ไทยแลนด์
Monday 23rd of December 2024
0
نفر 0

การขออภัยโทษ (เตาบะฮ์) ในอัลกุรอาน

การขออภัยโทษ (เตาบะฮ์) ในอัลกุรอาน แม้ว่าจะมีรายงานต่าง ๆที่บ่งบอกว่าหากใครก็ตามที่ขออภัยโทษก่อนตายหรือตอนใกล้ตาย การขออภัยโทษของเขาก็จะถูกตอบรับ แต่ตามการอธิบายอย่างชัดแจ้งของอัลกุรอานบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าการขออภัยโทษตอนใกล้ตายนั้นจะไม่ถูกตอบรับ
การขออภัยโทษ (เตาบะฮ์) ในอัลกุรอาน

การขออภัยโทษ (เตาบะฮ์) ในอัลกุรอาน

 แม้ว่าจะมีรายงานต่าง ๆที่บ่งบอกว่าหากใครก็ตามที่ขออภัยโทษก่อนตายหรือตอนใกล้ตาย การขออภัยโทษของเขาก็จะถูกตอบรับ  แต่ตามการอธิบายอย่างชัดแจ้งของอัลกุรอานบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าการขออภัยโทษตอนใกล้ตายนั้นจะไม่ถูกตอบรับ

وَلَيْسَتِ التَّوْبَةُ لِلَّذِينَ يَعْمَلُونَ السَّيِّئَاتِ حَتَّى إِذَا حَضَرَ أَحَدَهُمُ الْمَوْتُ قَالَ إِنِّي تُبْتُ الآنَ

 “การขออภัยโทษ(ที่อัลลอฮฺจะทรงรับ) นั้นมิใช่สำหรับบรรดาผู้ที่กระทำความชั่วต่างๆ จนกระทั่งเมื่อความตายได้มายังคนหนึ่งคนใดในพวกเขา แล้วเขาก็กล่าวว่า บัดนี้แหละข้าพระองค์ขออภัยโทษ”เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม
 (ซูเราะฮ์ นิซาอ์ โองการที่ 18)

อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี กล่าวไว้ว่า : สาเหตุที่การขออภัยโทษในสภาพเช่นนี้ไม่ถูกตอบรับนั้นก็เนื่องจากว่า เขาหมดหวังจากการมีชีวิตและกลัวในวันกิยามัตจึงทำให้เขาต้องจำยอมขออภัยโทษ ในเมื่อไม่มีการใช้ชีวิตในโลกนี้และไม่มีความประพฤติที่ดีงามหลงเหลืออยู่แล้วการขออภัยโทษอย่างแท้จริงก็ย่อมไม่มีเช่นกัน กล่าวคือ การขออภัยโทษในสภาพนั้นไม่ใช่เป็นการขออภัยโทษที่แท้จริง

 อีกด้านหนึ่งช่วงเวลาของความตายไม่ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนสำหรับมนุษย์ทุกคน อาจเป็นได้ที่เขาอาจจะตายตอนนี้อย่างกระทันหันโดยที่เขาไม่ได้ขออภัยโทษ  ด้วยเหตุนี้มนุษย์จำเป็นต้องคิดถึงเรื่องของการขออภัยโทษอยู่ตลอดเวลา อย่าให้เป็นเช่นนั้นเลยที่ต้องตายไปในสภาพที่ไม่มีโอกาสลบล้างบาป

 นอกจากนั้นการล่าช้าในการขออภัยโทษและพอกบาปต่าง ๆ เอาไว้ เปรียบดังที่เขาได้ มักหมม ความสกปรกโสมมเอาไว้เป็นเวลานานจนยากเกินที่จะทำความสะอาดมันได้  ด้วยเหตุนี้การล่าช้าในการขออภัยโทษนอกจากจะทำให้จิตวิญญาณของมนุษย์ต้องสกปรกแล้วยังเป็นการเปิดทางให้ทำบาปซ้ำซากและบาปอื่น ๆ ตามมา และเป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่มีโอกาสที่จะขออภัยโทษอีกเลย

ความสัมพันธ์ระหว่างการ “เตาบะฮ์”และการ “อิสติฆฟาร”

  มีโองการต่าง ๆมากมายที่กล่าวถึงเรื่องของการ “เตาบะฮ์”และการ “อิสติฆฟาร”  การเตาบะฮ์ ที่แท้จริงคือ ความเสียใจจากการทำบาปและตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะละทิ้งบาปนั้น และการเตาบะฮ์นี้จึงค่อยออกมาเป็นการอ้อนวอนขออภัยโทษ

ท่านอิมามอาลี (อ) กล่าวว่า : “เตาบะฮ์” คือความเสียใจจากก้นบึ้งของหัวใจ และการ “อิสติฆฟาร” คือ การขออภัยโทษด้วยคำพูด  

หรือจะกล่าวอีกได้ว่า การ “ อิสติฆฟาร” และการอ้อนวอนขออภัยโทษนั้นคือขั้นตอนหนึ่งของการ “เตาบะฮ์”ที่แท้จริง ที่มนุษย์จะร้องขอวิงวอนอภัยโทษจากความผิดบาปต่อพระผู้เป็นเจ้าด้วยความเสียใจอย่างที่สุด

โองการที่ 3 ซูเราะฮ์ฮูด กล่าวถึง การ “อิสติฆฟาร”และ “เตาบะฮ์” ด้วยกันว่า

وَأَنِ اسْتَغْفِرُوا رَبَّكُمْ ثُمَّ تُوبُوا إِلَيْه

“และพวกท่านจงขออภัยโทษจากพระผู้อภิบาลของพวกท่าน แล้วจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์...”

การคำนึงถึงประเด็น การ “เตาบะฮ์”และการ “อิสติฆฟาร” พร้อมกันนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง อันที่จริงเมื่อพิจารณาโองการนี้อย่างถี่ถ้วน เราก็จะพบว่า ขั้นตอนหนึ่งของการขอภัยโทษที่แท้จริงนั้นก็คือ การร้องขอวิงวอนอภัยโทษจากบาปต่าง ๆต่อพระผู้เป็นเจ้า กล่าวอย่างสรุปก็คือว่า การ “อิสติฆฟาร” นั้นคือ สิ่งที่มาถ่ายทอดแก่นแท้ของการ “เตาบะฮ์”

ผลของการ “เตาบะฮ์” และ การ “อิสติฆฟาร”

 ผลและความเป็นสิริมงคลของการ “เตาบะฮ์”และการ “อิสติฆฟาร” ทั้งทางด้านจิตวิญญาณและทางด้านวัตถุนั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่านำมาพิจารณา ซึ่งจะขอกล่าวถึงผลทางด้านจิตวิญญาณเพียงบางส่วนดังนี้

1. ได้รับความเมตตาและการได้รับอภัยโทษ

وَمَنْ يَعْمَلْ سُوءًا أَوْ يَظْلِمْ نَفْسَهُ ثُمَّ يَسْتَغْفِرِ اللَّهَ يَجِدِ اللَّهَ غَفُورًا رَحِيمًا

“และผู้ใดที่กระทำความชั่วหรืออธรรมแก่ตัวเอง แล้วเขาขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ เขาก็จะพบว่าอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงอภัยโทษ เป็นผู้ทรงเมตตายิ่ง” (ซูเราะฮ์ นิซาอ์ โองการที่ 110)

มีรายงานจากอิมามมุฮัมบาเกร (อ.)ว่า : ผู้ที่ขออภัยโทษนั้นเปรียบดังผู้ที่ไม่เคยทำบาปมาก่อนเลย

2. ได้รับความเมตตาและการอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างแผ่ไพศาล

ทั้ง ๆที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาว่าจะทรงรับการขออภัยโทษจากการทำบาป แต่ก็มีคำถามเกิดขึ้นว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงรับการอภัยโทษแค่ใหน  อาจเป็นไปได้ที่บาปนั้นจะหนักอึ้งจนทำให้มนุษย์หมดหวังที่จะได้รับอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้าก็ได้ !

 เมื่อเราได้ใคร่ครวญในโองการต่าง ๆ เราก็จะได้รับคำตอบว่า ไม่มีเวลาใดและสภาพใดเลยที่มนุษย์จะหมดหวังจากพระผู้เป็นเจ้า และความเมตตาของพระองค์นั้นยังคงแผ่ปกคลุมมวลบ่าวของพระองค์อยู่เสมอ อัลกุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า :

قُلْ يَا عِبَادِيَ الَّذِينَ أَسْرَفُوا عَلَى أَنْفُسِهِمْ لا تَقْنَطُوا مِنْ رَحْمَةِ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ يَغْفِرُ الذُّنُوبَ جَمِيعًا إِنَّهُ هُوَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ

 “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)โอ้ปวงบ่าวของข้า ! บรรดาผู้ละเมิดต่อตัวของพวกเขาเอง พวกท่านอย่าได้หมดหวังต่อพระเมตตาของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺทรงอภัยความผิดทั้งหลายทั้งมวล แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ”

 ถือได้ว่าโองการนี้เป็นโองการที่ให้ความหวังมากที่สุดแก่ผู้ที่ทำบาป ความแผ่ไพศาลของความเมตตานั้นถึงขนาดที่ว่า มีรายงานหนึ่งจากอิมามอาลี (อ.)ว่า : “ไม่มีโองการใดในอัลกุรอานที่จะแผ่ไพศาลมากไปกว่าโองการนี้อีกแล้ว” มีรายงานจากท่านษูบาน ผู้เป็นบ่าวรับใช้ท่านศาสนทูต (ซ็อล ฯ) ว่า : “ฉันไม่ปรารถนาที่จะนำโลกนี้และสิ่งที่อยู่ในโลกนี้ทั้งหมดมาแลกกับโองการนี้”

จากโองการข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ทำบาปไม่ว่าบาปนั้นจะอยู่ในระดับใดก็ต้องไม่หมดจากความเมตตาอันแผ่ไพศาลของพระผู้เป็นเจ้า เพราะพระองค์คือผู้ทรงรับการอภัยโทษและทรงเมตตายิ่ง

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ไม่ว่าจะมีโองการและรายงานต่าง ๆ ให้ความหวังแก่มนุษย์ว่าอย่าหมดหวังจากการให้อภัยโทษของพระผู้เป็นเจ้า แต่ผู้มีศรัทธาต้องเตรียมพร้อมและพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณของอยู่อยู่เสมอ เพราะการมีศรัทธาที่แท้จริงนั้นจะทำให้มนุษย์ไม่กล้าที่จะทำบาปต่อพระองค์

 อย่างไรก็ตามบาปย่อมส่งผลที่ไม่ดีแม้ว่ามันจะถูกลบล้างไปแล้วก็ตาม  จะทำให้มนุษย์ถูกกีดกันจากการไปถึงยังจุดสมบูรณ์แบบของความเป็นมนุษย์ด้วยกับความยำเกรงและการประพฤติดี และสิ่งนี้ไม่สามารถนำสิ่งใดมาทดแทนได้เลย

3. ทำให้จิตผ่องแผ้วและบริสุทธิ์

 การ “เตาบะฮ์”และการ “อิสติฆฟาร”  สำคัญอย่างมากในการล้างจิตวิญญาณและจิตให้ผ่องแผ้ว ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดำรัสว่า : “ จิตใจของมนุษย์เปรียบดังโลหะที่เปรอะเปื้อนด้วยสนิม ดังนั้นจงขจัดสนิมนั้นด้วยการขออภัยโทษและการอ่านอัลกุรอานเถิด”

4. ได้รับความปลอดภัยและการคุ้มครองให้พ้นจากการกระซิบกระซาบของชัยฏอน

   ชัยฏอน คือศัตรูที่เป็นมาช้านานและสาบานแล้วว่าจะกระซิบซาทุกขณะให้มนุษย์หลงทางให้จงได้ ด้วยเหตุนี้มนุษย์ต้องให้ความสำคัญกับอาวุธที่จะมาต่อสู้เพื่อให้พ้นจากความชั่วร้ายของมัน ท่านศาสนทูต (ซ็อล ฯ)ดำรัสว่า “ บุคคลสามกลุ่มที่รอดพ้นจากความชั่วร้ายของชัยฏอน คือ ผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) , ผู้ที่ร้องให้เนื่องจากเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) และผู้ที่ขออภัยโทษในยามก่อนรุ่งสาง”

5. ได้รับโอกาสในการเข้าถึงวิทยาการที่ยังคุณค่า

 ความรู้และวิทยาการที่ยังคุณค่านั้นได้รับมาจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งมนุษย์จากถูกกีดกันจากสิ่งอันจำเริญนี้เนื่องจากบาปของพวกเขา แต่เขาจะได้รับประโยชน์จากความรู้และวิทยาการนั้นอีกด้วยกับการ “เตาบะฮ์”และการขออภัยโทษ มีรายงานจากอิมามศอดิก (อ.)ว่า “ ใครก็ตามที่กล่าวขออภัยโทษติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน  เขาจะได้พบกับคลังแห่งวิชาการ , ความร่ำรวยและปัจจัยยังชีพ”


ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

เป้าหมายและปรัชญา (ฮิกมะฮ์) ...
...
...
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 15 ...
...
...
วันประสูติของท่านอิมามฮูเซน
ความกตัญญูต่อบิดามารดา
ซูเราะฮฺก็อดรฺ
อิมามเคียงกายเราเสมอ

 
user comment