ไทยแลนด์
Friday 27th of December 2024
0
نفر 0

นะบูวะห์ (ตอนที่ 4)

นะบูวะห์ (ตอนที่ 4)



นะบูวะห์ (ตอนที่ 4)

 

สภาวะความเป็นศาสดา

 

เป้าหมายและปรัชญาการปรากฏบรรดาศาสดาในทัศนะของอัลฮะดีษ

 

อัล-ฮะดีษจำนวนหนึ่งได้กล่าวถึงเป้าหมายในการปรากฏของบรรดาศาสดา โดยเบื้องต้น พระองค์ทรงให้ฟิตรัตสติปัญญามาพร้อมมนุษย์ ด้วยการให้มนุษย์สามารถสัมผัสแยกแยะบางความดีความชั่วได้โดยตรง ทว่ายังมีความดีความชั่วในระดับที่ลึกซึ้งกว่า ซึ่งระดับสติปัญญามนุษย์บางคนยังไปไม่ถึง ในที่นี้หมายถึง มนุษย์ไม่สามารถรับรู้และแยกแยะได้ด้วยตนเอง บางครั้งเกิดมาจากสติปัญญาที่จำกัดของมนุษย์ บางครั้งเป็นเพราะมนุษย์ดำเนินชีวิตตามฮาวานัฟซูกิเลสใฝ่ต่ำ หรือตกอยู่ภายใต้การอบรมสั่งสอนที่ไม่ถูกต้อง บางครั้งมาจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลทำให้สติปัญญาและจิตวิญญาณของมนุษย์อ่อนแอลง

ดังนั้น การปรากฏของศาสดาจึงเป็นอีกหนึ่งความโปรดปราน ที่พระองค์ทรงมอบให้กับมวลมนุษย์ เพื่อปลุกสติปัญญามนุษย์ให้ตื่นขึ้น ทำให้มนุษย์สามารถใช้สติปัญญาได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการชี้นำให้มนุษย์รู้จักและสามารถแยกแยะความดีความชั่วในระดับที่ลึกซึ้งกว่า อีกทั้งเพื่อให้มนุษย์หวนรำลึกถึงความโปรดปรานในด้านอื่นๆของอัลลอฮฺ(ซบ) ซึ่งท่านอิมามอาลี บิน อาบีฏอลิบ(อ) ได้กล่าวในคุฏบะฮฺ(เทศนาธรรม)หนึ่งของท่าน ดังนี้

 

นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คุฏบะฮฺที่ 1 ความว่า

 

فَبَعَثَ فِیهِمْ رُسُلَهُ وَ وَاتَرَ إِلَیْهِمْ أَنْبِیَاءَهُ لِیَسْتَأْدُوهُمْ مِیثَاقَ فِطْرَتِهِ وَ یُذَكِّرُوهُمْ مَنْسِیَّ نِعْمَتِهِ وَ یَحْتَجُّوا عَلَیْهِمْ بِالتَّبْلِیغِ وَ یُثِیرُوا لَهُمْ دَفَائِنَ الْعُقُولِ

 

“อัลลอฮฺ (ซบ) ได้ทรงแต่งตั้งบรรดาศาสดามาในหมู่พวกเขา ซึ่งพระองค์ค่อยๆทยอยส่งศาสดาของพระองค์ไปยังพวกเขา เพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติตามพันธะสัญญาแห่งฟิตรัต (มโนธรรม) ของพวกเขา และทำให้พวกเขาหวนรำลึกถึงความโปรดปรานต่างๆที่พวกเขาได้ลืมไป และเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ในการเผยแพร่แก่พวกเขา และทรงเปิดเผยขุมทรัพย์แห่งปัญญาแก่พวกเขา”

 

ขอขอบคุณสถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ฮิดายะฮ์ (การชี้นำ)ในอัลกุรอาน
เตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า)
ความหมายของตักวาในอัลกุรอาน
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
...
กำเนิดจักรวาล
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ทำไมเราต้องทำนมาซด้วย?
น้ำผึ้งในอัลกุรอานและฮะดีษ

 
user comment