ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

คำแนะนำด้านจริยธรรมของท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.)

คำแนะนำด้านจริยธรรมของท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) หลังจากการเสียชีวิต (วะฟาต) ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งมิได้ทรงละเลยต่อกิจการของการชี้นำ (ฮิดายะฮ์) ประชาชน และพระองค์ได้ทรงกำ
คำแนะนำด้านจริยธรรมของท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.)

คำแนะนำด้านจริยธรรมของท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.)

       


หลังจากการเสียชีวิต (วะฟาต) ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งมิได้ทรงละเลยต่อกิจการของการชี้นำ (ฮิดายะฮ์) ประชาชน และพระองค์ได้ทรงกำหนดให้อะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นผู้นำ (อิมาม) และผู้ชี้นำประชาชน ท่านเหล่านั้นด้วยสื่อความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากพระผู้เป็นเจ้าต่างได้อธิบายคำแนะนำต่างๆ ไว้เพื่อการชี้นำและความรอดพ้นของมวลมนุษย์ ซึ่งการปฏิบัติตามคำสอนเหล่านี้จะเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตทางโลกนี้และปรโลกของมนุษย์ และจะนำพาเขาไปสู่เป้าหมายอันสูงส่งได้

       
 ท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) คือตัวแทนและผู้สืบทอดท่านที่เจ็ดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ที่ได้รับการคัดสรรโดยพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งให้ทำหน้าที่ชี้นำประชาชน ในตลอดช่วงชีวิตอันจำเริญของท่าน ท่านได้พยายามชี้นำประชาชนไปสู่พระผู้เป็นเจ้า หนึ่งในปัญหาต่างๆ ที่ท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ได้เน้นย้ำอย่างมากมายก็คือเรื่องของจริยธรรมและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ในบทความนี้จะยกตัวอย่างให้เห็นฮะดีษ (วจนะ) บางส่วนจากท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ที่จะช่วยเสริมสร้างจริยธรรมของบุคคลและความสัมพันธ์ทางสังคมให้ดีขึ้น

 

การปรึกษาหารือ

       
การปรึกษาหารือในกิจการต่างๆ นั้น หมายถึงการที่คนเราจะมีส่วนร่วมในความคิดเห็นของบุคคลอื่นๆ เพื่อจะได้รับรู้ช่องทางและแนวทางแก้ปัญหาต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และความคิดเห็นนั้นเปรียบได้ดั่งประทีปที่ส่องทางสว่าง เพียงพอแล้วที่ท่านทั้งหลายจะจินตนาการว่า เมื่อใดก็ตามที่ประทีป (ตะเกียงหรือไฟฉาย) หลายๆ ดวงได้ส่องไปที่ทางเดินที่มืดสนิทพร้อมๆ กัน แม้แต่กรวดทรายที่ก้อนเล็กที่สุดก็จะถูกมองเห็น การปรึกษาหารือก็เช่นเดียวกัน จะทำให้คนเรารับรู้รายละเอียดของเรื่องราวและปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

       
ท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า :

 

مَنِ اسْتَشَارَ لَمْ يَعْدَمْ عِنْدَ الصَّوَابِ مَادِحاً وَ عِنْدَ الْخَطَاءِ عَاذِراً

 

“ผู้ใดที่ขอคำปรึกษา (จากคนที่มีความรู้) เขาจะได้รับการชื่นชมสรรเสริญเมื่อกระทำถูกต้อง และจะได้รับการให้อภัยหากเกิดความผิดพลาด” [1]

 

การมีวาจาที่สัจจริง

        
บางทีสามารถกล่าวได้ว่าการมีวาจาสัจจริงเป็นหลักการทางจริยธรรมที่มีความสำคัญที่สุดในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ แม้กระทั่งบุคคลที่ชอบพูดโกหกเองก็ยังคาดหวังที่จะได้ยินคำพูดที่เป็นความจริง บ่อยครั้งที่คนเราจะพูดกับตัวเองว่าสิ่งเดียวที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับฉันก็คือการที่ฝ่ายตรงข้ามจะพูดในสิ่งที่เป็นความจริงและคำพูดที่โกหกจะไม่ออกมาจากปากของเขา ความคิดในลักษณะนี้ในความเป็นจริงแล้วแสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการพูดความจริงมากกว่าคุณลักษณะอื่นๆ การพิจารณาดูการกระทำและพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลที่พูดความจริงนั้นเราจะพบว่า คนที่พูดความความจริงและไม่ชอบพูดโกหกนั้น จะมีพฤติกรรมและการแสดงออกที่ดีงามต่อบุคคลอื่นๆ มากกว่า เนื่องจากว่าการยึดมั่นในความจริงและความถูกต้องของพวกเขาจะเป็นสื่อทำให้พวกเขาออกห่างจากการกระทำที่ไม่ถูกต้องและผิดศีลธรรม

       
ในวจนะบทหนึ่งท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ได้ชี้ถึงประเด็นนี้ โดยกล่าวว่า :

 

مَنْ صَدَقَ لِسَانُهُ زَكَى عَمَلُه

 

“ใครก็ตามที่มีวาจาสัจ การกระทำของเขาก็สะอาด [2]

 

การตลก

       
หนึ่งในโรคร้ายของจริยธรรมของบุคคลคือการตลกที่ผิดกาลเทศะและการยืนกรานต่อมัน ในหลายกรณีจะเห็นได้ว่าบางคนต้องการที่จะทำให้คนอื่นหัวเราะ และด้วยเหตุนี้เองเขาจะกระทำการนินทา โกหก ใส่ร้าย เยาะเย้ยและล้อเลียนผู้อื่น อันเป็นผลทำให้ตัวเขาเองได้ละเมิดคุณค่าต่างๆ ทางศีลธรรม อีกทั้งกระทำบาปมากมายเพื่อต้องการให้คนอื่นหัวเราะ การทำให้ผู้อื่นหัวเราะนี้มีค่ามากถึงขั้นที่ทำให้มนุษย์ดับรัศมี (นูร) ของความศรัทธา (อีหม่าน) ในหัวใจของตนเองเลยหรือ? ใช่แล้ว! การตลกนั้นจะเป็นสาเหตุของการทำลายรัศมีของความศรัทธา (นูรุ้ลอีหม่าน) ในหัวใจของคนเรา

ดังที่ท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ได้กล่าวว่า :

 

إِيَّاكَ وَ الْمِزَاحَ فَإِنَّهُ يَذْهَبُ بِنُورِ إِيمَانِكَ وَ يَسْتَخِفُّ بِمُرُوءَتِك

 

“จงระวังการตลก เพราะแท้จริงมันจะทำลายรัศมีแห่งความศรัทธาของท่าน และจะลดเกียรติของท่าน” [3]

 

 

การเสริมแต่งตนและการประดับประดารูปลักษณ์ภายนอก

       
หนึ่งในสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปรับปรุงและการพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคมในระหว่างผู้คนทั้งหลายนั้นก็คือการเสริมแต่ง การประดับประดารูปลักษณ์ภายนอก การประดับประดาตนของบุคคลทั้งหลายนั้นไม่ได้หมายถึงการใช้ประโยชน์จากปัจจัยต่างๆ ที่มีความหรูหราและเป็นความฟุ่มเฟือย แต่หมายถึงการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางภายนอกอย่างสมบูรณ์ ความสะอาดเรียบร้อยของเสื้อผ้าที่มนุษย์สวมใส่และการใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและดีงามจากปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ ในความเป็นจริงแล้วแต่ละคนนอกจะต้องทำให้การกระทำ (อะมั้ล) ของเขาเป็นที่สวยงามแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องเสริมแต่งรูปลักษณ์ภายนอกให้ดูสวยงามด้วยเช่นกัน

      
ท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ได้กล่าวว่าในเรื่องนี้ว่า :

 

لَا يَخْلُو الْمُؤْمِنُ مِنْ خَمْسَةٍ مِسْوَاكٍ وَ مُشْطٍ وَ سَجَّادَةٍ وَ مِسْبَحَةٍ فِيهَا أَرْبَعٌ وَ ثَلَاثُونَ حَبَّةً وَ خَاتَمِ عَقِيقٍ

 

“ผู้ศรัทธาควรต้องมีห้าสิ่งต่อไปนี้ตลอดเวลา คือ แปรงสีฟัน หวี ผ้าปูนมาซ (ซัจญาดะฮ์) ตัสเบี๊ยะห์ 34 เม็ด และแหวนอะกีก” [4]

 


แหล่งที่มา :

 

[1] บิฮารุ้ลอันวาร, อัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี, เล่ม 72, หน้า 104

 

[2] บิฮารุ้ลอันวาร, เล่ม 75, หน้า 303

 

[3] มันลายะห์ฎุรุฮุลฟะกีฮ์, เชคซอดูก, เล่ม 4, หน้า 408

 

[4] กิตาบ อัลมิซาร, เชคมุฟีด, หน้า 152

 

บทความ : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ


ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ประวัติย่อของอิมามมุฮัมมัด ...
คุณสมบัติของอัล-กุรอาน
สานสัมพันธ์กับอิมามซะมาน
...
...
...
...
อิมามญะอฺฟัรกับวิทยาศาสตร์
ผู้ป่วยแห่งกัรบาลาอฺ (ตอนที่2)
อิมามริฎอ คือ ผู้ค้ำประกันกวาง

 
user comment