ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

ปาฏิหาริย์แห่งอัลกุรอาน

เกริ่นนำ พระผู้ทรงสร้าง ทรงปรีชาสามารถสร้างแผ่นดิน ท้องฟ้า พืช ผักธัญญาหาร มนุษย์ สัตว์และ ฯลฯ ทรงสรรสร้างตั้งแต่อะตอมจนระบบสุริยจักรวาลที่ใหญ่โตและสวยงาม ด้วยความเมตตาของ พระองค์ที่มีต่อเรือนร่างของมนุษย์ โดยการที่พระองค์ทรงจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมไว้ให้แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพืชผักและเนื้อสัตว์ เช่นเดียวพระองค์ก็ทรงจัดเตรียมอาหารทางจิตวิญญาณไว้แก่มนุษย์ เพื่อเป็นทางนำในการดำเนินชีวิตอย่างผาสุก โดยทรงป
ปาฏิหาริย์แห่งอัลกุรอาน

เกริ่นนำ พระผู้ทรงสร้าง ทรงปรีชาสามารถสร้างแผ่นดิน ท้องฟ้า พืช ผักธัญญาหาร มนุษย์ สัตว์และ ฯลฯ ทรงสรรสร้างตั้งแต่อะตอมจนระบบสุริยจักรวาลที่ใหญ่โตและสวยงาม
ด้วยความเมตตาของ พระองค์ที่มีต่อเรือนร่างของมนุษย์ โดยการที่พระองค์ทรงจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมไว้ให้แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพืชผักและเนื้อสัตว์ เช่นเดียวพระองค์ก็ทรงจัดเตรียมอาหารทางจิตวิญญาณไว้แก่มนุษย์ เพื่อเป็นทางนำในการดำเนินชีวิตอย่างผาสุก โดยทรงประทานคัมภีร์ลงมาให้มนุษย์โดยผ่านญิบรออีลมอบให้แก่ท่านศาสดามุฮัม มัด(ศ็อลฯ) เป็นคัมภีร์ที่เป็นปาฏิหาริย์แห่งศาสดา(ศ็อลฯ) ที่สืบทอดมารุ่นสู่รุ่น เพื่อให้มนุษยชาติได้ศึกษาค้นคว้า คิดใคร่ครวญในคัมภีร์ และเพื่อเขาจะได้มั่นใจว่าคำอธิบายเหล่านี้ล้วนเป็นคำพูดที่ไม่มีมนุษย์คนใด สามารถถ่ายทอดออกมาได้ นอกจากเป็นคัมภีร์ที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า เป็นพระวจนของพระองค์ที่มีต่อมนุษยชาติ
ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึง ปาฏิหาริย์ในบางประเด็นของคัมภีร์กุรอาน

1. ความสละสลวยในการอธิบาย เมื่อย้อนกลับไปในยุคที่กาพย์โคลงกลอนและบทกวีเป็นที่แพร่หลายสูงสุดในหมู่อาหรับ ได้มีศาสดาท่านหนึ่งของอิสลาม ที่ไม่รู้หนังสือ กล่าวประโยคต่างๆ ที่เป็นวะฮ์ยูแห่งพระผู้เป็นเจ้าออกมา จนทำให้นักกวีที่ยิ่งใหญ่แห่งอาหรับต้องยอมก้มหัวให้กับความสละสลวยในการอธิบาย

แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีผู้กล่าวว่าคำอธิบายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ มนุษย์เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาเอง อัลกุรอานได้ให้คำตอบแก่กลุ่มพวกนี้ด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้คือ

قُلْ لَئِنِ اجْتَمَعَتِ الإنْسُ وَالْجِنُّ عَلَى أَنْ يَأْتُوا بِمِثْلِ هَذَا الْقُرْآنِ لا يَأْتُونَ بِمِثْلِهِ وَلَوْ كَانَ بَعْضُهُمْ لِبَعْضٍ ظَهِيرًا
“จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แน่นอนหากมนุษย์และญินรวมกันที่จะนำมาเช่นอัลกุรอานนี้ พวกเขาไม่อาจจะนำมาเช่นนั้นได้ และแม้ว่าพวกเขาจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันก็ตาม” (ซูเราะฮ์อัสรออ์ โองการที่ 88)

قُلْ فَأْتُوا بِعَشْرِ سُوَرٍ مِثْلِهِ
“จงกล่าวเถิด “ดังนั้น พวกท่านจงนำมาสักสิบซูเราะฮ์ให้ได้อย่างอัลกรุอานเถิด” (ซูเราะฮ์ฮูด โองการที่ 13)

فَأْتُوا بِسُورَةٍ مِنْ مِثْلِهِ
“ก็ จงนำมาสักซูเราะฮ์หนึ่ให้ได้อย่างอัลกุรอานเถิด” (ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 23)

2. ความเป็นระเบียบและความสอดคล้อง อย่างที่เราทราบ กันดีว่า อัลกุรอานถูกประทานลงมาหลายวาระในช่วงระยะเวลา 23 ปี ซึ่งในช่วงเวลานี้มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากกมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำสงคราม การทำสนธิสัญญา ชัยชนะ ความพ่ายแพ้ ความสุข ความทุกข์ และ ฯลฯ แต่โองการต่างโดยรวมต่างมีระเบียบและความสอดคล้องกันอย่างน่าทึ่ง ซึ่งย่อมบ่งชี้ว่านี่ไม่ใช่คำพูดของมนุษย์
เราจะขอยกตัวอย่างในบางกรณี ต่อไปนี้

- ความเป็นระเบียบในเนื้อหา
ทั้งๆ ที่ระหว่างโองการแรกและโองการสุดท้าย มีช่องว่างของระยะเวลาห่างกันมากมาย แต่กลับไม่เห็นความแตกต่างกันเลยในเรื่องเนื้อหา ในขณะที่มนุษย์ปุถุชนธรรมดาเมื่อกาลเวลาผ่านไป ประสบการณ์ที่มีมากขึ้น ย่อมทำให้เปลี่ยนแปลงในคำพูดและทำให้คำพูดต่างๆ มีความขัดแย้งกัน จนถึงขั้นที่ว่าสิ่งที่เขาเคยพูดไว้ในช่วงแรกของชีวิตนั้นแตกต่างกันอย่าง สิ้นเชิงกับคำพูดในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา

นอกจากความเป็นระเบียบ และความสอดคล้องกันในเนื้อเรื่องแล้ว จำนวนโองการที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละเนื้อหา ล้วนมีระเบียบและน่าทึ่งอย่างน่าอัศจรรย์ในด้านวิทยาการ ซึ่งมิอาจเป็นคำพูดผู้ใดไปได้เลยนอกจากว่าจะเป็นพระวจนของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
- ความเป็นระเบียบในคำต่างๆ
ความเป็นระเบียบ ไม่เพียงแต่มีในเนื้อหาของอัลกุรอานเท่านั้น แต่ระหว่างคำต่างๆ ที่ถูกประทานลงมาในช่วง 23 ปี ซึ่งคำต่างๆ เหล่านี้ถูกนำมาใช้ในเนื้อหาต่างๆ ก็มีความเป็นระเบียบอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ซึ่งบ่งชี้ว่าถ้อยคำเหล่านี้เกินความสามารถของมนุษย์
จะยกตัวอย่าง บางคำดังต่อไปนี้

คำว่า นูร (รัศมี) กล่าวไว้ 23 ครั้ง และคำว่า ซุลุมาต (ความมืดมน) ถูกกล่าวไว้ 23 ครั้งเช่นกัน

คำว่า ดุนยา (โลกนี้) กล่าวไว้ 115 ครั้ง และคำว่า อาคิเราะฮ์ (โลกหน้า) ถูกกล่าวไว้ 115 ครั้งเช่นกัน

คำว่า ชัยฏอน (มารร้าย) กล่าวไว้ 88 ครั้ง และคำว่า มะลาอิกะฮ์ (เทวทูต) ถูกกล่าวไว้ 88 ครั้งเช่นกัน

และคำว่า ชะฮร์ (เดือน) กล่าวไว้ 12 ครั้ง และคำว่า เยาม์ (วัน) ถูกกล่าวว้า 365 ครั้งเช่นกันฯลฯ

เป็นไปได้อย่าง ไรกันที่มนุษย์ปุถุชนคนหนึ่งเมื่อ 14 ศตวรรษที่ผ่านมาอีกทั้งท่ามกลางสังคมอานารยธรรมของอาหรับ ได้นำคำพูดที่ลึกซึ้ง เปี่ยมด้วยความหมาย สละสลวย มีระเบียบและสอดคล้องกันอย่างน่าอัศจรรย์เช่นนี้





บทความโดย เชคมุฮัมมัดอลี ประดับญาติ


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ทำไมอิสลามห้ามดื่มสุรา
บทเรียนจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ ...
อิมามฮะซัน อัสการีย์(อ) ...
อิมามอะลี ...
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ชีวประวัติท่านฮัมซะฮ์ บิน ...
หลักปฏิบัติในอิสลาม ...
สิทธิมนุษยชนในอิสลาม
ความพอเพียงในอิสลาม
อิมามมุฮัมมัด บากิร (อ) ...

 
user comment