างอิงเรื่องความเที่ยงธรรมของบรรดา “เซาะฮาบะฮ์”ทั้งหมดด้วยโองการอันจำเริญดังกล่าว ส่วนการอรรถาธิบายของท่านอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี นั้นกระจ่างชัดแล้ว ส่วนเรื่องที่เรากล่าวมาก่อนหน้านี้ เช่น ความจำเป็นในการพิจารณาโองการทั้งหมดแล้วนำมาเปรียบเทียบกันนั้น ถึงแม้จะรวมถึงบุคคลหลายคนแต่ก็รวมเฉพาะ “บรรดาผู้ซึ่งมีศรัทธา”เท่านั้น โดยไม่รวม “บรรดาผู้ซึ่งในหัวใจของพวกเขามีความป่วยไข้”และ “บรรดาผู้กลับกลอก” ด้วย ส่วนคำำกล่าวขออุละมาอ์ส่วนใหญ่ (ที่ว่าเป็นมติของปวงปราชญ์) นั้นจุดม่งุหมายดังกล่าวก็คงไม่ใช่กลุ่มบุคคลในหมู่ประชาชาติแต่ละบุคคล เพื่อที่จะดึงเรื่องความเที่ยงธรรมของบรรดา “เซาะฮาบะฮ์” มาจากแนวคิดนั้น เพราะในสภาพความเป็นจริงนั้นมันขัดแย้งกัน ดังที่อะลาอุดดีน บุคอรี ได้อ้างมา
ดังนั้น โองการที่ได้กำหนดว่ามวลมุสลิมเป็นประชาชาติสายกลาง หรือมีความสมดุลนั้น ความเป็นกลางและสภาพสมดุลนี้ขยายครอบคลุมไปพร้อม ๆ กับการขยายจำนวนของประชาชาติอิสลามในทุกยุคทุกสมัยด้วย ฉะนั้น ประชาชาติอิสลามในห้วงเวลาต่อมา ก็เป็นประชาชาติสายกลางในเรื่องแนวความเชื่อกฎเกณฑ์ศาสนา และการปฏิบัติตามตัวบทของคำสอนอิสลาม และในช่วงสมัยของเราที่ดำรงอยู่นี้ เมื่อเรากล่าวว่า ประชาชาติอิสลามเป็นประชาชาติสายกลาง หรือประชาชาติที่มีดุลยภาพ คำกล่าวดังกล่าวจะถูกต้องก็ต่อเมื่อมี จุดมุ่งหมายหมายโดยหมายถึงประชาชาติโดยรวมทั้งหมด ส่วนการกำหนดให้ความเป็นสายกลางและมีดุลยภาพสำหรับบุคคลบางคน ไม่ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง เพราะในความเป็นจริงมันขัดแย้งกับมวลมุสลิมจำนวนมากที่ห่างไกลจากอิสลาม ทั้งในด้านความคิดและเจตคติของพวกเขา แล้วเราจะให้คำจำกัดความของการมีดุลยภาพครอบคลุมเฉพาะคนกลุ่มนั้นได้อย่างไร สิ่งที่เรากล่าวผ่านมานั้นเรา กล่าวถึงเรื่องสิทธิของคนกลุ่มหนึ่ง ในห้วงเวลาแห่งการประทานอัล-กถรอาน ดังนั้น โองการนี้จึงจำเพาะเจาะจงประชาชาติโดยรวม ซึ่งมีท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) วงศ์วานผู้บริสุทธิ์ (อ.) ชาวมุฮาญิร (อพยพ) ชาวอันซอร (ผู้ช่วยเหลือ) ผู้ที่ก้าวหน้าในด้านการทำคุณงามความดีเป็นที่ประจักษ์ บุคคลผู้ซึ่งมิเคยฝ่าฝืนพระบัญชาของพระเจ้าและท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) สักวินาทีเดียว แล้วพวกเขาก็ดำเนินเช่นนั้นเรื่อยมา จวบจนกระทั่งถึงวาระแห่งการจากไปของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
ที่มา
[1]อัล บะเกาะเราะฮ์ /113
[2]ตัฟซีร ฆ่อรออิบุลกุรอาน”เล่ม 1 หน้า 421
[3]อัลกัชชาฟ เล่ม 1 หน้า318
[4]อัลญามิอ์ ลิอะฮ์กาม้ลกุรอาน เล่ม 2 หน้า154
[5] มัจญ์มะอุลบะยาน” เล่ม 1 หน้า 244 ,ตัฟซีร อัลมะรอซี เล่ม 2 หน้า 6 และ ตัฟซีร อัลมะนาร เล่ม 2 หน้า 5
[6]อัลญัรฮ์ วัตตะอ์ดีล” เล่ม 1 หน้า 7 “อัลกิฟายะฮ์ ฟีอัลมุลริวายะฮ์” หน้า 46 “อัลอิศอบะฮ์” เล่ม 1 หน้า 6 “อัลอิซตีอาบ” เล่ม 1 หน้า 2 “มุก็อดดะบะฮ์ อิบนุศิลาฮ์” หน้า 427 และ “ซัรฮุลเกากะบ้ลมุนีร” เล่ม 2 หน้า 474
[7]มัจญ์มะอุลบายาน เล่ม 1 หน้า224
[8]ตัฟซีร อัลมะรอฆี เล่ม2 หน้า6
[9]ตัฟซีร อัลมะรอฆี เล่ม2 หน้า6
[10]อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน”เล่ม 1หน้า 321
[11]อัลมีซาน ฟีตัฟซีริ้ลกุรอาน”เล่ม 1หน้า 321
[12]อัซซาฟี ฟ้อลอิมมะฮ์”เล่ม 1หน้า 232
[13]ตัฟซีร บะฮ์รุลมุฮีฏ”เล่ม 1หน้า 421
[14]กัซฟุ้ลอัซรอร”ของอะลาอุดดีน บุคอรี พิมพ์โดย ดารุลกิตาบ อัลอะร่อบี กรุงเบรุต ปี ฮ.ศ 1394
ขอขอบคุณเว็บไซต์อัลบะลาเฆาะฮ์